หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หลักการและองค์ประกอบสำคัญของ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS Features and Principles)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การจัดการ Management ความหมาย
Advertisements

การเตรียมแผนตอบโต้ สถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข
ระบบการบัญชาการในสถานการณ์ (Incident Command System: ICS)
ระบบสารสนเทศในองค์กรสมัยใหม่ (ศูนย์ข้อมูล)
การสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉิน และระบบการสั่งการจากผู้บัญชาการ
คณะกรรมการตอบโต้ภัยพิบัติ เขตบริการสุขภาพที่ 1
การประชุม ผู้อำนวยการสถานศึกษา สพป. มหาสารคาม เขต 1 1 สิงหาคม 2557 ณ ห้องประชุม 4 B อาคารศูนย์ภาษา และคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.
1 การดำเนินการ โครงการยกระดับคุณภาพการ ให้บริการประชาชน.
แผนงานโครงการ หน่วยศึกษานิเทศก์ ผล ปีงบประมาณ 2558 แผน ปีงบประมาณ 2559.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ผู้บัญชาการ และฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์
ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
บทที่ 2 กระบวนการและการวางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Planning ดร. อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
การจัดองค์กรและกำหนดงานในภาวะฉุกเฉิน
ภารกิจ ศธภ./ศธจ..
หน่วยงานราชการและภาคเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ และ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
หลักการออกแบบ.
Chapter I Introduction to Law and Environment
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การเพิ่มขีดสมรรถนะของ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM)
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แผนแม่บทการจัดการความรู้ ปี
การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
การวางแผน (Planning) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หมวด 6 การปฏิบัติการ โดย ดร.สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วง
แนวทางการจัดทำรายงาน
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
แนวทาง การจัดทำงบประมาณ ปี พ.ศ. 2562
รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2560
แนวทางและนโยบาย การบริหารความเสี่ยง
ตัวชี้วัดปศุสัตว์อำเภอ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑
กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์
การประชุมผู้บริหารโรงเรียน เรื่อง เกณฑ์ประเมินการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการ PLC ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑.
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 เวลา น.
กรอบแนวทางในการจัดทำงบประมาณ แผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ
จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการ (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์(SAT) ที่สามารถปฏิบัติการได้จริง 1.
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 25๖๑
จิตสำนึกคุณภาพ.
พระพุทธศาสนา.
สรุปผลการตรวจราชการฯ กรณีปกติ รอบที่ 2/2561
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
ความหมายของการจัดโครงสร้างองค์การ
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
Service Plan สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
ผลการประชุมกลุ่มสาธารณสุข ไทย-ลาว
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
1 จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการ (EOC) และทีมตระหนักรู้
การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล 16 ธ.ค.58
13 October 2007
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูล สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
เทคนิคการสอบสวน พันตำรวจเอก ดร.สุรศักดิ์ เลาหพิบูลย์กุล
1 จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการ (EOC) และทีมตระหนักรู้
การขนส่งกับการจัดการโลจิสติกส์ Transport and Logistics Management
บทที่ 2 การจัดองค์กรขนส่ง 2.1 การจัดองค์กรและการบริหารงานบุคคล
หมวด 1 การนำองค์กร และการจัดการดี
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างองค์การ โครงสร้างตำแหน่งและโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน บทที่ 4. ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร.
ข้อมูลการระดมความคิดเห็นต่อ การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท แผน ข
การดูแลสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาล :Update องค์ความรู้ (Violence)
การรายงานผลการดำเนินงาน
แนวทางการจัดทำและการขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการ สพฐ.
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
นางสาวอรไท แซ่จิว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หลักการและองค์ประกอบสำคัญของ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS Features and Principles)

