แนวทางการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ของรัฐบาล
แนวทางการขับเคลื่อน Thailand 4.0
Thailand 4.0 กำหนดเป้าหมายครอบคลุมใน 4 มิติดังนี้ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็น “ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า” ที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคมเป็น “สังคมที่เดินหน้าไปด้วยกันไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้าง หลัง” ด้วยการเติมเต็มศักยภาพของผู้คนในสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคั่ง ทางเศรษฐกิจสังคม และฟื้นความสมานฉันท์และความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคม ให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง การยกระดับคุณค่ามนุษย์ด้วยการพัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ใน ศตวรรษที่ 21” ควบคู่ไปกับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็น “สังคมที่น่าอยู่” มี “ระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับ สภาพตามภูมิอากาศ” ควบคู่ไปกับการเป็น “สังคมคาร์บอนต่ำ” อย่างเต็ม รูปแบบ Thailand 4.0 กำหนดเป้าหมายครอบคลุมใน 4 มิติดังนี้
สรุป Thailand 4.0 กำหนดเป้าหมายครอบคลุม
Thailand 4.0 ประกอบด้วย 5 วาระขับเคลื่อนสำคัญ วาระที่ 1 การเตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวสู่โลกที่หนึ่ง วาระที่ 2 พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต วาระที่ 3 การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม วาระที่ 4 การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัดและ 76จังหวัด วาระที่ 5 บูรณาการอาเซียนเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก Thailand 4.0 ประกอบด้วย 5 วาระขับเคลื่อนสำคัญ
การปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐเพื่อรองรับ Thailand 4.0 เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทำงานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก (Better Governance, Happier Citizens) ใน การนี้หมายความว่าระบบราชการไทยจะต้องปฎิรูปขนานใหญ่เพื่อให้สามารถเป็นที่ไว้วางใจและเป็น พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง กลไกการทำงานของภาครัฐหรือระบบราชการต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างแนวคิดและวิธีการทำงาน ใหม่ดังนี้ ในเชิงโครงสร้างจะต้องเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นให้ภาครัฐหรือระบบราชการเป็นกลไกหลักใน การบริหารกิจการบ้านเมืองไปสู่การเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชา สังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมอันเป็นการผนึกกำลังความร่วมมือกันเพื่อพัฒนาประเทศหรือ แก้ปัญหา ความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มีภาคส่วนใดในสังคม จะสามารถ ดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเองโดยลำพังอีกต่อไป เป็นการบริหารจัดการบ้านเมืองในรูปแบบ “ประชารัฐ” โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานในแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่ายมากกว่าตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง รวมทั้งยังต้องเชื่อมโยงการ ทำงานภายในภาครัฐด้วยกันเองให้สอดรับประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นราชการ บริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
คุณลักษณะของ “ราชการไทย 4.0” 1. เป็นรัฐที่เปิดกว้าง สามารถเชื่อมโยงกับทุกฝ่าย (Open & Connected Government) 2. เป็นรัฐที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) 3. เป็นรัฐที่เท่าทันและมีความคิดริเริ่ม (Smart & Innovative Government) คุณลักษณะของ “ราชการไทย 4.0”
ใน 7 มิติสำคัญประกอบด้วย เพื่อให้สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 อย่างเต็มประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูปปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ ใน 7 มิติสำคัญประกอบด้วย 1. การสร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ 2. แหล่งที่มาของนโยบายสาธารณะ 3. การปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ อำนาจหน้าที่ และรูปแบบการปฏิบัติราชการ 4. การสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ 5. การยกระดับขีดความสามารถในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง 6. การบริหารจัดการการเงินและทรัพยากร 7. การสร้างระบบราชการแบบไร้รอยต่อ
7 วาระการปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