บทที่ ๒ เรื่องที่ ๖ การเขียนรายงาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดย ครูพี่ตี่ตี๋ – อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ กศ.ม. ภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กศ.บ. ภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้สอน อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การศึกษา อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การศึกษา ปริญญาโท : วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (ภาษาไทย กศ.ม.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาตรี : ภาษาไทย (กศ.บ.) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มัธยมศึกษา : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
เรียง ความ แบบฝึกหัดทบทวน ๑. ทุกคำในข้อใดไม่ออกเสียงควบกล้ำ Kruptitee เรียง ความ ๑. ทุกคำในข้อใดไม่ออกเสียงควบกล้ำ ๑. ปลัด พฤทธิ์ นิทรา ๒. ปรอท กลศ แทรก ๓. ปลาต ขรม พุทรา ๔. ปริตร ตรุษ อินทรีย์
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ในการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างมีระบบและเป็นแบบแผนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งและในการเขียนเสนอผลการค้นคว้าด้วยการเขียนรายงาน ผู้เขียนต้องจัดรูปแบบ วิธีการในการเขียน การใช้ภาษาให้เหมาะสม จึงจะสามารถเขียนรายงานได้ถูกต้อง
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนรายงานเชิงวิชาการ รายงานเชิงวิชาการ คือ การเขียนรายงานเพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าให้ผู้อื่นทราบ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ส่วนประกอบของรายงาน รายงานเชิงวิชาการมีส่วนประกอบดังนี้ ๑. ปกหน้า หรือหน้าปก ๒. ใบรองปก ๓. หน้าปกใน ๔. คำนำ ๕. สารบัญ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๖. บทนำ ๗. เนื้อหา ๘. บทสรุป ๙. บรรณานุกรม ๑๐. ใบรองปกหลัง ๑๑. ปกหลัง
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ปกหน้าหรือหน้าปก หน้าปกมีส่วนประกอบดังนี้ ๑. ชื่อเรื่อง ให้เขียนไว้กลางหน้าปกส่วนบน ๒. ชื่อผู้ทำรายงาน ถ้ามีหลายคนต้องเขียนให้ครบทุกคน โดยเขียนไว้ตรงส่วนกลางชองหน้าปก ๓. ชื่อวิชา ภาคเรียน ปีการศึกษาที่ทำ และชื่อสถานศึกษา ให้เขียนไว้กลางหน้าปกส่วนล่าง
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนหน้าปก ๑. ไม่ต้องเขียนคำว่ารายงานหน้าชื่อเรื่อง ๒. ช่องว่างระหว่างชื่อเรื่อง กับชื่อผู้ทำรายงานเท่ากับช่องว่างระหว่างชื่อผู้ทำรายงานกับชื่อวิชา ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่าไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ หน้าปกใน เหมือนหน้าปกทุกประการ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) คำนำ ลักษณะของคำนำ คือ ข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างผู้ทำรายงานกับผู้อ่านรายงาน อันจะช่วยให้อ่านรายงานนั้นถูกต้องและได้ผลดียิ่งขึ้น คำนำไม่ใช่ข้อแก้ตัวหรือออกตัวของผู้ทำรายงาน
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนคำนำ ควรมี ๓ ย่อหน้า ดังนี้ ๑. ย่อหน้าที่ ๑ บอกความสำคัญของเรื่องที่เขียนว่ามีความสำคัญหรือมีความน่าสนใจอย่างไรเป็นการกล่างถึงภูมิหลังของรายงานนี้อย่างย่อยที่สุด ๒. ย่อหน้าที่ ๒ บอกเนื้อหาสาระหรือเรื่องราวที่ทำโดยสรุปว่ากล่าวถึงเรื่องใดบ้างและเรื่องเหล่านั้นได้ข้อมูลมาจากแหล่งใด ๓. ย่อหน้าที่ ๓ บอกความคาดหวังที่จะได้จากรายงานฉบับนี้ จะมีประโยชน์กับผู้ใดอย่างไร เป็นต้น
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) สารบัญหรือสารบัญ ส่วนประกอบของสารบัญ ๑. หัวเรื่อง หรือเรื่อง หรือบทที่ปรากฏอยู่ที่รายงาน ๒. เลขหน้า
