ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาคดีปกครอง พันเอก วรศักดิ์ อารีเปี่ยม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น ประจำศาลปกครองสูงสุด
ประเภทคดีปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย คดีพิพาทเกี่ยวกับฝ่ายปกครองละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของฝ่ายปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องยื่นฟ้องบุคคลต่อศาล
คดีปกครองที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ตามที่กฎหมายกำหนด : พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ : คดีพิพาทเกี่ยวกับวินัยทหาร : คดีพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม : คดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจศาลชำนัญพิเศษ : ตามกฎหมายอื่นๆ : พรก.กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ : พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ : พรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง/คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจศาล : คดีพิพาทในวงการศาสนา : คดีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี/เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ประเภทคดีการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทำ “นิติกรรมทางปกครอง” โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย : “กฎ” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย : กฎโดยแท้ : มาตรการทางปกครองที่มีสภาพเป็นกฎ : “คำสั่ง” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย : คำสั่งทางปกครอง : คำสั่งทางปกครองเฉพาะกรณี : คำสั่งทางปกครองทั่วไป : คำสั่งอื่น การ “ปฏิบัติการทางปกครอง” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย : การดำเนินกิจการทางปกครอง (การกระทำทางกายภาพ) : การบังคับทางปกครอง
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย “ภายนอก” นิติกรรมทางปกครอง : ความชอบด้วย “อำนาจหน้าที่” ของ “เจ้าหน้าที่” ผู้กระทำการ : ความชอบด้วย “ ขั้นตอน” และ “วิธีการ” อันเป็นสาระสำคัญ การควบคุมความชอบด้วยกฎหมาย “ภายใน” นิติกรรมทางปกครอง : ความชอบด้วยกฎหมายของ “เนื้อหา” ของนิติกรรมทางปกครอง : ความชอบด้วยกฎหมายของ “ดุลพินิจ” ในการทำนิติกรรม ทางปกครอง การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของ “มูลเหตุจูงใจ”(motif) ในการ ทำนิติกรรมทางปกครอง
การควบคุมดุลพินิจของฝ่ายปกครอง ดุลพินิจวินิจฉัย (la latitude de jugment) : โดยปกติถือว่าเป็น “ความเชี่ยวชาญ” ของฝ่ายปกครอง : เว้นแต่ “วิญญูชน” ไม่วินิจฉัยโดยวิปลาสคลาดเคลื่อนเช่นนั้น ดุลพินิจตัดสินใจ (pouvoir discrétionaire) : ต้องเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน (proportionalité) : หลักแห่งความเหมาะสม : หลักแห่งความจำเป็น : หลักแห่งความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
หลักแห่งความเหมาะสม (principe de suitabilité) ในบรรดามาตรการหลายๆ มาตรการที่กฎหมายให้อำนาจ ฝ่ายปกครอง “เลือก” ใช้ได้ ฝ่ายปกครองต้องเลือกใช้มาตรการที่สามารถทำให้ “ความมุ่งหมายของกฎหมาย” (but) ที่ให้อำนาจกระทำการแก่ฝ่ายปกครอง สำเร็จลุล่วง ลงไปได้เท่านั้น
หลักแห่งความจำเป็น (principe de necessité) ในบรรดามาตรการหลายๆ มาตรการที่กฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองเลือกใช้ได้ และล้วนแล้วแต่ทำให้ความมุ่งหมายของกฎหมายที่ให้อำนาจกระทำการแก่ ฝ่ายปกครองสำเร็จลุล่วงไปได้ทั้งสิ้น ฝ่ายปกครองต้องเลือกใช้มาตรการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน “น้อยที่สุด” และถ้าเป็นกรณีให้ประโยชน์แก่ราษฎร ฝ่ายปกครองต้องเลือกมาตรการที่ “รัฐ” เสียประโยชน์ “ น้อยที่สุด ”
