อนุญาโตตุลาการเปรียบเทียบ อ.สุธาสินี สุภา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ 1. ความหมาย ลักษณะ ประเภท และข้อดีของการอนุญาโตตุลาการ 1.1 ความหมายของการอนุญาโตตุลาการ การอนุญาโตตุลาการ (arbitration) เป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทของ ตนที่เกิดขึ้น แล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้บุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่าอนุญาโตตุลาการให้ ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยมีกระบวนพิจารณาตามกฎหมายและคู่กรณีผูกพันที่จะ ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยตรง คือ ป.วิ.พ.มาตรา 210-220 และ มาตรา 222 การอนุญาโตตุลาการในศาล และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 การอนุญาโตตุลาการ นอกศาล พ.ร.บ.สถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2550
กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับ นับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ต่างประเทศ ค.ศ. 1958 (The Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitration Awards , 1958) ซึ่งมักเรียกกันว่าอนุสัญญานิวยอร์ก อนุสัญญานิวยอร์กมีหลักการให้ประเทศภาคียอมรับและบังคับตามสัญญาอนุญาโตตุลาการต่างประเทศและ ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ คู่กรณีฝ่ายที่บังคับตามคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการต่างประเทศเพียงแต่เสนอคำชี้ขาดต่อศาลหรือองค์กรที่จะบังคับตามคำชี้ขาดพร้อมทั้ง พยานหลักฐานที่อนุสัญญากำหนดไว้ ส่วนภาระการพิสูจน์ว่าคำชี้ขาดไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้นั้นตกอยู่แก่คู่ กรณีฝ่ายที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดนั้น และ ถ้าพิสูจน์ได้ตามที่กล่าวอ้างศาลหรือองค์กรดังกล่าวก็จะไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าคำชี้ขาดไม่สมบูรณ์ หรือบกพร่องด้วยประการใด ๆ ศาลหรือองค์กรดังกล่าวนั้นก็ต้อง บังคับตามคำชี้ขาดให้
1. 2 ลักษณะของการอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะเกิดจากสัญญาระหว่างคู่ กรณีเสมอ มิได้เกิดจากบทบัญญัติของ กฎหมายที่บังคับให้คู่กรณีต้องใช้วิธีการระงับข้อพิพาทชนิดนี้ ในการอนุญาโตตุลาการนั้นต้องมีบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท ของคู่กรณี พิพาท ซึ่งเรียกว่าอนุญาโตตุลาการ วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของสถาบัน อนุญาโตตุลาการ หลังจากที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาข้อพิพาทและพยานหลักฐานของคู่กรณีทั้ง สองฝ่าย แล้วก็ต้องทำการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งเรียกว่าคำชี้ขาดซึ่งทำเป็นหนังสือ ระบุข้อความ ให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด กระทำการ ไม่กระทำการ เช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาล
1.3 ประเภทของการอนุญาโตตุลาการ (1) การอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีพิพาทดำเนินการกันเองหรือที่เรียกว่าเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นการอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีพิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยตนเอง (2) การอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นการอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีพิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของ สถาบัน อนุญาโตตุลาการ
1.4 ข้อดีของการอนุญาโตตุลาการ (1) รวดเร็วและมีประสิทธิผล (2) รักษาชื่อเสียง และความลับของคู่กรณี (3) รักษาความสัมพันธ์ของคู่กรณีพิพาทได้ (4) เหมาะสมสำหรับข้อพิพาทที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน
2. สัญญาอนุญาโตตุลาการ 2.1 คู่สัญญา 2. สัญญาอนุญาโตตุลาการ 2.1 คู่สัญญา อาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งกระทำโดยผ่านทางผู้แทนนิติบุคคล รัฐหรือองค์กรของรัฐเป็นคู่สัญญา ในการอนุญาโตตุลาการได้ เนื่องจาก มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 บัญญัติว่า “ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่า เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับ ข้อพิพาทได้ และให้สัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา” 2.2 การตกลงกันให้มีการอนุญาโตตุลาการ โดยคำเสนอและคำสนองนั้นถูกต้องตรงกันจึงมีสัญญาอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้น
