การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน หมายถึง พฤติกรรมของครูในการดำเนินกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
พฤติกรรมของนักเรียนในห้องเรียน ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ครูสามารถจัดการห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ 1. ตระหนักถึงความสำคัญของความคาดหวังของครูต่อพฤติกรรม ที่เหมาะสมของนักเรียนในห้องเรียน 2. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดห้องเรียนที่ดี
ความคาดหวังของครูต่อพฤติกรรมของนักเรียน ครูสามารถบอกความคาดหวังให้นักเรียนได้รับรู้ด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย และจากการวิจัยพบว่า ความคาดหวังของครูเป็นเสมือนคำพยากรณ์ที่แม่นยำ
การกำหนดระเบียบและการดำเนินการ การสื่อสาร ระเบียบทั่วไป ระเบียบงานวิชาการ ต้องสื่อสาร นั่งที่ไหน จัดที่นั่งอย่างไร ต้องทำอะไรก่อนระฆังดัง การพูดคุย เครื่องดื่มและอาหาร สุขาและการหยุดพัก การลา การลาออกจากโรงเรียน โทษฝ่าฝืนกฎระเบียบ การเรียนซ่อมเสริม งานที่ต้องแก้ไข การขาดสอบ การตัดเกรด การฝ่าฝืนระเบียบ การรักษาระเบียบวินัย การขอความช่วยเหลือ การใช้ศูนย์การเรียนและสื่อ สื่อที่จำเป็นสำหรับห้องเรียน
ลักษณะการจัดการห้องเรียนที่ดี 1. รู้เท่าทันเด็ก 2. สามารถจัดกิจกรรมตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปในเวลาเดียวกันได้ โดย ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน 3. การจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพ จากกิจกรรมหนึ่ง ไปสู่กิจกรรมอื่นได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุด รำคาญใจ หรือชะงัก 4. การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆ โดยไม่รบกวนหรือทำลายความ สนใจของนักเรียน
ลักษณะการจัดการห้องเรียนที่ดี (ต่อ) 5. สามารถกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย 6. ควบคุมดูแลให้นักเรียนรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมาย 7. ชี้ให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำ 8. เร้าหรือท้ายทายอยากให้นักเรียนทำงาน 9. มีการวางแผนจัดการกิจกรรมอย่างหลากหลายเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน
การจัดห้องเรียนแบบต่างๆ
การจัดห้องเรียนแบบธรรมดา
การจัดห้องเรียนแบบยึดกิจกรรมเป็นหลัก
การจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
การจัดห้องเรียนแบบเปิด
การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน โดยแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบได้ 2 ระดับ คือ ระดับนุ่มนวลและระดับปานกลาง 1. การแสดงกิริยาโต้ตอบระดับนุ่มนวล ให้คำแนะนำนักเรียนในสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ 1.1 แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไม่เป็นคำพูด 1.2 แสดงกิริยาตอบโต้ที่เป็นคำพูด
การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน (ต่อ) 2. การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ระดับปานกลาง 2.1 การยกเลิกสิทธิพิเศษ 2.2 การเปลี่ยนที่นั่ง 2.3 การให้นักเรียนเขียนความรู้สึกต่อปัญหา 2.4 การให้เวลานอกกับนักเรียน 2.5 การกักตัวนักเรียน 2.6 การติดต่อผู้ปกครอง
