งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานเงินสมทบและการตรวจสอบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "งานเงินสมทบและการตรวจสอบ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
สมชาย บุญศรี นิติกรชำนาญการ 1

2 หน้าที่ความรับผิดชอบ
สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อการบริหารงานของ กองทุนประกันสังคม และ กองทุนเงินทดแทน ภายใต้กฎหมายตามพระราชบัญญัติ : 1. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 2. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 2

3 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 (ยกเลิก) พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ ลงวันที่ 15 มิถุนายน มีผลใช้บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 3

4 วัตถุประสงค์ สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน เพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่เจ็บป่วย หรือ ประสบอันตราย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือ ตาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษา ผลประโยชน์ให้นายจ้าง 4

5 มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายจ้างซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรือนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรือนเอกชน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครู หรือครูใหญ่ นายจ้างซึ่งดำเนินกิจการที่ไม่ได้มีวัตถุประสงเพื่อแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ นายจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 5

6 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 กองทุนเงินทดแทน ประสบอันตราย เจ็บป่วย
ทุพพลภาพ ตาย หรือ สูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงาน 6

7 ใครมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบ
นายจ้าง ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียนภายใน วัน หน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เพียงฝ่ายเดียว โดยจ่ายปีละ 1 ครั้ง (ลักษณะเหมือนเบี้ยประกัน) ลูกจ้าง ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ไม่จำกัดอายุ เงินสมทบ คำนวณจากค่าจ้าง (ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำและไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท)ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณด้วยอัตราเงินสมทบของกิจการ ซึ่งนายจ้างแต่ละประเภทกิจการจะจ่ายเงินสมทบในอัตราที่ไม่เท่ากัน อยู่ระหว่าง 0.2% ถึง 1.0% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยในการทำงานของสถานประกอบการนั้น 7

8 ประเภทเงินสมทบ เงินสมทบประจำปี เงินสมทบประจำงวด
เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง เงินสมทบจากการตรวจบัญชี 8

9 - ปีแรกชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้าง 1 คน 2. เงินสมทบประจำงวด
1. เงินสมทบประจำปี - ปีแรกชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้าง 1 คน - ปีต่อไปชำระภายในวันที่ 31 มกราคม 2. เงินสมทบประจำงวด - ค่าจ้างมกราคม – มีนาคม ชำระภายในวันที่ 30 เมษายน - ค่าจ้างเมษายน – มิถุนายน ชำระภายในวันที่ 31 กรกฎาคม - ค่าจ้างกรกฎาคม – กันยายน ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม - ค่าจ้างตุลาคม – ธันวาคม ชำระภายในวันที่ 31 มกราคม 9

10 1. เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง
- รายงานค่าจ้างภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี - ชำระภายในวันที่ 31 มีนาคม 2. เงินสมทบจากการตรวจบัญชี - กรณีรายงานค่าจ้างภายในกำหนด ชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกใบแจ้งเงินสมทบ - กรณีรายงานค่าจ้างเกินกำหนด ชำระภายใน วันที่ 31 มีนาคม 10

11 ไม่เนื่องจากการทำงาน
พระราชบัญญัติประกันสังคม ประสบอันตราย/เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายย การคุ้มครอง ไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน 11

12 ประเภทของผู้ประกันตน
โดยบังคับ ผู้ประกันตน ม.33 ผู้ประกันตน ม.39 โดยสมัครใจ ผู้ประกันตน ม.40 12

13 ใครคือผู้ประกันตน? ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่เข้าทำงานและสถานประกอบการที่ทำงานอยู่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ผู้ประกันตนยังทำงานอยู่ และมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป 13

14 ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด?
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปจะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง (ตามแบบ สปส. 1-01) พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน (ตามแบบ สปส หรือ สปส. 1-03/1) 14

15 มาตรา 5 ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้าง โดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้าง ซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้าง และให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย พรบ.(ฉบับที่ 4) ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง 15

16 มาตรา 5 (ต่อ) ค่าจ้าง หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้ในวันหยุด และวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร วันทำงาน หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ 16

17 เงินสมทบคืออะไร เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ในอัตราฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือน ต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และ สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง 17

