การวิจัยทางธุรกิจ Business Research

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
10303 วิธีการปริมาณทางธุรกิจ Quantitative Analysis
Advertisements

Business Database หน่วยกิต 3(3-0-6) บรรยาย : วันพุธ เวลา 13:00- 16:00 น. ห้อง B1207 ses/204406/ htm.
วิธีการแสวงหาความรู้
โดย อาจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ
: ความหมาย และประเภทการวิจัย
การออกแบบการวิจัย (Research Design)
มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ประเภทของการวิจัย. แบ่งตามวัตถุประสงค์ ของการศึกษา การวิจัยเพื่อสำรวจ (Exploratory Research) การวิจัยเพื่อพรรณนา (Descriptive Research) การวิจัยเพื่ออธิบาย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระบบสารสนเทศในหน่วยธุรกิจ
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อการทำวิจัยอย่างง่าย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
การออกแบบปัญหาการวิจัย
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
Individual Scorecard การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย ระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล และเทคนิคการจัดทำตัวชี้วัดรายบุคคล.
การวเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ
แปลว่าความรู้(Knowledge)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว
GS 3305 Research in Educational Administration
บทที่ 3 ตัวแปรและสมมติฐาน.
Marketing Concept วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด แบ่งได้ 5 แนว
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
การทำงานเชิงวิเคราะห์
ประเภทของการวิจัย อาจารย์พุทธิวัฒน์ ไวยวุฒิธนาภูมิ
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
เรวัต แสงสุริยงค์ ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการบริการสังคม (Research Method of Social Service) กระบวนการวิจัย เรวัต แสงสุริยงค์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการ โลจิสติกส์
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การบริหารและประเมินโครงการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา “
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
วิจัยทางการพยาบาล ดร.อัญชลี จันทาโภ.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
การวิเคราะห์อนุกรมเวลา และการพยากรณ์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การวิจัยพัฒนา การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงผสานวิธี
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
การบริหารทีมงานและภาวะผู้นำ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
บทที่ 6 การควบคุมภายใน.
การวิจัย “อนาคตเด็กไทยที่พึงประสงค์”
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
Introduction to Public Administration Research Method
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
Introduction to Public Administration Research Method
บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ (ต่อ)
สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารการตลาด (The Marketing Information Gathering)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิจัยทางธุรกิจ Business Research ศึกษาความหมาย บทบาท ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัยทางธุรกิจ จรรยาบรรณของนักวิจัย ประเภทของการวิจัยทางธุรกิจ ขั้นตอนการวิจัย การเลือกปัญหาการวิจัย การกำหนดจุดมุ่งหมาย การตั้งคำถามในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างตัวแปรและเทคนิคการตั้งสมมติฐาน การเลือกรูปแบบการวิจัย เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่สอดคล้องกับการวิจัยแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูล การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการเตรียมข้อมูลและประมวลผลข้อมูล การเขียนโครงการวิจัย การเขียนรายงานวิจัย

หัวข้อเนื้อหา บทที่ 1. บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ บทที่ 1. บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ บทที่ 2 กระบวนการของการวิจัยทางธุรกิจ บทที่ 3 การกำหนดปัญหาการวิจัยและ การทบทวนวรรณกรรม บทที่ 4 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย บทที่ 5 การออกแบบการวิจัย บทที่ 6 การวัดกับวิธีการทางสถิติ บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง

หัวข้อเนื้อหา (ต่อ) บทที่ 8 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 8 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 9 กรรมวิธีทางข้อมูล บทที่ 10 สถิติกับการวิจัยทางธุรกิจ บทที่ 11 การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น บทที่ 12 การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการ วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน บทที่ 13 การเขียนรายงานการวิจัย

การประเมินผล 1. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10% 1. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10% 2. โครงการวิจัย 1 หัวข้อ (ประกอบด้วยการเขียน ข้อเสนอโครงการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ รายงานผลการวิจัยและการนำเสนอ) 30% 3. สอบกลางภาค 30% 4. สอบปลายภาค 30% รวม 100%

ตำราประกอบการสอน หนังสืออ่านประกอบ บัณฑิต ผังนิรันดร์ และ วนิดา สุวรรณนิพนธ์. (2547). การวิจัยทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หนังสืออ่านประกอบ 1. เพ็ญแข แสงแก้ว. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : หจก.ฟันนี่พลัพลิชชิ่ง , 2. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3. William G. Zikmund. (2000). Business Research Methods. 7 th ed.: The Dryden Press.

