การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒ อาจารย์ เปรม สวนสมุทร ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิลปะของการใช้ภาษา = วรรณศิลป์ ศิลปะคืออะไร? ๑.งานสร้างสรรค์เพื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความพึงใจและเกิดการ ครุ่นคิดพินิจนึกสารที่นำเสนออย่างละเอียด ๒.กิจกรรมที่มวลชนมีส่วนร่วมในความสำราญ หรือร่วมนิยาม เรื่องราวที่ควรคำนึง ๓.กิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะในการสร้างสรรค์ ๔.ศิลปะ “เรียนรู้” ผ่านสัญชาติญาณและประสบการณ์ ไม่ใช่ “ความจริง” หรือ “กฎกติกา”
ระดับความหมายของคำในวรรณกรรม ขั้นที่ ๑ ความหมายตามพจนานุกรม ความหมายของคำตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม หรือ ที่ปรากฎในประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวัน คือ ความหมายตามตัวอักษร ขั้นที่ ๒ ความหมายที่เกิดจากความเปรียบ ความหมายที่เกิดศิลปะการใช้ความเปรียบ อันได้แก่ โวหารภาพพจน์ต่างๆ (อุปมา) ขั้นที่ ๓ ความหมายเชิงสัญญะ การใช้คำคำหนึ่งหมายความถึงความหมายของคำอีก คำหนึ่งอย่างสมบูรณ์ (อุปลักษณ์)
องค์ประกอบของภาษา หน่วยเสียง เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ, เสียงวรรณยุกต์ คำมูล, คำซ้ำ, คำซ้อน, คำประสม, คำพ้องรูป, คำพ้องเสียง, คำพ้องความหมาย ฯลฯ หน่วยคำ ประโยคความเดียว, ประโยคความรวม, ประโยคความซ้อน, การใช้โวหารต่างๆ ประโยค
การเล่นเสียง-สัมผัสสระ(สัมผัสใน,สัมผัสนอก) ๏เดิรเพลินชมร่มไม้ ไทรไตร ๏เดิรเพลินชมร่มไม้ ไทรไตร สดับศัพท์เรไรไพร แว่วแจ้ว ระกำลำไยไฟ เลื่อนเถื่อน มังคุดละมุดแต้วแก้ว กุ่มกทุ่มทรม่วงมะงวง ฯ ๏ดูงูขู่ฝูดฟู่ พรูพรู หนูสู่รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู ฯ (กาพย์ห่อโคลงเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
ข้อควรระวัง! เนื่องจากสัมผัสสระเป็นสัมผัสหลักที่ใช้บังคับในฉันทลักษณ์ การจะวิจารณ์ว่ากวีมีความสามารถในการสร้างสัมผัสนั้นต้องมิใช่ สัมผัสที่เป็นสัมผัสบังคับของฉันทลักษณ์
...อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์ ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช จตุบาทในป่าพนาสินฑ์ แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา ที่สงสัยไม่สิ้นในวิญญาน์ จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง...