วัตถุประสงค์ของบทเรียน อธิบายถึงคุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS) การเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมในระบบบัญชาการเหตุการณ์ อธิบายความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.การวางมาตรฐาน 2.การบัญชาการ 3.การวางแผนและโครงสร้างการจัดองค์กร 4.การจัดพื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร 5.การสื่อสารและการจัดการข้อมูล 6.ความเป็นมืออาชีพ และอีก 14 คุณลักษณะ ซึ่งคุณลักษณะแต่ละประการได้มาจากการสรุปบทเรียนจากการทำงานในระบบบัญชาการเหตุการณ์มายาวนาน (best practice) ดังนั้น การเข้าใจคุณลักษณะของระบบบัญชาการเหตุการณ์จะทำให้เราสามารถทำงานตามระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การกำหนดมาตรฐาน: การใช้ภาษา ใช้ภาษาทั่วไปที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ภาษาที่รู้เฉพาะวงการ/อาชีพ/หน่วยงาน หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาวิทยุ คำย่อ ศัพท์เทคนิค จัดทำการเรียกชื่อตามมาตรฐานที่ชัดเจน   องค์ประกอบแรก คือ การวางมาตรฐาน ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินควรใช้ภาษาทั่วๆ ไป ที่ทุกคนในทีมสามารถเข้าใจได้ง่าย การใช้ภาษา การใช้ภาษาในงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินควรเป็นภาษาทั่วๆ ไปที่ทุกคนในทีมสามารถเข้าใจได้ (Common terminology) แทนภาษาเฉพาะวงการ/อาชีพ/หน่วยงาน เช่น ภาษาวิทยุ คำย่อต่างๆ เป็นต้น ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะ และไม่ใช้คำย่อ และควรจัดทำมาตรฐานการเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ให้ชัดเจน อาทิ ชื่อตำแหน่ง ชื่อวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือการใช้ภาษาทั่วไป ทั้งนี้การวางมาตรฐานดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสื่อสารและเข้าใจตรงกัน ลดความผิดพลาด ตลอดจนประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานอีกด้วย

ทำไมต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย? ก.พ. คือ ??? ทำไมต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย? ก.พ. คือ ??? ก.พ. กุมภาพันธ์ กพ. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ก.พ. โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา จังหวัดนครปฐม ก.พ. โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ก.พ. โรงเรียนกำแพงวิทยา จังหวัดสตูล ก.พ. โรงเรียนเกษมพิทยา กรุงเทพมหานคร   การใช้ตัวอย่าง แต่ละคนก็อาจจะเข้าใจไปคนละอย่าง ทำไมต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ก.พ. มีหลายความหมาย หากใช้ตัวย่ออาจทำให้มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ ต่อไป จะเป็นการกล่าวถึงคุณลักษณะในชุดที่ 2 นั่นคือ การบังคับบัญชา ซึ่งในส่วนนี้มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 คุณลักษณะ ได้แก่ • การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ • สารการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ • การบัญชาการร่วม

การบัญชาการ (Command) บัญชาการ: การอำนวยการ สั่งการ หรือควบคุม ตามหลักกฎหมาย ระเบียบหรืออำนาจหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้บัญชาการ (Incident Commander : IC) มีอำนาจหน้าที่ในการบัญชาการเหตุการณ์

สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) สายการบังคับบัญชา หมายถึง เส้นทางการส่งต่อข้อสั่งการหรือการบัญชาการ ไปตามลำดับชั้น ที่ลดหลั่นกันลงไป จากผู้ บัญชาการเหตุการณ์จนถึงตัวผู้ปฏิบัติงาน อำนาจสั่งการ สายการบังคับบัญชา หมายถึง เส้นทางการส่งต่อข้อสั่งการหรือการบัญชาการไปตามลำดับชั้น ที่ลดหลั่นกันลงไป จากผู้บัญชาการเหตุการณ์จนถึงตัวผู้ปฏิบัติงาน

การถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการ (1/2) เป็นการมอบอำนาจการบัญชาการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ในการมอบอำนาจจำเป็นต้องมีการรายงานสรุปทุกครั้ง (อาจรายงานด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทั้งสองอย่าง)   การมอบอำนาจการบัญชาการ หมายถึง การถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์คนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งในการมอบอำนาจการบัญชาการในแต่ละครั้ง ต้องมีกระบวนงาน ที่ชัดเจน โดยอาจกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยวาจา หรือทั้งสองประการ ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ การยึดหลักสายการบัญชาเหตุการณ์ และเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์จะช่วยสร้างความชัดเจน ลดความสับสน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันในการสั่งการ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าในแต่ละระดับจะต้องสามารถควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยของตนเอง

การถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการ (2/2) การถ่ายโอนอำนาจการบัญชาการจะเกิดขึ้นเมื่อ: มีผู้บัญชาการที่มีความเหมาะสมมากกว่าเข้ามาปฏิบัติงานแทน สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการบังคับบัญชาให้สอดคล้องตามกฎมาย เมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อความต่อเนื่อง เมื่อสิ้นสุดภารกิจ และมีการส่งมอบความรับผิดชอบคืนเจ้าของพื้นที่

เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) เพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้อง: ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าเพียงคนเดียว ปฏิบัติตามข้อสั่งการจากหัวหน้าเพียงคนเดียวเท่านั้น หลักการเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์คือหลักการที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะมีหัวหน้าเพียงคนเดียวและจะฟังข้อสั่งการจากหัวหน้าคนนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ การยึดหลักสายการบัญชาเหตุการณ์ และเอกภาพในการบัญชาการเหตุการณ์จะช่วยสร้างความชัดเจน ลดความสับสน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งกันในการสั่งการ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาที่เป็นหัวหน้าในแต่ละระดับจะต้องสามารถควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยของตนเอง

การบัญชาการร่วม (Unified Command) การบัญชาการร่วม: เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานใน ที่เกิดเหตุร่วมกันได้ ภายใต้วัตถุประสงค์และ กลยุทธ์การทำงานเดียวกัน เพื่อให้สามารถตัดสินใจร่วมกันภายใต้โครงสร้างการสั่งการร่วมกัน รักษาเอกภาพการบังคับบัญชาโดยมีหัวหน้า คนเดียว ในกรณีที่มีผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเหตุการณ์ หากไม่มีการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการภาวะฉุกเฉินได้ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือการจัดให้มีการนำผู้บัญชาการเหตุการณ์จากหลายหน่วยงานเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้ระบบบัญชาการเดี่ยวหรือระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วม (Unified Command) สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ไว้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว มีการจัดระบบการบัญชาการเหตุการณ์ตามระดับของภาวะฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี ยังอาจมีสถานการณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ร่วมอยู่บ้างเช่นกัน อย่าสับสนระหว่างเอกภาพการในบังคับบัญชา (unity) กับการบัญชาการร่วม (unified)

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่   ต่อไปจะเป็นการกล่าวถึง ชุดคุณลักษณะชุดที่ 3 ได้แก่ การวางแผนและโครงสร้างการจัดองค์กร ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 คุณลักษณะ ได้แก่ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์การแบบโมดุลลา ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ควรคำนึงถึงตามลำดับดังนี้ ความปลอดภัยของชีวิต (Life Safety) การควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลาม/ขยายตัว (Incident Stabilization) การรักษาทรัพย์สินหรือสภาพแวดล้อม (Property/Environmental Preservation) คุณสมบัติแรกของการจัดโครงสร้าง คือ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การจัดการภาวะฉุกเฉินควรให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้ ตามลำดับความสำคัญ 1. ความปลอดภัยของชีวิต 2. การควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลาม/ขยายตัว 3. การรักษาทรัพย์สินหรือสภาพแวดล้อม

การจัดทำแผนเผชิญเหตุ ทุกเหตุการณ์ต้องมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ ระบุวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน ระบุกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติ มีกรอบเวลาในการปฏิบัติงาน (operational period) ควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ในทุกๆ สภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ จะต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทุกครั้งโดยควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจบทบาทของตัวเองอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติงานประสานกันได้อย่างราบรื่น โดยทั่วไปแผนเผชิญเหตุควรประกอบด้วย • วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการ • กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ • ระยะเวลาของแผน

โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ขยายตัวแบบล่างขึ้นบน (Bottom UP) ปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดตามความเหมาะสมและความซับซ้อนของสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา Modular เป็นโครงสร้างขององค์กรที่ขยายตัวจากล่างขึ้นบน (Bottom up) และสามารถปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดตามความเหมาะสมของประเภทและความซับซ้อนของภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น โครงสร้างองค์กรแบบนี้จึงมีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่น และความคล่องตัว ยกตัวอย่างเช่น กรณีเกิดอหิวาตกโรคระบาดในพื้นที่ก็สามารถเพิ่มจำนวนทีมสอบสวนโรค (operation) ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งการจัดโครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา เป็นการจัดองค์กรโดยยึดหลักการ “ปรับโครงสร้างตามภารกิจ” ทำให้โครงสร้างมีความยืดหยุ่น สามารถเพิ่มหรือลดขนาดให้เหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ได้