2.3 ข้อพิพาท ข้อพิพาทที่ไม่ เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองนั้นในปัจจุบันมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ระบุว่าข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนซึ่งรวมทั้ง สัญญาทาง ปกครองนั้นสามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งอยู่ใน มาตรา 15 ว่า “ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้ และให้สัญญา อนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันคู่สัญญา”
2.4 หลักฐานของสัญญาอนุญาโตตุลาการ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือระบุว่าคู่ กรณีได้ตกลงกันให้มีการอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทของตนจึง จะฟ้องบังคับกันได้ หลักฐานเป็นหนังสือนั้นอาจอยู่ในรูปของสัญญาอนุญาโตตุลาการโดย เฉพาะหรือข้อตกลงในสัญญา อื่น ๆ (arbitration clause) เช่นข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาซื้อขาย ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยการอนุญาโตตุลาการและอาจมีการกำหนดตัวอนุญาโตตุลาการไว้ใน สัญญานั้นหรือ ไม่ก็ได้
2.5 การบังคับตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ ในกรณีดังกล่าวนั้น มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการบัญญัติให้มีการบังคับตามสัญญา อนุญาโตตุลาการได้ดังนี้ “ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้ เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มี เขตอำนาจไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตามกฎหมาย ให้มีคำสั่ง จำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการ นั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่ สามารถปฏิบัติตาม สัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย
3. อนุญาโตตุลาการ การอนุญาโตตุลาการจะประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับความ สามารถและ คุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถและความเชี่ยวชาญใน เรื่องที่พิพาท ความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม และไม่ลำเอียงเข้าข้างคู่กรณีฝ่ายใด มาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 จึงได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า “อนุญาโตตุลาการต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ….” นอกจากนั้นยังบัญญัติให้ อนุญาโตตุลาการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็น เหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็น อิสระของตนด้วย
4. วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ในทางปฏิบัติการพิจาณาจะเริ่มจากอนุญาโตตุลาการนัดคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ มาพร้อมกันเพื่อกำหนด ระยะเวลาและสถานที่ที่จะทำการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท และกำหนดประเด็นพิพาท วิธีพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งตามกฎหมายจะให้เป็นไปตามที่คู่กรณีตกลงกันไว้ แต่ถ้า คู่กรณีมิได้กำหนดวิธีพิจารณาไว้ ก็เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและถ้าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย ก็อยู่ในดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ แต่ก็ต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรม อนุญาโตตุลาการจะสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยมีคู่กรณีเข้าร่วมการพิจารณาเพียงฝ่าย เดียวได้ ในระหว่างการพิจารณาหากอนุญาโตตุลาการประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งไม่สามารถ ทำได้เอง เช่น ขอให้ศาลให้ความคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณา ขอให้หมายเรียกพยาน บุคคล ส่งเอกสาร
