บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
อ. ปิยวรรณ โถปาสอน
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง แนวคิดและหลักการ ของการกระจายอำนาจการคลัง

แนวคิดและหลักการ แนวคิดในการกระจายอำนาจ 1. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นให้มีความรวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น 2. เพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นได้แสดงความสามารถ 3. เพื่อพัฒนาการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น 4. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ

หลักการกระจายอำนาจ หลักการกระจายอำนาจ 1. ด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจ ในกิจการท้องถิ่นได้เองมากขึ้น โดยยังคงรักษาความเป็นรัฐเดี่ยว และความมีเอกภาพของประเทศ การมีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขและความมั่นคงของชาติเอาไว้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองท้องถิ่น ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง ท้องถิ่น ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

หลักการกระจายอำนาจ 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐต้องปรับบทบาทและภารกิจของราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยให้รับผิดชอบในภารกิจมหภาค และภารกิจที่เกินขีดความสามารถของ อปท. รวมทั้งกำกับดูแล อปท. ในด้านนโยบายและด้านกฎหมายเท่าที่จำเป็น และให้การสนับสนุน ส่งเสริมด้านเทคนิควิชาการ และตรวจสอบติดตามประเมินผลการทำงานของท้องถิ่น

หลักการกระจายอำนาจ 3. ด้านประสิทธิภาพการบริหารของ อปท. - รัฐต้องให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้น หรือ ไม่ต่ำกว่าเดิม - ต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ ให้มากขึ้น - ส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และชุมชน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ การกระจายอำนาจการเงิน การคลัง และงบประมาณให้ท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2543 1. หลักการปรับปรุงรายได้ 1.1 ต้องพิจารณาปริมาณรายได้ที่พึงได้รับจากประมาณการค่าใช้จ่าย ของภารกิจที่ อปท. นั้น ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการ 1.2 อปท. ที่มีภารกิจที่แตกต่างกันย่อมจะได้รับการจัดสรรรายได้ที่ แตกต่างกันไปด้วย

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ 1.3 ต้องพิจารณาภาพรวมของรายได้ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ รายได้ที่จัดเก็บเอง รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้ รายได้จากเงินอุดหนุน โดยให้ความสำคัญกับรายได้ที่จัดเก็บเองเป็นลำดับแรก เพื่อให้ อปท. มีความเป็นอิสระและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ 2. การปรับปรุงรายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง ต้องให้ความสำคัญต่อ 2.1 การขยายฐานภาษี 2.2 การกำหนดอัตราภาษี 2.3 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี 2.4 ความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี 2.5 การเพิ่มภาษีหรือรายได้ของ อปท. ประเภทใหม่ๆ 2.6 การสนับสนุนให้ อปท. แสวงหาแนวทางเพิ่มรายได้ในรูปแบบอื่น ที่กว้างขวางขึ้นเพื่อให้พึ่งตนเองในระยะยาว

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ 3. การปรับปรุงรายได้ที่รัฐจัดแบ่ง จัดสรร หรือจัดเก็บเพิ่มให้ อปท. 3.1 ต้องคำนึงถึงภารกิจ ความรับผิดชอบของ อปท. เป็นหลัก 3.2 กำหนดวิธีจัดแบ่ง หรือจัดสรรที่ชัดเจน และเป็นธรรมต่อ อปท. แต่ละประเภท

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ 4. การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ต้องคำนึงถึงความสมดุลของวัตถุประสงค์ในการจัดสรร ๔ ประการ คือ 4.1 เพื่อให้ อปท. สามารถให้บริการสาธารณะที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง 4.2 เพื่อลดช่องว่างระหว่าง อปท. ที่มีฐานะทางการคลังที่แตกต่างกัน 4.3 เพื่อให้ อปท. บางแห่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐ หรือ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นซึ่งเกินขีดความสามารถ ทางการคลังของ อปท. นั้นๆ 4.4 เพื่อกระตุ้นให้ อปท. เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทางการคลังบนพื้นฐานรายได้ของตนเองในระยะยาว

การกระจายอำนาจการเงิน การคลังและงบประมาณ 5. การทบทวนการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. ต้องทบทวนสัดส่วนการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. แต่ละประเภทอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับปรุงภารกิจอำนาจหน้าที่ของ อปท. แต่ละประเภทใหม่ 6. มาตรการเสริมสร้างวินัยทางการเงินและการคลังของ อปท. ต้องมีมาตรการเพื่อเร่งสร้างวินัยทางการเงิน การคลัง ทั้งในด้านรายได้และการใช้จ่าย รวมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจและความเต็มใจในการจ่ายภาษีของประชาชน โดยรัฐต้องกำหนดมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดเก็บภาษีของ อปท.

