ชั่วโมงที่ 34–35 ไขมันและน้ำมัน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ปฏิกิริยาการเตรียม Amines
Advertisements

เฉลยการบ้าน Stereochemistry
ทบทวนเรื่องความเสถียรของอัลคีน
ปฏิกิริยาจัดเรียงตัว
a Specific rotation polarimeter a [a] = c.l Sample cell t temperature
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
หลักโภชนาการ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
several stereocenters
Cellular Respiration 18,25 ก.ย. 56
Experiment 4 The Reaction Rate of Ethyl Acetate and Hydroxyl ion
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน น้ำมันพืชและไขมันสัตว์
สารกระตุ้นสมรรถภาพการผลิต
โดย ศ.ชโลบล อยู่สุข “ชมรมอยู่ดีมีสุข” วันที่ 1 ตุลาคม 2551
Welcome to Food for Health.
Protein.
ไขมัน (Lipids or Fat) ประโยชน์ :  ธาตุที่เป็นส่วนประกอบ :- C H O
1. การจัดแยกประเภทของเสียในห้องปฏิบัติการ 2
Part4 : Alcohols and Reaction of Alcohols
Chemical Properties of Grain
บทที่ 6 Alcohols and Ethers
บทที่ 3 Alkenes & Alkynes
New drugs treatment of type 2 DM
whey เวย์ : casein เคซีน
 Not breathing!  Respiration is the process of releasing energy from food molecules  Bacteria and Fungi carry out: - Aerobic respiration ( การหายใจแบบใช้
การสังเคราะห์กรดไขมัน (ที่อยู่นอก Mitochondria)
Triacylglycerol สารประกอบที่มีองค์ประกอบในรูปนี้ มีชื่อว่าอะไร
การใช้ไขมันในอาหารโคนม
Citric Acid Cycle.
ไลโปโปรตีน ในเลือด แบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
กรดไขมัน กรดไขมันอาจมีอยู่เป็น องค์ประกอบของลิพิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปอิสระ โดยทั่วไปกรดไขมันจาก ธรรมชาติ มีแกนโมเลกุลเป็น คาร์บอน จำนวนเป็นคู่ เรียง.
ภาคต้น 2557 เรื่อง Lipids (ตอนที่ 1)
METABOLIC RELATED OBESITY
เคมีของชีวิต สารประกอบอินทรีย์
มาตรฐานไบโอดีเซล สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง.
Applied Biochemistry 2 nd Semester 2015 Tue 5 Apr /25.
การแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย ข้าราชการ
เทคนิคเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ Functional Foods
ไขมัน(Lipid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน สามารถแยกได้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล เป็นสารอาหารที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากอาหาร.
ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil)
อาหาร เพื่อสุขภาพ 16feb11.
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เชื้อเพลิงและสารหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์
อินทรียวัตถุในดิน (Soil Organic Matter).
อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(Introduction to Soil Science)
REACTIONS OF ALKENES : คือปฏิกริยาที่ C=C bond ADDITION
บทที่ ๓ กินเป็น อยู่เป็น
สารละลาย(Solution).
สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ดร.ธิดา อมร.
สารชีวโมเลกุล คือ สารชีวโมเลกุล
กากไขมันเหลือใช้ไม่ไร้ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์จากของเสียเหลือทิ้ง
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 164/2560
ชั่วโมงที่ 6–7 พันธะไอออนิก และพันธะโคเวเลนต์
/ Soil Fertility and Plant Nutrition
ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก
เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) บทที่ 10 สารชีวโมเลกุล (Biomolecules)
เป้าหมายการพัฒนางานวัยรุ่น ปี 2560
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
Alkyne และ Cycloalkyne
LIPID METABOLISM อ. ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ - KETOGENESIS
เครื่องมือเครื่องใช้ในสปา
สารละลายกรด-เบส.
122351/ Soil Fertility and Plant Nutrition
การจัดการความรู้ กรมชลประทาน Knowledge management (KM)
สอนอย่างมืออาชีพ หยุดยั้งพฤติกรรมเสี่ยง
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ ณ ห้องประชุมย่อยศูนย์สถานการณ์น้ำ
แผนงานโครงการที่จะนำไปใช้เพื่อ การแก้ปัญหาสุขภาพหรือบริการ
ฉลากหวาน มัน เค็ม หรือฉลาก GDA (Guideline Daily Amount) คือ ฉลาก ที่แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ในหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ เช่น ซอง ถุง กล่องของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ชั่วโมงที่ 34–35 ไขมันและน้ำมัน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 ชั่วโมงที่ 34–35 ไขมันและน้ำมัน

สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 ไขมันและน้ำมัน เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 ไขมันและน้ำมัน 2 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.1 แหล่งอาหารที่ให้ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 2.4 บทบาทและหน้าที่ของไขมัน จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

ทั้งพลังงานและความอบอุ่น ควรบริโภคอาหารประเภทใด เพราะอะไร ถ้าร่างกายต้องการ ทั้งพลังงานและความอบอุ่น ควรบริโภคอาหารประเภทใด เพราะอะไร 1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยการถามคำถามกับนักเรียนว่า ถ้าร่างกายต้องการ ทั้งพลังงานและความอบอุ่นควรบริโภคอาหารประเภทใด เพราะอะไร 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบจากบทเรียนเพื่อ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ไขมันและน้ำมัน ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

 2. ไขมันและน้ำมัน  ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) ขนาดโมเลกุลใหญ่ ไม่ละลายในน้ำ WATER  2. ไขมันและน้ำมัน ครูคลิกแสดงสมบัติของไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) ตามลำดับ พร้อมอธิบายในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 65 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) ละลายในตัวทำละลาย อินทรีย์บางชนิด ORGANIC 

2.1 แหล่งอาหารที่ให้ไขมันและน้ำมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.1 แหล่งอาหารที่ให้ไขมันและน้ำมัน พืช แหล่งอาหารใดที่ให้ไขมันและน้ำมัน ผล เมล็ด สัตว์ ไขมันสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล 2. ไขมันและน้ำมัน 2.1 แหล่งอาหารที่ให้ไขมันและน้ำมัน 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า แหล่งอาหารใดที่ให้ไขมันและน้ำมัน 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงว่า อาหารที่พบไขมันมีทั้งพืช และสัตว์ เช่น ในพืชพบได้ทั้งในผลของพืชบางชนิด และเมล็ดของพืช ส่วนในสัตว์พบได้ ในไขมันสัตว์ ไข่แดง และอาหารทะเล

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน C H O ไขมันและน้ำมัน น้ำมัน l ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ไขมัน s ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) กลีเซอรอล (glycerol) 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกเพื่อแสดงธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของไขมันและน้ำมัน คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) 2) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงว่าไขมันเป็นส่วนที่เป็นของแข็ง (s) และน้ำมันเป็นส่วนที่เป็น ของเหลว (l) โดยพบในรูปของสารประกอบไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) 3) ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงสูตรโครงสร้างการเกิดสารประกอบไตรกลีเซอไรด์ พร้อมอธิบายว่า ไตรกลีเซอไรด์จะต้องประกอบด้วยกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุลทำปฏิกิริยากับกลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล กรดสเตียริก (fatty acid)

O C17H35 – C – OH 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน กรดไขมันประกอบด้วย 2 ส่วน C17H35 – C – OH  O สารประกอบไฮโดรคาร์บอน C – C , C = C , C  C หมู่คาร์บอกซิล สมบัติเป็นกรด 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายโครงสร้างของกรดไขมันว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน และหมู่คาร์บอกซิล ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า ระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอนกับหมู่คาร์บอกซิล ส่วนใดของกรดไขมันที่มีผลต่อสมบัติของกรดไขมัน 3) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบในเฟรมถัดไป ระหว่าง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน กับ หมู่คาร์บอกซิล ส่วนใดของกรดไขมันที่มีผลต่อสมบัติของกรดไขมัน

