งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

2. Reflex :-  พบในสัตว์ที่มี CNS  flat worm

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "2. Reflex :-  พบในสัตว์ที่มี CNS  flat worm"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 2. Reflex :-  พบในสัตว์ที่มี CNS  flat worm 2.1 Simple reflex = รีเฟลกซ์อย่างง่าย เช่น น้ำลายไหล การกระตุกแขน การกระตุกขา 2.2 Chain of reflexes = รีเฟลกซ์ต่อเนื่อง หรือ Fixed action pattern (FAP) = พฤติกรรมที่มีแบบแผนแน่นอน  พฤติกรรมที่เกิดจากรีเฟลกซ์หนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะกระตุ้นให้เกิดรีเฟลกซ์อื่นๆ ติดตามมาโดยมีแบบแผนแน่นอน

2 1. การกินอาหารของสัตว์ตามธรรมชาติ
 Chain of reflexes ที่เกิดขึ้นมีแบบแผนแน่นอนเป็นขั้นเป็นตอน จึงอาจเรียกเป็น FAP (fixed action pattern) หรือ Instinct (สัญชาตญาณ)  ตัวอย่างพฤติกรรมรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง เช่น 1. การกินอาหารของสัตว์ตามธรรมชาติ  การแทะมะพร้าวของกระรอก  การจิกอาหารของไก่  การฮุบเหยื่อของปลา  การตวัดลิ้นจับแมลงของกบ การรวมกันของ FAP + Taxis เรียก Instinctive activity โดยเกิด FAP พร้อมกับ การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางแน่นอน เห็นเหยื่อจะหันทั้งตัว  Taxis แสดงพฤติกรรมการจับเหยื่อ (Prey-catching behavior)

3  การฟักไข่, การเลี้ยงลูกอ่อน  Migration  การร้องเพลงของนก
 การฟักไข่, การเลี้ยงลูกอ่อน  Migration  การร้องเพลงของนก ในนก thrushes ตัวเล็กๆ ถึงแม้ถูกแยกเลี้ยงต่างหากตั้งแต่ฟักออกมา ก็ยังคงร้องเพลงที่เป็นลักษณะประจำพวกได้  FAP จะมีลักษณะเป็น Phylogenetic adaptation ซึ่งมีกลไกของ Co-ordinating control เช่น  นกอีเสือ (Shrinkes) Lanius collurio รู้จักดึงเหล็กใน (Sting) ออกจากตัวผึ้ง ต่อ แตน ก่อนที่จะกินเป็นอาหาร  นกพิราบ Streptopelia reseogrisea เลี้ยงลูกนกในลักษณะที่เหมือนกันทุกตัว

4 ในแมงมุม Cupiennius salei ยื่นก้นเข้าไปไข่ในรู ปิดรูและคาบไปเก็บ
 การสร้างปลอกหุ้มไข่ของแมงมุม ในแมงมุม Cupiennius salei สร้าง cocoon เริ่มจากฐานก่อน และสร้างขอบ แล้วเจาะรูที่ขอบ ยื่นก้นเข้าไปไข่ในรู ปิดรูและคาบไปเก็บ * ถ้าตัดทำลายฐาน cocoon ขณะเริ่มสร้างฐาน มันจะไม่สร้างฐานใหม่และจะสร้างของจนเสร็จและวางไข่ และคาบไปเก็บทั้งๆ ที่ไม่มีไข่  การชักไยแมงมุม * ถ้าฉายแสงให้ต่อมที่สร้างไยแห้งสลายหมด ถึงแม้ไม่มีความสามารถสร้างไย มันก็จะยังแสดงพฤติกรรมการชักไยตามเดิม

5 Treatment ตาม FAP สร้าง cocoon 3 ชั้น
 ในตัวอ่อนผีเสื้อ Platysamia cecropia (Kloot & Williams, 1953) Treatment ตาม FAP ถ้าให้สร้าง cocoon เพียง 2 ชั้นเสร็จแล้ว สร้าง cocoon 3 ชั้น ดึงตัวออกมา วางลงบน cocoon ที่เพิ่งสร้างได้ชั้นเดียว ผล จะสร้าง cocoon ชั้นที่ 3 เลย แทนที่จะ สร้างชั้นที่ 2 ก่อน  มี FAP สร้าง 3 ชั้นแน่นอน

6 Lorenz & Tinbergen (1938) ศึกษา egg – rolling movement
 การตะล่อมไข่กลับเข้ารังของ graylag goose  Instinctive activity Lorenz & Tinbergen (1938) ศึกษา egg – rolling movement ของ graylog goose โดยถ้านำไข่ของตัวเมียที่กกไข่ในรังออกมานอกรัง ตัวเมียตามออกมานอกรังและยื่นปากออกมาเหนือไข่ล้ำไปข้างหน้า ตะล่อมไข่เดินถอยหลังเรื่อยๆ เพื่อกลับเข้ารังและเนื่องจากไข่กลม ไข่จึงกลิ้งไปมา FAP Taxis  ใช้ปากตะล่อมส่ายไปขวาทีซ้ายที