การเล่นเสียง-สัมผัสอักษร ๏ยลโศกยามเศร้ายิ่ง ทรวงเย็น /ย/ /ส/ /ย/ /ส/ /ย/ /ซ/ /ย/ คิดสุขขัดแสนเข็ญ โศกไข้ /ค/ /ส/ /ข/ /ส/ /ข/ /ส/ /ข/ หวนหนาวหากนึกเห็น หน้าแห่ง น้องแฮ /ห/ /น/ /ห/ /น/ /ห/ /น/ /ห/ /น/ /ฮ/ ดวงจิตเด็ดจากได้ จึ่งดิ้นจำโดย /ด/ /จ/ /ด/ /จ/ /ด/ /จ/ /ด/ /จ/ /ด/ (โคลงนิราศสุพรรณ)
การเล่นเสียง-ไล่เสียงวรรณยุกต์ ๏ฤทธิ์ราญรอนร่อนร้อน ทุกเมือง บุญแบ่งแจงจอมเลือง เลื่องเลื้อง รู้เรื้องเรื่องเรืองเปลือง แปลนโลกย แม้นแม่นแมนมาเสื้อง ต่อตั้งพังหนี ๏ยูงยางเปลาเปล่าเปล้า เขียวขำ เรียมรมลมชวยลำ ล่ำล้ำ ใบก้านก่านกานอำ พรเพริศ คลุมคลุ่มคลุ้มง่าง้ำ ฉาชื้อลือฤๅเสีย (โคลงอักษรสามหมู่)
๏ อุรารานร้าวแยก ยลสยบ เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น เหนือคอคชซรอนซรบ สังเวช การเล่นคำ-การสรรคำ ๏ อุรารานร้าวแยก ยลสยบ เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น เหนือคอคชซรอนซรบ สังเวช วายชีวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ฯ ๏ ภูมีมือง่าง้าว ของอน ฟันฟาดขาดคอบร บั่นเกล้า อินทรีย์ซบกุญชร เมือชืพ แลเฮย เผยพระเกียรติผ่านเผ้า พี่น้องสองไทฯ (ลิลิตตะเลงพ่าย)
การเล่นคำ-การใช้คำพ้องรูป,พ้องเสียง ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึ่งมี่ เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหลา จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี (อิเหนา รัชกาลที่ ๒)
การเล่นคำ-การซ้ำคำ ๏ลางลิงแลลอดไม้ ลางลิง แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้ ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยวลางลิงฯ (ลิลิตพระลอ)
การเล่นเสียง-การสร้างดุลยภาพของเสียงและความหมาย -ใจเมืองบ้าเหมือนจะผก หัวอกเมืองดังจะพัง -ตรวจให้สรรพโดยเขบ็จ จัดให้เสร็จในขบวน -แห่หนหน้าเหลือแหล่ แห่หนหลังเหลือหลาย -แห่หนซ้ายเหลือตรา แห่หนขวาเหลือไกร -ธงชายปลายปลิวหยาบ ทวนทองปลาบปลิวยับ -ต่างชิงฆ่าชิงหั่น ต่างชิงบั่นชิงฟัน
อุปมา - เหมือน ราว ราวกับ เปรียบดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ อุปมา - เหมือน ราว ราวกับ เปรียบดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น ฯลฯ ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ ก่งนา พิศกรรณงามเพริดแพร้ว กลกลีบบงกชแก้ว อีกแก้มปรางทอง เปรียบนา (ลิลิตพระลอ)
