มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ 1.นาย กษิดิ์เดช นามสกุล ธูปบูชา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้ง ที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิตทั้งในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ และสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ พืช สัตว์ แร่ธาตุ เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติ. ทาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1 2 ทรัพยากรธรรมชาติ.ทาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (non exhausting natural resources) จัดเป็นทรัพยากรที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ แต่ถ้านำมาใช้ผิดวิธีหรือไม่มีการบำรุงรักษา อาจจะทำให้ทรัพยากรนี้ เสื่อมคุณค่าได้แก่ น้ำ อากาศ และแสงอาทิตย์
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (exhausting natural resources) จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้เอง หรือถ้าสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ต้องใช้เวลานานนับหมื่นปี ได้แก่ น้ำมันปิโตเลี่ยม ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ และ แร่ธาตุต่าง ๆ
3. ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ (Renewable natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่บนผิวโลก แต่ต้องใช้ทรัพยากรนี้อย่างถูกต้อง และมีการบำรุงรักษา เช่น ดิน พืช สัตว์ ป่าไม้
ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ไม่หมด ใช้หมด เกิดทดแทนได้ อากาศ น้ำ แสง อากาศ น้ำ สัตว์ ต่างๆ พืช ป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ ถ่านหิน น้ำมัน เกิดทดแทนได้ ดิน
แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ดิน การอนุรักษ์สัตว์ป่า Menu การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ป่าไม้
ทรัพยากรน้ำ น้ำ เป็นสารประกอบ เกิดจากปฏิกิริยาเคมี รวมตัวของไฮโดรเจน : ออกซิเจน ในอัตราส่วน 2 : 1 ( H2O)
ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด สิ่งมีชีวิตใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ ในด้านต่างๆ เช่น นำมาใช้อุปโภค บริโภค ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน ทรัพยากรน้ำยังเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนอยู่ตลอดเวลาเป็นวัฏจักร
แหล่งน้ำในโลกนี้มีอยู่ประมาณ 3 ใน 4 ส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็น น้ำในมหาสมุทร ร้อยละ 97.41 ที่เหลือเป็น น้ำจืดประมาณ ร้อยละ 2.59 ของทั้งหมด แต่น้ำจืดที่มนุษย์สามารถใช้ได้ จริงเพียงร้อยละ 0.014 เท่านั้น เนื่องจากน้ำจืดเหล่านี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง ร้อยละ 1.984และอีกร้อยละ 0.592 เป็นน้ำใต้ดิน
แหล่งน้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ แบ่งออกได้ 3 แหล่ง คือ 1. หยาดน้ำฟ้า (percipitation) เป็นน้ำที่ได้จากบรรยากาศ เช่น น้ำฝน น้ำค้าง หิมะ หมอก ไอน้ำ เป็นต้น 2. น้ำผิวดิน (surface water) เป็นน้ำที่ได้จากน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ ทะเล และ มหาสมุทร เป็นต้น 3. น้ำใต้ดิน (ground water) เป็นน้ำที่อยู่ใต้ระดับผิวดิน มนุษย์จะขุดและสูบขึ้นมาใช้ เช่นน้ำบ่อ น้ำบาดาล เป็นต้น
ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ 1. ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ทำความสะอาด ฯลฯ 2. ใช้สำหรับการเกษตร ได้ แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร 3. ด้านอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ล้างของเสีย หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อน ฯลฯ
4. การทำนาเกลือ โดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล หรือระเหยน้ำที่ใช้ละลายเกลือสินเธาว์ 5. น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า
6. เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 7. เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเล และแหล่งน้ำที่ใสสะอาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของมนุษย์
สารมลพิษ (pollutant) หมายถึงสสารหรือสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สารมลพิษ มีทั้งของแข็ง กึ่งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ตัวอย่างของสารมลพิษ ได้แก่ ฝุ่นละออง กากของเสียที่เป็นพิษ ควัน แก๊สพิษต่างๆ เป็นต้น สารมลพิษทางน้ำ (water pollutant) หมายถึง ภาวะของน้ำที่มีสารมลพิษปนเปื้อนในระดับที่ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนมนุษย์และสัตว์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้
มลพิษทางน้ำ
ปริมาณ / คุณภาพ ???
