ครูปฏิการ นาครอด.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
TOPICS 1. Obtaining and digesting of food (Digestive system)
Advertisements

เนื้อหา โครงสร้างส่วนประกอบของเซลล์ประสาท ชนิดและหน้าที่ของเซลล์ประสาท
Basic principle in neuroanatomy
The urinary system homeostasis and temperature control
ระบบประสาท (Nervous System)
สมองและพฤติกรรม Brain and Behavior
Physiology of therapeutic heat
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ลักษณา อินทร์กลับ
จัดทำโดย นางสาวสุกานต์ดา เสริมจันทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
Biological Concepts and Theories for Psychiatric Nursing
วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถอธิบาย
Design pattern WATTANAPONG SUTTAPAK Software Engineering,
Pediatrics Occupational Therapy
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
Overview Task and Concept of Sensor Part TESA TopGun Rally 2010 Quality Inspection for Smart Factory: Bottled Water ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ อ.นุกูล.
ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กทม.
อาจารย์ ทรงศักดิ์ สุริโยธิน
การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง Spinal cord injury
จิตวิทยาการเรียนรู้.
บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์
ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส
บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์
Applied Behavioral Analysis ABA
สื่อดิจิทัล (Digital Media)
ยาที่ใช้ในโรคข้อเสื่อม
ความรู้เบื้องต้นการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพเด็ก
บทที่ 8 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพ ในร่างกาย
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสตร์ทางจิตวิทยา
บทที่ 3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมการซื้อ Buyer Behavior
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
พฤติกรรมของสัตว์ (behavior)
ระบบประสาทและ การแสดงพฤติกรรม.
สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
การวิเคราะห์ข้อมูล การท่องเที่ยว เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
การประเมินการเรียนการสอน
โครงสร้างและการทำงานของระบบประสาท สมอง และเส้นประสาทสมอง
จมูกและการรับกลิ่น ภายในเยื่อบุโพรงจมูก มีเซลล์รับกลิ่น (Olfactory cells) ซึ่งเป็นเซลล์ประสาท 2 ขั้ว ปลายเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทมีหลายประเภทจึงรับกลิ่นได้หลายอย่างโดยเมื่อมีสารเคมีมากระตุ้น.
ชีววิทยา นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
พฤติกรรมการสื่อติดต่อ (Communication behavior)
กระบวนการเรียนรู้ของผู้บริโภค
ระบบประสาทและการแสดงพฤติกรรม (Nervous system and Animal Behavior)
พฤติกรรมนิเวศ (Ecological behavior)
Learning (Learned behavior)
บทที่ 10 พฤติกรรม (Behavior) supreecha swpy 2006.
พรณิชา ชุณหคันธรส ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life
พฤติกรรมของสัตว์ (Animal Behavior) โดย... ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
พฤติกรรมของสัตว์ กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
TIM2303 การขายและการตลาด ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
2. Reflex :-  พบในสัตว์ที่มี CNS  flat worm
จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา
การบริหารกล้ามเนื้อปากและใบหน้า Oral – motor exercise
การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ
ตลาดบริการ และ ลูกค้าเป้าหมาย วิชาการจัดการธุรกิจบริการ
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
บทที่ 7 พฤติกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
ปัจจัยพื้นฐาน ของพฤติกรรมมนุษย์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ครูปฏิการ นาครอด

ระบบ ประสาท (Nervous System)

ระบบประสาท คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก

ส่วนต่าง ๆ ของสมองคน เราอาจแบ่งสมองคนออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ระบบประสาทส่วนกลาง 1. สมอง ส่วนต่าง ๆ ของสมองคน เราอาจแบ่งสมองคนออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.1 สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำหน้าที่ของสมองส่วนนี้คือ แปลความรู้สึกในการดมกลิ่น แต่ในคนสมองส่วนนี้ได้พัฒนาขึ้นมากสำหรับทำหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลความรู้สึกที่มาจากอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เก็บข้อมูลในการจดจำนึกคิดและสติปัญญา การสั่งการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายใต้อำนาจจิต

สมองส่วนหน้าการแบ่งการทำหน้าที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ออลแฟกตอรีบัลบ์ (Olfactory Bulb) เซรีบรัม (Cerebrum) ทาลามัส (Thalamus) ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)

1.2 สมองส่วนกลาง (Midbrain หรือ Mesencephalon) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้า พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานจะมีสมองส่วนกลางขนาดใหญ่และมีลักษณะเป็นพูกลม ๆ ยื่นออกมาเรียกว่า ออปติกโลป (Optic Lope) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยิน สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง สมองส่วนนี้จะลดขนาดลงและถูกสมองส่วนอื่นปิดทับเอาไว้ เช่น ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น ๆ จะมีออปติกโลปอยู่ 4 พูเล็ก ๆ เรียกว่า Corpora Quadrigemina

1.3 สมองส่วนท้าย (Hindbrain) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองถัดจากสมองส่วนกลางและเป็นส่วนที่ติดต่อกับไขสันหลัง สมองส่วนท้ายของคนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 3.1 เซรีเบลลัม (Cerebellum) 3.2 พอนส์ (Pons) 3.3 เมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata)