บทที่ 1 บทนำของวิธีวิจัยธุรกิจ บทที่ 1 บทนำของวิธีวิจัยธุรกิจ ปัจจุบันการวิจัยมีความสำคัญต่อองค์การต่าง ๆ อย่างมากไม่ว่าจะเป็นองค์การทางด้านการศึกษา องค์การของทางราชการ องค์การธุรกิจ เนื่องจากการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริง เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ หรือเป็นการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

นักวิชาการและผู้บริหาร จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย นักวิชาการและผู้บริหาร จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำวิจัยและสามารถดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยได้ การวิจัยในปัจจุบันได้ใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 1. การกำหนดปัญหา (Problem) 2. การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Gathering Data) 4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) 5. การสรุปผลการวิจัย (Conclusion) บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

วิจัยทางธุรกิจ (Business Research) การวิจัยเชิงประยุกต์ ในเนื้อหาวิชา การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) การวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) แบ่งตามประโยชน์ของการนำไปใช้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การหาความรู้ความจริงมาสู่การวิจัย วิวัฒนาการของ การหาความรู้ความจริงมาสู่การวิจัย 1. การไต่ถามผู้รู้ (Authority) 2. การใช้ประสบการณ์ (Experience) 3. วิธีอนุมาน (Deductive method) 4. วิธีการอุปมาน (Inductive method) 5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)

1. การไต่ถามผู้รู้ (Authority) เมื่อเราประสบปัญหาหรือใคร่อยากจะทราบเรื่องใด วิธีที่ง่ายที่สุด คือการถามผู้อื่นที่รู้เรื่องนั้น ผู้รู้ที่ใช้ในการไต่ถามนั้นอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถ หรือผู้ชำนาญการที่มีความรู้เฉพาะวิชา รวมทั้งการได้จากขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ด้วย

2. การใช้ประสบการณ์ (Experience) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ มนุษย์จะระลึกถึงประสบการณ์ที่เคยผ่านมา และรวบรวมประสบการณ์เหล่านี้มาใช้ในการแก้ปัญหาหรือสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมา

3. วิธีอนุมาน (Deductive method) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นคนแรกที่ใช้วิธีการค้นหาความรู้ความจริง โดยการคิดเชิงเหตุผลด้วยการอ้างข้อเท็จจริงที่พบแล้วว่าจริงมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงหรือความรู้ใหม่ ข้อเท็จจริงใหญ่ ข้อเท็จจริง ใหม่ คนทุกคนต้องตาย นาย ก. ต้อง ตาย นาย ก. เป็นคน ข้อเท็จจริงย่อย

วิธีการอนุมานของอริสโตเติลพบว่ามีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ ได้แก่ 4. วิธีการอุปมาน (Inductive method) วิธีการอนุมานของอริสโตเติลพบว่ามีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. ข้อสรุปจะถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงใหญ่ กับข้อเท็จจริงย่อย ถ้าข้อเท็จจริงใหญ่หรือข้อเท็จ จริงย่อยหรือทั้งคู่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อสรุปผิด พลาด 2. วิธีการอนุมานไม่ช่วยให้พบความรู้ความจริงใหม่ๆ เพราะข้อสรุปที่ได้อยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงใหญ่

ข้อสรุปที่ผิดพลาด ข้อเท็จจริงใหญ่ - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออกลูกเป็นตัว ข้อเท็จจริงใหญ่ - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออกลูกเป็นตัว ข้อเท็จจริงย่อย - ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ข้อสรุป - ตุ่นปากเป็ดออกลูกเป็นตัว

ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) จึงได้เสนอว่าการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อเท็จจริงใหม่นั้น จะต้องทำ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงย่อย ๆ เสียก่อน ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล นำมาจำแนกแยกประเภท ตามลักษณะและหาความสัมพันธ์ของข้อเท็จ จริงตามลักษณะต่าง ๆ ขั้นที่ 3 แปลความหมายและสรุปผล การหาข้อสรุปโดย ใช้ตัวอย่างเหมาะสมและสมเหตุผลหรือไม่

วิธีอุปมาน (Inductive method) ของฟรานซิสเบคอน ขั้นที่ 1. นกในประเทศต่าง ๆ มีปีก ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลว่า ข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน จริงหรือไม่ ขั้นที่ 3 นกทุกชนิดมีปีก

