การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ 2 การประเมินกับ การบริหารงานบุคคล รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
Advertisements

Performance Skills By Sompong Punturat.
What is MEQ Workshop on “MEQ Examination for Preclinical Years”
วิธีการและเครื่องมือ ที่ใช้ในการวัดผล
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
การ ประเมินผ ล. Outline ความสัมพันธ์ระหว่าง การประเมินกับ วัตถุประสงค์ ความสัมพันธ์ระหว่าง การประเมินกับ วัตถุประสงค์ หลักการทั่วไปของการ ประเมิน หลักการทั่วไปของการ.
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ขั้นที่ 1 ออกแบบ โครงสร้างการ ประเมิน ผลสัมฤทธิ์ ขั้นที่ 2 ประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ รายบุคคล (Performance Management.
Education Quality Assurance. 2 Education Quality Assurance?
ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา
Report การแข่งขัน.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Moderate Class More Knowledge
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
นโยบายด้านการทดสอบและมาตรฐานด้าน การประเมิน
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ (Test Quality Analysis)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ระดับหลักสูตร ผศ.ดร.พนมขวัญ ริยะมงคล มีนาคม 2561.
ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค กุมภาพันธ์ 2554
การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
การวัดและประเมินการปฏิบัติ
การวัดและประเมินผลการศึกษา
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยที่ 3: ขั้นการออกแบบ (Design)
การวิจัยในชั้นเรียน( Classroom Action Research)
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
แนวทางการจัดทำรายงาน
แนวทางการบริหารงานเพื่อสอดรับ กับการปรับระบบบริหารงานบุคคล
แนวทางการดำเนินโครงการ โครงการ Internationalization Funds
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
ชิ้นงานที่ 1 ( 10 คะแนน ) ( งานเดี่ยว ) นักเรียนเขียนผังงาน Flowchart แสดงกระบวนการดำเนินงานในการสร้างเว็บไซต์
การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์
ประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556)
การประเมินผลการเรียนรู้
รายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
รายงานการประเมินตนเอง
การเขียนเกณฑ์การให้คะแนน
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4)
การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)
กลุ่มควบคุมโรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 25๖๑
พระพุทธศาสนา.
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
Statistical Method for Computer Science
การวัดและประเมินผลการศึกษา
การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
ดร.ภาสกร พงษ์สิทธากร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.
หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
12-13 พฤษภาคม 2561 ณ หอประชุมภัคพิพิธ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒
Skills of 21st century learning ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3Rs X 7Cs (เรียนรู้ตลอดชีวิต) Reading ’Riting (Writing) ’Rithmetic (Arithmetic) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านเรียนการสอน
แนวทางปฏิบัติงานของบุคลากร ที่ทำหน้าที่งบประมาณ
Performance Skills By Sompong Punturat.
บทที่ 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
การดำเนินงานตามนโยบายปฏิรูป ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
อ.พรพนา ปัญญาสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ผู้วิจัย
งานวิจัย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วิทยากร อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จัดโดย สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจน 2. วิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้น 3. เลือกใช้เครื่องมือและสร้างเครื่องมือให้เหมาะสมและมีคุณภาพ 4. นำไปทดสอบ 5. ตรวจให้คะแนน 6. ตัดสินคุณค่าของผลการเรียนรู้ 7. รายงานและนำผลไปใช้ในการพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนรู้

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง เพื่อเปรียบเทียบระดับพัฒนาการ เพื่อตัดสินผลการเรียน

2. วิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้น วัดความสามารถทางด้านสติปัญญาของบุคคล วัดความรู้สึกนึกคิด วัดพฤติกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติ  ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน 

3. เลือกใช้เครื่องมือและสร้างเครื่องมือให้เหมาะสมและมีคุณภาพ ออกแบบสร้างเครื่องมือ ลงมือสร้างเครื่องมือ ทดลองใช้เครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

4. นำไปทดสอบ ควบคุมปัจจัยรอบด้านต่างๆที่จะมีอิทธิพลต่อ การแสดงความสามารถที่มีอยู่ ควบคุมปัจจัยต่างๆที่จะมาแทรกแซงความ ถูกต้องของการวัด

5. ตรวจให้คะแนน คำนึงถึงความยุติธรรม ทำด้วยใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงหรือมีอคติ ตรวจให้คะแนน โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน

6. ตัดสินคุณค่าของผลการเรียนรู้ 6. ตัดสินคุณค่าของผลการเรียนรู้ ตัดสินผลด้วยวิธีใด (อิงกลุ่ม อิงเกณฑ์) วิธีแปลความหมาย

7. รายงานและนำผลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ 7. รายงานและนำผลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ ปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงและพัฒนาการสอนของครู เป็นข้อมูลสำหรับแนะแนวผู้เรียน ปรับปรุงการบริหารงานของหลักสูตร/คณะ

การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 วางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการวัด สัดส่วนของการประเมิน จำนวนครั้งในการวัดและประเมิน

สิ่งที่ต้องการวัด ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรม ทักษะ และคุณลักษณะที่ทำการวัดและประเมิน กรอบจุดประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ กรอบคุณลักษณะบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 โดเมินของ Bloom’s Taxonomy K – Knowledge (ความรู้) C – Cognitive (พุทธิพิสัย) A – Attitude (เจตคติ ค่านิยม) A – Affective (จิตพิสัย) P – Process/Product (กระบวนการ/ผลงาน) S - Skills (ทักษะ) P - Psychomotor (ทักษะพิสัย)

ขั้นที่ 2 การสร้างแผนผังเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ตัวชี้วัด/ จุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดน้ำหนักความสำคัญ พิจารณาวิธีการและเครื่องมือวัด ผู้ที่ทำการวัด

จุดประสงค์การเรียนรู้ ความหมาย เป็นข้อความที่ระบุ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรม การแสดงออก และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้งการปฏิบัติ และทักษะต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ภายหลังการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว คุณลักษณะสำคัญ ควรเขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objective) ซึ่งเป็นการกำหนดพฤติกรรมในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและสามารถวัดได้โดยใช้คำกริยาที่บ่งการกระทำ (action verbs) เช่น ระบุ บ่งชี้ บอก เล่า เขียน อธิบาย แสดง และระบุเนื้อหาวิชาหรือเรื่องที่กระทำ จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน จะนำไปสู่การออกแบบการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามคุณลักษณะของสิ่งที่มุ่งวัด

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดในรูปของพฤติกรรมของนักศึกษา ตัวอย่างผิด เพื่อสังเกตแบคทีเรียผ่านกล้องจุลทรรศน์ แก้ไข เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกลักษณะทางกายภาพของสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) เริ่มต้นด้วยคำกริยาที่บ่งการกระทำ ตัวอย่างผิด โรคตาฟาง โรคลักปิดลักเปิด และโรคปากนกกระจอก ล้วนมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน แก้ไข ระบุเงื่อนไขของการเกิดโรคต่างๆซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามิน

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) กำหนดในรูปของพฤติกรรมของนักศึกษาที่สามารถสังเกตได้ (Observable) ตัวอย่างผิด 1. นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ดีในระหว่างรับประทาน อาหารที่บ้านของนักศึกษา 2. นักศึกษารู้สึกภาคภูมิใจที่จะได้จบออกไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับ การพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) กำหนดในลักษณะที่แน่ชัด ใช้คำที่มีความหมาย ตัวอย่างผิด เข้าใจความรับผิดชอบของชุมชนในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ แก้ไข 1. บอกชื่อหน่วยงานต่างๆในชุมชนที่มีความรับผิดชอบในการควบคุม โรคระบาดสัตว์ 2. เมื่อกำหนดสภาพปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ให้ นักศึกษาสามารถ ระบุหน่วยงานในชุมชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และสามารถระบุการให้ บริการหรือวิธี ปฏิบัติที่คาดว่าจะได้รับจากหน่วยงานดังกล่าว

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) กำหนดในลักษณะที่เป็นพฤติกรรมเดียว หรือเกี่ยวกับกระบวนการเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างผิด บอกหลักการเบื้องต้นของการทำไร่นาสวนผสม และยอมรับในการนำวิธีการดังกล่าวมาแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) กำหนดในระดับที่พอเหมาะ ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ตัวอย่างผิด 1. อธิบายเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ (กว้างเกินไป) 2. รายการจุดประสงค์เช่น (แคบจนเกินไป) - ระบุหน้าที่ของโปรตีนต่อร่างกาย - ระบุหน้าที่ของไขมันต่อร่างกาย - ระบุหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตต่อร่างกาย - ระบุหน้าที่ของวิตามินต่อร่างกาย แก้ไข ระบุหน้าที่ของสารอาหารหลัก 5 หมู่ต่อร่างกายได้

คุณลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ (ต่อ) ควรจะเป็นตัวแทนผลที่เกิดจากการศึกษาในรายวิชานั้นโดยตรง ตัวอย่างผิด เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น  กล่าวโดยสรุป จุดประสงค์การเรียนรู้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง และมีความเป็นไปได้ ในเรื่องของเวลาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน และระดับความรู้ความสามารถของนักศึกษา 

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม บอกลักษณะพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นได้ จำแนกรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆได้ บอกความแตกต่างของอาหารประเภทต่างๆได้ เขียนรายงานจากการค้นคว้าในหนังสือหรือบทความได้ เสนอวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวได้ เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณ หารระคนให้ นักเรียนสามารถ คำนวณหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เปรียบเทียบและชี้แจงผลงานของตนเองกับของคนอื่นได้ เขียนคำขวัญเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือการปลูกผักสวนครัวได้ นำเส้นรูปทรงต่างๆมาจัดให้เป็นภาพได้ ทำงานด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ปฏิบัติตามหลักธรรมและศาสนพิธีของศาสนาที่ตนนับถือได้ แสดงท่าบริหารร่างกายได้ตามจังหวะเพลง

เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ใช้ในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ แนว Traditional แนว Authentic ด้านพุทธิพิสัย 1. รู้จำ 2. เข้าใจ 3. ประยุกต์ใช้ 4. วิเคราะห์ 5. ประเมินค่า 6. คิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบปรนัย (objective test) แบบตอบสั้น แบบจับคู่ แบบเติมคำ แบบถูกผิด แบบเลือกตอบ แบบทดสอบอัตนัย (Subjective/Essay test) แบบทดสอบชนิดที่ผู้สอบคิดคำตอบเอง การนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) รายงานสรุปการเรียนรู้ แบบฝึกหัด การถามตอบปากเปล่า โครงงาน (Project) เรียงความ การประเมินตนเอง/เพื่อนประเมิน

เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ใช้ในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ (ต่อ) จุดประสงค์ แนว Traditional แนว Authentic ด้านจิตพิสัย  ความตระหนัก  ความสนใจ  เจตคติ  ความคิดเห็น  ความซาบซึ้ง  ค่านิยม  คุณธรรมจริยธรรม  บุคลิกภาพ การรายงานตนเอง (Self-Report) แบบสำรวจความสนใจ แบบสำรวจความคิดเห็น แบบวัดเจตคติ แบบวัดค่านิยม ..... การสังเกต การสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ มาตรประมาณค่า การประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมิน (Peer Assessment)

เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ใช้ในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ (ต่อ) จุดประสงค์ แนว Traditional แนว Authentic ด้านทักษะพิสัย  ทักษะกระบวนการ  การแสดงออก  การปฏิบัติ การสอบปฏิบัติ (Performance Test) * บางครั้งใช้การสอบข้อเขียน - การสอบปฏิบัติ (Performance Test) การสาธิต การแสดงละคร บทบาทสมมติ (Role Play) การปฏิบัติงานในหน่วยงาน/ สถานประกอบการ โครงงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน แฟ้มสะสมผลงาน เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกส์ (Rubrics) การประเมินตนเอง/เพื่อนประเมิน

ตัวอย่าง การสร้างแผนผังเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้สอน ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ พฤติกรรมด้าน วิธีวัด เครื่องมือวัด ผู้วัด K A P ผู้เรียนสามารถบอกความหมายความสำคัญและเคารพพระรัตนตรัยและปฏิบัติตามหลักธรรมโอวาท 3 ในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด 1. บอกความหมายของพระรัตนตรัยได้  (ร/3) - - ทดสอบ แบบทดสอบ - ผู้สอน 2. บอกความสำคัญของพระรัตนตรัยได้ (ร/2) (ข/2) 3. แสดงความเคารพพระรัตนตรัยได้ (ร/1) (น/3) (2) (4) - สังเกต - แบบทดสอบ - แบบประเมินการปฏิบัติ - ผู้เรียน 4. แสดงบทบาทสมมติการปฏิบัติตามหลัก ธรรมโอวาท 3 ได้ (3) สรุป 4 2 หมายเหตุ : ตัวอักษรในวงเล็บ หมายถึง ระดับพฤติกรรม ร = ความรู้ความจำ ข = ความเข้าใจ น = การนำไปใช้ ว = การวิเคราะห์ ส = การสังเคราะห์ ป = การประเมินค่า ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ค่าน้ำหนักคะแนน โดยกำหนดน้ำหนักสูงสุดเท่ากับ 5

