วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
อ. ปิยวรรณ โถปาสอน
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

พระรัตนตรัย พระรัตนตรัย หมายถึง แก้วอันประเสริฐ หรือสิ่งมีค่ายิ่ง 3 ประการได้แก่ 1) พระพุทธ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์พยายามแสดงหาความจริงในธรรมชาติเพื่อช่วยมวลมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ คือ การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

2) พระธรรม คือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ แล้วนำมาเปิดเผยสั่งสอนแก่ชาวโลกพระธรรมจึงเป็นหลักความจริงของโลกและชีวิตมนุษย์และคำสั่งสอนเพื่อความเป็นคนดี 3) พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพุทธเจ้า ได้แก่ กลุ่มชนที่เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ยอมสละเพศฆราวาสออกบวชในพระพุทธศาสนา ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนและเผยแผ่สั่งสอนประชาชนให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

พระรัตนตรัย 3 ระดับ 1) พระรัตนตรัยที่เป็นสัญลักษณ์ พระพุทธ คือ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ ต้นโพธิ์ ตราธรรมจักร พระธรรม คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกหนังสือธรรมะ ใบลาน คัมภีร์ และบทสวดต่าง ๆ พระสงฆ์ คือ พระภิกษุ รูปพระสงฆ์ สามเณร และผ้ากา-สาวพัสตร์ เป็นต้น

2) พระรัตนตรัยที่เป็นรูปธรรม พระพุทธ คือ พระพุทธเจ้าที่มีตัวตนและเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เป็นศาสดาผู้ก่อนตั้งพระพุทธศาสนาและสั่งสอนธรรมะแก่ชาวโลก พระธรรม คือ หมวดธรรมในพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม เป็นหลักปรัชญาชีวิต เป็นดวงประทีปส่องทางสว่างให้ผู้ปฏิบัติ พระสงฆ์ คือ สาวกหรือลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติชอบและสั่งสอนประชาชน

3) พระรัตนตรัยที่เป็นคุณธรรม พระพุทธ คือ พระพุทธคุณ ได้แก่ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ พระธรรม คือ ความที่จิตเข้าถึงพระธรรมทำให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ และความเมตตาสงสาร พระสงฆ์ คือ คุณธรรมชั้นสูงหรือคุณภาพจิตชั้นสูงที่เข้าถึงการเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

พระสงฆ์และคุณของพระสงฆ์

ประเภทของพระสงฆ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1) สมมติสงฆ์ คือ พระสงฆ์ที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทหรือบวชถูกต้องตามพระธรรมวินัย แต่ยังไม่บรรลุมรรคผล หมายความว่าเป็นพระสงฆ์แต่ยังไม่มี คุณสมบัติตามระดับชั้นของการเป็นพระอริยบุคคล อันได้แก่ การละกิเลสตามระดับชั้นของการเป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้น ๆ

2) อริยสงฆ์ คือ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุอริยคุณ สามารถละกิเลสได้ตามระดับชั้นของการเป็นพระอริยบุคคล มีโสดาบัติผลเป็นเบื้องต้น และอรหัตผลเป็นที่สุด

คุณของพระสงฆ์ สามารถจำแนกได้ 9 ประการเรียกว่า สังฆคุณ 9 1) สุปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติดี คือปฏิบัติถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประพฤติสุจริต 3 ประการ คือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ตั้งอยู่ในอาชีวะปาริสุทธิศีล คือ ประพฤติสุจริตสะอาดบริสุทธิ์ในการดำรงชีวิต 2) อุชุปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ปฏิบัติตรงไป ตรงมาตามหลักธรรมไม่เป็นคนเจ้าเล่ห์เพทุบาย ไม่พูดเท็จเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน

3) ญายปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง คือ มุ่งธรรมเป็นใหญ่ ไม่ใช่ปฏิบัติเพราะเห็นแก่ลาภสักการะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน 4) สามีจิปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ควรแก่การยกย่อง ควรแก่ความเคารพนับถือ กราบไหว้ 5) อาหุเนยฺโย: เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ เพราะมีคุณธรรมสูง สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรควรแก่การเคารพนบไหว้ของชาวโลก

6) ปาหุเนยฺโย: เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เพราะเป็นผู้มาดีไปดี นำสิริมงคลมาให้จึงควรแก่การต้อนรับ 7) ทกฺขิเนยฺโย: เป็นผู้ควรแก่ทักขิณาหรือควรแก่ของทำบุญ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ทำทักขิณาทานของทายกให้มีผลไพศาล 8) อญฺชลีกรณีโย: เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จึงควรแก่การยกมือไหว้อย่างยิ่ง

9) อนุตฺตรํ ปุณฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสา: เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก การทำบุญถวายทานแก่พระสงฆ์ย่อมอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางยาวนานเหมือนกับทำนาในที่นาอันอุดมสมบูรณ์

(1) ทุกข์ ความจริงธรรมชาติว่า ด้วยความทุกข์หรือความจริงว่าด้วยปัญญา อริยสัจ คือ หลักความจริงที่เป็นธรรมชาติของชีวิต อันเป็นหลักการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล 4 ประการ (1) ทุกข์ ความจริงธรรมชาติว่า ด้วยความทุกข์หรือความจริงว่าด้วยปัญญา (2) สมุทัย ความจริงว่าด้วยสาเหตุของความทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา (3) นิโรธ ความจริงว่าด้วยสภาพของการดับทุกข์หรือสภาพที่หมดปัญหา (4) มรรค ความจริงว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์หรือวิธีการแก้ปัญหา

