Rational Drug Use (RDU) ประชุมวิชาการ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล
คำจำกัดความ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด” “ Patients receive medications appropriate to their clinical needs, in doses that meet their own individual requirements, for an adequate period of time, and at the lowest cost to them and their community” (WHO, 1985)
คำจำกัดความ การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้ประโยชน์ทางคลินิกเหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลัก เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียายังผลอย่างเป็นขั้นตอนตามแนวทางพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะกับผู้รับบริการในแต่ละกรณี ด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ในการให้ยาที่ถูกต้องตามหลักเภสัชวิทยาคลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้รับบริการให้การยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง กองทุนในระบบประกันสุขภาพหรือระบบสวัสดิการสามารถให้เบิกจ่ายยานั้นได้อย่างยั่งยืน เป็นการใช้ยาที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับบริการทุกคนสามารถ ใช้ยานั้นได้อย่างเท่าเทียมกันและไม่ถูกปฏิเสธยาที่สมควรได้รับ บัญชียาหลักแห่งชาติ: 2552
กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง ตามกลไกการออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ ประโยชน์แตกต่างจากยาหลอกและมีความหมายทางคลินิก –ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่ใช่ใช้ในโรคที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น RA, OA –พาราเซตามอล ใช้แก้ปวดลดไข้ –กลูโคซามีน ใช้ลดภาวะข้อเสื่อม ยังมีข้อขัดแย้ง
กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 3. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก ประโยชน์มากกว่าโทษ ไม่มีข้อห้ามในผู้ป่วย 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า การใช้ยาตามชื่อสามัญ การใช้ยาต้นแบบที่ผลิตจากต่างประเทศ
กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 5. องค์ประกอบอื่น ๆ (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ ไม่ใช้ยาซ้ำซ้อน Combination formulation : Norgesic กับ พาราเซตามอล ไม่ใช้ยาพร่าเพรื่อ: ยาปฏิชีวนะ ใช้ยาตามแนวทางการรักษา Standard guideline, Drug of choice 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด ไม่น้อยหรือมากเกินไป ไม่ปรับยาเอง
กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 7. วิธีให้ยา (Method of administration) ใช้ยาถูกวิธี มีความสอดคล้องกับข้อมูลทางเภสัชวิทยา ยาก่อนอาหาร กินตอนท้องว่าง ยากินหลังอาหาร วิธีใช้ยา/คำแนะนำพิเศษ หลังพ่นยาสเตียรอยด์ควรบ้วนปาก ยาหยอดจมูกแก้คัดจมูกไม่ควรใช้เกิน 3 วัน เลือกใช้ยารูปแบบ oral ก่อน หลีกเลี่ยงการใช้ยาฉีดโดยไม่จำเป็น
กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 8. ความถี่ในการให้ยา ใช้ยาด้วยความถี่ที่เหมาะสม Time- dependent Antibiotic : around the clock PRN : every … hour, ห่างกันอย่างน้อย … ชั่วโมง 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) ใช้ยาในระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ไม่นานหรือสั้นเกินไป Antibiotic 10. ความสะดวก (Patient compliance) ความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วย อธิบายหรือให้ข้อมูลให้ผู้ป่วยเข้าใจ –เลือกยาที่ใช้สะดวก เช่น กินวันละ 1-2 ครั้งมากกว่ากินวันละ 3-4 ครั้ง –มีการตรวจสอบความเข้าใจและติดตามผลการใช้ยาทุกครั้ง
RDU Competencies The Consultation Concepts & Principles Options Communications Effective Prescription 4. Patient Safety 5. Drug Resistance/ Effectiveness 6. Ethical & Professional Prescribing in Context 7. Healthcare system & Equity 8. Interprofessional teamwork 9. Information Resources 10. Always Improving
กุญแจสำคัญ 6 ประการ P การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด L การจัดทำฉลากยา, ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน E การจัดทำหรือจัดหาเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล A การสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล S การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชากรกลุ่มพิเศษ 1) ผู้สูงอายุ 2) สตรีตั้งครรภ์ 3) สตรีให้นมบุตร 4) ผู้ป่วยเด็ก 5) ผู้ป่วย โรคตับ และ 6) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการสั่งใช้ยา
More information www.rduthai.com