ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 มกราคม 2562 กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล (Escherichia coli) และวิธีการเก็บตัวอย่างและการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล (Escherichia coli) ในน้ำทิ้งและ กากตะกอนที่ผ่านระบบกาจัดสิ่งปฏิกูลแล้ว พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 มกราคม 2562 www.aimconsultant.com สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 1 1
สรุปสาระสำคัญ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 360 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ในการระบายน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านระบบกาจัดสิ่งปฏิกูลแล้ว น้ำทิ้งและกากตะกอนต้องมีปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ดังต่อไปนี้ 1) วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งสำหรับตรวจหาไข่หนอนพยาธิ ให้ใช้วิธีเก็บแบบจ้วง (Grab sampling) ในบ่อสุดท้ายของระบบกำจัดหรือจุดสุดท้ายก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเก็บตัวอย่างที่จุดกึ่งกลางความลึกสำหรับบ่อที่มีความลึกไม่เกิน 2 เมตร และเก็บที่ระดับความลึกจากผิวน้ำ 1 เมตร สำหรับบ่อที่มีความลึกเกินกว่า 2 เมตร ให้ได้ปริมาณ 3 ลิตร บรรจุในภาชนะพลาสติก ขนาดความจุ 4 ถึง 5 ลิตร www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ 2) วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งสำหรับตรวจหาแบคทีเรียอีโคไล (Escherichia coli) ให้เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร ของบ่อสุดท้าย หรือภาชนะที่รองรับ ณ จุดตรวจสอบ ให้ได้ปริมาณ 100 มิลลิลิตร บรรจุในขวดแก้วขนาดความจุ 125 มิลลิลิตรที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 160 - 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ภายในมีคราบของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตเข้มข้น ร้อยละ 10 ปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร หุ้มจุกขวดด้วยกระดาษอะลูมิเนียม และบรรจุในกระป๋องทาด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม ในกรณีไม่สามารถทำการตรวจได้ทันที ให้เก็บรักษาตัวอย่างน้ำทิ้งในภาชนะควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 4 ถึง 10 องศาเซลเซียส และดำเนินการตรวจภายในเวลา 24 ชั่วโมง www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ วิธีการเก็บตัวอย่างกากตะกอน ให้เก็บตัวอย่างโดยสุ่มเก็บให้เป็นตัวแทน จำนวน 10 จุด ๆ ละไม่น้อยกว่า 100 กรัม คลุกผสมตัวอย่างกากตะกอนที่ได้ให้เข้ากันอย่างทั่วถึงรวมเป็นกองเดียวกัน แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วสุ่มเลือก 2 ส่วน ที่อยู่ตรงข้ามมารวมกัน ตักตะกอนปริมาณ 400 กรัม ใส่ในถุงพลาสติกที่สะอาดสำหรับตรวจหาไข่หนอนพยาธิและตักตะกอนอีกปริมาณ 100 กรัม ใส่ในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่สะอาดและปลอดเชื้อ สำหรับตรวจหาแบคทีเรียอีโคไล (Escherichia coli) ในกรณีไม่สามารถทำการตรวจได้ทันที ให้เก็บรักษาตัวอย่างกากตะกอนในภาชนะควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 4 ถึง 10 องศาเซลเซียส และดำเนินการตรวจภายในเวลา 24 ชั่วโมง www.aimconsultant.com
สรุปสาระสำคัญ ให้ผู้มีหน้าที่จัดการสิ่งปฏิกูลดำเนินการตรวจหาปริมาณไข่หนอนพยาธิในน้ำทิ้งและกากตะกอนให้เป็นไปตามคู่มือแนบท้ายประกาศนี้ และดำเนินการตรวจหาปริมาณแบคทีเรียอีโคไล ในน้ำทิ้งและกากตะกอนตามวิธี Most Probable Number (MPN) ห รือ Multiple Tube Fermentation Technique (Standard Method Part 9221) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลการตรวจต่อราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้รายงานต่อคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดหรือคณะกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี www.aimconsultant.com
บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม ติดต่อเรา บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม. 10160 Tel. 02-489-2500-1, Fax : 02-489-2502 www.aimconsultant.com Email: marketing@aimconsultant.com