3.1.09 ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา 3.1.09 ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
การเกิดของวิปัสสนาญาณ “ที่เกิดขึ้นของ วิปัสสนาญาณ คือ ความจริง หมายความว่า ตาทิพย์ ได้เกิดขึ้น”
ความเร็วนั้น คือ ขณะที่จิตเกิด ความรู้จริง อันเป็นผลจากตาทิพย์ได้ กลับกลายเป็น ญาณ ซึ่งเกิดขึ้นจาก องค์กรของความพร้อม
องค์กรของความพร้อม เนื่องจาก คนมีนิสัยอันเกิดขึ้นภายในใจไม่เหมือนกัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ไม่มีใครบังคับ หรือชี้แนะ ดังนั้น กิจกรรมต่างๆอยู่ที่ความชอบพอของตนเอง เมื่อทำวิปัสสนา ต้องรู้ความสามารถของตนเอง
ความจดจ่อด้วยความเพียร ความรู้และรู้อยู่ ความไม่หวั่น วอกแวก แน่วแน่ องค์ความพร้อม 5 ประการ ตัดความสงสัยมั่นใจ ความจดจ่อด้วยความเพียร ความรู้และรู้อยู่ ความไม่หวั่น วอกแวก แน่วแน่ ความคมของญาณ คือ กระแสปัญญา
1. ตัดความสงสัยและมั่นใจ เนื่องจากจิตเข้าสู่จุดพลังอำนาจได้แล้วจะตัดความสงสัยได้ จึงถือว่าเป็นองค์กรอันหนึ่งของวิปัสสนา “ถ้าจะดำเนินวิปัสสนาแล้ว ไม่มีจุดพลังอำนาจ ไม่สามารถที่จะทำจิตเข้าสู่จุดพลังอำนาจได้ เขาก็จะสงสัยตะบันนัง หมายความว่า ไม่รู้ว่า ไอ้ที่ทำนี่มันถูกหรือผิด ตัวเองก็จะสงสัยตัวเองอยู่ตลอด อันนี้ใช้ไม่ได้”
2. ความจดจ่อด้วยความเพียร การพิจารณาถึงอนัตตา เป็นผลให้ได้พบกับความเบา และ ความโปร่งใสยิ่ง เป็นเหตุให้เขาพยายามที่จะดำเนินงานฝึกนี้ให้มากยิ่งขึ้น “อุปสงค์เกิดขึ้นเพื่อจะทำวิปัสสนา เขาก็จะทำอนัตตาขึ้นมาว่า นี่มันไม่ใช่ตัวตน เพราะเหตุที่จุดพลังอำนาจมีกำลัง จิตก็จะยอมรับว่าเป็นอนัตตา”
อะไรคืออนัตตา จะขยายผลออกไป” 3. ความรู้และรู้อยู่ บุคคลที่ได้ญาณ ความรู้สู่ความสำเร็จ เขาจะติดตามและกำหนดไว้ ณ จุดนี้แบบไม่ปล่อย ความรู้นั้นจะขยายผลออกอย่างกว้างขวาง หมายถึง “ผู้รู้” “องค์กรที่ ๓ นี่เป็นองค์กรขยายผล เมื่อเป็นอนัตตาแล้ว อนัตตาเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเป็นมาอย่างไร อะไรคืออนัตตา จะขยายผลออกไป”
4. ความไม่หวั่น วอกแวก แน่วแน่ เพราะได้รู้แล้วว่า วิธีนี้ได้ผลออกมาดี วิริยะ ความเพียร ก็จะเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ แน่วแน่ต่อการดำเนินจิต ณ จุดนี้อย่าง อดทน “เมื่อรู้ว่าอันนี้ คือ ตัวอนัตตา และ ความโปร่งใส และ ความเบา ความละอุปาทานต่างๆ มันเกิดขึ้น มองเห็นชัดเจน ความเพียรนั้นจดจ่อ”
5. ความคมของญาณ คือ กระแสปัญญา เช่นเดียวกันกับ “ผู้รู้” คือจิตนี้ถูกฟอกจากสมาธิ ประกอบกับญาณ ความรู้สู่ความสำเร็จ เห็นจริงแจ้งประจักษ์ กระแสของจิตจึงเกิดความคมกล้า มีความสว่างไสวรุ่งโรจน์ และยิ่งคมขึ้น เพราะปัญญาเกิดสามารถ ตัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปได้
ทั้ง 5 ประการนี้ คือ องค์กรจะพร้อมในขณะจิตเดียว หากเกิดขึ้น ตัว “อนัตตา” จะพร้อม ณ ที่จิตนี้ นี่คือ ความเร็ว ความช้า หมายถึงว่า องค์กรทั้ง 5 จะต้อง ลำดับประคับประคองไปจนกว่า “อนัตตา” จะเกิดขึ้น เมื่อไร เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้ดำเนินวิปัสสนาไปได้อย่าง ถูกต้อง
ความเร็ว ก็หมายถึง ทำให้เร็วขึ้น โดยทำเฉพาะที่เป็นข้อสำคัญ จึงไม่มีความกว้าง แต่ก็เป็นผู้บรรลุได้เหมือนกันเมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ค่อยจะคำนึงถึงความกังวลอื่น ๆ อยู่อย่างสงบวิเวก ด้วยเหตุที่ว่า ฐานเล็ก จิตสำนึกในนั้นไม่กว้างขวาง จึงทำเอาเฉพาะตัวเป็นธรรมดา และได้ประโยชน์ส่วนตัวคือบรรลุเร็ว
การบรรลุช้า เพราะฐานใหญ่ เกิดขึ้นจากการสร้างฐานให้เป็นแผนงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นการวางพื้นฐานแห่งสมถะอย่างกว้างขวาง การบรรลุช้าเป็นงานที่มีความตั้งใจสูง เป็นจิตสำนึกที่ได้ตั้งแผนงานอยู่ที่จุดพลังอำนาจ เป็นตัวเร่งเร้าภายในจิตใจ เพื่อทำประโยชน์แก่ชาวโลกอย่างมากมายที่สุด ด้วยรากฐานแห่งความเมตตากรุณา แม้ว่าผู้บรรลุจิตใจจะสละทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว
สรุป ความช้าของวิปัสสนา หมายถึง ผู้มีฐานใหญ่ ความเร็วของวิปัสสนา หมายถึง ผู้มีฐานเล็ก” ผู้มีฐานใหญ่ อาจจะเปลี่ยนแปลงเป็น ฐานเล็ก ก็ได้ ผู้มีฐานเล็ก อาจจะเปลี่ยนเป็น ฐานใหญ่ ก็ได้