connection
สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางน้ำ สาเหตุของมลพิษทางน้ำ 1 สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางน้ำ สาเหตุของมลพิษทางน้ำ 1. ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน อาจเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อม ๆ กันเมื่อ จุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอนทําให้ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก จนเกิดการขาดแคลนได้ นอกจากนี้การเน่าเสียของน้ำเมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท
2. น้ำทิ้ง และสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน สํานักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม เป็นต้น สิ่งปะปนมากับน้ำทิ้งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่สําคัญคือ แบคทีเรีย ซึ่งมีทั้ง แบคทีเรียแอโรบิก (aerobic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจนอิสระในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กับ แบคทีเรียแอนาโรบิก (anaerobic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ยอยสลายสารอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนอิสระ
3.การเกษตร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้น้ำเสีย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เศษอาหารและน้ำทิ้งจากการ ชําระคอกสัตว์ ทิ้งลงสู่แม่น้ำ ลําคลอง ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาด การใช้ปุ๋ยไนเตรตของเกษตรกร เมื่อปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำจะทําให้น้ำมีปริมาณเกลือไนเตรตสูงถ้าดื่มเข้าไปจะทําให้เป็นโรคพิษไนเตรต ไนเตรตจะเปลี่ยนเป็นไนไตรต์แล้วรวมตัวกับฮีโมโกลบินอาจทําให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรงงานปลาป่น โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง 4. โรงงานอุตสาหกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานปลาป่น โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตปนอยู่มากสารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำทิ้งทำให้น้ำเสียได้ โรงไฟฟ้าอาจทําให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไป สภาพเช่นนี้ไม่เหมาะกับการดํารงชีพของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
โรงงานประเภทสารปรอท จากโรงงานผลิตโซเดียม ไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษต่อสัตว์น้ำ และผู้นําสัตว์น้ำไปบริโภค นอกจากนี้น้ำทิ้งจากโรงงานบางประเภท ทําให้สภาพกรดเบส ของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนไป เช่นน้ำทิ้งจากโรงงานกระดาษมีค่า pH สูงมาก น้ำทิ้งจากโรงงาน บางประเภท เช่นจาก
5. การคมนาคมทางน้ำ ในการเดินเรือตามแหล่งน้ำ ลําคลอง ทะเล มหาสมุทร มีการทิ้งของ เสียที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ และน้ำมันเชื้อเพลิงถ้ามีโอกาสรั่วไหลลงน้ำได้และมีจํานวนมาก ก็จะทําให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจน และเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ
การวัดระดับคุณภาพของน้ำ 1 การวัดระดับคุณภาพของน้ำ 1. ก๊าซออกซิเจนที่ละลายน้ำ ( DO = desolved oxygen ) หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำคือ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร หากปริมาณออกซิเจนมีค่าต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร จัดว่า น้ำเสีย
2. ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ( BOD) = biochemical oxygen demand ถ้าค่า BOD เกิน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร จัดว่าเป็นน้ำเสีย ตามมาตรฐานสากลจะวัดค่า BOD ภายใน 5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จึงเรียกว่า BOD5
3. COD (Chemical oxygen demand)เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความต้องการปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำโดยออกซิไดซ์ด้วยสารเคมี เช่น โพรแตสเซี่ยมไดโครเมต (K2Cr3O7)
