ปรากฏการณ์ ทางธรณีวิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ชุมชนของเรา ชุมชนอบอุ่น MANAGEMENT BY P.PROPERTY MANAGEMENT.CO,LTD
เฉลย (เฉพาะข้อแสดงวิธีทำ)
นายชิดชัย อังคะ ไวมงคล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ ผังเมือง นายมนัส ปรุง ทำนุ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ร. อ. ปกรณ์เดช โลหิตหาญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ.
วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ระดับชั้น ม.4
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
ภัยธรรมชาติและการระวังภัย
ระดับทะเลปานกลาง (MSL)
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
รายงานความก้าวหน้า การสนองพระราชดำริด้านงานวิจัย จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดือนมีนาคม.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ทฤษฏีการเรียนรู้ กลุ่มพฤติกรรมนิยม
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
น้ำและมหาสมุทร.
Scene Design and Lighting Week1-3
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
ชุดที่ 1 ไป เมนูรอง.
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ
การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
แผ่นดินไหว.
World Time อาจารย์สอง Satit UP
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 21 เมษายน 2558 ข้อมูล ณ เวลา น. www
อำนาจ การปกครอง และการระงับข้อพิพาท
การทดลองหาค่าความแน่นของดินที่มีเม็ดผ่านตะแกรงขนาด 19.0 มม. 1 เติมทรายลงในขวดซึ่งประกอบเข้ากับกรวยเรียบร้อย แล้วให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งาน.
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
อ. ธนา ยีรัมย์ วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สรุปบทเรียน และแนวทางการนำไปใช้
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
ความดัน (Pressure).
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
คำชี้แจง เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
ศาสนาเชน Jainism.
ยุคกลาง : Medieval Age The Black Death A.D 1348 อาจารย์สอง Satit UP.
ยิ้มก่อนเรียน.
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
02/08/62 การศึกษาพลังงานทางเลือกจากมูลช้างทำถ่านอัดแท่ง สู่ชุมชนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุรินทร์ The Study of Alternative Fuel From Elephant Dung Made Bar.
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (Simple harmornic motion)
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง Doppler Effect of Sound
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ปรากฏการณ์ ทางธรณีวิทยา ปรากฏการณ์ ทางธรณีวิทยา

แผ่นดินไหว (Earthquake)  คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก หรือพื้นดิน  เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานภายใต้พื้นผิวโลก  เพื่อระบายความเครียดที่ได้มีการสะสมไว้ออกมาอย่างฉับพลันทันทีทันใด  การปลดปล่อยพลังงานอย่างทันทีทันใดมีการปล่อยแรงการสั่นสะเทือนประกอบกันเข้ามายังพื้นผิวโลกเป็นแผ่นดินไหว เพื่อปรับความสมดุลให้แก่เปลือกโลก

แผ่นดินไหว (Earthquake)  ส่วนมากจะเกิดขึ้นตรงบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นธรณีภาค 2 แผ่นที่ถูกแยกออกจากกัน ชนกัน หรือเคลื่อนที่ผ่านกันอย่างคงที่  โดยการถ่ายเทพลังงานความร้อนในชั้นฐานธรณีภาค ประกอบด้วยหินอ่อนที่รองรับอยู่ข้างใต้  แรงเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคได้เพิ่มมากขึ้น พลังงานที่สะสมไว้สามารถทำให้หินแตกร้าว และเกิดเป็นรอยแตกที่ เรียกว่า รอยเลื่อน ทำให้เกิดคลื่นการสั่นสะเทือนของแผ่นเปลือกโลก

แผ่นดินไหว (Earthquake)  คลื่นการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เรียกว่า คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave)  ตำแหน่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นการไหวสะเทือนของแผ่นดิน หรือตำแหน่งจุดเริ่มต้นแผ่นดินไหว เรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Focus)

แผ่นดินไหว (Earthquake)  จุดเริ่มต้นของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งความลึกของศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากพื้นผิวโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ 1. แผ่นดินไหวระดับลึก (deep-focus earthquake) 2. แผ่นดินไหวระดับปานกลาง (intermediate-focus earthquake) 3. แผ่นดินไหวระดับตื้น (shallow-focus earthquake)

แผ่นดินไหว (Earthquake) 1. แผ่นดินไหวระดับลึก (deep-focus earthquake)  มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในระดับลึก เกิดที่ความลึกมากกว่า 300 กิโลเมตร จากผิวโลกลงไป  พบได้ในบริเวณที่แผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งมุดตัวลงใต้แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่ง  แนวของการเกิดแผ่นดินไหวระดับนี้เป็นแนวเดียวกันกับร่องทะเลและแนวภูเขาไฟ