18 เงินสมทบ นายจ้าง เงินสมทบ 3 ฝ่าย ลูกจ้าง รัฐบาล 18

19 พรบ. (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2558 มาตรา 49 นายจ้างซึ่งไม่นำส่งเงินสมทบในส่วนของตนหรือ ในส่วนของผู้ประกันตนหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 47 ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ ทั้งนี้เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย

20 การกรอกข้อมูลการนำส่งเงินสมทบ
นำส่งเงินสมทบด้วยแบบ สปส (ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2) 1.1 กรอกรายละเอียดในแบบ สปส (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง 1.2 กรอกรายละเอียดในแบบ สปส (ส่วนที่ 2)ประกอบด้วย 1) เลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกให้ครบถ้วนทุกราย 2) ชื่อ – ชื่อสกุลของผู้ประกันตน พร้อมคำนำหน้าชื่อที่ชัดเจน 3) ค่าจ้าง กรอกค่าจ้างตามที่จ่ายจริง(กรณีไม่มีค่าจ้างใส่ “ 0 ”) 4) กรอกจำนวนเงินสมทบที่นำส่ง* 20

21 การกรอกข้อมูลการนำส่งเงินสมทบ (ต่อ)
* คำนวณเงินสมทบค่าจ้าง (3) หากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณฐานค่าจ้าง 1,650 บาท ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000บาท ให้คำนวณฐานค่าจ้าง 15,000 บาท โดยคูณกับอัตราเงินสมทบ (เศษสตางค์ของเงินสมทบตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเศษเป็นหนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง) กรณีสถานประกอบการมีสาขา และประสงค์ยื่นรวม ให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายการแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา 21

22 การกรอกข้อมูลการนำส่งเงินสมทบ(ต่อ)
* กรณีไม่มีค่าจ้างใส่ “0” ลาคลอด ลาป่วย ลาบวช ลากิจ อื่นๆ ไม่ได้รับค่าจ้าง แต่นายจ้าง ไม่ได้เลิกจ้าง 22

23 บทกำหนดโทษ (มาตรา 96) นายจ้างผู้ใดมีเจตนา
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายชื่อ ผู้ประกันตนและอัตรา ค่าจ้าง ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน* 2. ไม่แจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ภายใน 15 วันของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง * *ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 23

24 บทกำหนดโทษ (มาตรา 97) นายจ้างผู้ใดมีเจตนา
กรอกข้อความเป็นเท็จในแบบรายการ หรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเป็นเท็จ ในหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 24

25 บทกำหนดโทษ (มาตรา 97) (ต่อ)
* มาตรา 97 พรบ.(ฉบับที่ 4)นายจ้างผู้ใดยื่นแบบรายการตามมาตรา 34 หรือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการตามมาตรา 44 เป็นเท็จ หรือไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 47 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 25

26 บทกำหนดโทษ (มาตรา 101) ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิด และถูกลงโทษ ให้ถือว่าผู้แทนของนิติบุคคลกรรมการทุกคน และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลนั้นด้วย 26

27 การขอรับเงินคืน 2. ประเภท กรณีเงินเกิน
- นายจ้างเป็นผู้ยื่นคำขอ (สปส.1-23) - ผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้างหลายราย (สปส.1-23/1) - ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 (สปส.1-23/2) นายจ้าง/ผู้ประกันตนต้องยื่นคำขอรับเงินสมทบที่นำส่งเกิน คืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบ 27

28 การขอรับเงินคืน (ต่อ)
2. กรณีเงินไม่พึงชำระ(สปส.1-24) - ไม่เป็นผู้ประกันตน - นำส่งเงินหลังมีคำวินิจฉัยเป็นผู้ทุพพลภาพ - เงินที่นำส่งไม่เป็นค่าจ้าง เช่น เงินค่าล่วงเวลา ฯลฯ - นำส่งเงินก่อน/หลังสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตน ต้องยื่นคำขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิเรียกคืน หรือภายในสิบปี นับแต่วันที่นำส่งเงินเข้ากองทุน 28

29 ค่าจ้าง ตามพรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5
“ค่าจ้าง” หมายความว่าเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีใดและไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ค่าจ้าง มี 2 อย่าง (1) ค่าจ้างที่ได้จากการทำงาน (2) ค่าจ้างที่ได้โดยไม่ต้องทำงาน 29