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนสารบัญ ๑. การเขียนหัวข้อเรื่อง ให้จัดลำดับเรื่องหรือ บทตามลำดับที่ปรากฏอยู่ในรายงานโดยไม่ต้องเอาคำนำมาเรียงไว้ด้วย ๒. การเลขหน้า ให้เขียนเลขหน้าเริ่มต้นของเรื่องนั้นๆโดยไม่เขียนเลขหน้าสุดท้ายของเรื่อง คือ ๑-๘ เป็นต้น
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ประโยชน์ของการเขียนเลขหน้า เพื่อสะดวกแก่ผู้อ่านให้สามารถค้นหาเรื่องที่ต้องการอ่านได้รวดเร็ว
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารบัญ นอกจากสารบัญเรื่องแล้วอาจมีสารบัญเพิ่มเติมตามลักษณะของรายงาน เช่น รายงานนั้นมีตารางสถิติหลายตาราง ก็จะต้องมีบัญชีตารางหรือสารบัญตารางนั้นเอง หรือหากรายงานมีภ่พประกอบหลายภาพก็จะต้องมีบัญชีภาพประกอบหรือสารบัญภาพนั้นเอง ลักษณะการเขียนให้ระบุเลขหน้าไว้ด้วย
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) เนื้อหา ลักษณะของเนื้อหา เนื้อหา คือ ข้อมูลที่รวบรวมมาจากการศึกษาค้นคว้าและนำมาเลือกสรรเฉพาะที่ตรงกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการจะเสนอ ข้อมูลที่นำมาเขียนต้องถูกต้องและการนำข้อมูลมาต้องอ้างหลักฐานที่มาให้ถูกวิธี
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ส่วนประกอบของเนื้อหา เนื้อหาของรายงานมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน คือ ๑. บทนำ ๒. ตัวเรื่อง ๓. สรุป
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๑. บทนำ กล่าวถึงภูมิหลังและความสำคัญของเรื่องที่ทำอย่างละเอียด
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๒. ตัวเรื่อง กล่าวถึงสาระสำคัญของรายงานอย่างละเอียด โดยเรียงตามลำดับความคิดและเหตุผลอาจแบ่งหลายบทหลายหัวข้อ ตัวเรื่อง ประกอบด้วย - เนื้อหา - ตัวอย่าง ข้อความที่คัดลอกมา ข้อความที่ย่อมา - รูปภาพ - ตาราง - เชิงอรรถ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๓. บทสรุป กล่าวถึงสาระของรายงานโดยสรุป อาจมีตอนเดียวหรือหลายตอนก็ได้
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) บรรณานุกรม ลักษณะของบรรณานุกรม บรรณานุกรม คือรายชื่อของหนังสือ เอกสารหรือแหล่งข้อมูลนำมาอ้างอิงทั้งหมด
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) วิธีการเขียนบรรณานุกรม ๑. ถ้าเอกสารอ้างอิงมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เรียงรายชื่อเอกสารภาษาไทยก่อน แล้วตามด้วยรายชื่อเอกสารภาษาอังกฤษ การเรียงลำดับจะแยกตามประเภทของเอกสารและโสตทัศนวัสดุหรือไม่ก็ได้ ๒. การลำดับรายชื่อ หากเป็นเอกสารภาษาไทยให้เรียงลำดับตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งส่วนเอกสารภาษาอังกฤษเรียงตามอักษรตัวแรกของชื่อสกุล
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) วิธีการเขียนบรรณานุกรม ๓. ในกรณีที่มีผู้แต่งคนเดียวกันหลายเล่ม เมื่อพิมพ์เรียงลำดับในบรรณานุกรม ไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้แต่งซ้ำ ให้ขีดเส้นยาวขนาด ๘ ตัวอักษร ตามด้วยมหัพภาพ (.) แทนการเขียนชื่อผู้แต่ง ๔. ในกรณีที่ข้อความในบรรณานุกรมของเอกสารนั้นยาวเกิน ๑ บรรทัด บรรทัดถัดไปให้ย่อเข้าไปโดยเว้นเข้ามา ๗ ตัวอักษร เริ่มพิมพ์อักษรตัวที่ ๘