5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้นำวิธีการ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ ที่ใช้ทั้งวิธีการอนุมานและวิธีการอุปมานร่วมกัน การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธี อนุมาน ในการคาดคะเนคำตอบ หรือตั้งสมมติฐานก่อน แล้วใช้วิธี อุปมาน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานว่าเชื่อถือได้หรือไม่ จากนั้น จึงสรุป เป็นความรู้หรือข้อเท็จจริงใหม่

วิธีทางวิทยาศาสตร์... ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หลังจากนั้น จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้เอาแนวความคิดของชาร์ล ดาร์วิน มาพัฒนา โดยเขียนลงในหนังสือ How we think สรุปการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้

ระเบียบวิธีที่มีกฎเกณฑ์ 1. การสังเกตการณ์และการใช้นิยามปัญหา 2. การตั้งสมมติฐาน 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. การพิสูจน์สมมติฐาน เป็นการดำเนินการเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ใช้ได้หรือไม่ จากข้อสรุปจากการทดสอบ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ความหมายของการวิจัย การวิจัย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ.2525) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การวิจัย ตามที่ พ.ร.บ. สภาการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความหมายของการวิจัย การวิจัย ตามที่ พ.ร.บ. สภาการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าที่มีระบบแบบแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การวิจัยตามพจนานุกรมของนายเวบสเตอร์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Research และได้ให้ความหมายไว้ว่า “การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างละเอียด เพื่อค้นคว้าหาข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสร้างกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

เบส (Best 1977) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า “การวิจัยหมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็น ระบบและมีวัตถุประสงค์ และการบันทึกข้อมูลหรือการ ควบคุมสิ่งที่ต้องการสังเกต ความรู้ที่ได้สามารถนำไป ใช้อ้างอิง หรือสร้างเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีต่างๆ เพื่อ เอาไว้ใช้ในการคาดการณ์และควบคุมการเกิด ปรากฏการณ์ที่เป็นผลตามมาโดยทั่วไปและปรากฏการณ์เฉพาะเรื่อง” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

เคอร์ลิงเจอร์ (1986,หน้า 10) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า “การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกต เหตุการณ์จริง และมีการวิพากวิจารณ์ โดยมีทฤษฎี และสมมติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปรากฏการณ์นั้น” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544,หน้า 1) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า “การวิจัยหมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา ที่ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ และรายงานเผยแพร่” บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

R = Recruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มี ที่ประชุม Pan Pacific Congress ในปี ค.ศ. 1961 ณ สหรัฐอเมริกา ได้แยกอธิบายความหมายของตัวอักษรภาษาอังกฤษของคำว่า "RESEARCH" R = Recruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มี ความรู้รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงานร่วมกัน E = Education & Efficiency หมายถึงผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง และผู้วิจัยต้องมีพลังกระตุ้นในความคิดริเริ่ม และกระตือรือร้นที่จะทำวิจัย E = Evaluation & Environment หมายถึงการรู้จักประเมินผลดูว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการวิจัย A = Aim and Attitude หมายถึงมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

R = Result หมายถึง ผลการวิจัยที่ได้มาจะเป็นผลทางไหนก็ตาม จะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้น เพราะเป็นผลที่ได้จากการค้นคว้าอย่างมีระบบ C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความหอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา H = Horizon หมายถึง เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจปัญหาเหล่านั้น ถ้ายังไม่ทราบและเข้าใจจะต้องดำเนินการวิจัยต่อจนกว่าจะบรรลุ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ความหมายของการวิจัยนี้ อาจสรุปได้ว่า การทำวิจัยจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญคือ 1. การวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การ สร้างกฎเกณฑ์ และทฤษฎีใหม่ ๆ 2. การวิจัยจะมีลักษณะของการกระทำอย่างมีระบบ สามารถวางแผนไว้ล่วงหน้าและเป็น การวางแผน อย่างมีเหตุผล อันจะนำไปสู่การค้นพบที่เชื่อถือได้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

3. การวิจัยมักจะเป็น การแก้ปัญหา หรือ ตรวจสอบปัญหา ซึ่งปัญหานี้สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ 4. การวิจัยต้องอาศัยความสามารถรอบรู้ เพื่อจะได้มองเห็นสภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหา 5. การวิจัยต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่ เพื่อนำไปใช้ตรวจสมมติฐานที่ตั้งไว้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