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) อุปลักษณ์ - เป็น คือ ข้างบ้านเขามีคอนเสิร์ต เขาว่ามีเบิร์ดกับพรศักดิ์ปะทะกัน บ้านเราไม่มีเงินไปดู ได้แต่เงี่ยหู นึกซะว่าอยู่ในนั้น ฟังไปเกิดน้อยใจขึ้นมา จึงเปิดคอนเสิร์ตกลางนา ใช้ชื่อว่าคอนเสิร์ตคนจน โอ๊เย โอ๊เย โอ๊โอ๊เย โอ๊เย โอ๊เย โอ๊โอ๊เย โอ๊เย โอ๊เย โอ๊โอ๊เย โอ๊เย โอ๊เย ต้นข้าวมาเป็นคนดู มีปูมาสังเกตการณ์ ลำโพงเขาคือต้นตาล ลำโพงเขาคือต้นตาล เสียงหวานเหลือเกิน คันนานั้นคือเวที เวทีก็คือคันนา ก้านกล้วยมาเป็นกีตาร์ ก้านกล้วยมาเป็นกีตาร์ เอาไม้ฟืนมาเป็นไมโครโฟน บางคนก็เป็นหางเครื่อง หางเครื่องทยอยกันมา บางคนก็เคาะกะลา บางคนก็เคาะกะลา มีดอกชบาเป็นพวงมาลัย สมชายเป็นคนตีกลอง สมปองเป็นน้องสมชาย นักร้องก็มีมากมาย โฆษกก็มีมากมาย สบายๆสนุกจริงๆ
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) บุคลาธิษฐาน ฝากรักเอาไว้ ฝากไปในแสงดวงดาว ที่ส่องประกายวับวาวๆ อยู่บนฟ้าๆ ให้แสงสุกใสคอยส่องมองเธอด้วยแววตา แห่งความภักดี เก็บฟ้ามาสาน ถักทอด้วยรักละมุน คอยห่มให้เธอได้อุ่นๆ ก่อนนอนคืนนี้ ให้เสียงใบไม้ ขับกล่อมเป็นเสียงดนตรี คอยกล่อมให้เธอฝันดีๆ ให้เธอเคลิ้มไป เป็นวิมานอยู่บนดิน ให้เธอได้พักพิงอิง และนอนหลับไหล เก็บดาวเก็บเดือนมาร้อยมาลัย เก็บหยาดน้ำค้างกลางไพร มาคล้องใจเราไว้รวมกัน ก่อนฟ้าจะสาง ก่อนจันทร์จะร้างแรมไกล ยังอยู่กับเธอข้างเคียงกาย อยู่ในความฝัน ฝากเสียงกระซิบ ฝากไปในสายลมผ่าน ข้ามขอบราตรีที่ยาวนาน ให้เธอฝันดี (เพลง วิมานดิน)
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) อติพจน์ ๏ แม้ม้วยบรเมศไท้ ทินกร ก็ดี สิ้นสุดพระเมรุเอน อ่อนล้ม สามภพเปื่อยเป็นบร นรนาศ ก็ดี เจ็บไป่ปานน้องหล้ม หล่อองค์ ฯ (ทวาทศมาศโคลงดั้น)
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) นามนัย = ใช้ส่วนย่อยเพื่อหมายแทนส่วนใหญ่ สัญญลักษณ์ = ใช้สิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง (สากล) แผ่นฟ้าเบื้องบนกว้างไกลสุดสายตา เมฆขาวบนฟ้านุ่มนวลและสวยงาม เฝ้ามองเมฆนั้นล่องลอยไปบนฟ้าคราม งามดั่งฝันใฝ่ ไขว่ขว้าเท่าไรต้องการจะได้มา เมฆขาวบนฟ้าอยากนำมาชื่นชม แต่แล้วเมฆนั้นกลับลอยไปตามสายลม จางและเลือนหาย เหมือนฝันเลือนลาง เคว้งคว้างลอยไปไม่เหลืออะไรสักอย่าง ที่ทุ่มเทไปคืนมาเพียงความว่างเปล่า เหมือนฝันเลืองลาง เคว้งคว้างลอยไปทิ้งไว้เพียงควันบางเบา ที่เห็นเป็นจริงมันเป็นแค่เพียงมายา เหนื่อยล้าอ่อนแรงกับความจริงที่เป็น เมื่อรักที่เห็นที่เคยไขว่คว้ามัน สุดท้ายความรักกลับกลายเป็นเพียงแค่ควันจางและเลือนหาย