แผ่นดินไหว (Earthquake) 2. แผ่นดินไหวระดับปานกลาง (intermediate-focus earthquake)  มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง คือ จะเกิดที่ความลึกระหว่าง 70 – 300 กิโลเมตรจากผิวโลก  พบในบริเวณที่แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่แยกจากกัน เช่น สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก

แผ่นดินไหว (Earthquake) 3. แผ่นดินไหวระดับตื้น (shallow-focus earthquake)  มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น คือ จะเกิดที่ความลึกจากผิวโลกลงไป 70 kg  พบในบริเวณแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน เช่น สันเขาทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter) จุดที่อยู่บนพื้นผิวโลกตรงตำแหน่งเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ในแนวเดียวกันกับรอยต่อของแผ่นธรณีและรอยเลื่อนต่างๆ การคำนวณตำแหน่งของศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว และจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว สามารถหาได้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับคลื่นไหวสะเทือน คลื่นปฐมภูมิจะเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่นทุติยภูมิ คลื่นปฐมภูมิจึงเดินทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวไปถึงสถานีตรวจคลื่นไหวสะเทือนก่อนคลื่นทุติยภูมิ ถ้าทราบช่วงเวลาที่คลื่นปฐมภูมิมาถึงก่อนคลื่นทุติยภูมิ สามารถคำนวณหาระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ว่าอยู่ห่างจากสถานีตรวจคลื่นไหวสะเทือนเท่าใด

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 2 ประการ คือ 1. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY) 2. เกิดจากธรรมชาติ (NATURAL EARTHQUAKE)

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว 1. แผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY) - การเก็บกักน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ - การทดลองระเบิดปรมาณู/ระเบิดนิวเคลียร์ - การระเบิดจากการทำเหมืองแร่ - การสูบน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป - การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ - การเก็บขยะนิวเคลียร์ใต้ดิน

2. แผ่นดินไหวที่เกิดจากธรรมชาติ (NATURAL EARTHQUAKE) มักเกิดมากบริเวณขอบของ plate และตามแนวรอยเลื่อน

ทฤษฎีการเกิดแผ่นดินไหว 1. ทฤษฎีการยืดหยุ่นของหิน (The elastic-rebound theory) ใช้อธิบายในการไหวตัวของแผ่นดิน พลังงานความเครียดทำให้เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการยืดหยุ่นของหินที่เกิดการเปลี่ยนรูปอย่างช้าๆ ชั้นหินที่อยู่ด้านข้างของแนวรอยเลื่อนจะมีการโค้งงอเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นการเปลี่ยนรูปไป โดยติดต่อกันเป็นเวลานาน จนถึงขีดจำกัดของความยืดหยุ่นของหิน หินก็จะแตกหักโดยทันที และพลังงานจากการยืดหยุ่นที่สะสมอยู่จำนวนมากในชั้นของหินก็จะปล่อยออกมาในรูปของเคลื่อนไหวสะเทือน หินก็จะกลับคืนรูปเดิม ไม่โค้งงออีก แต่เคลื่อนที่ไปจากเดิม เกิดขึ้นกับแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางไม่ลึกมาก

ทฤษฎีการเกิดแผ่นดินไหว 2. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี พลังงานความเครียดที่สะสมอยู่ภายในหินทำให้เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการยืดหยุ่นของหิน เมื่อหินเกิดการเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ พลังงานยืดหยุ่นก็จะสะสมตัวอยู่ในมวลหิน หินจะค่อยๆ ยืดเป็นแนวก่อน จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวก็จะปล่อยพลังงานยืดหยุ่นออกมา ทำให้เกิดการแตกหรือเลื่อนตัวตามแนว ความเร็วของเลื่อนมีมาก พลังงานจากการยืดหยุ่นที่สะสมอยู่จำนวนมากทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้น และแพร่ออกไปทุกทิศทาง หินส่วนนั้นก็จะคืนกลับสู่รูปเดิม เนื่องจากเสียพลังงานยืดหยุ่นไป

3. การระเบิดของภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากขณะที่แมกมาหรือหินหลอมเหลวหนืดอยู่ใต้ผิวโลกได้เคลื่อนตัวตามรอยแตกขึ้นสู่ทางปล่องภูเขาไฟ ช่วงระยะนี้จะทำให้แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปเกิดการสั่นไหว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดพ่นลาวาออกมาก