การดำเนินงานในชั้นเรียน 1. งานด้านวิชาการ วิชาการ เป็นงานหลักที่ต้องอบรมสั่งสอนให้นักเรียน เกิดความรู้ และความสามารถในด้านต่าง ๆ 2. งานด้านปกครอง ครูต้องปกครองนักเรียนแบบประชาธิปไตย ยุติธรรม 3. งานด้านธุรการ ธุรการ เป็นงานที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงาน ในชั้นเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 4. งานด้านแนะแนว เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดี ขึ้น และรู้จักปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี
หลักการดำเนินงานในชั้นเรียน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เตรียมการสอน - ส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในชั้นเรียน - ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของชั้นเรียนนั้น - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน - หมั่นอบรมสั่งสอนนักเรียนของตนโดยสม่ำเสมอ - งานธุรการครูจะต้องมีความแม่นยำ และมีความรอบคอบ - ดูแลความเจ็บป่วยของนักเรียน และรู้จักการปฐมพยาบาลอย่างง่ายๆ - ติดต่อกับผู้ปกครองของนักเรียน
ระเบียบวินัยที่ดีในห้องเรียน 1. ไม่ขัดต่อหลักพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนในระดับนั้นๆ 2. ครูและนักเรียนเป็นผู้กำหนดร่วมกัน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญให้นักเรียน ยอมรับ 3. ไม่มีระเบียบที่หยุมหยิมมากเกินไป 4. เป็นข้อความที่ใช้ภาษาง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน 5. มีบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน และสมเหตุสมผล
ประเภทของงานวินัยในชั้นเรียน 1. วินัยที่ใช้อำนาจเด็ดขาด คือ การรักษาวินัยโดยใช้ความกลัวเป็น เครื่องหมาย เหมาะสำหรับนักเรียนที่ยังเป็นเด็ก 2. วินัยที่ใช้เหตุผลด้านส่วนตัว คือ การรักษาวินัยโดยการพูดจาหว่านล้อม ให้นักเรียนเกิดความเห็นใจหรือเกิดความสนใจเป็นส่วนตัว แล้วปฏิบัติตาม 3. วินัยที่ใช้การรู้จักวิธีรับผิดชอบต่อหมู่คณะ คือ การรักษาวินัยโดยให้นักเรียน ปกครองกันเอง ส่วนครูเป็นที่ปรึกษาและคอยดูแลแนะแนวอย่างใกล้ชิด
ปัญหาการปกครองชั้นเรียนและแนวทางในการแก้ไข ปัญหาเด็กชอบหนีในชั่วโมงเรียน มีสาเหตุคือ 1.1 ไม่ชอบครูผู้สอน 1.2 ไม่ชอบวิชาที่เรียน 1.3 ทำงานไม่เสร็จตามที่ครูกำหนด ส่วนคำแนะนำในการแก้ปัญหา ก็คือ เรียกนักเรียนมาพบเป็นการส่วนตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องส่งเสริมความสามารถของนักเรียนและให้กำลังใจอยู่เสมอ ปรับปรุงวิธีสอนให้น่าสนใจ ติดต่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเด็ก
ปัญหาการปกครองชั้นเรียนและแนวทางในการแก้ไข (ต่อ) 2. ปัญหาเด็กทุจริตเวลาสอบ มีสาเหตุที่สำคัญคือ 2.1ไม่ได้อ่านหนังสือ 2.2 กลัวสอบตก 2.3 กลัวผู้ปกครองทำโทษ 2.4 กลัวได้คะแนนต่ำกว่าคนอื่น คำแนะนำในการแก้ปัญหาคือ ครูตักเตือนต่อการทุจริตของเด็ก แยกนักเรียนที่ทุจริตออกจากกัน ไม่ยอมรับงานของเด็กที่ทุจริต ให้งานที่เหมาะกับความสามารถของเด็ก