ทุกข์ (ความจริงที่ควรกำหนดรู้) ปัญหาทางกายและปัญหาทางใจ มนุษย์จึงต้องไม่ประมาท และเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความทุกข์จึงเป็นสภาวะที่ควรกำหนดรู้ 1) ขันธ์ 5 ชีวิตมีองค์ประกอบ 5 อย่าง เรียกว่า ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ การจะดับทุกข์ของชีวิตได้จะต้องรู้และเข้าใจความจริงของชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง

1) รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือส่วนที่เป็นวัตถุ อันเป็นผลรวมของธาตุดั้งเดิม เรียกว่า ธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ 2) เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรับรู้สิ่งต่างๆ มี 3 ประการได้แก่ สุขเวทนา ความรู้สึกดี หรือสบายใจ ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่ดี หรือไม่สบายใจ และอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกเฉย ๆ หรือกลางๆ

3) สัญญา คือ การจำได้ การกำหนดหมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สามารถแยกแยะออกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากเวทนา 4) สังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งจิตหรือสิ่งกระตุ้นผลักดันให้มนุษย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผลรวมของการรับรู้ ความรู้สึกและความจำได้ เป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งด้านบวกและด้านลบ 5) วิญญาณ คือ การรับรู้ผ่านประสาทการรับรู้ 6 ทาง คือ ตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ

ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทั่วไปหรือลักษณะที่เหมือนกันของสิ่งต่างๆ กล่าวคือ สิ่งทั้งปวงจะต้องตกอยู่ในสภาพที่เหมือน มีร่วมกัน เสมอกัน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ ไตรลักษณ์หรือกฎธรรมชาติที่เป็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ มีอยู่ 3 ประการ

อนิจจตา หรืออนิจจัง หรือที่มักเรียกกันว่า ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ หรือไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป รวมความว่าสิ่งต่าง ๆ ล้วนมีความเปลี่ยนแหปลงไปตามธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดคงที่ถาวรอยู่เช่นนั้นตลอดไป ทุกขตา หรือทุกขัง ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้

อนัตตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสรรพสิ่ง เพราะสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากขันธ์ 5 เป็นสิ่งไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปรไปตามธรรมดา รวมทั้งไม่เป็นไปตามอำนาจการบังคับบัญชาของเรา หากสิ่งต่าง ๆ เป็นอัตตา เราต้องสามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของเราได้ เช่น เราไม่อยากแก่ เจ็บ ตาย หรือไม่อยากเป็นทุกข์ แต่เราไม่สามารถห้ามได้เป็นต้น

การศึกษาเรื่องของไตรลักษณ์นั้น เพื่อให้เข้าใจและรู้เท่าทันตามความเป็นจริง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตนที่แท้จริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา เป็นของเขาตลอดไป จะต้องมีการพลัดพรากจากกันไปในที่สุด

สมุทัย ความจริงว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ จัดเป็นความที่ควรละ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์หรือเกิดปัญหา 1) หลักธรรม (วัฎฎะ 3) พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนว่าด้วยการเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่า สังสารวัฎ โดยหลักความเมชื่อว่ามนุษย์ตราบเท่าที่ยังมีกิเลสอยู่ เมื่อตายไปแล้วต้องไปเกิดในภพใดภพหนึ่ง และเมื่อตายในภพใหม่ก็ต้องไปเกิดใหม่อีก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำลายกิเลสให้หมดสิ้นจึงจะหลุดพ้นจากวงจรการเรียนว่ายตายเกิดนี้ได้

1) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส 2) กรรมวัฏฏะ วงจรกรรม วัฏฏะ แปลว่า วนหรือวงกรม หมายถึง วงจรแห่งการเวียนว่าย ตายเกิด มีอยู่ 3 ประการดังนี้ 1) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส 2) กรรมวัฏฏะ วงจรกรรม 3) วิบากวัฏฏะ วงจรวิบากหรือผลของกรรม

กิเลส คือ สิ่งที่ทำให้เกิดกรรม เมื่อมีกรรม วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมก็เกิดมีขึ้น กรรมจึงเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลหรือวิบาก กล่าวคือ ผู้ทำกรรมย่อมได้รับผลของกรรม (วิบาก) อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ถ้าผลของกรรมดีเป็นความสุขก็เกิดกิเลส หลงระเริงยินดีและยึดติดแล้วกระทำกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความสุขดำรงอยู่ได้นาน

กิเลส กรรม วิบาก เกิดวนเวียนเป็นวงจรอย่างไร พระพุทธศาสนาเชื่อว่าตราบใดที่มนุษย์ยังตัดวงจรของวัฏฏะด้วยการทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปไม่ได้ ชีวิตของมนุษย์ก็จะยังติดข้องวนเวียนอยู่ในวงจรของวัฏฏะทั้งสาม เหมือนปลาที่ติดข้องอยู่ในตาข่ายของแหอวนตราบนั้น ต่อเมื่อเข้าถึงนิพพานแล้ว วัฏฏะหรือสังสารวัฏจึงจะหยุดลงโดยสิ้นเชิง

ปปัญจธรรม 3 ปปัญจธรรม แปลว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความเนิ่นช้า หมายถึง อกุศลธรรมที่เป็นตัวเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานช้า เพราะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุพระนิพพานในความหมายระดับพื้นฐานการดำรงชีวิต หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน สับสน มีอยู่ 3 ประการ