7 ขณะกำลังแสดงพฤติกรรม
* ถ้าเอาไข่ออกไป goose ก็จะใช้ปากตะล่อมแล้วค่อยๆ ถอยเข้ารังโดยไม่มีไข่ (FAP) แต่ไม่มีการตะล่อมส่ายไปขวาทีซ้ายที เพราะไม่มีไข่เป็นสิ่ง กระตุ้น (no taxis)  การเต้นรำของผึ้งเพื่อบอกอาหาร

8 Hibernation Estivation สุนัข ถ้าได้รับกระดูก ถ้าจะนอน
 Courtship behavior  การสร้างรังของสัตว์ Hibernation  การจำศีลของสัตว์ Estivation  FAP จะเกิดขึ้น เมื่อสภาวะภายในร่างกายพร้อมที่จะแสดงออก พร้อมๆ กับที่มีสิ่งกระตุ้น (releasing stimulus) ที่เหมาะสม เช่น สุนัข ถ้าได้รับกระดูก ถ้าจะนอน ในธรรมชาติจะตะกุยพื้นดิน ขุดดินด้วยขาหลัง เพื่อกลบ กระดูกและสามารถฝังกระดูก ได้ ถ้าอยู่บนพื้นคอนกรีต ก็แสดงพฤติกรรมเช่น เดียวกันโดยอัตโนวัติ - ในธรรมชาติจะหมุนไปรอบๆ และตะกุยดินลงไปนอนในหลุม - อยู่บนบ้านก็จะหมุนหลายๆ รอบและตะกุยพื้นจึงนอน

9

10

11  การค้นหาหัวนมแม่ของทารก เมื่อทารกหิว จะส่ายหัวไปข้างซ้ายที ขวาที และจะหยุดเมื่อปากเจอหัวนมแม่
 การกำสิ่งของในมือเด็ก ถ้าเอานิ้วเขี่ยฝ่ามือเด็ก เด็กจะกำนิ้วไว้ทันที โดยเริ่มจากนิ้วกลาง และนิ้วนางก่อน ตามด้วยนิ้วชี้ นิ้วก้อย และนิ้วหัวแม่มือจะเป็นนิ้วสุดท้ายเสมอ  การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์ (Migration)

12 ลักษณะสำคัญของพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง
1. เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างอัตโนวัติที่มีแบบแผนแน่นอน (Fixed action pattern) และมีลักษณะเฉพาะในสัตว์แต่ละชนิด 2. สามารถแสดงพฤติกรรมออกได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าสัตว์นั้นจะถูกเลี้ยงแยกจากเพื่อนร่วมสปีชีส์ก็ตาม 3. พฤติกรรมที่เกิดขึ้น มักจะเป็นการเกิดพร้อมไปกับการเคลื่อนไหวที่มีทิศทางแน่นอน (Taxis) เช่น พฤติกรรมของคางคก ตอนที่จะหาเหยื่อจะแสดงพฤติกรรมการจับเหยื่อออกมา โดยในตอนแรกเมื่อเห็นเหยื่อ เช่น แมลงจะเกิดแทกซิสโดยหันหน้าหาแมลง โดยหันทั้งตัว จากนั้นพฤติกรรมรีเฟลกซ์ต่อเนื่องจะเกิดขึ้น คือ ร้อง และแลบลิ้นออกมาตวัดแมลงเป็นอาหาร 1 แสดงการล่าเหยื่อในกบ 1. เป็นแทกซิส 2. เป็นรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง 2

13 4. พฤติกรรมนี้จะแสดงออกมาได้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายและอาจถูกเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพทางสรีระของสัตว์ สภาพแวดล้อมรอบตัวสัตว์ และประสบการณ์ที่สัตว์แต่ละตัวได้รับ เช่น การสร้างรังของนก เป็นพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่องที่ไม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ แต่จากการศึกษาพบว่านกอายุมากจะสร้างรังได้ดีกว่านกอายุน้อย 5. เดิมทีเดียวนักชีววิทยาเรียกพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่องจาก สัญชาตญาณ (Instinct) แต่ในปัจจุบันใช้กันน้อยมาก เพราะความหมายของคำนี้กว้างเกินไป ซึ่งอาจหมายรวมไปถึงพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดทุกๆ แบบด้วย


ดาวน์โหลด ppt 2. Reflex :-  พบในสัตว์ที่มี CNS  flat worm

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google