C–C C=C C ~ 4–24 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ต่างกัน กรดไขมันต่างกันแบ่งเป็น 2 ประเภท กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) C–C พบเฉพาะพันธะเดี่ยว C=C พบในพันธะคู่ C = C > 2 ตำแหน่ง ได้รับจากอาหารเท่านั้นเรียก กรดไขมันจำเป็น (essential fatty acids) C ~ 4–24 ธาตุคาร์บอนประมาณ 4–24 อะตอม 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่แตกต่างกันในกรดไขมันมีผลต่อสมบัติ ของกรดไขมัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) และ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) 2) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบสมบัติที่แตกต่างกันระหว่างกรดไขมันอิ่มตัวและ กรดไขมันไม่อิ่มตัว พร้อมอธิบาย สมบัติที่แตกต่างกัน ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด พบในสัตว์มากกว่าในพืช พบได้ทั้งในสัตว์และพืช

O2 O2  l S m.p. m.p. 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ต่างกัน กรดไขมันต่างกันแบ่งเป็น 2 ประเภท กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) จุดหลอมเหลวสูง m.p. จุดหลอมเหลวต่ำ m.p. l แข็งตัวยาก 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน ครูคลิกตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบสมบัติที่แตกต่างกันระหว่าง กรดไขมันอิ่มตัว และ กรดไขมันไม่อิ่มตัว พร้อมอธิบายสมบัติที่แตกต่างกัน ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด แข็งตัวง่าย S ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้เหม็นหืน O2 ไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จึงไม่เหม็นหืน O2 

นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน นักเรียนจะบอกได้อย่างไรว่าไขมันหรือน้ำมัน ที่ใช้ประกอบอาหารทุกวันนี้ น้ำมันชนิดใด มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ากัน นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า นักเรียนจะบอกได้อย่างไรว่าไขมันหรือน้ำมันที่ใช้ ประกอบอาหารทุกวันนี้ น้ำมันชนิดใดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ากัน ครูให้นักเรียนร่วมกัน อภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลย คำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 24 สังเกตเปรียบเทียบปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันพืชกับ น้ำมันสัตว์ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน กิจกรรมที่ 24 สังเกตเปรียบเทียบปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว ในน้ำมันพืชกับน้ำมันสัตว์ ปัญหา กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีอยู่มากในน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ เพราะอะไร อุปกรณ์ 1. น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง 6. หลอดหยด 1 หลอด น้ำมันปาล์ม น้ำมันข้าวโพด 10 ลบ.ซม. 7. ตะเกียงแอลกอฮอล์ 2. น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย 10 ลบ.ซม. 3. สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน 1 % 10 ลบ.ซม. พร้อมที่กั้นลม และตะแกรงลวด 1 ชุด 4. บีกเกอร์ขนาด 50 ลบ.ซม. 2 ใบ 8. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก 5. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูแนะนำให้แต่ละกลุ่มใช้น้ำมันต่างชนิดกัน เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลา 1. นำน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ชนิดละ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร เทลงในบีกเกอร์ ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ชนิดละ 1 ใบ

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2. นำน้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิดไปอุ่นให้ร้อน

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูแนะนำให้นักเรียนหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนในแต่ละครั้งให้มีขนาดของหยดเท่ากัน 3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 3. หยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงในน้ำมันทั้ง 2 ชนิดทีละหยด คนด้วยแท่งแก้ว รอจนกว่า สีของทิงเจอร์ไอโอดีนหายไป จากนั้นจึงเติมหยดต่อไปจนกระทั่งสีไม่เปลี่ยน สังเกต และนับจำนวนหยดของทิงเจอร์ไอโอดีน บันทึกผล

จำนวนหยดของสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน บันทึกผล ชนิดของน้ำมัน จำนวนหยดของสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ 40 15 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน สรุปผล น้ำมันพืชมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าน้ำมันสัตว์ เพราะทิงเจอร์ไอโอดีนจะเข้าจับกับอะตอมของคาร์บอนตรงพันธะคู่ของกรดไขมันเกิดเป็นสารใหม่ที่ไม่มีสี กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่มากกว่าจะใช้จำนวนหยดของทิงเจอร์ไอโอดีนมากกว่า ซึ่งพบว่าน้ำมันพืชแต่ละชนิดที่นำมาทดสอบมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวแตกต่างกัน 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน ค้นหาคำตอบ 1. จำนวนหยดของสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนใช้เปรียบเทียบกับสิ่งใด จำนวนพันธะคู่ในกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2. น้ำมันชนิดใดที่ใช้สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนมากกว่า เพราะเหตุใด น้ำมันพืชใช้สารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนมากกว่าน้ำมันสัตว์ เพราะส่วนใหญ่กรดไขมันในน้ำมันพืชเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. ผลการสังเกตของแต่ละกลุ่มเหมือนหรือแตกต่างกัน เพราะเหตุใด ผลการสังเกตของแต่ละกลุ่มที่ใช้น้ำมันชนิดเดียวกันควรจะเหมือนกัน แต่ในทางปฏิบัติอาจแตกต่างได้เล็กน้อย เพราะขนาดหยดของสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนอาจไม่เท่ากัน

Pt 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน มีวิธีใดที่ทำให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวไม่เกิดการเหม็นหืนหรือไม่ ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation) หรือ ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน Pt 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน 1) ครูกระตุ้นนักเรียน โดยถามคำถามกับนักเรียนว่า มีวิธีที่ใดที่ทำให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว ไม่เกิดการเหม็นหืนหรือไม่ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation) หรือ ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน ว่าเป็นการทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวไม่เหม็นหืน โดยทำให้พันธะคู่กลายเป็นพันธะเดี่ยวจากการเติมไฮโดรเจน 4) ครูคลิกเพื่อยกตัวอย่างการนำปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน หรือ ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนไปใช้ ประโยชน์ การใช้ประโยชน์ เนยเทียม มาร์การีนจากน้ำมันพืช

2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดไขมัน เมื่อกล่าวถึง “คอเลสเตอรอล” นักเรียนนึกถึงอะไร คอเลสเตอรอล (cholesterol) โทษ ประโยชน์ ถ้าบริโภคมากเกิดไขมัน อุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือด ไขมันอุดตัน สร้างน้ำดี ฮอร์โมนเพศ ร่างกายสร้างวิตามิน D เมื่อรับแสงอาทิตย์ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของไขมันและกรดน้ำมัน 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า เมื่อกล่าวถึง “คอเลสเตอรอล” นักเรียนนึกถึงอะไร 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล พร้อมทั้งยกตัวอย่างประโยชน์และโทษของคอเลสเตอรอลต่อร่างกาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช จำกัด ส่งผลต่อ การเกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับ ระบบหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจและอัมพาต

นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน ไขมันนำไปใช้ประโยชน์ใดได้บ้าง นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า ไขมันนำไปใช้ประโยชน์ใดได้บ้าง ครูให้นักเรียนร่วมกัน อภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบ ที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติ กิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 25 สังเกตประโยชน์จากไขมัน ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

กิจกรรมที่ 25 สังเกตประโยชน์จากไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน กิจกรรมที่ 25 สังเกตประโยชน์จากไขมัน ปัญหา เราสามารถนำไขมันไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใด อุปกรณ์ 1. น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว 5. บีกเกอร์ขนาด 250 ลบ.ซม. 1 ใบ น้ำมันมะกอก 20 ลบ.ซม. 6. กระบอกตวงขนาด 10 ลบ.ซม. 2 ใบ 2. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 7. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน 2.5 โมลต่อลิตร 10 ลบ.ซม. 8. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม 3. น้ำกลั่น 10 ลบ.ซม. และตะแกรงลวด 1 ชุด 4. หลอดทดลองขนาดกลาง 1 หลอด 9. ไม้ขีดไฟ 1 กล่อง 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารก่อนการปฏิบัติกิจกรรม คือ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ครูดูวิธีการเตรียมสารจากหมายเหตุ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด) 1. ใส่น้ำมันพืชลงในบีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2. เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2.5 โมลต่อลิตร จำนวน 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในน้ำมันพืช คนด้วยแท่งแก้วให้ผสมกัน