2. ไขสันหลัง เป็นส่วนต่อจากสมองอยู่ภายในกระดูกสันหลังข้อแรกลงไปถึงกระดูกบั้นเอว ไขสันหลังมีหน้าที่ 3 ประการ คือ     1.  ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกไปสู่สมอง     2.  ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทจากสมองไปสู่หน่วยปฏิบัติงาน     3.  เป็นศูนย์รีเฟล็กซ์

3. เซลล์ประสาท ประกอบส่วนสำคัญสองส่วน คือ - ตัวเซลล์ มีรูปร่างหลายแบบ อาจกลม รี หรือเป็นสี่เหลี่ยม ประกอบด้วย นิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ ตัวนิวเคลียสอาจมีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ มีนิวคลีโอลัสปนอยู่ด้วย - ใยประสาท คือ ส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ แบ่งออกได้ 2 พวก คือ 1. เดนไดร์ท ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งเซลล์อาจมีเดนไดร์ทมากกว่าหนึ่งแขนงก็ได้ 2. แอกซอน ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่น โดยทั่วไปแอกซอนมีความยาวมากกว่าเดนไดร์แต่มีเพียงแขนงเดียวเท่านั้น

ที่แอกซอน จะมี เซลล์ชวาน ทำหน้าที่สร้าง เยื่อไมอีลิน ซึ่งเป็นสารพวกไขมันเป็น ฉนวนไฟฟ้าที่ดี ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว โนดออฟแรนเวียร์ เป็นรอยต่อของเซลล์ชวานแต่ละเซลล์

เซลล์ประสาทแบ่งตามหน้าที่ทำงานได้ 3 แบบ คือ 1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron หรือ Afferent Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วนำกระแสประสาทไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจเป็นเซลล์ประสาทขั้วเดียว เช่น ที่พบในปมรากบนของไขสันหลัง หรืออาจเป็นเซลล์ประสาทชนิด 2 ขั้วก็ได้ เช่น เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่จมูก เซลล์ประสาทรับเสียงที่หู และเซลล์ประสาทที่พบในเรตินาของนัยน์ตา เป็นต้น

2. เซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor Neuron หรือ Efferent Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่นำกระแสประสาทจากสมองหรือไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงานซึ่งอาจเป็นกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย โดยทั่วไปเซลล์ประสาทนำคำสั่งจะเป็นเซลล์ประสาทประเภทหลายขั้ว 3. เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron ) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งพบในระบบประสาทส่วนกลางและเซลล์ประสาทประเภทหลายขั้ว

ระบบประสาทรอบนอก ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง จากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่รอบนอกระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบดังนี้

1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นระบบควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนมัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง

การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ชายคนหนึ่งเกิดอาการคันที่หลังมือขวา 1. หน่วยรับความรู้สึกที่อยู่ใต้ผิวหนังรับความรู้สึกคันที่หลังมือขวา 2. หน่วยรับความรู้สึกส่งข้อมูลไปตามเซลล์ประสาทรับความรู้สึกไป ยังไขสันหลัง

3. ข้อมูลจะถูกส่งไปยังสมองเพื่อบอกว่าเกิดอะไรขึ้น (แปลความหมาย) 4. สมองรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการคันที่ผิวหนังบริเวณหลังมือขวา 5. สมองตัดสินใจที่จะเกาหลังมือขวาด้วยมือซ้ายและส่งคำสั่ง ลงไปตามไขสันหลัง

7. มือซ้ายเกาหลังมือขวา 6. คำสั่งที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อที่มือซ้ายจากระบบประสาทส่วนกลาง (ไขสันหลัง) ไปตามเซลล์ประสาทสั่งการ 7. มือซ้ายเกาหลังมือขวา

การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน เมื่อมีเปลวไฟมาสัมผัสกับปลายนิ้ว 1. กระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปยังไขสันหลังแต่ไม่ผ่านสมอง 2. ไขสันหลังทำหนาที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิด การหดตัวเพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที

https://www.youtube.com/watch?v=L6w0_j6mWbo https://www.youtube.com/watch?v=-s8yEhRZgvw

พฤติกรรมและการปรับตัวของสิ่งชีวิต

พฤติกรรม คือ กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า เพื่อการอยู่รอดของชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมกับความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ ทำให้สัตว์ปลดปล่อยพฤติกรรมออกมาได้เรียกว่า ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (Releasing stimulus) วงจรกระแสประสาทที่ไวต่อตัวกระตุ้นปลดปล่อย เรียกว่า กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (Releasing mechanism)

ปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเกิดพฤติกรรม 1. หน่วยรับความรู้สึก (Receptor) ส่วนของเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ไวเป็นพิเศษต่อสิ่งเร้า 2. ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ศูนย์รวบรวมข้อมูลและออกคำสั่ง 3. หน่วยปฏิบัติงาน (Effector) ส่วนของร่างกายที่ใช้ตอบสนองสิ่งเร้า

พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited behavior หรือ Innate behavior) 1.1 พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในพืช 1.2 พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในโปรติสต์และสัตว์ - ไคนีซีส (kinesis) - แทกซิส (taxis) - รีเฟลกซ์ (reflex) - รีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflex) พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมแบบง่าย ๆ มีแบบแผนที่แน่นอนใน สัตว์แต่ละ species พฤติกรรมแบบนี้สามารถถ่ายทอดกรรมพันธุ์ได้ มีทั้งในพืช และสัตว์

1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในพืช ได้แก่ การเจริญเข้าหาสิ่งเร้าของราก ลำต้น การหุบของใบ การบาน-การหุบของดอกไม้ 2. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดในโปรติสต์ และสัตว์ มักพบในสิ่งมีชีวิตพวกโปรติสต์ (พวกโปรโตซัว) และสัตว์ชั้นต่ำที่ระบบประสาทยังไม่เจริญ คือ 2.1 ไคนีซิส (Kinesis) หมายถึง พฤติกรรมการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางไม่แน่นอน สะเปะสะปะ 2.2 แท็กซิส (Taxis) หมายถึง พฤติกรรมของสัตว์ที่เคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีสิ่งเร้าอย่างมีทิศทางแน่นอน เช่น แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ 2.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ (simple reflex) เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไปกระตุ้นในทันที เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย เช่น การกระพริบตาเมื่อมีผงเข้าตา 2.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (Chain of reflexex) สัญชาตญาณเป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างอัตโนมัติ มีแบบแผนแน่นอน และมีลักษณะเฉพาะในสัตว์แต่ละ species

2. พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังอัน เนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้รับในอดีต พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ แบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ 1. ความเคยชิน (Habituation) เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ที่มิได้มีความหมายต่อการดำรงชีวิต ในที่สุดสัตว์จะค่อยลดพฤติกรรมลงทั้ง ๆ ที่สัตว์ยังคงถูกกระตุ้นอยู่ 2. การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioned reflex) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 ชนิด คือสิ่งเร้าที่แท้จริง และสิ่งเร้าไม่แท้จริง ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ผลที่สุดแม้จะใช้เพียงสิ่งเร้าไม่แท้จริงก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์แสดงการตอบสนองได้

3. การเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trail and error learning) เป็นพฤติกรรมที่อาศัยการทดลองทำดูก่อนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ถ้าผลการกระทำเป็นที่พอใจ ก็จะทำพฤติกรรมนั้นอีกหากไม่เป็นที่พอใจ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่กระทำอีก 4. การฝังใจ (Imprinting) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากประสบการณ์แรก ๆ ของชีวิต เกิดความผูกพันและโต้ตอบกับสิ่งเร้าชนิดแรกที่รับรู้ได้ในขณะที่เกิดใหม่ ๆ เป็นพฤติกรรมที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้โดยได้รับการดูแลและคุ้มภัยอันตรายจากแม่ของมันในขณะที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ 5. การใช้เหตุผล (Reasoning) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์แสดงออก โดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกิดกับสัตว์ที่มีสมองส่วนหน้า(cerebrum) เจริญดี โดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาประยุกต์

พฤติกรรมทางสังคม (Social behavior) ของสัตว์ พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์ หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์ชนิด เดียวกันใช้สื่อสารติดต่อกันในหมู่พวกของตน เช่น 1. การสื่อด้วยท่าทาง เช่น การเปลี่ยนสีของปลากัด(ขณะต่อสู้)สุนัขหางตกเมื่อต่อสู้แพ้ และจะวิ่งหนี ฯลฯ 2. การสื่อด้วยเสียง (sound signal) เช่น ใช้เสียงเรียกคู่เพื่อผสมพันธุ์ หรือใช้เสียงสำหรับเตือนภัย ใช้เสียงในการนำทาง 3. การสื่อด้วยการสัมผัส (Physical contact) 4. การสื่อด้วยสารเคมี (Chemical signal) ได้แก่ การใช้ฟีโรโมน เช่น มด จะปล่อยฟีโรโมนซึ่งเป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิก (formic acid) ทำให้มดงานที่เดินตามหลังรับรู้

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต (Adaptation) การปรับตัวทางด้านรูปร่างลักษณะ (Morphological Adaptation) เป็นการปรับตัวด้านรูปร่างโครงสร้างหรือสีสันของร่างกายให้เหมาะกับการดำรงชีพ หรือชนิดของอาหาร หรือการพรางตัวให้รอดพ้นจากศัตรู การปรับตัวทางด้านสรีระ (Physiological Adaptation) เป็นการปรับตัวทางกลไกและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การปรับตัวทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Adaptation) เป็นการปรับอุปนิสัยเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดหรือเพื่อให้เหมาะกับภาวะแวดล้อม

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 ลักษณะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตทั้ง   3   ลักษณะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ การปรับตัวแบบชั่วคราว เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้แก่ การปรับตัวทางด้านพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต การปรับตัวแบบถาวร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดไป ได้แก่ การปรับตัวทางด้านรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตและการปรับตัวทางด้านสรีระของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถปรับตัวได้ จึงทำให้มีการล้มตายจำนวนมากหรือสูญพันธุ์ไป เช่น การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์