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) ปฏิพากษ์พจน์ เหตุใดคนมากมายตกอยู่ในความทุกข์ใจทั้งๆ ที่ใจของเขารักกัน รักอาจเป็นความสวยงามที่หลอกให้คนมีฝันและแล้ววันหนึ่งอาจพังทะลาย นั่นคือของขวัญจากฟ้าหรือคือคำสาป คือหยาดฝนฉ่ำเย็นหรือร้อนเป็นไฟ อยากจะรู้ว่าคืออะไร นั่นคือความรักใช่ไหมที่วาดรอยยิ้มได้ คือความรักใช่ไหมที่หลายคนร้องไห้ ความรักแท้จริงเป็นเช่นไร ยังคงไม่รู้ไม่เคยเข้าใจ นั่นคือความรักใช่ไหมที่สรรสร้างทุกอย่าง คือความรักใช่ไหมที่ลบเลือนทุกสิ่ง และทำให้ใจต้องร้าวราน ทำลายหมดทุกๆ อย่างไม่เหลือเลย (เพลง คือความรักใช่ไหม ของ เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ์)
การเล่นคำ-การใช้โวหารภาพพจน์ (ต่อ) ปฏิทรรศน์, ภาวะแย้ง, การเปรียบต่าง นี่เธอเป็นใครกันฉันเพียงสบนัยย์ตาเธอก็คล้ายหัวใจจะเผลอจะฝันจะใฝ่ กุหลาบงามใกล้มือดอกนี้ นับวันยิ่งมีความหมาย แต่ใจยังคิดระแวง นี่เธอเป็นใครกันฉันไม่ค่อยเข้าใจเลย คล้ายๆ ยิ่งคุ้นยิ่งเคยยิ่งไหวยิ่งหวั่น หวั่นว่าเธอจะแกล้งทำซึ้ง น้ำผึ้งที่ดูว่าหวานจะวางยาพิษให้คนขื่นขมใจ กว่าจะรู้ใจจริงผู้หญิงคนหนึ่ง ฉันก็เก็บไปซึ้งคิดถึงซะมากมาย แต่กว่าจะรู้เธอดีเธอร้ายยังไง ทั้งหัวใจก็ยับเยิน กว่าจะรู้ตัวจริงเธอนั้นเป็นใคร ก็เมื่อฉากสุดท้ายผู้ชายน้ำตาเอ่อ แต่ที่ไม่รู้ทำไมยังรักเธอ รักเธอ รักเธอทำไม สิ่งที่เรียกว่าผู้หญิงคือความจริงที่อันตรายที่ซ่อนเอาไว้ในความสวยงาม
โวหารการกล่าวโดยอ้อม การเล่นประโยค-โวหาร โวหารเปรียบเทียบ -โวหารอุปมาเทียบขนาน -โวหารอุปมานิทัศน์ -โวหารกล่าวตำหนิ -โวหารการอ้างเหตุผล -โวหารการอ้างถึง โวหารการกล่าวโดยอ้อม -โวหารการปะติดความ -โวหารการกล่าวปฏิเสธ -โวหารคำถามเชิงวาทศิลป์ -โวหารการอ้างประสบการณ์ในอดีต -โวหารการอ้างเวลา -โวหารการชี้แจงเหตุผลโดยอ้อม -โวหารแสดงความรักอันวิเศษ
เสาวรจนีย์ นารีย์ปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลปังคพิสัย
โวหารอุปมาเทียบขนาน ดวงตะวันที่เคยส่องแสงให้ความสว่าง กำลังจะจาง กำลังจะเลือนหายไป คนที่ดีคนที่เคยมีใจให้กันมาก่อน กำลังจะลืม กำลังจะเดินหนีไป ท้องฟ้าก็คงมืดมน และคงมีคนเสียใจ แค่เพียงอยากรู้ว่าทำไม บอกได้ไหมเล่าดวงตะวัน แม้แต่ดาวที่พราวบนฟ้าก็ดูเลือนลาง และมันก็จางไม่พอจะแทนที่ใครคนใด มีแต่เธอเป็นเพียงตะวันไม่มีคนอื่น และเธอเท่านั้นคือดวงตะวันที่หายไป (เพลง ดวงตะวัน ของ เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)