การกระจายอำนาจการคลัง การกำหนดรายจ่าย การกำหนดรายรับ การกำหนดเงินอุดหนุน การกำหนดการกู้ยืม

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 283 วรรคห้า กำหนดว่า ในกรณีที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. แล้ว คณะกรรมการจะต้องนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาทบทวนใหม่ทุกระยะเวลาไม่เกินห้าปี โดยทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ อปท. เป็นสำคัญ

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 แผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

แผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 แผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 ตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ. 2550 อปท. จะมีรายได้คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 และเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้ต้องไม่น้อยกว่าปีงบประมาณพ.ศ. 2549 (แต่ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการเพิ่มรายได้) กำหนดการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้ให้แก่ อปท. เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้รัฐบาลภายในปี 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และให้มีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลภายในไม่เกิน พ.ศ. 2549 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน การคลังของ อปท. เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงภารกิจของ อปท. ที่ต้องรับผิดชอบเป็นสำคัญ

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 ด้านการส่งเสริมความเป็นอิสระทางการคลังของ อปท 1) การกำหนดสัดส่วนรายได้ของ อปท. ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล วัตถุประสงค์ เพื่อให้รายได้ อปท. มีสัดส่วนรายได้ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมาย คือ อปท. มีสัดส่วนรายได้ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราใกล้เคียงร้อยละ ๓๕ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 2) การปรับโครงสร้างรายได้ให้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบของ อปท. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารายได้และรายจ่ายของ อปท. เพื่อให้ อปท. มีรายได้สอดคล้องกับรายจ่าย โดยมีเป้าหมายวิเคราะห์โครงสร้างรายได้และรายจ่ายของ อปท. เพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท.

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 3) การปรับปรุงรายได้ที่ อปท. จัดหาเอง วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงรายได้ของ อปท. ให้มีรายได้จากที่จัดหา เองเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ อปท. ลดการพึ่งพารายได้จากรัฐบาล โดยมีเป้าหมายปรับปรุงรายได้ของ อปท. เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอกับการบริหารงานของ อปท.

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 4) การปรับปรุงรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้ อปท. วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้ อปท. ให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเป็นอิสระลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาล โดยมีเป้าหมายปรับปรุงรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้ อปท. เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอกับการบริหารงานของ อปท.

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 5) การปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ อปท. มีอิสระในการบริหารงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอน โดยมีเป้าหมาย 1) เพื่อความเป็นอิสระของ อปท. ใน เชิงการเพิ่มรายได้ให้แก่ อปท. ให้สามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อให้ อปท. มีงบประมาณเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับขนาดภารกิจในการให้บริการสาธารณะของ อปท. และ 3) แก้ไขปัญหาการดำเนินภารกิจของ อปท. ที่ส่งผลกระทบต่อ อปท. อื่น

การกระจายอำนาจการคลังของประเทศไทย ภายใต้แผนปฏิบัติฉบับที่ 3 6) การทบทวนการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. ให้สอดคล้องกับภารกิจอำนาจหน้าที่และภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการ โดยมีเป้าหมาย ศึกษาวิเคราะห์การจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. เพื่อทบทวนการจัดสรรรายได้ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ อปท. ที่ถูกต้อง

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา รายได้รวมทั้งหมดของปี 2544

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา รายได้รวมทั้งหมดของปี 2551

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้ ปี 44

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้ ปี 51

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา เงินอุดหนุน ปี 44 แบ่งตามสัดส่วน ดังนี้

การกระจายอำนาจทางการคลังที่ผ่านมา เงินอุดหนุน ปี 51 แบ่งตามสัดส่วน ดังนี้

ปัญหาอุปสรรคในการกระจายอำนาจการคลังที่ผ่านมา 1. ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายอำนาจของผู้เกี่ยวข้อง 2. ความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล 3. การขาดองค์ความรู้ในการพัฒนางาน 4. วัฒนธรรมในการทำงานของ อปท. 5. ความร่วมมือในการเสียภาษีของประชาชน

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงในอนาคต ระยะสั้น 1. ควรมีการทบทวนแผนการกระจายอำนาจ เพื่อให้มีการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภายในของ อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอน และการเตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. 2. ควรมีการปรับปรุงรายได้ของ อปท. เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจ ที่ได้รับการถ่ายโอน

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงในอนาคต 3. ควรมีการถ่ายโอนบุคลากรให้แก่ อปท. เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษา และสาธารณสุข 4. ควรมีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ ให้แก่ อปท.

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงในอนาคต ระยะต่อไป 1. ควรพัฒนาระบบตรวจสอบ และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคประชาสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนตัดสินใจ ในด้านนโยบายของ อปท. การจัดซื้อจัดจ้าง และการตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ อปท. มากขึ้น 2. ควรปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ อปท. และเพิ่ม ขีดความสามารถของผู้บริหารและบุคลากรของ อปท. ให้มีศักยภาพ ในการบริหารงานและการให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงในอนาคต 3. ควรปฏิรูประบบภาษีอากรให้ อปท. มีรายได้ที่จัดเก็บเองมากขึ้น เพื่อให้พึ่งพารายได้ของตนเอง และลดการอุดหนุนจากรัฐบาล 4. ควรสร้างระบบประกันคุณภาพการให้บริการสาธารณะของ อปท. ให้มีมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเต็มใจในการเสียภาษี ๕. ควรพัฒนาองค์กรในระดับจังหวัดเพื่อรองรับการถ่ายโอนบางภารกิจ ที่ต้องการความชำนาญในวิชาชีพเฉพาะ และความเป็นเอกภาพ ในการจัดบริการสาธารณะ ในรูปแบบคณะกรรมการเฉพาะด้าน ระดับจังหวัด เช่น ด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ฯลฯ