ช่วงการควบคุม ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมของหัวหน้า 1 คน คือการมีผู้ใต้บังคับบัญชาเพียง 3-7 คน เพื่อให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วงการควบคุม หมายถึง มีขอบเขตความรับผิดชอบผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งว่ามีเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบกี่หน่วยงาน มีทรัพยากรที่ต้องบริหารจัดการกี่หน่วย ทั้งนี้เนื่องจากหัวหน้าจะต้องสามารถที่จะกำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงาน บริหารจัดการทรัพยากร ตลอดจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาได้อย่างครอบคลุม ช่วงการควบคุมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 ประการ • ประเภทและชนิดของเหตุการณ์ • ธรรมชาติของงาน/ภารกิจ • ปัจจัยความเส่ียงอนั ตราย และความปลอดภัย • ระยะในการบริหารจัดการทรัพยากรและผู้ปฏิบัติงาน โดยทั่วไป ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมอของผู้บังคับบัญชาคือมีผู้ใต้บังคับบัญชาระหว่าง 3 - 7 คน

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ คุณลักษณะต่อของระบบบัญชาการเหตุการณ์ที่จะกล่าวถึงได้แก่ การจัดพื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร ซึ่งมีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้อง 2 คุณลักษณะ ได้แก่ • การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ และ • การจัดการทรัพยากรครบวงจร

สถานที่และการจัดพื้นที่ปฏิบัติการ กำหนดโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ตามความเหมาะสมแล้วแต่เหตุการณ์ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ฐาน ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องรับผิดชอลในการกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ และสถานที่อำนวยความสะดวกสนับสนุนในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เกิดเหตุตามความเหมาะสมของภาวะฉุกเฉิน โดยทั่วไป สถานที่และการจัดพื้นที่ปฏิบัติการที่สำคัญที่จะต้องกำหนด ได้แก่ 1) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command Post, ICP) เป็นสถานที่ที่ใช้ในการบัญชาการเหตุการณ์ของผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุ 2) จุดระดมพล (Staging Area) เป็นพื้นที่สำหรับการระดมทรัพยากรทั้งกำลังคน หรือวัสดุ อุปกรณ์ที่มีความพร้อมเพื่อรอรับการมอบหมายภารกิจในการออกปฏิบัติการ/จัดส่งไปยังพื้นที่ 3) ฐาน (Base) สถานที่ตั้งของส่วนซึ่งทำหน้าที่ประสานงาน บริหารงาน รวมทั้งเป็นที่สถานที่ปฏิบัติงานของส่วนสนับสนุน จุดระดมพล

การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างครบวงจร องค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างครบวงจร การจัดแบ่งประเภท/ชนิดของทรัพยากร (Categorizing Resources) การจัดหา/สั่งซื้อทรัพยากร (Ordering Resources) การจัดส่งทรัพยากร (Dispatching Resources) การติดตามการใช้ทรัพยากร (Tracking Resources) การนำทรัพยากรกลับมาใช้ และการบำรุงรักษา (Recovering Resources) การชดเชยทรัพยากรให้กับหน่วยงานอื่น (Reimbursing other organizations) ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจะต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการบริหารทรัพยากรประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 6 ขั้นตอน ได้แก่ • การจัดแบ่งประเภท/ชนิดของทรัพยากร • การจัดหา/สั่งซื้อทรัพยากร • การจัดส่งทรัพยากร • การติดตามการใช้ทรัพยากร • การนำทรัพยากรกลับมาใช้ และการบำรุงรักษา • การชดเชยทรัพยากรให้กับหน่วยงานอื่น อนึ่ง ทรัพยากรในนิยามของระบบ ICS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติการ (Tactical Resource) หมายถึง บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในเพื่อการปฏิบัติการ 2) ทรัพยากรสนับสนุน (Support Resource) หมายถึงทรัพยากรที่ใช้เพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติการหลัก เช่น อาหาร อุปกรณ์สื่อสาร เสื้อกันฝน เป็นต้น

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ คุณลักษณะต่อไป คือ การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 2 คุณลักษณะ คือ • การบูรณาการด้านการสื่อสาร และ • การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง

การบูรณาการด้านการสื่อสาร มีการกำหนดและใช้แผนการสื่อสารเดียวกัน กำหนดผู้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อุปกรณ์ ขั้นตอน และระบบการสื่อสาร จะต้องมีการบูรณาการด้าน การสื่อสาร โดยสามารถเชื่อมต่อและใช้ร่วมกันได้ การบูรณาการด้านการสื่อสาร เป็นการจัดการให้ทุกคนในทีมให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียว โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์เป็นผู้กำหนดทิศทางในการให้ข่าวสาร และเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจในการให้ข้อมูล ในระบบบัญชาการเหตุการณ์ควรจะมีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับข่าวสาร เพียง 1 คน