หลักแห่งความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (principe de necessité , stricto sensu) ในบรรดามาตรการที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจใช้ หากเป็นที่ เห็นได้ชัดว่าการนำมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้แล้วจะเกิด “ประโยชน์แก่มหาชน” น้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหาย ที่จะบังเกิดแก่เอกชน ห้ามมิให้องค์กรฝ่ายปกครองใช้อำนาจออกคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าหากได้ลงมือปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นแล้ว จะยังให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมากไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดแก่พลเมือง
คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐ
ประเภทความรับผิดของรัฐ ความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ความรับผิดอย่างอื่น
ประมาทเลินเล่อทางปกครอง ไม่นำหลักประมาทเลินเล่อทางแพ่งมาใช้ เนื่องจาก : อำนาจผูกพัน เจ้าหน้าที่ไม่มีเสรีภาพในการเลือกว่าจะกระทำหรือไม่กระทำ หากแต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการอย่างเคร่งครัด : อำนาจดุลพินิจ เจ้าหน้าที่ใช้เสรีภาพในการเลือกภายในกรอบแห่งกฎหมาย การดำเนินงานของหน่วยงานทางปกครองเกิดความบกพร่อง ที่เกินเลยระดับมาตรฐานไปจากการดำเนินการตามปกติของหน่วยงานนั้น ซึ่งกรณีที่ถือว่าเกินเลยระดับมาตรฐานไม่อาจกำหนดแน่นอนได้ แต่จะขึ้นอยู่กับ “ลักษณะภาระหน้าที่ของหน่วยงานนั้น และสถานการณ์” เป็นกรณีๆไป
ความรับผิดโดยมิได้กระทำผิด (la responsabilité sans faute)
ประเภทของความรับผิดโดยปราศจากความผิด ความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด ความรับผิดตามที่ศาลปกครองกำหนด
ความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด ความรับผิดอย่างอื่นตามที่กฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติกำหนด ความรับผิดอย่างอื่นตามที่ “กฎ” กำหนด
ความรับผิดอย่างอื่นตามที่กฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติกำหนด ความรับผิดอย่างอื่นตามที่กฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติกำหนด พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๑๑ พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.๒๕๓๐ พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕
ความรับผิดอย่างอื่นตามที่ “กฎ” กำหนด ระเบียบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยการช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นช่วยเหลือราษฎรซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลตามที่กฎหมายกำหนด ให้ได้รับเงินช่วยเหลือตามควรแก่กรณี เป็นพิเศษเพื่อความเป็นธรรม มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ที่ให้ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐทั้งโดยชอบหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ถูกเขตชลประทานได้รับค่าชดเชยทรัพย์สินเป็นกรณีพิเศษ
ความรับผิดอย่างอื่นตามที่ศาลปกครองกำหนด : รับผิดในการกระทำที่ก่อให้เกิดการเสี่ยงภัย (risqué) : รับผิดในกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากการกระทำที่ ก่อให้เกิดการเสี่ยงภัย
ความรับผิดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงภัย : ความเสียหายที่เกิดจากวัตถุที่เป็นอันตราย : ความเสียหายที่เกิดจากกิจกรรมหรือเทคนิคที่เป็นอันตราย
