งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หน่วยที่ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2.1 แนวคิดและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 1

2 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา 2

3 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสานศึกษาจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นประจำทุกปี 3

4 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องได้รับการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะ 5 ปี 4

5 การประเมินคุณภาพภายนอก
รอบแรก จึงเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ และครบกำหนด 6 ปี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2548 รอบที่ 2 เริ่มในปี พ.ศ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553 รอบที่ 3 จะเริ่มในปี พ.ศ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2558 5

6 แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หลักการและแนวการจัดการศึกษาตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 6

7 เป็นการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี มีความสามารถ(คนเก่ง) และมีความสุข มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีการบริหารจัดการรวมทั้งการทำงานที่เน้นคุณภาพ เป็นการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7

8 สถานศึกษาจะต้องมีการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารและการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน แล้วรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบทุกปีและได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อชี้จุดเด่น จุดควรพัฒนาให้สถานศึกษาได้พัฒนาคุณภาพต่อไป 8

9 สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 9

10 มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 10

11 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประเมินคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก 11

12 มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มี การตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาโดยคำนึงถึง ความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 12

13 ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่ การประเมินครั้งสุดท้ายและเสนอผลการประเมิน ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน 13

14 มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น 14

15 มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข 15

16 การประกันคุณภาพการศึกษาตาม มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 16

17 ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
การดำเนินงานที่เป็นภารกิจปกติของบุคลากรฝ่าย ต่าง ๆ ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสังคมและผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้เรียน และ ผู้ปกครอง ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด 17

18 กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ. ศ
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 1) การประเมินคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงาน ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา 18

19 2) การตรวจติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายความว่า กระบวนการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 19

20 การติดตามตรวจสอบคุณภาพ เป็นการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน กำกับติดตามความก้าวหน้าและยืนยันการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุมาตรฐานที่กำหนด 20

21 3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายความว่า กระบวนการพัฒนาการศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน รวมทั้ง การสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็น ความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน 21

22 การดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 22

23 4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา 5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 23

24 7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สถานศึกษายึด หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด 24

25 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยนักประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน หรือ สมศ.) เพื่อมุ่งให้มี การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นและการดำเนินงานต้องเริ่มต้นด้วยการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของตนเอง 25

26 กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ. ศ
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 1) การประเมินคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก 26

27 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
2) การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายความว่า กระบวนการติดตามตรวจสอบ ความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 27

28 จุดหมาย หลักการของการประกันคุณภาพภายนอก
1. เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรมและโปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 28

29 จุดหมาย หลักการของการประกันคุณภาพภายนอก
3. สร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติโดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย ซึ่งสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษา และผู้เรียน 29

30 จุดหมาย หลักการของการประกันคุณภาพภายนอก
4. ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 30

31 จุดหมาย หลักการของการประกันคุณภาพภายนอก
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและพัฒนาการจัดการศึกษาของรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น 31

32 จุดหมาย หลักการของการประกันคุณภาพภายนอก
6. ความเป็นอิสระ เสรีภาพทางวิชาการ เอกลักษณ์ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของสถานศึกษา 32

33 การประกันคุณภาพภายนอกให้สำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การ มหาชน) ทำการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของ ชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้

34 1. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
1. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา 2. มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา 3. มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4. มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน 34


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google