การอนุรักษ์ และการจัดการแก้ปัญหาการใช้น้ำ 1.ปลูกจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างมีคุณค่า เช่น การใช้น้ำ อย่างประหยัด 2.วางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูกาล โดยการเก็บกักน้ำใช้ ขุดบ่อ สระ การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ 3.การนำน้ำที่ใช้ใหม่ เช่น การรดนำต้นไม้ หรือ การนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
4.การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ปนอยู่ในน้ำเสีย เช่น ใช้พืชน้ำ บำบัดน้ำเสีย โดยพืชจะดูดสารอินทรีย์ไปใช้ในการเจริญเติบโต เช่น ผักตบชวา ธูปฤาษี หญ้าแฝก การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี โดยการเติมสารเคมีเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ หรือทำให้ตกตะกอน รวมทั้งการฆ่าเชื้อโรคโดยการเติมคลอรีน (ทำให้เป็นกลาง) การบำบัดน้ำเสียทางฟิสิกส์ เป็นการกำจัดของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ มีขนาดใหญ่ โดยการตักออกด้วยตะแกรง กรอง เป็นต้น
ผลกระทบของมลพิษทางน้ำ 1. การประมง น้ำเสียทําให้สัตว์น้ำลดปริมาณลง และยังทําลายแหล่งเพาะวางไข่ของปลา เนื่องจากการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำเสียปกคลุมพื้นที่วางไข่ของปลา ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการแพร่พันธุ์ ทําให้ปลาสูญพันธุ์ได้
2. การสาธารณสุข น้ำเสียเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด เป็นแหล่งเพาะเชื้อยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคบางชนิด เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออก เป็นสารมลพิษที่ปะปนในแหล่งน้ำ ถ้าเราบริโภคทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรค มินามาตะ เกิดจากการรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง โรคอิไต-อิไต เกิดจากการได้รับสาร แคดเมียม
3. การผลิตน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค น้ำเสียกระทบกระเทือนต่อการผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้อย่างยิ่ง แหล่งน้ำสําหรับผลิตประปาได้จากแม่น้ำ ลําคลอง เมื่อแหล่งน้ำเน่าเสียเป็นผลให้ คุณภาพน้ำ ลดลง ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเพื่อให้น้ำมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มจะเพิ่มขึ้น
4. การเกษตร น้ำเสียมีผลต่อการเพาะปลูก และสัตว์น้ำ ทำให้น้ำมีความเป็นกรดเป็นด่างสูง น้ำที่มีปริมาณเกลืออนินทรีย์ หรือ สารพิษสูง ฯลฯ ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียและเกิดจากผลของการทํา เกษตรกรรมนั่นเอง เช่น
5. ความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ แม่น้ำ ลําธาร แหล่งน้ำอื่น ๆ ที่สะอาดเป็นความ สวยงามตามธรรมชาติ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ใช้เล่นเรือ ตกปลา ว่ายน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างแหล่งทรัพยากรน้ำในทวีปยุโรป แม่น้ำดานูบ >> แม่น้ำไรน์ >>
การอนุรักษ์น้ำ 1. การใช้น้ำอย่างประหยัด เช่น การเลือกใช้เครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้น้ำน้อยกว่าปกติ การไม่ปล่อยน้ำไหลทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ เป็นต้น นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำแล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง และยังป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย 2. การป้องกันน้ำเสีย โดยไม่ทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหรรม โรงพยาบาล ควรมีการกำจัดสารพิษเสียก่อนก่อนที่จะนำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ Menu Next
การอนุรักษ์น้ำ 3.การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในภาวะที่มีน้ำเหลือใช้ ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่นการสร้างโอ่งเก็บน้ำ การทำบ่อเก็บน้ำ นอกจากนี้ยังสร้างเขื่อน การขุดคูคลองส่งน้ำ การระบายน้ำ 4. การหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ทั้งครัวเรือนและในเกษตรกรรมได้อย่างเพียงพอ ปัจจุบันได้มีการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นแต่การนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดขึ้นได้ 5.การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่ง แต่อาจนำไปใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะที่ใส่อาหารสามารถรดน้ำต้นไม้ได้ 6. การทำฝนเทียม