ปัญหาการปกครองชั้นเรียนและแนวทางในการแก้ไข (ต่อ) 3. ปัญหานักเรียนเล่นและคุยกันในเวลาเรียน สาเหตุคือ 3.1 เคยเรียนเรื่องที่กำลังเรียนนั้นมาแล้ว 3.2 นั่งใกล้เพื่อนที่สนิทกันหรือชอบพอกัน 3.3 มีนักเรียนมากเกินไปในชั้น 3.4 ครูสอนไม่กระฉับกระเฉง หรือน่าเบื่อหน่าย 3.5 ครูใจดีเกินไป ไม่ดุ คำแนะนำในการแก้ปัญหาคือ แยกนักเรียนที่ชอบคุยกันออกจากกัน เรียกนักเรียนที่คุยกัน คอยตอบคำถามของครูในเวลาเรียน ชักจูงให้ร่วมการอธิบายแสดงความคิดเห็นในเวลาเรียนอยู่เสมอ
ปัญหาการปกครองชั้นเรียนและแนวทางในการแก้ไข (ต่อ) 4. ปัญหาเด็กดื้อรั้น สาเหตุที่สำคัญคือ 4.1 เป็นลูกคนเดียวและได้รับการตามใจมาแต่เด็ก 4.2 ถูกบีบคั้นจากทางบ้านมากเกินไป 4.3 ชอบเอาชนะผู้อื่น 4.4 ต้องการให้ผู้อื่นเอาใจ คำแนะนำในการแก้ปัญหาคือ ให้เด็กทำงานอย่างสมเหตุสมผล ให้งานบางอย่างตามที่เด็กสนใจ ลดการควบคุมเด็กลง อธิบายให้เด็กที่ถูกผู้ปกครองตามใจให้รู้จักช่วยตนเอง ถ้าหากผลการเรียนต่ำครูควรสอนซ่อมเสริมให้
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนระดับสูงๆ ที่ส่วนมากมักไม่ค่อยมีปัญหาทางด้านวินัยมากนัก ปัญหาที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวกับการเรียนเป็นส่วนมาก เช่น เบื่อ ไม่สนใจ ไม่กระตือรือร้น ปัญหาความยุ่งยากหรือความไม่เป็นระเบียบในชั้นเรียนมักไม่ค่อยเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามผู้สอนก็ควรเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาที่จะเกิดไม่ว่าเรื่องใด
การลดปัญหาทางวินัยที่อาจเกิดขึ้นในห้องเรียน อาจทำได้โดย 1. เตรียมบทเรียนโดยละเอียดรอบคอบ 2. เตรียมสภาพการเรียนโดยละเอียดรอบคอบ 3. ให้ผู้เรียนทราบเป้าหมายการเรียนโดยชัดเจน 4. สอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 5. ยืดหยุ่นและพยายามลดปัญหาที่เกิดขึ้น
การจัดการปัญหาทางวินัยที่เกิดขึ้นในห้องเรียน 1. ระงับสติอารมณ์ ใจเย็นและน้ำเสียงท่าทางปกติ 2. ตัดสินใจว่าจะให้ความสนใจหรือไม่สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น 3. ช่วยผู้เรียนให้พ้นจากปัญหาหรือหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้น 4. อย่าวู่วาม ใจร้อน แก้ปัญหาช้าๆ อย่างใจเย็น 5. ให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 6. รักษาหน้าผู้เรียน 7. เน้นที่พฤติกรรมไม่ใช่ตัวบุคคล 8. ปล่อยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพื่อลดความตึงเครียด 9. เดินไปยังผู้ที่ก่อปัญหาหรือที่ๆ มีปัญหา
การแก้ปัญหาทางระเบียบและวินัยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องใช้การยับยั้งชั่งใจอย่างมาก ครูผู้สอนต้องแก้ไขปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความใจเย็นและสงวนท่าทีไว้ น้ำเสียงต้องต่ำสม่ำเสมอ ไม่ขึ้นเสียงแสดงอารมณ์ จากนั้นจึงเดินไปยังจุดที่มีปัญหาเกิดขึ้น ลักษณะของผู้สอนเช่นนี้จะช่วยแก้ปัญหาได้มากและส่งเสริมทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นปกติโดยเร็ว จุดที่สำคัญก็คืออย่าปล่อยปัญหาให้เกิดขึ้น และลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป
สมาชิก นางสาวดวงแก้ว คามพิมาย 5680108309 นางสาวปวีณา จันนอก 5680108310 นางสาวดวงแก้ว คามพิมาย 5680108309 นางสาวปวีณา จันนอก 5680108310 นางสาวรมิดา จรูญทองแถม 5680108321 นางสาววาสนา ตาชูชาติ 5680108325 นางสาวสกุลรัตน์ สุริวงษ์ 5680108328 นางสาวสุภาภรณ์ ตีบจันทร์ 5680108336 นางสาวอัจฉริยา อุคำ 5680108336