Introduction to Quantitative Genetics
Qunatitative genetics Vs Mendelian genetics พันธุศาสตร์เมนเดล ว่าด้วยการการแสดงออกยีน 1-2 ตำแหน่ง บนโครโมโซมต่างแท่ง กัน ใช้หลักการตรวจสอบสัดส่วนของ แต่ละจีโนไทป์ในประชากร Quantitative Genetics พันธุศาสตร์เชิงปริมาณ ว่าด้วยการแสดงออกของยีน หลายตำแหน่ง (polygenes) ทุกโครโมโซมทั่วจีโนม (genome) ใช้หลักการทางสถิติของการหา ค่าเฉลี่ย ความผันแปรในรูป ความแปรปรวน (variance)
เมื่อลักษณะถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ การแจกแจงจะมี ลักษณะต่อเนื่องและ ใกล้เคียงการแจกแจง แบบปกติมากขึ้น
ความสำคัญของลักษณะเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่เป็นลักษะเศรษฐกิจ เช่น ความยาวฝัก, ปริมาณ ผลผลิต, การเจริญเติบโต, ADG, FCR, การกินได้, ปริมาณน้ำนม, การทนโรค, ฯลฯ เป็นลักษณะที่นิยมใช้ในการ คัดเลือก (selection, breeding program) สภาพแวดล้อมมักมีผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพการคัดเลือก
BASIC GENETIC MODEL P = G + E P = Phenotype = ลักษณะปรากฏที่เห็น ชั่ง ตวง วัด ได้ เป็นข้อมูลตัวเลขต่อเนื่อง G = Genotype = อิทธิพลทางพันธุกรรม E = Environment = อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม = อุณหภูมิ/ความชื้น / สภาพภูมิศาสตร์ / อาหาร / การจัดการ
Variation จาก P = G + E เมื่ออธิบายในรูปความผันแปรที่เกิดขึ้น จะได้ว่า VP = VG + VE + 2COV(G,E) กำหนดให้ COV(G,E) = 0, ดังนั้น VP = VG + VE
Heritability ค่าอัตราพันธุกรรมเป็นค่าที่ใช้อธิบายความผันแปรของพันธุกรรมต่อความผันแปรเนื่องจากลักษณะปรากฏ จาก VP = VG + VE ดังนั้น
Heritability (ต่อ) ค่าอัตราพันธุกรรมมีค่าบวกเสมอ ค่าอัตราพันธุกรรมมีค่าอยู่ในช่วง 0 -1 จากสูตร จะเห็นว่า ถ้าค่าอัตราพันธุกรรมสูง แสดงว่าลักษณะนั้นขึ้นกับความแปรปรวนของพันธุกรรม ถ้าค่าอัตราพันธุกรรมต่ำ แสดงว่าลักษณะนั้นขึ้นกับความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม
Broad sense VS Narrow sense เราสามารถแบ่ง VG ได้เป็น VA + VD + VI VA เป็นความผันแปรเนื่องจากพันธุกรรมแบบบวกสะสม (additive gene) VD เป็นความผันแปรเนื่องจากพันธุกรรมเนื่องจากการข่มกันของยีน (dominance) VI เป็นความผันแปรเนื่องจากพันธุกรรมเนื่องจากการอิทธิพลร่วมของยีนต่างตำแหน่ง (epistatis)