30 1 .ค่าจ้างที่ได้จากการทำงาน 1.1 เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
1 .ค่าจ้างที่ได้จากการทำงาน 1.1 เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง (1) นายจ้างเป็นผู้จ่าย (2) ลูกจ้างรับเป็นของตน (3) หากจ่ายผ่านมือลูกจ้างไปยังผู้อื่น ไม่ใช่ค่าจ้าง (4) จ่ายผ่านมือหรือไม่ ให้ดูใบเสร็จ หรือหลักฐานการจ่าย 1.2 นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้าง เพื่อทดแทนเงิน หรือสิ่งที่ลูกจ้างจ่ายไป ไม่ใช่ค่าจ้าง 30

31 2.1 นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างเป็นค่าจ้าง
 2. นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน 2.1 นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างเป็นค่าจ้าง 2.2 นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง สวัสดิการ หมายถึงนายจ้างจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ หรือลูกจ้างในด้านต่างๆ เช่น อาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียนบุตร เงินฌาปนกิจศพ ค่าคลอดบุตร ค่าประกันอุบัติเหตุ เงินโบนัส ค่าภาษี ค่าน้า ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น 31

32    2.3 จ่ายเพื่อจูงใจลูกจ้าง ให้ทำงานมากกว่ามาตรฐานปกติ เช่น ให้ทำงานขยันขันแข็ง คือเบี้ยขยัน ให้ทำงานมากกว่าปกติ ให้ทำงานดีกว่าปกติ ให้ทำงานเสียหาย หรือสูญเสียน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ล้วนมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานปกติ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง 2.4 จ่ายเพื่อให้ลูกจ้างออกจากงาน ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายฐานเลิกจ้างที่เป็นการกระทาอันไม่เป็นธรรม หรือค่าเสียหายที่ผิดสัญญาจ้าง เป็นต้น 32

33 3. สำหรับการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน
3. สำหรับการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน 3.1 ตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเป็นค่าจ้าง 3.2 ตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันหยุด เป็นค่าทำงานในวันหยุด 3.3 ตอบแทนการทำงานนอกเวลา หรือเกินเวลาในวันทำงานเป็นค่าล่วงเวลา 3.4 ตอบแทนการทำงานนอกเวลา หรือเกินเวลาในวันหยุด เป็นค่าล่วงเวลาในวันหยุด 1 33

34 4. ค่าจ้างที่ได้โดยไม่ต้องทำงาน
    4. ค่าจ้างที่ได้โดยไม่ต้องทำงาน 4.1 เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา 4.2 ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย 4.3 ค่าจ้างในวันหยุด เช่น ลูกจ้างรายเดือนได้ค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมงและลูกจ้างตามผลงานได้ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจาปี ฯลฯ 34

35     5. ค่าจ้างในเวลา 5.1 ลูกจ้างได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาป่วยแต่รวมแต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทางาน (ม.57 วรรคหนึ่ง) 5.2 ลูกจ้างได้ค่าจ้างในวันลาเพื่อทาหมันตามที่แพทย์กาหนดและออกใบรับรอง (ม.57 วรรคสอง) 5.3 ลูกจ้างได้ค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารปีละไม่เกิน 60 วัน (ม.58) 5.4 ลูกจ้างหญิงได้ค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตร ครรภ์ละไม่เกิน 45 วัน (ม.59) 35

36 ฎีกาสำคัญ (1) ฎีกาที่ 8794/2550 ค่าอาหารและค่าหอพัก แม้เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ก็มิใช่ค่าจ้าง นายจ้างจัดอาหารและหอพักให้พนักงานอาศัย เป็นสวัสดิการ โดยคำนวณเป็นค่าอาหารและค่าหอพัก เพื่อถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี เป็นเพียงสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง 36

37 (2) ฎีกาที่ 2269/2549 ค่าเช่าบ้าน แม้จ่ายแน่นอนเท่ากัน ทุกเดือน ก็ไม่ใช่ค่าจ้าง
เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็เป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ต้องเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่พักอาศัยไปจากที่เคยอยู่เดิม อันเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่จัดให้แก่ลูกจ้างชาวต่างประเทศ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติ ไม่ใช่ค่าจ้าง 37

38 (3) ฎีกาที่ 1394/2549 ค่าชั่วโมงบินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน แม้มีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน ก็เป็นค่าจ้าง การปฏิบัติงานบนเครื่องบิน เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ แม้จะได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ปฏิบัติงาน ค่าชั่วโมงบิน จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสาหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงานจึง เป็นค่าจ้าง 38