ทรัพยากรดิน (SOIL) ดิน ( soil ) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการแปรสภาพหรือการสลายตัวของหิน แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เมื่อผสมคลุกเคล้าจับตัวกันด้วยลักษณะคล้ายๆ ฟองน้ำ มีช่องว่างเป็นรูพรุน
ดิน (SOIL) ดินจะเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถเกิดทดแทนได้ แต่กระบวนการเกิดของดินต้องใช้เวลานานมาก ประมาณกันว่าการเกิดดินชั้นบนหนา 1 นิ้ว อาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน 200- 1,000 ปี
ทรัพยากรดิน องค์ประกอบและสีของดิน ดิน คือเคหะวัตถุที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปรสภาพหรือสลายตัวของ หิน แร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ องค์ประกอบและสีของดิน 1. อนินทรีย์วัตถุ 45 เปอร์เซ็นต์ 2. อินทรียวัตถุ 5 เปอร์เซ็นต์ 3. น้ำในดิน 25 เปอร์เซ็นต์ 4. อากาศในดิน 25 เปอร์เซนต์
องค์ประกอบและสีของดิน องค์ประกอบของดิน ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชประกอบ 4 ส่วน ดังนี้ 1. อนินทรีย์วัตถุ คือ ส่วนประกอบที่เกิดจากเศษหินและแร่ธาตุที่แตกหักผุพัง สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยการธรรมชาติจากการกระทำของน้ำ ลม ความร้อนหนาว สารเคมี และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หรือแรงกดดันของโลก 2. อินทรีย์วัตถุ คือ ส่วนประกอบที่ได้จากการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพังของซากพืช ซากสัตว์
3. น้ำ คือ ส่วนที่เป็นน้ำที่อยู่ในช่องว่างในดิน ซึ่งเป็นตัวทำละลายแร่ธาตุอาหารของพืช 4. อากาศ คือ ส่วนที่เป็นอากาศซึ่งอยู่ในช่องว่างในดิน ประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจน เป็นต้น
ชนิดของดิน แบ่งตามอนุภาคของเม็ดดินได้ 3 ชนิด คือ 1 ชนิดของดิน แบ่งตามอนุภาคของเม็ดดินได้ 3 ชนิด คือ 1. ดินทราย(sand) อนุภาคเนื้อดินหยาบค่อนข้างใหญ่ 0.02-2 mm. 2. ดินร่วนหรือดินแป้ง (silt) อนุภาคเนื้อดินมีขนาดเล็ก 0.002-0.02 mm.เนื้อค่อนข้างละเอียด 3. ดินเหนียว(clay) อนุภาคเนื้อดินมีขนาดเล็กกว่า 0.002 mm.
ส่วนประกอบของดิน
ประโยชน์ของดินต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีดังนี้ 1. การเกษตรกรรม เพราะดินเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำ ที่ล้วนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 2. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืช สัตว์ เป็นแหล่งอาหาร และหลบภัยต่างๆ เป็นต้น
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มนุษย์ใช้เป็นที่ปลูกสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการดำเนิน 4. ดินเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้ใช้น้ำในการทำกิจกรรมสำหรับการดำรงชีวิต 5. ดินเป็นสิ่งช่วยทำให้เกิดความสัมพันธ์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ
สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางดิน ปัญหาที่เกิดขึ้นบนดิน แยกได้เป็นสองประเภทคือ 1. สภาพธรรมชาติ เช่น พายุ น้ำท่วมก็ทําให้ ดินทรายถูกพัดพาไปได้สิ่งปฏิกูลที่มีชีวิต ทําให้ดินเสียและอาจเป็นตัวก่อโรคหรือก่อความกระทบกระเทือนต่อ ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต
การใช้สารกำจัดศัตรูพืช 2. การกระทําของมนุษย์ 2.1. การใช้สารเคมีและสารกัมมันตรังสี สารเคมี ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช สารเคมีบางชนิดทำให้แบคทีเรียในดินถูกทําลายได้แต่พวก คลอริเนทเตด ไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) และสารประกอบ คลอริเนทเตด ฟีนอกซี (chlorinated phenoxy) สารเคมีบางชนิดคงทนในดินเพราะแทรกในตะกอนหรือดินเหนียวได้ดีทําให้แบคทีเรียทําลายได้ยาก ยาปราบวัชพืชบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลงประเภทดีดีที และดีลดริน ทนทานต่อการถูกทําลายในดินมาก การใช้สารกำจัดศัตรูพืช