ขั้นที่ 3 การเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้พร้อมสำหรับการนำไปใช้ ครอบคลุมตามที่ระบุไว้ในแผนผังเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ขั้นที่ 4 การทดลองใช้/ หาคุณภาพของเครื่องมือวัดและ ขั้นที่ 4 การทดลองใช้/ หาคุณภาพของเครื่องมือวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ควรมีการหาคุณภาพของเครื่องมือก่อนที่ผู้สอนจะนำไปใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการประเมินจริง

ลักษณะทั่วไปของเครื่องมือวัดที่ดี มีความตรง (Validity) มีความเที่ยง คงเส้นคงวา เชื่อถือได้ (Reliability) มีความเป็นปรนัย (Objectivity) มีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจจำแนก มีความยุติธรรม มีความจำเพาะเจาะจง มีความพอดีในด้านเวลา มีความเหมาะสมกับผู้สอบ

การออกแบบเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้นๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน และกำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละส่วนแยกจากกัน มีประโยชน์ในการประเมินสิ่งที่คาดหวังจากงานเป็นด้านๆ และทำให้รู้ว่าต้องแก้ไขปรับปรุงจุดใด

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบแยกประเด็น (Analytic Rubrics)

เกณฑ์การประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) แนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน โดยจะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน มีประโยชน์ในการใช้ประเมินการปฏิบัติงานที่มีกระบวนการซับซ้อนมากๆ เกินกว่าจะแยกแยะเป็นด้านต่างๆ ได้

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบภาพรวม (Holistic Rubrics)

เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 1 กำหนดรายละเอียดขั้นต่ำไว้ที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มลักษณะสำคัญๆ สูงขึ้นมาทีละระดับ เช่น การประเมินทักษะการเขียน ในองค์ประกอบด้าน “เนื้อหา” สามารถกำหนดได้ดังนี้ ระดับที่ 1 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ระดับที่ 2 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและลำดับเรื่องได้ไม่วกวน ระดับที่ 3 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ลำดับเรื่องได้ชัดเจน สอดแทรกสาระบางอย่าง ทำให้เรื่องน่าสนใจและอ่านแล้วเกิดจินตนาการ

เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 2 กำหนดตัวแปรย่อยที่มีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว แล้วระบุว่าตัวแปรหายไปเท่าไร ระดับคะแนนก็ลดหลั่นตามลำดับ เช่น การประเมินการจัดทำรายงาน อาจมีประเด็นของรูปแบบที่ต้องมี ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง และบรรณานุกรม โดยอาจกำหนดเกณฑ์การประเมินในด้าน “รูปแบบ” ของการเขียนรายงานได้ดังนี้ ระดับ 4 มีครบ คือ ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง บรรณานุกรม ระดับ 3 ขาด 1 ลักษณะ ระดับ 2 ขาด 2 ลักษณะ ระดับ 1 ขาด 3 ลักษณะ

เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 3 การเขียนรายละเอียดในเชิงปริมาณ เช่น “การใช้ภาษา” ระดับ 1 ภาษาผิดพลาดไม่เกิน 50 % แต่ยังสื่อความหมายได้ ระดับ 2 ภาษาถูกต้อง 50 – 70 % และสื่อความหมายได้ ระดับ 3 ภาษาถูกต้อง 70 – 90 % เชื่อมโยงภาษาได้ดี ระดับ 4 ภาษาถูกต้อง 90 – 100 % ภาษาสละสลวย

กิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ ให้สมาชิกกลุ่มเลือกหน่วยการเรียนรู้ของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง แล้วร่วมกัน วิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ในประเด็นต่อไปนี้ 1. ความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ลักษณะ ชนิด ประเภท ของเครื่องมือวัดและประเมินผลที่ใช้ 3. คุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลที่จัดทำ

กิจกรรมที่ 2 การสร้างแผนผังเครื่องมือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันกำหนดรายละเอียดต่างๆในแผนผังเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้จากประมวลรายวิชาที่ได้จัดทำมาแล้ว ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในเอกสารความรู้ประกอบการอบรม ชุดที่ 2 การออกแบบและสร้างเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง

กิจกรรมที่ 3 การออกแบบเกณฑ์การประเมิน 1. ให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันประเมินชิ้นงานตัวอย่าง “รายงานผลการวิจัย” ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามแบบประเมินที่แจกให้ 2. ร่วมกันอภิปรายลักษณะของเครื่องมือที่นำมาใช้ประเมินผลงาน ดังกล่าวว่าเป็นแบบใด และเหมาะสมหรือไม่