5. คำชี้ขาดและการบังคับตามคำชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการทำการพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่กรณีเสนอจนครบถ้วนแล้ว ก็ต้องทำการชี้ขาดข้อ พิพาทนั้น อนุญาโตตุลาการต้องทำการชี้ขาดข้อพิพาทโดยตัดสินให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่าย ใดหรือทั้งสองฝ่ายกระทำการ หรืองด เว้นกระทำการ หรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และต้องใช้เสียงข้างมาก ถ้าหาเสียงข้างมากไม่ได้ให้ประธานคณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ทำ คำชี้ขาด มีคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยเพียงผู้เดียว คำชี้ขาดนั้นต้องทำเป็นหนังสือระบุข้อความต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น คู่กรณี ประเด็นพิพาท คำตัดสิน เหตุผลแห่งคำ ตัดสิน และลงลายมือชื่อของอนุญาโตตุลาการ(มาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ) อนุญาโตตุลาการก็ต้องส่งคำชี้ขาดให้คู่กรณีรับรู้และคู่กรณี ก็ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาด เนื่องจากคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการมีผลเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีให้ต้อง ปฏิบัติตาม
5.2 การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คู่กรณีฝ่ายที่ไม่พอใจคำชี้ขาดอาจดำเนินการไม่ให้คำชี้ขาดมี ผลบังคับตนได้สองประการ คือ ขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดหากคำชี้ขาดมีความบกพร่อง หรือไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดโดยรอให้คู่กรณีฝ่ายที่ชนะตามคำชี้ขาดยื่นคำร้อง ต่อศาลมีเขต อำนาจเพื่อบังคับตามคำชี้ขาด และฝ่ายที่แพ้นั้นต่อสู้คดีว่าคำชี้ขาดมีความบกพร่องและ ตนไม่ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
การเพิกถอนคำชี้ขาด 2) เหตุที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาด 1) คู่กรณีฝ่ายที่ไม่พอใจคำชี้ขาดต้องรีบยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภาย ใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ ขาดหรือนับแต่ที่มีการแก้ไขหรือตีความหรือ เพิ่มเติมคำชี้ขาดนั้น 2) เหตุที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาด (1) คู่สัญญามีความสามารถบกพร่อง (2) สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพัน (3) ไม่มีการแจ้งให้คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดถึงการแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของ คณะอนุญาโตตุลาการ หรือบุคคลนั้นไม่สามารถเข้าต่อสู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุอื่น (4) คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการ เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ (5) องค์ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการหรือความผิดปกติในกระบวนพิจารณา
นอกจากนั้นศาลอาจเพิกถอนคำชี้ขาดได้เองโดยคู่กรณีมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลหากศาลเห็น เองว่า (1) ข้อพิพาทนั้นไม่สามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการหรือ (2) การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
5.3 การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ กฎหมายอนุญาโตตุลาการก็ได้บัญญัติถึงวิธีการและหลักเกณฑ์ในการบังคับตาม คำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการทั้งที่ทำขึ้นภายในประเทศและที่ทำขึ้นในต่าง ประเทศไว้ในมาตรา 41-44 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ 1) หลักเกณฑ์การบังคับตามคำชี้ขาด ในการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นมีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่าคู่กรณี ฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับ ตามคำชี้ขาดต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภาย ในกำหนดเวลาสามปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนา คำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามกฎหมาย และศาลได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น โดยให้ ศาลรีบทำการไต่ สวนว่ามีการทำคำชี้ขาดกันจริงและถูกต้องหรือไม่
2) เหตุที่จะคัดค้านและไม่บังคับตามคำชี้ขาด คู่กรณีฝ่ายที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดต้องอ้างเหตุที่ศาล จะปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาด ซึ่งอาจเป็นเหตุที่คู่กรณีต้องยกขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองหรือเหตุที่ศาลสามารถยก ขึ้นเอง -เหตุที่คู่กรณีต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลด้วยตนเอง (1) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบกพร่องความสามารถ (2) สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่กรณีได้ตกลงกัน ไว้ หรือตาม กฎหมายแห่งประเทศที่ทำคำชี้ขาดนั้นในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว (3) คู่กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินกระบวนพิจารณา
(4) การกระทำเกินขอบอำนาจหรือขาดอำนาจ (5) ความผิดปกติในกระบวนพิจารณา (6) คำชี้ขาดยังไม่สมบูรณ์ กรณีที่คำชี้ขาดยังไม่ผูกพันคู่กรณีโดยยังไม่ยุติพิจารณา เป็นไปตามกฎหมายของประเทศทีมีการทำคำชี้ขาดนั้น
ตารางเปรียบเทียบหลักการอนุญาโตตุลาการของประเทศไทยและหลักการต่างประเทศที่เป็นสากล ประเด็น พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 กฎหมายต่างประเทศ และ กมต้นแบบว่าด้วยอนุญาโตตุลากการของUNCITRAL การส่งเอกสาร การส่งในประเทศ ใช้ไปรณีย์ลงทะเบียนตอบรับ การส่งต่างปท ใช้วิธีใดก็ได้ที่พยายามถึงการส่ง หลัก Mail Box Rule การส่งมีผลเมื่อส่ง ให้ถือว่าได้รับแล้วหากมีการส่งถึงผู้รับซึ่งหน้า หรือ ที่อยู่ สถานที่ประกอบธุรกิจ หรือ ที่อยู่ทางไปรณีย์
ประเด็น พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 กฎหมายต่างประเทศ และ กมต้นแบบว่าด้วยอนุญาโตตุลากการของUNCITRAL บทบาทของศาล มี 3 ประเภท หน้าที่บังคับให้มีการอนุญาโตตุลาการ หน้าที่สนับสนุนการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หน้าที่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในระบบcommon law ลดบทบาทศาลในอนุญาโตตุลาการ ศาลช่วยเท่าที่จำเป็น
นิยามของสัญญาอนุญาโตตุลาการ สัญญาอนุญาโตตุลาการ หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาตกลงกันให้ระงับข้อพิพาททั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้อาจเป็นข้อหนึ่งในสัญญาหลัก หรือ สัญญาอนุญาโตตุลาการก็ได้ -หลักการเดียวกันกับ มาตรา 7 (1) กมต้นแบบว่าด้วยอนุญาโตตุลากการของUNCITRAL - ในเยอรมัน จะใช้อนุญาโตตุลาการกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ลักษณะของข้อพิพาท นิติสัมพันธ์ทางแพ่ง (ยกเว้นเรื่องสถานะบุคคล) และสัญญาทางปกครอง นิติสัมพันธ์ทางแพ่ง แต่บางประเทศสงวนข้อพิพาทบางประเภทให้พิจารณาโดยศาล เช่น สหรัฐ เยอรมัน เรื่องการผูกขาด หุ้นส่วนในบางกรณี ข้อพิพาทสัญญาทางปกครอง ประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มยอมรับสัญญาทางปกครองทางพาณิชย์
สัญญาหลักและข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ เป็นเอกเทศแยกจากกันแม้สัญญาหลักจะเป็นโมฆะ แต่สัญญาอนุญาโตตุลาการยังใช้ได้ ยึดหลัก Separability Doctrine เช่นกัน บางประเทศถือว่าส.อนุญาโตตุลาการไม่ความเป็นเอกเทศ สัญญาหลักบกพร่อง สัญญาอนุญาโตตุลาการก็ใช้บังคับได้ เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย แอฟริการใต้ วิธีคุ้มครองชั่วคราว คู่สัญญายื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนหรือขณะดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ -หลักสากลยื่นคุ้มครองชั่วคราวได้ในระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยศาล บางประเทศ เช่น สิงค์โปร์ อนุญาโตตุลาการสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้ - ยื่นต่อศาลโดยตรง หรือ ผ่านอนุญาโตตุลาการ
บทบาทของอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการต้องวางตัวนิ่งเฉย รับฟังพยานหลักฐานตามที่เสนอ อนุญาโตตุลาการมีอำนาจไต่สวนได้ตามเห็นสมควร -ส่วนใหญ่บทบาท Passive Role พิจารณาชี้ขาดตามนำสืบมา - บางประเทศให้ Active Role ได้ สอบถาม ไต่สวนได้ และให้อนุญาโตตุลาการฝ่ายที่ตนแต่งตั้งเป็นเสมือนทนายความ โดยผู้มีบทบาทเป็นกลางคือประธานอนุญาโตตุลาการ การทำคำชี้ขาด เสียงข้างมาก -เสียงข้างมาก - มติเอกฉันท์ เช่น เปรู บราซิล เวเน
การอุทธรณ์ ห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คำพิพากษาไม่ตรงกับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ผู้พืพากษาได้ทำความเห็นแย้งในคำพิพากษา คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครองชั่วคราว กมต้นแบบไม่ได้บัญญัติไว้ - ส่วนใหญ่ห้ามอุทธรณ์ เว้นแต่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน บางปท กำหนดให้ผู้พิพากษาต้องทำความเห็นแย้ง ความรับผิดของอนุญาโตตุลาการ ความรับผิดทางแพ่ง มีความคุ้มกันปฏิบัติตามหน้าที่ ความรับผิดทางอาญา เรียกรับสินบน จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท กมต้นแบบไม่ได้กำหนดไว้ ส่วนใหญ่ไม่มีความรับผิดทางแพ่งและอาญา แต่มีแนวโน้มให้อนุญาโตตุลาการรับผิดทางอาญา รับสินบน และเปิดเผยความลับ ร่วมถึงมีมาตรากรอื่นในการลงโทษ เช่น ห้ามเป็นอนุญาโตตุลาการอีกต่อไป