งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2

3 สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘

4 พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 16 ก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นไป ( มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในรกจ.เป็นต้นไป (ม.2) ) แบ่งเป็น 3 หมวด และบทเฉพาะกาล หมวด 1 การทวงถามหนี้ หมวด 2 การกำกับดูแลและตรวจสอบ หมวด 3 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล

5 ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมาย 1
ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมาย 1.ใช้กำกับดูแลการทวงถามหนี้ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ 2.คุ้มครองเฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น 3.เฉพาะผู้ทวงถามหนี้ 8 จำพวกตามบทนิยามในมาตรา 3 เท่านั้นที่ อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี้ 4.การทวงถามหนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องทวงให้ถูกต้องตาม กฎหมาย 5.เฉพาะผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เท่านั้น(รับจ้างทวงถามหนี้ เป็นปกติธุระไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) ที่ต้องจดทะเบียนต่อ นายทะเบียน(ต้องจดทะเบียนก่อนทำธุรกิจรับจ้างทวงถามหนี้)

6 บทนิยาม ผู้ทวงถามหนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
หมวด 1 การทวงถามหนี้ ได้แก่ 1. เจ้าหนี้ (ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ (ผู้ให้สินเชื่อ หมายความว่าบุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอน สินเชื่อต่อไปทุกทอด) 2. ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง

7 ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ตาม 1.-4.จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
3. ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่า ด้วยการพนัน เช่น บ่อนไก่ สนามมวย เป็นต้น 4. เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิ์รับชำระหนี้อันเกิดจาการกระทำ ที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ เช่น ร้านขายของชำ หอพัก โรงแรม ร้านอาหาร ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ตาม 1.-4.จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม 5. ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้

8 6. ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ 7. ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 8
6. ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ 7. ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 8. ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ สรุปคือ (1) ผู้ทวงถามหนี้ 8 ประเภทนี้เท่านั้นที่อยู่ในบังคับของพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ (2) ไม่ว่าหนี้ที่ทวงถามดังกล่าว(หนี้ 4 ประเภท) จะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องทวงถามให้ถูกต้องตามกฎหมายนี้

9 “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า
(ก)บุคคล (ทั้งบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล) ซึ่งให้สินเชื่อทางการค้าปกติ เช่น ธนาคารและสถาบัน การเงินต่างๆ หรือนายทุนปล่อยเงินกู้(แต่ถ้าให้กู้ยืมเงินเพื่อ ช่วยเหลือกันเป็นครั้งคราวในหมู่ญาติมิตร เพื่อนฝูง โดยมิได้ทำเป็น ทางการค้าปกติ ไม่ถือว่าเป็นผู้ให้สินเชื่อตามพ.ร.บ.นี้และในการทวงถาม หนี้ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้) (ข)บุคคล (ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด

10 สินเชื่อ หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดา โดยการให้กู้ยืมเงิน, การให้บริการ บัตรเครดิต, การให้เช่าซื้อ, การให้เช่า แบบลิสซิ่ง และสินเชื่อรูปแบบอื่น ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ***************** สรุปคือ สินเชื่อไม่ได้หมายถึงเฉพาะการให้กู้ยืมเงินเท่านั้น

11 การให้เช่าแบบลิสซิ่ง คือ
การทำสัญญาที่ทำให้ผู้เช่าได้สินค้า เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือประกอบธุรกิจโดยที่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ ในสินค้านั้น และไม่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว แต่จะใช้วิธีค่อยๆทยอยจ่ายตามที่ตกลงไว้เมื่อสิ้นสุด สัญญาเช่าโดยทั่วไปลูกค้ามีทางเลือกว่าจะซื้อ/ต่อสัญญาเช่า/ หรือว่าส่งคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า

12 ลูกหนี้ หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
และให้หมายความถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย

13 “ธุรกิจทวงถามหนี้” การรับจ้างทวงถามหนี้ ไม่ว่าโดยตรง หมายความว่า
หรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึง การทวงถามหนี้ของทนายความ ซึ่งกระทำแทนลูกความของตน (ไม่ถือว่า เป็นธุรกิจการทวงถามหนี้)

14 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้
หมายความว่า(เกี่ยวโยงกับม.8 วรรคสอง) (1) ที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ (2) สถานที่ทำงานของลูกหนี้ (3) หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร (4) สถานที่ติดต่อโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้

15 (คณะกรรมการระดับประเทศที่ส่วนกลาง)
หมายความว่า คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ (คณะกรรมการระดับประเทศที่ส่วนกลาง)

16 นายทะเบียน หมายความว่า
ผู้ซึ่งรมว.มท.แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.นี้

17 พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่ง รมว.มท.แต่งตั้งตาม
การเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้