ความรับผิดในกรณีอื่นๆ : ความเสียหายอย่างถาวรอันเกิดจากงานโยธาสาธารณะ : ความเสียหายของ “เหยื่ออาชญากรรม” : ความเสียหายจาก “การกระทำทางตุลาการ” : ถูกพิพากษาลงโทษโดยผิดพลาด : ถูกพิจารณาคดีโดยมิได้กระทำความผิด
ความรับผิดในกรณีอื่นๆ (ต่อ) : ความเสียหายจาก “การปฏิเสธความยุติธรรม” : การไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล : การปฏิเสธที่จะดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย : ความเสียหายอันเกิดจากมาตรการทางเศรษฐกิจและ สังคมที่ใช้บังคับกิจการของเอกชนเพื่อประโยชน์ สาธารณะ : ความเสียหายจาก “การกระทำทางนิติบัญญัติ”
คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ผลของการเป็นสัญญาทางปกครอง : สิทธิ/ หน้าที่ของคู่สัญญาบังคับกันตามหลักกฎหมายปกครอง : กฎหมายแพ่งนำมาใช้บังคับเมื่อไม่ขัดกับหลักกฎหมายปกครอง
เอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครอง : กรณีปฏิบัติตามสัญญาตามปกติ : ควบคุม/ กำกับการปฏิบัติตามสัญญาได้โดย ใกล้ชิดทุกสัญญา : สิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ฝ่ายเดียว แต่ : มีเหตุต้องปรับปรุงบริการสาธารณะ : ลดค่าตอบแทนเป็นเงินฝ่ายเดียวไม่ได้ : ต้องไม่เกินขนาด
เอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครอง (ต่อ) : กรณีมีการผิดสัญญา : ฝ่ายปกครองผิดสัญญาก่อน : เอกชนยังต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป : ยกหลักสัญญาต่างตอบแทนขึ้นยันฝ่ายปกครองไม่ได้ : การผิดสัญญามีสภาพร้ายแรง เอกชนบอกเลิกสัญญาเอง ไม่ได้ ต้องร้องขอศาลให้สั่งเลิกสัญญาให้
เอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครอง (ต่อ) : กรณีเอกชนผิดสัญญา : ฝ่ายปกครองมีสิทธิบังคับค่าปรับฝ่ายเดียวได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล : ไม่ชำระหนี้ให้เอกชนเป็นการตอบโต้ : บังคับให้เอกชนทำตามสัญญาต่อไป : มีอำนาจเข้าทำการแทนเอกชน หรือให้บุคคลภายนอกเข้า ทำการแทนโดยเอกชนผู้ผิดสัญญาจ่ายค่าใช้จ่ายให้ หรือ หากเห็นสมควรจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ ยกเว้นสัญญาสัมปทาน ต้องร้องขอให้ศาลปกครองสั่งให้สัญญาเลิกกัน : สั่งให้เอกชนชดใช้ค่าเสียหาย
สิทธิพิเศษของเอกชนคู่สัญญา : สิทธิพิเศษในกรณีปกติ : สิทธิเก็บค่าธรรมเนียม/ค่าบริการจากผู้ใช้บริการ : สิทธิครอบครอง/ ใช้ประโยชน์ที่ดินเอกชนอื่นเมื่อจำเป็น
สิทธิพิเศษของเอกชนคู่สัญญา (ต่อ) : สิทธิได้รับค่าทดแทนตาม “หลักดุลยภาพทางการเงิน ในสัญญาทางปกครอง” : ทฤษฎี “การกระทำของเจ้าชาย” : ทฤษฎี “เหตุที่มิอาจคาดหมายได้”
ทฤษฎี “การกระทำของเจ้าชาย” : เหตุที่ถือเป็น “การกระทำของเจ้าชาย” : ฝ่ายปกครอง (เจ้าชาย) ใช้เอกสิทธิ์แก้ไขสัญญา : ฝ่ายปกครอง (เจ้าชาย) ใช้เอกสิทธิ์ “อย่างอื่น” : ค่าทดแทน “เต็มจำนวนความเสียหาย”
ทฤษฎี “เหตุที่มิอาจคาดหมายได้” : กรณีที่ถือเป็น “เหตุที่มิอาจคาดหมายได้” : เหตุไม่ปกติและไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า : เหตุนอกเหนือเจตนาคู่สัญญา และไม่อาจป้องปัด/ ขัดขวางได้ : ก่อความร้ายแรงถึงขนาดเอกชนขาดทุนย่อยยับ
ผลของกรณี “เหตุที่มิอาจคาดหมายได้” : เอกชนยังต้องทำตามสัญญาต่อไปแม้ยากลำบาก : ค่าทดแทนเป็นเพียง “ชดเชยการขาดทุนที่เกินจากอัตราเสี่ยงต่อ การขาดทุนธรรมดา” มิใช่ “ทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย” : ใช้บำบัดเหตุร้ายที่เป็นการ “ชั่วคราว” หากกลับเป็นเหตุ“ถาวร” ฝ่ายปกครองไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนอีกต่อไป สัญญาเลิกกัน โดยถือเสมือนว่า “สัญญาพ้นวิสัย”
ANY QUESTIONS?