2.3 ประโยชน์จากไขมัน 3. นำไปต้มประมาณ 10 นาที รอให้เย็น  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 3. นำไปต้มประมาณ 10 นาที รอให้เย็น 4. ใช้แท่งแก้วคนสารเขี่ยสารที่เกิดขึ้นใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง จากนั้น ทำการทดสอบ การเกิดฟองกับน้ำกลั่น สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล

2.3 ประโยชน์จากไขมัน บันทึกผล น้ำมันที่ใช้ทดสอบ ผลที่สังเกตได้  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน บันทึกผล น้ำมันที่ใช้ทดสอบ ผลที่สังเกตได้ ก่อนใส่น้ำกลั่น หลังใส่น้ำกลั่น น้ำมันพืช ของแข็งลักษณะ เป็นไขคล้ายวาสลีน เกิดฟองกับน้ำ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม

2.3 ประโยชน์จากไขมัน สรุปผล  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน สรุปผล น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นไขคล้ายวาสลีนและลื่นมือ เมื่อนำไปทดสอบการละลายน้ำกลั่นจะเกิดฟอง เรียกผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันพืชกับเบสแก่นี้ว่า สบู่ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

2.3 ประโยชน์จากไขมัน ค้นหาคำตอบ  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน ค้นหาคำตอบ 1. นักเรียนสามารถเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2.5 โมลต่อลิตรได้อย่างไร นำโซเดียมไฮดรอกไซด์ 25 กรัม ละลายในน้ำกลั่นจำนวนหนึ่ง แล้วเติมน้ำกลั่นจนสารละลายมีปริมาตร 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก่อนใส่น้ำกลั่นและหลังใส่น้ำกลั่นแตกต่างกันในลักษณะใด 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) ก่อนใส่น้ำกลั่นสารมีลักษณะเป็นไขคล้ายวาสลีน หลังใส่น้ำกลั่นจะเกิดฟอง 3. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร ปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ำมันพืชกับเบสแก่เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า สบู่

การใช้ประโยชน์จากไขมันและน้ำมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน การใช้ประโยชน์จากไขมันและน้ำมัน เกิดจากปฏิกิริยาแซพอนิฟีเคชัน (saponification) ระหว่างน้ำมัน  เบสแก่ ไข (WAX) เคลือบผิวเฟอร์นิเจอร์ เคลือบผิวใบ ป้องกัน การสูญเสียน้ำ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.3 ประโยชน์จากไขมัน ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการใช้ประโยชน์จากไขมันและน้ำมัน ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช จำกัด ส่วนผสม ในลิปสติก

คุณค่าทางโภชนาการ 1 กล่อง บูรณาการอาเซียน พลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม 600 กิโลแคลอรี 48 24 300 มิลลิกรัม *30% *74% *37% *13% คุณค่าทางโภชนาการ 1 กล่อง ควรแบ่งกิน 12 ครั้ง * คิดเป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน ฉลากจีดีเอ (Guideline Daily Amounts: GDA) เป็นข้อมูลโภชนาการที่กำหนดให้แสดงค่าพลังงานของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมเป็นค่าร้อยละปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับในแต่ละวัน ครูคลิกตามลำดับ แล้วอธิบายบูรณาการอาเซียนเพิ่มเติมหรือเสริมความรู้เกี่ยวกับข้อมูล โภชนาการในรูปแบบฉลากจีดีเอ (Guideline Daily Amounts: GDA) ว่าเป็นข้อมูลโภชนาการ ที่กำหนดให้แสดงค่าพลังงานของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมเป็นค่าร้อยละปริมาณสูงสุดที่ควร ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งกำหนดให้พิมพ์บนด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ของอาหารขบเคี้ยว 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ และอยู่ระหว่างขยายให้ครอบคลุม อาหารอื่น ๆ การพิมพ์ข้อมูลโภชนาการในรูปแบบฉลากจีดีเอทำให้ผู้บริโภคเห็นชัดและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนาและต่อยอดจากการแสดงข้อมูลโภชนาการที่ปรากฏด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งในการประชุมอาเซียน ประเทศไทยได้ผลักดันการแสดงฉลากโภชนาการในรูปแบบจีดีเอ ให้เป็นแนวทางเดียวกันในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน และเพื่อยกระดับการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีสุขภาพที่ดี จากการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากข้อมูลโภชนาการในรูปแบบฉลากจีดีเอ ประเทศไทยได้พยายามผลักดันการแสดงฉลากโภชนาการในรูปแบบจีดีเอให้เป็นแนวทางเดียวกันในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อยกระดับการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้ประชาชนในภูมิภาคอาเซียน