6. การวิจัยต้องอาศัยข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพดีเพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่เชื่อถือได้ 7. การวิจัยต้องมีการจดบันทึกและรายงานผลอย่างละเอียด เพื่อสื่อสารผลงานให้ผู้วิจัยอื่น ๆ ทราบ เพื่อนำไปทดสอบซ้ำหรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ประเภทของการวิจัย 1. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของ การนำผลไปใช้ 2. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามลักษณะของข้อมูล 3. ประเภทการวิจัยแบ่งตามลักษณะของปัญหา 4. ประเภทการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

1. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของ การนำผลไปใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 การวิจัยพื้นฐาน หรือ การวิจัยบริสุทธ์ (Basic and Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแสวงหาความรู้ หรือความจริง เพื่อสร้างกฎ สูตร ทฤษฎี ในแต่ละสาขา เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป การวิจัยแบบนี้มักจะใช้เวลานานและใช้ประโยชน์ได้ต่อเมื่อมีการวิจัยต่อ เช่น การวิจัยทางทฤษฎีการเรียนรู้โดยทดลองกับหนูหรือกับนก เป็นต้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

1. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของ การนำผลไปใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลจากการวิจัย หรือ ข้อค้นพบ จากวิจัยพื้นฐานไปใช้ทดลองแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงสภาพของสังคม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น เช่น การวิจัยถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน การวิจัยถึงสาเหตุที่ทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง เป็นต้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

1.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ และนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยตรง ผลการวิจัยนี้ใช้ได้ในขอบเขตของปัญหานั้นเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

2. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามลักษณะของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นจะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตัวเลข และต้องใช้วิธีการทางสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจะสรุปผล และส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ สถิติอนุมาน เช่น การวิจัยเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน เป็นต้น การวิจัยเชิงปริมาณถ้าต้องการรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต หรือการสัมภาษณ์แล้วจะต้องให้ได้ผลออกมาในเชิงปริมาณ และทำการวิเคราะห์หาข้อมูลสรุปผลโดยใช้วิธีการทางสถิติ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

2. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามลักษณะของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ไม่สามารถทำในรูปปริมาณได้ การเก็บข้อมูลมักใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น แล้วสรุปอธิบาย หรือบรรยายด้วยถ้อยคำ อาจมีการใช้สถิติบ้างแต่เป็นขั้นพื้นฐาน เช่น การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ เป็นต้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

3. ประเภทการวิจัยแบ่งตามลักษณะของปัญหา 3.1 การวิจัยเชิงสืบเสาะ (Exploratory Research) 3.2 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) 3.3 การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) เป็นการวิจัยที่ต้องออกสำรวจในลักษณะที่เจาะลึกลงไปด้านใดด้านหนึ่ง และมีเป้าหมายที่จะได้เป็นข้อมูลใหม่ซึ่งหารายงานอ้างอิงไม่ได้ การวิจัยจะมุ่งศึกษาหาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งศึกษาหาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติ แนวคิด หรือเจตคติ โดยเน้นถึงเรื่องราวในปัจจุบันเป็นสำคัญ เป็นการวิจัยโดยการสำรวจวิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลที่ได้จากการดำเนินงาน บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4. ประเภทการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย 4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในลักษณะของการศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เพื่อสืบประวัติความเป็นมาเชิงวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ ทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น และหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน เพื่อใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต เช่น การวิเคราะห์วรรณกรรมของสุนทรภู่ เป็นต้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4. ประเภทการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย 4.2 การวิจัยเชิงย้อนรอย (Ex post factor Research) เป็นการวิจัยซึ่งการศึกษาจากผลไปหาสาเหตุ ซึ่งทั้งผลและเหตุเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว วิธีการศึกษาเริ่มจากการกำหนดผลหรือตัวแปรตามก่อน แล้วค่อยค้นหาสาเหตุ ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระที่ทำให้เกิดผล ตัวแปรตามนั้น เช่น การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไปประกอบอาชีพในประเทศตะวันออกกลางของชาวไทย เป็นต้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4. ประเภทการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย 4.3 การวิจัยสำรวจ (Survey Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อเท็จจริงที่มีอยู่ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรเกิดขึ้นบ้างแล้วบรรยายสถานภาพที่มีอยู่นั้นให้ทราบ และอาจเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่มีอยู่ในลักษณะต่าง ๆ หรือเงื่อนไขต่างกัน และอาจเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่มีอยู่ในลักษณะต่าง ๆ หรือเงื่อนไขต่างกัน และอาจเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เป็นมาตรฐานก็ได้ เช่น การสำรวจค่าใช้จ่ายของแม่บ้าน สำรวจทัศนคติของนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ข้อเท็จจริงที่ได้ทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปร บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4. ประเภทการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย 4.4 การวิจัยโดยการสำมะโน (Cencus Research) เป็นการวิจัยที่เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดที่เราต้องการโดยการแจงนับ ใช้กับข้อมูลที่มีจำนวนไม่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4.5 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงด้วยการทดลองภายใต้การควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนและสามารถกระทำซ้ำเพื่อพิสูจน์หรือทดสอบผลอีกได้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