โวหารอุปมานิทัศน์ เคยมีใครสักคนได้บอกฉันมา ว่าเวลาใครมาทำกับเราให้เจ็บช้ำใจ ลองไปเก็บก้อนหินขึ้นมาสักอัน ถือมันอยู่อย่างนั้นและบีบมันไว้ บีบให้แรงจนสุดแรง ให้มือทั้งมือมันเริ่มสั่น ใครคนนั้นยิ้มให้ฉัน ถามว่าเจ็บมือใช่ไหม ไม่มีอะไรจะทำร้ายเธอ ได้เท่ากับเธอทำตัวของเธอเอง ให้เธอคิดเอาเอง ว่าชีวิตของเธอเป็นของใคร ไม่มีอะไรจะทำร้ายเธอ ถ้าเธอไม่รับมันมาใส่ใจ ถูกเขาทำร้าย เพราะใจเธอแบกรับ เพลง ก้อนหินก้อนนั้น ของ โรส ศิรินทิพย์
โวหารการกล่าวตำหนิ ปล่อยฉันให้ใจสลาย ให้มันตายลงไปอย่างช้าๆ อย่าคิดว่าคำพูดจา คำสัญญาจะทำให้ฉันฟื้น ไม่เคยหวังให้เธอหันมาบอกลา ไม่ต้องหันหน้ามาให้ฉันกล้ำกลืน ปล่อยให้รักเราตายลงไปอย่าฝืน ให้มันยืนหนาวตาย ไม่ขอให้มีเยื่อใย วันสุดท้ายเป็นใครก็ต้องช้ำ แค่พูดจาไม่กี่คำ ก็เพียงพอให้จำอยู่เสมอ เมื่อเธอพบคนดีที่เธอคู่ควร อย่าเรรวนเพราะคนที่ยังพร่ำเพ้อ เพียงแค่ฉันยังไม่เคยรักใครอย่างเธอ แค่รักเธอจริงข้างเดียว อย่ามัวเสียเวลากับฉัน ปล่อยให้มันเสียใจข้างเดียว ถึงฉันตายเธอก็ไม่เกี่ยว อย่าแลเหลียวหันหลังกลับมา ปล่อยให้ฉันหัวใจสลาย อย่างผู้ชายที่รักเธอข้างเดียว ถึงยังไงเธอก็ไม่ต้องเกี่ยว รักข้างเดียวมันช้ำอยู่แล้ว
โวหารการอ้างเหตุผล แต่ก่อนมีเธอใกล้ๆ สุขใจแค่ไหน แต่ก่อนรักกันยังไง ฉันไม่อยากจะตอบคำถามที่เขาถามกัน ว่าทำไมเธอไปจากฉันเพราะอะไรรักมากมายใครๆ ก็รู้ แต่ทำไมตอนสุดท้ายถึงได้เลิกกัน พูดตรงๆ มันลืมไปแล้วไม่ได้สนใจหากมันเป็นเวลาเลวร้ายฉันไม่จำ เลือกจะจำแค่เพียงเท่านี้วันเวลาที่มีแต่เธอเท่านั้น แต่ก่อนมีเธอใกล้ๆ สุขใจแค่ไหน แต่ก่อนรักกันยังไง เธอกับฉันพบกันที่ไหน ถ้าหากเขาถามว่ารักเธอมากแค่ไหน คือสิ่งที่ฉันอยากตอบ วันที่เธอเลิกไปฉันไม่อยากจำ จะเก็บรอยยิ้มของเธอ จะเก็บเธอไว้ในใจ จะจำว่าในครั้งหนึ่งเธอเคยรัก จะเก็บความรักของเธอ จะเก็บเอาไว้อย่างนี้ มันมีความหมายเหลือเกิน (เพลง คำถามที่ต้องตอบ ของ อ๊อฟ ปองศักดิ์)
โวหารการอ้างถึง ครั้งอิเหนาสุริย์วงศ์อันทรงกริช พระทรงฤทธิ์แรมร้างจินตะหรา พระสุธนร้างห่างมโนห์รา พระรามร้างแรมสีดาพระทัยตรอม องค์พระเพชรปาณีท้าวตรีเนตร เสียพระเวทผูกทวารกรุงพานถนอม สุจิตราลาตายไม่วายตรอม ล้วนเจิมจอมธรณีทั้งสี่องค์ แสนสุขุมรุ่มร้อนด้วยร้างรัก ยังไม่หนักเหมือนพี่โศกสุดประสงค์ ไม่ถึงเดือนเพื่อนรักเขาทักทรง ว่าซูบลงกว่าก่อนเป็นค่อนกาย (นิราศพระบาท)
บทสรุป การวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร คือ การเสพงานวรรณกรรมอย่างปัญญาชน วิเคราะห์ คือ การแยกแยะให้เห็นองค์ประกอบ วินิจ คือ การพิจารณาวรรณกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อหาสารสำคัญ วิจารณ์ คือ การแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นต่อสิ่งที่วิเคราะห์และวินิจมาแล้ว