การประเมินการเรียนการสอน
นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของการประเมินการเรียนการสอน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2551, หน้า 20-22) สรุปความหมายของการประเมิน (evaluation) ที่มีผู้นิยามออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ ลักษณะที่ 1 การประเมินในความหมายที่เป็นการดำเนินการที่ประกอบด้วยการวัด(measurement) และการใช้ดุลยพินิจ (judgement) การประเมินในลักษณะนี้หมายถึง กระบวนการใช้ ดุลยพินิจและ/ หรือค่านิยมและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ลักษณะที่ 2 การประเมิน หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศ (เชิงคุณค่า) เพื่อช่วย ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพสูงสูด ดังนั้นผู้ประเมินจึงต้องศึกษาความต้องการของผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินอย่างครบถ้วนเพื่อ ใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผนการประเมิน
ไทเลอร์ นักการศึกษาคนสำคัญของ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บัญญัติศัพท์การประเมินผลเป็นครั้งแรกว่า “ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน” โดยได้เขียนหมายเหตุไว้ว่า ในอนาคตควรนิยามการประเมินผลในเชิงระบบ ซึ่งต่อมาไทเลอร์ได้หมายถึง การประเมินระบบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียน การสอน ความเหมาะสมของผลการเรียนรู้คือ สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กลยุทธ์การจัด การเรียนการสอน พฤติกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนการสอน ตลอดจนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ดังนั้นการประเมินการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึงในรายละเอียดในบทนี้จึงสอดคล้องกับแนวคิดของไทเลอร์ คือ การประเมินองค์ประกอบเชิงระบบของการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (input)กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) และการควบคุม (control) ดังแสดงในภาพ
จุดมุ่งหมายของการประเมินการเรียนการสอน ในปัจจุบันแนวคิดในการประเมินมุ่งเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงงานหรือโครงการที่ วางแผนไว้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการหรือ งานที่รับผิดชอบ สำหรับ การประเมินการเรียนการสอนนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) การประเมินความต้องการจำเป็นทำให้ทราบว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง และมีความสำคัญ ในลำดับก่อนหลังอย่างไร 2) ช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ทำให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ 3) ทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาบรรลุเป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการหรือไม่ 4) ช่วยตัดสินคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน
ประโยชน์ของการประเมินการเรียนการสอน ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการ ประเมินการเรียนการสอน ดังนี้ 1)ผู้เรียนได้รับประโยชน์ ดังนี้ (1)ช่วยพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้และ การปฏิบัติ (2)ได้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ ตอบสนองความ ต้องการของ ผู้เรียน 2)ครูได้รับประโยชน์ ดังนี้ (1)รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการจำเป็น และสามารถจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลังของ ปัญหาและความ ต้องการที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ (2)ช่วยครูในการเลือกวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน (3)ช่วยครูในการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอน ทำให้การเรียน การสอนน่าสนใจ (4)ช่วยให้ครูสามารถปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
3)ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์ ดังนี้ (1)ช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบผลการดำเนินงานว่าอยู่ใน สภาพใดเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ (2)ช่วยให้ผู้บริหารได้สารสนเทศในการวางแผนและ พัฒนาการเรียนการสอน (3)ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของโครงการ ว่าจะยุติหรือดำเนินการต่อไป หรือไม่อย่างไร
ขอบเขตของการประเมินการเรียนการสอน ประเมินตามวัตถุประสงค์ การประเมินผลก่อนเรียน (pre – evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน และทักษะของผู้เรียนว่า มีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาใหม่หรือเนื้อหาใหม่ได้หรือไม่ ถ้าพบว่ามีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอหรือไม่มีพฤติกรรมขั้นต้นก่อนเรียน ครูจะจัดให้มีการสอน ปรับพื้นฐานจนผู้เรียนมีความรู้เพียงพอที่จะเรียนในเนื้อหาใหม่ได้ การประเมินผลระหว่างเรียน หรือประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด หากพบว่ามีข้อบกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็หาแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องใน จุดประสงค์นั้นๆโดยจัดสอนซ่อมเสริมให้แก้ผู้เรียน
เท่าไร ควรตัดสินได้ – ตก – ผ่าน – ไม่ผ่าน หรือควรได้เกรดอะไร เป็นต้น การประเมินผลรวมสรุป (summative evaluation) เป็นการประเมิน เพื่อตัดสินผลการเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า ผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้น เท่าไร ควรตัดสินได้ – ตก – ผ่าน – ไม่ผ่าน หรือควรได้เกรดอะไร เป็นต้น
การประเมินตามระบบวัดผล การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (norm – referenced evaluation) เป็นการประเมินการตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะหรือพฤติกรรม โดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันที่ทำข้อสอบฉบับเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆตัวอย่างของ การประเมินแบบอิงกลุ่ม เช่น การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษา การสอบชิงทุนการศึกษา เป็นต้น การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (criterion – referenced evaluation) เป็นการตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์มีทั้งเกณฑ์มาตรฐาน (standard criteria) ที่มีอยู่แล้วหรือเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น (arbitrary criteria) ทางปฏิบัติการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกณฑ์จะหมายถึง กลุ่มพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายในแต่ละบทหรือหน่วยการเรียนโดยทั่วไป นิยมใช้จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (behavioral objective) หรือกลุ่มของพฤติกรรม (domain of behavior)