2.4 บทบาทและหน้าที่ของไขมัน  2. ไขมันและน้ำมัน 2.4 บทบาทและหน้าที่ของไขมัน ให้พลังงานและความร้อน แก่ร่างกาย บทบาทและหน้าที่ของไขมัน ช่วยป้องกันการสูญเสีย ความร้อนของร่างกาย ช่วยละลายวิตามิน ที่ไม่ละลายน้ำ 2. ไขมันและน้ำมัน 2.4 บทบาทและหน้าที่ของไขมัน ครูขยายความรู้ โดยคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงบทบาทและหน้าที่ของไขมัน พร้อมอธิบาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ป้องกันการกระทบกระเทือน ของอวัยวะภายใน

ไขมันเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร  2. ไขมันและน้ำมัน ไขมันเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร เมื่อเรารับประทานไขมันเข้าไปในร่างกาย น้ำดีจากถุงน้ำดีจะผสมกับเม็ดไขมันขนาดใหญ่ ทำให้ เม็ดไขมันแตกออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียกว่า ไมเซลล์ (micelle) จากนั้นตับอ่อนจะหลั่งเอนไซม์ไลเปส (lipase) ไปจับที่ผิวของไมเซลล์ ทำให้ไขมันแตกตัวเป็น กลีเซอรอล และกรดไขมัน และถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์บุลำไส้ หลังจากนั้นกลีเซอรอล และกรดไขมันจะประกอบขึ้นใหม่เป็นไคโลไมครอน (chylomicron) โดยมีสารโปรตีนมาเคลือบทำให้ไขมันละลายน้ำได้ง่ายขึ้น จากนั้นไคโลไมครอนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองและไหลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้โมเลกุลไขมันเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 2. ไขมันและน้ำมัน ครูขยายความรู้ โดยอธิบายเรื่อง ไขมันเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร จากหัวข้อเชื่อมโยงความคิด กับวิทยาศาสตร์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน 1. ไขมันเกิดจากการรวมตัวทางเคมีของอะไร กลีเซอรอลและกรดไขมัน 2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเหม็นหืนง่ายเพราะอะไร เพราะในโมเลกุลมีพันธะคู่ของคาร์บอนจึงเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นเหม็นหืน 3. การรับประทานอาหารทะเลปริมาณมากเป็นประจำเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพราะอะไร 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ) เพราะอาหารทะเลมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลส่วนเกินจะรวมตัวกับไขมันชนิดอื่น แล้วเกาะตามผนังหลอดเลือดและเกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ ถ้าเกาะผนังหลอดเลือดหัวใจก็จะเป็นโรคหัวใจ

ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ไตรกลีเซอไรด์ในส่วนที่เป็นของแข็งเรียกว่าอะไร ไขหรือไขมัน 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)

สรุป ไขมันและน้ำมัน ไตรกลีเซอไรด์ กลีเซอรอล กรดไขมัน หน้าที่ เช่น ให้พลังงาน ละลายวิตามินที่ ไม่ละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมัน ไตรกลีเซอไรด์ ประกอบด้วย กลีเซอรอล กรดไขมัน เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง กรดไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งเป็น กรดไขมันอิ่มตัว 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับไขมันและน้ำมัน โดยครูให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุป เป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) พบเฉพาะพันธะเดี่ยวของคาร์บอน จุดหลอมเหลวสูง ไม่เหม็นหืน สมบัติ เช่น พบพันธะคู่ของคาร์บอน จุดหลอมเหลวต่ำ เหม็นหืนง่าย สมบัติ เช่น