4.6 การวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งพิจารณากำหนดคุณค่าหรือระดับความสำเร็จของกิจกรรมและเสนอแนะสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่อไป 4.7 การศึกษาเฉพาะราย (Case Study) เป็นการศึกษาเฉพาะกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งในระยะเวลาหนึ่งๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะของกลุ่ม บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ความหมายการวิจัยธุรกิจ นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2546,หน้า 4) ได้ให้ความหมายของการวิจัยธุรกิจว่า… หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

เตือนจิตต์ จิตต์อารี (2542,หน้า 34) ได้ให้ความหมายของการวิจัยธุรกิจว่า… หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์หาความจริงเกี่ยวกับธุรกิจ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีวัตถุประสงค์ตามกระบวนการของการวิจัย มีการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางการธุรกิจ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ซิคมันต์ (Zikmund, 2000, p. 5) ได้ให้ความหมายของการวิจัยธุรกิจว่า… หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบและมีวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม บันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยธุรกิจ แยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.เพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ งานวิจัยตามวัตถุประสงค์นี้เป็นการวิจัยที่จัดอยู่ในประเภทการวิจัยประยุกต์ 2.เพื่อสร้างทฤษฎีหรือแนวความคิดใหม่ทางการบริหาร งานวิจัยตามวัตถุประสงค์นี้จัดอยู่ในประเภทการวิจัยบริสุทธิ์ 3.เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี เนื่องจากทฤษฎีต่าง ๆที่สร้างขึ้นมา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

บทบาทของการวิจัย 1.แนวคิดทางวิทยาการแขนงต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ทำให้องค์กรเกิดการเจริญเติบโตและมั่นคงอย่างยั่งยืนการวิจัยมีบทบาททำให้องค์บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.ในยุคที่การแข่งขันและการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจเกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการแข่งขันกันมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ และได้เปรียบคู่แข่งขัน บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

บทบาทของการวิจัย 3. การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วมีผลต่อการผลิตสินค้า และบทบาทของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ทัศนคติและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การวิจัยจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อค้นหาทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและผู้บริโภค 4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการส่งข่าวในรูปแบบที่หลากหลายและถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถรับข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น และมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น การวิจัยจึงมีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

บทบาทของการวิจัย 5. ทรัพยากรที่มีจำกัด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการบริการและการวางแผนที่ดี การวิจัยจึงมีบทบาทต่อการช่วยค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด อันนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 6. ความไม่แน่นอนของการตัดสินใจทางธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากสภาวะแวดล้อมของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การวิจัยจึงมีบทบาทต่อการช่วยค้นหาคำตอบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ โดยมีความเสี่ยงน้อยลงและมีความเชื่อมั่นมากขึ้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ขอบเขต (หัวข้อ) สำคัญในการวิจัยธุรกิจ การวิจัยธุรกิจมีขอบเขตตามความหมายธุรกิจ (Business) ซึ่งประกอบด้วย การผลิต (Production) การตลาด (Marketing) การจัดการ (Management) การเงิน (Finance) ในขอบเขตการวิจัยธุรกิจอย่างแคบจะมุ่งที่การวิจัยของบริษัทที่ต้องการกำไร แต่ในความหมายของการวิจัยธุรกิจที่กว้างจะรวมถึงองค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไรด้วย บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ด้านทรัพยากรมนุษย์ ( Human resources) การบริหาร (Management) การวิจัยธุรกิจเป็นเครื่องมือการบริหารที่สำคัญในองค์การ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจในการบริหารทุกลักษณะของธุรกิจ เช่น การเงิน (Finance) การตลาด (Marketing) ด้านทรัพยากรมนุษย์ ( Human resources) การบริหาร (Management) บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