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) วิธีการเขียนบรรณานุกรม ๕. สิ่งที่ต้องเขียนลงในบรรณานุกรม ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือหรือเอกสารแหล่งข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์ ได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ รวมทั้งรายละเอียดที่จำเป็นอื่น ๆ การเขียนส่วนประกอบเหล่านี้จะแตกต่างไปตามประเภทของแหล่งข้อมูล ๖. ในกรณีที่ชื่อผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ให้นำคำเหล่านั้นไปไว้หลังนามสกุล และใช้จุลภาคคั่น เช่น คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) วิธีการเขียนบรรณานุกรม ๗. ในกรณีที่ผู้แต่งมีตำแหน่งทางวิชาการ ยศทางทหาร ตำรวจ แพทย์ และวุฒิการศึกษา ไม่ต้องระบุ ๘. ในกรณีที่ชื่อผู้แต่งเป็นหน่วยงานราชการให้ลงชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อนหน่วยงานรอง เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะมนุษยศาสตร์ โดยใช้มหัพภาคเป็นตัวคั่น
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) วิธีการเขียนบรรณานุกรม ๙. รายการบรรณานุกรมที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้เรียงตามลำดับตัวแรกของชื่อเรื่อง ๑๐. ในกรณีที่ชื่อเรื่องใช้ตัวเลขหรือสัญลักษณ์อื่นใด ให้เทียบรูปอักษรตามเสียงอ่าน เพื่อลำดับตามตัวอักษร เช่น ๒๐๐ ปีของการศึกษาไทย ให้เทียบรูปอักษรเป็น สองร้อยปีของการศึกษาไทย
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม หนังสือทั่วไป ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม ตัวอย่าง สุชา/จันทร์เอม.//(๒๕๔๑).//จิตวิทยาทั่วไป.//พิมพ์ครั้งที่/๑๑.// กรุงเทพฯ:/ไทยวัฒนาพานิช.
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (เว็บไซต์) ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่ผลิตหรือปีสืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//สืบค้นเมื่อ/ วัน/เดือน/ปี (หรือRetrieved/เดือน/วัน,/ปี),/ จาก(from)/แหล่งข้อมูลที่ค้นได้
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม ตัวอย่าง กระทรวงสาธารณสุข.//(๒๕๔๙).//โรคโบทูลิสซึม (Botulism).// สืบค้นเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐,/ จาก/http://thaigcd.ddc.moph.go.th/eid_knowledge_butolis m_060324.html
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (หนังสือ, E-Book) ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่ผลิตหรือปีสืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//สถานที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์.//สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี (หรือ Retrieved/เดือน/วัน,/ปี),/จาก(from)/แหล่งข้อมูลที่ค้นได้
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเขียนบรรณานุกรม ตัวอย่าง Davies,/J./Eric;/Wisdom,/Stella;/&/Creaser,/Claire.//(2000).//Out of Sight but Not out of Mind: Visually Impaired People’s Perspectives of Library and Information Services.//Loughborough:/LISU.//Retrieved/September/20,/2003,/from/ http://www.lboro.ac.uk/departments/dils/lisupublic.html
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ข้อสังเกตในการเขียนบรรณานุกรม ๑. การใช้คำเรียกอาจใช้ได้ดังนี้ - บรรณานุกรมเมื่อมีเอกสารอ้างอิงมากกว่า ๕ เล่ม - หนังสืออุเทศ มีเอกสารอ้างอิงไม่เกิน ๕ เล่ม - หนังสืออ้างอิงเป็นคำกลางๆ ใช้ได้ทุกกรณี
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ข้อสังเกตในการเขียนบรรณานุกรม ๒. การเรียงลำดับ - ถ้าหนังสืออ้างอิงมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้เรียงหนังสืออ้างอิงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ - การเรียงลำดับบรรณานุกรม ให้เรียงลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกับการเรียงคำในพจนานุกรม
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ข้อสังเกตในการเขียนบรรณานุกรม ๓. การขึ้นบรรทัดใหม่ รายละเอียดของเอกสารแต่ละเล่ม ถ้าเขียนไม่พอในบรรทัดเดียว บรรทัดต่อไปให้ย่อเข้ามาประมาณ ๗ ตัวอักษร ( อาจเว้นเข้ามา ๓-๗ ตัวอักษรแล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละสถาบัน)