39 (4) ฎีกาที่ 4842/2548 ค่าน้ำมันเหมาจ่ายเท่ากันทุกเดือน แต่เพื่อชดเชย การใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน ไม่ใช่ ตอบแทนการทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างเหมาจ่ายค่าน้ำมันรถให้ลูกจ้างเป็นรายเดือน ทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เพื่อชดเชยกับการที่ลูกจ้างใช้รถยนต์ส่วนตัวไปทำงานให้แก่นายจ้าง จึงมิใช่เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามสัญญาจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้าง 39

40 (5) ฎีกาที่ 2246/2548 เงินจูงใจ ไม่ใช่ค่าจ้าง
นายจ้างตกลงจ่ายเงินจูงใจให้เฉพาะพนักงานที่ทำยอดขายได้ตามเป้าที่นายจ้างกำหนด อันเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจ ให้พนักงานขายทำยอดขายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพื่อตอบแทนการ ทำงานโดยตรง อีกทั้งนายจ้างตกลงจ่ายเงินจูงใจเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี อันมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนในเวลาปกติของวันทำงาน เงินจูงใจ จึงมิใช่ค่าจ้าง 40

41 (7). ฎีกาที่ 5394-5404/2547 ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยวที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเป็นค่าจ้าง
เงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยวที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละคนที่ ขับรถและยกของที่ไปกับรถตามหน้าที่ โดยนายจ้างกำหนดอัตราไว้แน่นอนว่าเที่ยวหนึ่งจะจ่ายให้เท่าใด สามารถคำนวณได้ตามจานวนเที่ยวที่ทำได้ในเวลาทางานปกติของวันทำงาน มิใช่จ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงาน เงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยว จึงเป็นค่าจ้าง 41

42 การจูงใจ นั้นต้องจ่ายเพื่อให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่ามาตรฐานปกติ เช่น มากกว่า ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า ขยันกว่า มาตรฐานปกติ หรือบกพร่อง ทำผิดพลาดน้อยกว่า มาตรฐานปกติ 42

43 (7). ฎีกาที่ 5394-5404/2547 ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยวที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเป็นค่าจ้าง
เงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยวที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละคนที่ ขับรถและยกของที่ไปกับรถตามหน้าที่ โดยนายจ้างกำหนดอัตราไว้แน่นอนว่าเที่ยวหนึ่งจะจ่ายให้เท่าใด สามารถคำนวณได้ตามจานวนเที่ยวที่ทำได้ในเวลาทางานปกติของวันทำงาน มิใช่จ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงาน เงินค่าคอมมิชชั่นหรือค่าเที่ยว จึงเป็นค่าจ้าง 43

44 ค่ากะเป็นค่าจ้าง โดยปกติค่ากะถือเป็นค่าจ้างเนื่องจากเป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของลูกจ้าง เมื่อนายจ้างเป็นผู้กำหนดช่วงเวลาการทำงานกะและลูกจ้างต้องเข้าทำงานตามกะที่นายจ้างเป็นผู้กำหนดโดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตามรอบระยะเวลาที่กำหนด 44

45 ค่าครองชีพ เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นการชั่วคราวขณะที่ค่าครองชีพสูงคือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มเติมจากค่าจ้างปกติเป็นค่าจ้าง ค่าความร้อน เงินค่าความร้อนเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานนั้นๆ ประกอบกับสถานที่ปฏิบัติงานก็เป็นสถานที่ซึ่งพนักงานผู้นั้นต้องปฏิบัติงานทำงานในวันและเวลาทำงานปกติเป็นค่าจ้าง 45

46 ค่าตำแหน่ง เงินค่าตำแหน่งโดยปกติแล้วคือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้างซึ่งต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นหากลูกจ้างต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งที่นายจ้างกำหนด ต้องมีความรู้ความสามารถหรือความรับผิดชอบตามมาตราฐานตำแหน่งงานที่นายจ้างกำหนดแล้วนายจ้างจึงจ่ายค่าตำแหน่งให้ การจ่ายค่าตำแหน่งดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง 46

47 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี
โทร สายตรง 47


ดาวน์โหลด ppt งานเงินสมทบและการตรวจสอบ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google