2.2. การใส๋ปุ๋ย เป็น การสะสมของสารเคมีโดย เฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม การสะสมนี้อาจถึงขั้นเป็นพิษได้ ปุ๋ยบางชนิดที่นิยมใช้กันมาก เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต จะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลาย ในปฏิกิริยารีดักชันได้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ ของรากพืช ทําให้ดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ได้น้อยลง 2.3. น้ำชลประทาน ดินเป็นพิษจากน้ำชลประทานได้เนื่องจากน้ำที่มีตะกอนเกลือ และสาร เคมีอื่น ๆ รวมทั้งยาฆ่าแมลงปะปนมาด้วย เพราะน้ำไหลผ่านบริเวณต่าง ๆ ยิ่งถ้าไหลผ่าน บริเวณที่ดินอยู่ในสภาพที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย บริเวณที่มีเกลือมาก ๆ และมีการใช้ยาปราบ ศัตรูพืชกันอย่างกว้างขวางแล้ว น้ำก็จะยิ่งทําให้ดินที่ได้รับการทดน้ำนั้นมีโอกาสได้รับ สารพิษมากขึ้น
2.4. การใช้ยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ ดินบริเวณที่มีการเพาะปลูกสะสมสารพิษจากยาปราบ ศัตรูพืชมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ยาปราบศัตรูพืชบางชนิดเมื่อคลุกเคล้าลงในดินแล้วจะเกิด ปฏิกิริยาเคมีขึ้นและสูญหายไปจากดิน แต่บางชนิดคงทนต่อการสลายตัวและสะสมอยู่ในดินเป็นเวลานาน ๆ เช่นประเภทที่มีตะกั่วอาเซนิก ทองแดง หรือปรอทผสมอยู่
2.5. การทิ้งขยะมูลฝอยและของเสียต่าง ๆ ลงในดินขยะส่วนใหญ่จะสลายตัวให้สารประกอบ อินทรีย์ และอนินทรีย์ มีขยะบางชนิดที่สลายตัวยาก เช่น วัสดุที่ทําด้วยผ้าฝ้าย หนัง พลาสติก โลหะ ขยะประเภทนี้ถ้าทําลายโดยการ เผาจะเหลือเกลือ โดยเฉพาะเกลือไนเตรตสะสมอยู่เป็นจํานวนมาก 2.6. การเพาะปลูก ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นเวลานาน ๆ โดยมิได้คํานึงถึงการบํารุงรักษา อย่างถูกวิธีจะทําให้แร่ธาตุในดินถูกใช้หมดไป จนในที่สุดไม่อาจปลูกพืชได้อีก
2.7. การหักร้างถางป่า เป็นผลทําให้เกิดความเสียหายกับดินได้ทําให้ดินปราศจากพืชปกคลุม หรือไม่มีรากของพืชยึดเหนี่ยว เกิดการสูญเสียหน้าดินและเกิดการพังทลายได้ง่าย ในที่สุดบริเวณนั้นจะกลายเป็นที่แห้งแล้ง เมื่อมีฝนตกก็จะเกิดพายุอย่างรุนแรงและมี น้ำท่วมฉับพลันได้ ดังตัวอย่างความเสียหายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2531 ความเสียหายในจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532
การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางดินและขยะ 1. การใช้ที่ดินในการเกษตรกรรม ควรทําอย่างถูกต้องโดยการคํานึงถึงการบํารุงรักษาดินด้วย เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกพืชหลายชนิดสลับกัน การปลูกพืชในแนวระดับตามไหล่เขา จะช่วยรักษาสภาวะแวดล้อมของดินได้ 2. ไม่ควรตัดไม้ทําลายป่า หรือหักร้างถางป่าเพื่อทําไร่เลื่อนลอย ซึ่งจะมีผลทําให้เกิดความ เสียหายกับดินดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
การอนุรักษ์ดิน 1.การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน เช่น การปลูกพืชบังลมเพื่อลดความแรงของลมและลดการละเหยของน้ำที่หน้าผิวดิน การปลูกพืชตามขั้นบันไดเพื่อลดความเร็วของน้ำและกักแร่ธาตุที่ถูกชะล้างให้กับดิน การปลูกพืชคลุมดิน เช่น หญ้าแฝกเป็นต้น 2.การใช้ที่ดินอย่างถูกต้อง การใช้ที่ดินในการเพาะปลูก ควรสงวนรักษาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ใช้ในการเพาะปลูกโดยเฉพาะ ไม่ควรนำไปใช้ในกิจการอื่นๆ เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างที่อยู่อาศัย ตลอดจนการวางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสม เช่น การกำหนดที่ดินที่จะใช้จัดตั้งชุมชน สวนสาธารณะ พื้นที่อุตสาหรรมเป็นต้น
การอนุรักษ์ดิน 3. การปรับปรุงบำรุงดิน ดินที่มีปัญหา เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ ควรได้รับการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่นการใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในปริมาณที่เหมาะสม การปลูกพืชตระกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดินเพื่อชะล้างดินเค็ม เป็นต้น Back Menu
3. การใช้ยากําจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทําให้เกิดโทษและการสูญเสียแก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 4. ขยะมูลฝอยจากชุมชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลทําให้เกิดมลพิษทางดิน จึงควรกําจัดอย่างถูก ต้อง โดยแยกประเภทขยะเพื่อง่ายต่อการเก็บและนําไปกําจัดให้ถูกวิธี จัดที่ทิ้งขยะไว้ตาม สถานที่ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