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ใบรองปกหลัง เป็นกระดาษเปล่าไม่ต้องเขียนข้อความใดๆ
ตัวอย่าง ส่วนประกอบของรายงานเชิงวิชาการ ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ตัวอย่าง ส่วนประกอบของรายงานเชิงวิชาการ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) เนื้อหา ๖. บทนำ ๗. เนื้อหา ๘. บทสรุป ( ทั้ง ๓ ส่วนนี้ คือ เนื้อหาในรายงาน แบ่งเป็นกี่เรื่อง กี่บท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้เขียนรายงานเรื่องนั้นๆ )
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) เนื้อหา ประกอบด้วยบทนำ เนื้อหาสาระ หรือบทต่างๆ ในรายงาน และบทสรุป
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๙. บรรณานุกรม
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ หรือเอกสารที่อ้างอิงข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นๆ ซึ่งจัดเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง หรือหน่วยงานที่เป็นเจ้าของ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๑๐. ใบรองปกหลัง ใบรองปกหลัง เป็นกระดาษเปล่าชนิดเดียวกับที่ใช้เขียนหรือพิมพ์เนื้อหา ใบรองปกหลังนี้ไม่ต้องเขียนข้อความใดๆ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๑๑. ปกหลัง ใช้กระดาษชนิดเดียวกับปกหน้า แต่ไม่ต้องเขียนข้อความใดๆ
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) การเตรียมเขียนรายงานเชิงวิชาการ การเตรียมเขียนรายงานเชิงวิชาการ มีขั้นตอนโดยทั่วๆไปดังนี้
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๑. การเลือกเรื่อง ถ้าไม่มีการกำหนดเรื่องให้ หรือมีโอกาสในการเลือกเรื่องเอง ควรใช้หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาเลือก ดังนี้ ๑) เป็นเรื่องที่ตนสนใจ หรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆอยู่บ้าง ๒) เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ หรือเป็นเรื่องแปลกที่ คนทั่วไปยังไม่ทราบมากนัก และมีประโยชน์ ๓) เป็นเรื่องที่สามารถหาข้อมูลได้ง่าย ๔) เป็นเรื่องที่สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจน
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๒. การตั้งชื่อเรื่อง การเขียนรายงานเชิงวิชาการ มักตั้งชื่อตามความสำคัญของเรื่อง
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๓. การวางโครงเรื่อง มีวิธีดำเนินการตามลำดับดังนี้ ๑) รวบรวมความรู้ความคิด ๒) จัดหมวดหมู่ความรู้ความคิด ๓) จัดลำดับความรู้ความคิด
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๔. การรวบรวมหนังสือ และเอกสารที่จะใช้ในการเขียนรายงาน ทำได้โดยดูชื่อหนังสือที่น่าจะเกี่ยวข้อง แล้วเปิดอ่านผ่านๆ ในหน้าคำนำ สารบัญ ดรรชนี เพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกเล่มนั้นหรือไม่ ถ้าเล่มใดมีหัวข้อตรง หรือใกล้เคียงให้เลือกไว้ก่อน
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๕. การรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึก ให้รายละเอียดเฉพาะบท เฉพาะตอนที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำบันทึกความรู้
ภาษาไทย ชั้น ม.๑ โดย อ.พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (ครูพี่ตี่ตี๋) ๖. การเขียนส่วนอ้างอิง อาจเขียนเพื่ออธิบายเพิ่มเติม และเขียนเพื่อแสดงที่มาของข้อมูลเพื่อช่วยให้ข้อเขียนนั้นมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และเป็นการแสดงมารยาทต่อเจ้าของความรู้ ความคิดเดิม
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ แบบฝึกหัดทบทวน Kruptitee ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