18 พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจตามมาตรา 32 คือ สั่งให้ผู้ทวงถามหนี้
(กรณีบุคคลธรรมดา) หรือกรรมการ/ ผู้จัดการ/ผู้มีอำนาจ ในการจัดการ/หรือพนักงานของผู้ทวงถามหนี้(ในกรณี ผู้ทวงถามหนี้เป็นนิติบุคคล) มาให้ถ้อยคำ แสดงข้อมูล หรือส่งสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือสิ่งอื่น อันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของผู้ทวงถามหนี้และบุคคลดังกล่าวข้างต้น) ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.43)

19 รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้(รมว.กค และรมว.มท. รักษาการตามพ.ร.บ.นี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน และให้ รมว.มท.มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้)

20 สรุปข้อห้ามและข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้
1.ทวงให้ถูกคน 8.ไม่ประจานลูกหนี้ 2.ทวงให้ถูกที่ 9.ไม่ใช้วจีดูหมิ่น 3.ทวงทุกทีให้ถูกเวลา 10.รับชำระหนี้สินออกใบเสร็จ 4.ไม่ทวงมาบ่อยๆ 11.แสดงเท็จไม่กระทำ 5.ไม่พลอยบอกคนอื่น 12.เรียกค่าทวงถามไม่เกิน กำหนด 6.ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม 13.ต้องไปจดถ้ารับจ้าง 7.ต้องทำตามวิธีการ 14.ปิดทางเจ้าหน้าที่รัฐ

21 ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้
1.ผู้ที่จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้(รับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ)ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน (ม.5 , 6) (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) 2.ทวงให้ถูกสถานที่ (การติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ต้องติดต่อตามที่อยู่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้แจ้งไว้) ม.9(1) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 3.ทวงให้ถูกเวลา (ติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น จันทร์-ศุกร์ น. วันหยุดราชการ น.) ม.9(2) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 4.ทวงไม่ถี่หรือบ่อยเกินไป (มีจำนวนครั้งที่เหมาะสม) ม.9(3) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 5.เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทวงหนี้ต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจ(ทวงต่อหน้า) และแจ้งชื่อ-สกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้/จำนวนหนี้ ม.9(4) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34)

22 ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้(ต่อ)
6.ในกรณีผู้ทวงถามหนี้ขอรับชำระหนี้ ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ /รับชำระหนี้แล้วให้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้(ม.10 วรรคหนึ่ง) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนีจะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม(ม.10วรรคสอง)

23 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้
1. ในการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ม.8 ว.1 (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) การติดต่อกับบุคคลอื่นให้กระทำได้เพื่อสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ เท่านั้น(ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ ตามนิยามในมาตรา 3 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน/หมายเลขโทรศัพท์/หมายเลขโทรสาร/อีเมล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น/ ที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้) และมีข้อปฏิบัติในการติดต่อ 4 ประการ คือ (1) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล(จะแจ้งเฉพาะชื่อตัวหรือชื่อเล่นไม่ได้) และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อดังกล่าว (โทษปรับทางปกครอง หนึ่งแสน ม.34) (2) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ในการติดต่อกับบุคคลอื่น เว้นแต่คนอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้(ระวัง :ไม่รวมของบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้) และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามถึงสาเหตุของการติดต่อ ก็ให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม (โทษหนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (3) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ บนซองจดหมาย ในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใด ที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ของลูกหนี้ (โทษหนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (4) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้(โทษปรับทางปกครอง หนึ่งแสน ม.34)

24 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ)
2. ห้ามผู้ทวงถามหนี้ กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะ ดังต่อไปนี้(ม.11) (1) ข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใด ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของลูกหนี้หรือผู้อื่น (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.41) (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น(โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง(2)คือแจ้งแก่สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวได้สอบถามถึงสาเหตุของการติดต่อ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39)

25 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ)
(4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจนเว้นแต่ กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด(คกก.จะประกาศกำหนดกรณียกเว้นที่สามารถติดต่อลูกหนี้ที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจนได้)(โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล) (6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท ม.34) .

26 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ)
มาตรา 12 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ดังต่อไปนี้ (1) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.41) (2) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย (โทษ สามปี สามแสน ม.40) (3) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน (โทษ สามปี สามแสน ม.40) (4) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต (โทษ สามปี สามแสน ม.40) .

27 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ)
มาตรา 13 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ ไม่เป็นธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด(โทษปรับทางปกครองไม่เกิน หนึ่งแสน ม.34) (๒) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) .

28 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ)
มาตรา 14 ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการดังต่อไปนี้ (๑) ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.42) (๒) ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย(โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.42) เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

29 ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 083 – 148-2788
นายคารม คำพิทูรย์ นายอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 083 –


ดาวน์โหลด ppt สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google