องค์ประกอบของการบูรณาการด้านการสื่อสาร โหมด (Modes): ระบบอุปกรณ์ (ฮาร์ดแวร์) ที่จะใช้ในการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร แผน (Planning) : แผนการใช้ทรัพยากรสื่อสาร (ในภาพรวม) เครือข่าย (Networks): กระบวนการและขั้นตอน ในการถ่ายทอดข้อมูล (ภายในและภายนอกองค์กร) องค์ประกอบสำคัญของการบูรณาการการสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. วิธีการและรูปแบบที่ใช้ในการถ่ายทอดหรือเผยแพร่ข้อมูล 2. แผนการสื่อสาร และ 3. ขั้นตอนกระบวนการในการถ่ายทอดข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

การจัดการข้อมูลและข่าวสาร เพื่อให้การจัดการภาวะฉุกเฉินมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการจัดการข้อมูล และข่าวสารดังนี้ รวบรวมข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดการข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ การจัดการข่าวสาร/ข่าววกรองจะต้องจัดให้มีกระบวนการรวบรวมข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดการข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ เพื่อให้ระบบบัญชาการเหตุการณ์สามารถจัดการภาวะฉุกเฉิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1. การกำหนดมาตรฐาน การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 2. การบัญชาการ การแต่งตั้งและการถ่ายทอดอำนาจการบัญชาการ สายการบังคับบัญชาและเอกภาพของการบัญชาการ การบัญชาการร่วม 3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ โครงสร้างองค์กรแบบโมดุลลา (Modular) ช่วงการควบคุมที่เหมาะสม 4. พื้นที่ปฏิบัติการและทรัพยากร การจัดพื้นที่ปฏิบัติการ การจัดการทรัพยากรครบวงจร 5. การสื่อสารและการจัดการข่าวสาร การบูรณาการด้านการสื่อสาร การจัดการข่าวสารและข่าวกรอง 6. ความเป็นมืออาชีพ ความรับผิดชอบ การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ ชุดคุณลักษณะที่สำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ชุดสุดท้าย ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งประกอบ้วยคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการได้แก่ • ความรับผิดชอบ และ • การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่

ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานประกอบด้วย การรายงานตัวเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในระบบ การปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการตอบโต้เหตุการณ์ การรับฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of control) การติดตามการใช้ทรัพยากร เป็นหลักการสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติการภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ คุณลักษณะนี้มุ่งเน้นที่วามรับผิดชอบของบุคคล ซึ่งจะต้องเป็นไปตามนโยบาย มาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยทั่วไปหลักการที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบมีดังนี้ 1. การรายงานตัว (Check in) เจ้าหน้าที่กคนจะต้องเข้ารายงานตัวเพื่ออรับมอบภารกจิตามข้ันตอนกระบวนการที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์กำหนด 2. การปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการตอบโต้เหตุการณ์หรือแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด 3. รับฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือหลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) 4. ช่วงการควบคุม หัวหน้าจะต้องสามารถควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนสื่อสาร และบริหารจัดการทรัพยากรที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ 5. การติดตามการใช้ทรัพยากร ผู้รับผิดชอบจะต้องบันทึกและรายงานสถานะการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

การส่งบุคลากรและอุปกรณ์ลงพื้นที่ ในทุกเหตุการณ์: ต้องมีการประเมินสถานการณ์และปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก การส่งคนลงพื้นที่ต้องเป็นคำสั่งจากผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น เราควรมีแผนการชัดเจนในการจัดส่งคนและของลงพื้นที่ และจะส่งคนหรือของลงไปในพื้นที่ตามความจำเป็น และตามที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ร้องขอเท่านั้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ในส่วนกลางทำหน้าที่ให้การสนับสนุนผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ ข้อควรระวังคือ จะต้องไม่ส่งคนที่ไม่พร้อมลงพื้นที่ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายกับคนกลุ่มนี้ขึ้นมาได้ (ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคนทำงาน) และการส่งคนลงพื้นที่จะต้องเป็นคำสั่งจากผู้บัญชาการเหตุการณ์ (หรือผู้ที่ได้รับการมอบอำนาจเท่านั้น) ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรตัดสินใจเอง (Never self-deploy)

คำถาม และข้อคิดเห็น