แนวแผ่นดินไหว 1. แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด มีเทือกเขาอยู่รอบๆ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรง และเกิดมากที่สุด ได้แก่ เทือกเขาแอนดิสในอเมริกาใต้ เทือกเขาตามชายฝั่งทะเลของแคนาดา และอเมริกาเหนือ หมู่เกาะอาลูเชียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก และนิวซีแลนด์ บริเวณทั้งหมดที่เกิดแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)”

แนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง คือแนวขอบ หรือ บริเวณรอยต่อของเพลต (plate) ต่างๆ ตามทฤษฏีการ เคลื่อนตัวของเปลือกโลก (Plate Tectonic Theory)

Ring of Fire บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรป และภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เป็นแหล่งที่เกิดแผ่นดินไหวร้อยละ 15 ได้แก่ บริเวณประเทศพม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น และปานกลาง 3. แนวรอยต่อที่เหลือ ประมาณร้อยละ 5 เกิดในบริเวณแนวสันเขากลางมหาสมุทรต่างๆ ของโลก เช่น บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก แนวสันเขาใต้มหาสมุทรอินเดีย และอาร์กติก ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้อยู่ที่ระดับตื้นและเกิดเป็นแนวแคบๆ

การศึกษาแผ่นดินไหวจากคลื่นแผ่นดินไหว

1. คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) 2. คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) เมื่อเกิดแผ่นดินไหว พลังงานที่ถูกปลดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน 2 ชนิด 1. คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) เป็นคลื่นซึ่งสามารถเดินทางผ่านชั้นภายในโลก แผ่กระจายทุกทิศทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และเดินทางอยู่ในตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน 2. คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) เป็นคลื่นซึ่งเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตามผิวของโลกเท่านั้น เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง

1. คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) 1. P wave หรือ Primary Wave เป็นคลื่นตามยาว ที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด และสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ทั้งหินแข็งและของไหล มีลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นเป็นแบบ push and pull ในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น

1. คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) เป็นคลื่นตามขวาง ซึ่งเป็นคลื่นตัวที่สองที่เรารู้สึกได้เวลาเกิดแผ่นดินไหว โดยจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า คลื่น P wave และสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะในหินแข็งเท่านั้น ลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่น จะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง และจาก side-to-side ในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น 2. S wave หรือ Secondary Wave

2. คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) 1. Love wave หรือ คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ บริเวณใกล้กับผิวโลก โดยมีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นคลื่นที่สร้างความเสียหายให้กับฐานรากของอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

2. คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) 2. Rayleigh wave หรือ คลื่นเรย์ลี (R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในแนวระนาบแนวดิ่งเป็นวงรีในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้พื้นผิวโลกมีการสั่นขึ้น-ลง

ภาพรวมของ แผ่นดินไหว

เครื่องมือตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว Seismograph คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและบันทึกแผ่นดินไหว หรือ การสั่นของพื้นผิวโลก ซึ่งเกิดจากคลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) เส้นกราฟขึ้น-ลง ที่ได้จากการบันทึกด้วยเครื่อง Seismograph เรียกว่า Seismogram

เครื่องมือตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว หลักการทำงานของเครื่องวัดความไหวสะเทือน อาศัยหลักการต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมวลลูกตุ้มเหล็ก คือ ลูกตุ้มเหล็กจะเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนที่มายังสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว กระดาษบันทึกความไหวสะเทือนจะบันทึกแรงสั่นสะเทือนทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกประดิษฐ์โดย ชาวจีน ชื่อ Chang Heng ทราบเฉพาะทิศทาง ไม่ทราบขนาด

เครื่องมือตรวจวัดการเกิดแผ่นดินไหว เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจหา เวลาที่แผ่นดินไหวเกิด ศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Focal depth) ขนาดของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา (Magnitude)

แผ่นดินไหว (Earthquake) สถานีตรวจวัดตามวัตถุประสงค์เฉพาะ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตรวจจับการทดลองระเบิด นิวเคลียร์ การไฟฟ้าฯ ตรวจแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เครือข่ายบริเวณเขื่อนทางภาคตะวันตก กรมชลประทาน บริเวณจังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน กรมโยธาธิการ และจุฬาฯ วิจัยการตอบสนองของอาคารจากแผ่นดินไหว

ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดจากปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดให้ “ริกเตอร์” เป็นหน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหว เพื่อให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา ชื่อ ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ ผู้คิดค้นสูตรการวัดขนาดของแผ่นดินไหว หลักการคำนวณแผ่นดินไหวตามวิธีมาตรฐานของริกเตอร์ ทำได้เฉพาะแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น และต้องเป็นสถานีที่อยู่ในระยะ 200-300 km จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเท่านั้น

มาตราส่วนที่ใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหว The Richter Scale : เป็นการวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ซึ่ง พัฒนาขึ้นโดย Charles Richer ในปี ค.ศ.1930 เพื่อใช้วัด ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทางตอนใต้ของ แคลิฟอร์เนีย เป็น Log Scale เลขฐานสิบ โดยแต่ละ ลำดับขนาดจะแตกต่างกัน 10 เท่า แต่พลังงานแตกต่าง กันประมาณ32 เท่า The Mercalli Scale : เป็นมาตราส่วนที่ใช้สำหรับวัดความรุนแรงของ แผ่นดินไหว (Intensity) ที่เกิดจากการสั่นและ ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว ซึ่งจะ แตกต่างกันไปในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับระยะทาง

3 - 3.9 ผู้คนในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน มาตราริคเตอร์ ขนาด ความสั่นสะเทือน 1 - 2.9 สั่นไหวเล็กน้อย 3 - 3.9 ผู้คนในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน 4 - 4.9 สั่นไหวปานกลาง ผู้คนทั้งในและนอก อาคารรู้สึก วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว 5 - 5.9 สั่นไหวรุนแรง เครื่องเรือน วัตถุมีการเคลื่อนที่ 6 - 6.9 สั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มพังเสียหาย 7.0 ขึ้นไป สั่นไหวร้ายแรง อาคารพังเสียหายมาก แผ่นดินแยก วัตถุถูกเหวี่ยงกระเด็น

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว เป็นการวัดความรุนแรงจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งขณะเกิดและหลังการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีต่อความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่สั่นไหว หรือความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง มาตราที่นิยมใช้ ได้แก่ มาตราโมดิฟายด์เมอร์แคลลี่ (Modified Mercalli Intensity Scale)

มาตราโมดิฟายด์เมอร์แคลลี่ (Modified Mercalli Intensity Scale)

Magnitude and Intensity Comparison Typical Maximum Modified Mercalli Intensity 1.0 – 3.0 I 3.0 – 3.9 II - III 4.0 – 4.9 IV - V 5.0 – 5.9 VI - VII 6.0 – 6.9 VII - IX 7.0 and higher VIII or higher

ภาพรวมของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

การพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว ไม่ได้ การพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว (Earthquake) ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว น้ำในบ่อน้ำ ขุ่นมากขึ้น ไหวหมุนเวียน ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และรสขม ปริมาณก๊าซเรดอนเพิ่มขึ้น แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ หนู งู วิ่งออกมาจากรู ปลา กระโดดขึ้นจากฝั่งน้ำ อื่นๆ

การป้องกันและการปฏิบัติตน ก่อนการเกิด ● ระหว่างการเกิด ● หลังการเกิด

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว 1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน 2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น 4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า 5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้ 6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน 7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง 8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

มุดใต้โต๊ะ ยึดให้มั่น หมอบ! หาที่กำบัง! ยึดให้มั่น! เมื่อแผ่นดินไหว มุดใต้โต๊ะ ยึดให้มั่น

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว 1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน 2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง 3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ 4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง 5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น 6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด 7. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว 8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว 1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน 2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้ 3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง 4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว 5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน 6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง 7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ 8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้ 9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง 10. อย่าแพร่ข่าวลือ

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เกิดการเลื่อนเคลื่อนที่ของผิวโลก (Surface faulting) การสั่นสะเทือนของผิวดิน (ground shaking) การพังทลายของดิน (landslides) ภาวะดินเหลว (liquefaction) การทรุดตัวของพื้นดิน (subsidence) สึนามิ (Tsunami) ภูเขาไฟระเบิด (volcanoes)

สึนามิ (Tsunami)

สึนามิ (Tsunami) คลื่นยักษ์ผลจากแผ่นดินไหว

สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547

สึนามิ เมื่อ 26 ธันวาคม 2547

คลื่นยักษ์ไปไกลถึงแอฟริกา

จบแล้วค่ะ