หน้าที่ของธุรกิจต่าง ๆ มีดังนี้ หน้าที่ของธุรกิจต่าง ๆ มีดังนี้ การบัญชี (Accounting) ประกอบด้วยระบบการควบคุมงบประมาณ การปฏิบัติการและกระบวนการซึ่งต้องมีการสำรวจอย่างสม่ำเสมอ วิธีการศึกษาต้นทุนสินค้าคงเหลือ ค่าเสื่อมราคาสะสม พฤติกรรมอนุกรมเวลา (Time Series) ของยอดขาย การเปลี่ยนแปลงการตั้งราคา อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน วิธีการด้านภาษีอากรและอื่น ๆ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การเงิน (Finance) เป็นการดำเนินงานของสถาบันด้านการเงิน อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม การรวมตัวกันและการซื้อกิจการ การเงินระหว่างบริษัท การซื้อหุ้น บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การจัดการ (Management) เป็นการศึกษาทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ของพนักงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากรศาสตร์ต่อทักษะการบริการ การปฏิบัติการผลิต การกำหนดกลยุทธ์ ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

การตลาด (Marketing) เป็นการระบุปัญหาสำหรับภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การจัดจำหน่าย การบรรจุภัณฑ์ การตั้งราคา การให้บริการหลังการขาย ความพึงพอใจของผู้บริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ประโยชน์ที่ฝ่ายบริหารจะได้รับจากการวิจัยธุรกิจ 1. การวิจัยช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางขึ้นช่วยให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้หรือรู้และเข้าใจดียิ่งขึ้น 2. ช่วยให้ทราบข้อเท็จจริงตามความเป็นจริงในหน่วยงานและนำมาบริหารและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 3. ช่วยในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลมากขึ้น 4. ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ประโยชน์ที่ฝ่ายบริหารจะได้รับจากการวิจัยธุรกิจ 5. ช่วยในการกำหนดนโยบายและการวางแผนได้อย่างรวดเร็วและประหยัด โดยนักบริหารจะได้ใช้ข้อมูลจากการวิจัยมากำหนดนโยบายและวางแผน . 6. ช่วยให้เกิดการประสานงานและความเข้าใจระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของธุรกิจ 7. ช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม เพื่อหาสาเหตุที่เกิดปัญหาและหาทางแก้ไขได้ถูกต้อง เช่น การลดคาใช้จ่ายที่ทำให้ต้นทุนสูงจะช่วยเพิ่มพูนกำไรให้ธุรกิจ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ประโยชน์ที่ฝ่ายบริหารจะได้รับจากการวิจัยธุรกิจ 8. ช่วยให้ผู้บริหารมีการวินิจฉัยสั่งการและตัดสินปัญหาได้ผลดียิ่งขึ้น . 9. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของตนได้ผลดียิ่งขึ้น 10. ทำให้ผู้บริหารมองเห็นแนวโน้มหรือทิศทางของธุรกิจในอนาคต บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ลักษณะของนักวิจัยที่ดี 1. มีความซื่อสัตย์ (Honesty) ในการทำงาน 2. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) ต่องาน ได้งานตามเวลา 3. มีความคิดริเริ่ม (Initiative) เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต 4. เป็นผู้มีความรู้จริงมีไหวพริบและเข้าใจเรื่องที่จะทำวิจัย 5. ไม่มีอคติ (Unbias) มีใจเป็นกลาง 6. มีความอดทน (Endurance) ในการวิจัย 7. กล้าตัดสินใจ (Effective Decision Making) 8. มีใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นๆ (Broad Minded) 9. มีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

ลักษณะของนักวิจัยที่ดี 10. มีความซื่อสัตย์สุจริตและตรงต่อเวลา (Honesty & Punctuality) 11. รู้จักรักษาความลับ (Confidential) และรู้ว่าสิ่งใดควรปกปิดหรือเปิดเผย 12. มีความสามารถในการบริหารงานวิจัย (Dissect Research & Administration) 13. มีความสามารถในการสร้างเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการวิจัย โดยทำการ ทดสอบและพิสูจน์เครื่องมือจนใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 14. เป็นผู้รู้จักประหยัด สามารถจัดการการใช้เงิน เวลา แรงงาน วัสดุและทรัพยากรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 15. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเปิดรับข่าว สารจากทั่วโลกและทำให้ได้ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

จรรยาบรรณนักวิจัย 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรม ในทางวิชาการ และการจัดการ 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำการวิจัย 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต บทที่ 1 บทนำของการวิจัยทางธุรกิจ

จรรยาบรรณนักวิจัย 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย 6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ในประโยชน์ในทางที่ชอบ 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