การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
FTA Details โดย กลุ่มที่ 8 สบ.1.
Advertisements

FTAs WTO การใช้สิทธิประโยชน์พิเศษ ด้านอากรขาเข้า ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี FTA ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี ประธานคณะกรรมการกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
ASEAN-China FTA.
การใช้สิทธิประโยชน์พิเศษ ด้านอากรขาเข้า ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี
บทที่ 3 การใช้โน้ตบุ๊คทำ Wifi Hotspot ที่ใช้ windows7.
Chapter 7 เครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless lans)
“JTEPA, RCEP and Projects Cooperation” สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย The Federation of Thai Industries By Mr. Boonpeng Santiwattanatam Vice Chairman of The.
หลักการตลาด บทที่ 14 การโฆษณา.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ประเด็นร้อนประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์
แผนยุทธศาสตร์และการบริหารโครงการ
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
กฤฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Chapter 3 The Law of Treaties
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)
Chapter 9 Peaceful Settlement of Dispute
วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
บทที่ 12 การระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเงินระหว่างประเทศ
กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
Chapter 2 Subjects of International Law
Web Design.
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
องค์การทางการเงินทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
“Exports and Overseas Investment” ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซา
บทบาทของอาเซียนต่อประเทศไทย
องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา
การทดสอบสมมติฐาน.
บทที่ 2 การบริหารจัดการข้อมูลและลำดับชั้นของการจัดเก็บข้อมูล
บทที่ 10 สถิติเชิงบรรยาย
บทที่ 3 แบบจำลองของฐานข้อมูล (Database Model)
สัมมนาเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2560
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
การประชุมจัดทำ Roadmap กระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
๕ พัฒนาการของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดประเด็นปัญหา
หลักการตลาด บทที่ 16 การประชาสัมพันธ์.
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
Chapter 2 Subjects of International Law
Big Picture ความสำคัญและที่มา ความหมายของการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การตรวจสอบภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ขั้นตอนและระยะเวลาการบริการ
LIBRARY Chiang Mai University ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางบรรณานุกรม
บทที่ 2 การวัด.
บทที่ 5 ระบบเลขฐานและรหัสแทนข้อมูล
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  THM4406 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
Review - Techniques of Environmental Law
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Meetings
การดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561
พว.พิมพ์วรา อัครเธียรสิน
บทบาทของกรมการปกครองกับ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternatives to Justice) โดย..วรวิทย์ ยอแสงนอ
การบริหารงานเพื่อลดความเสี่ยง ด้านจริยธรรมและกฎหมาย
สมมติฐานการวิจัย.
การปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยกับ การอำนวยความเป็นธรรมในสังคม
ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
Topic 13 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
พระธาตุนาดูนศูนย์รวมจิตใจ น้ำดูนใสศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรสวนวลัยรุกขเวช
ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และ 801
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ซาตานและพรรคพวกของมัน
เรื่อง เวลา และยุคสมัยประวัติศาสตร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปรียบเทียบต้นทุนที่ต้องจ่ายของการระงับข้อพิพาทแต่ละวิธี

เปรียบเทียบต้นทุนที่ต้องจ่ายของการระงับข้อพิพาทแต่ละวิธี

ประเด็นสำคัญของการเข้าใจอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการคืออะไร การอนุญาโตตุลาการมีกี่ประเภท กระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นอย่างไร จุดเด่นและข้อด้อยของการอนุญาโตตุลาการ

อนุญาโตตุลาการคืออะไร การอนุญาโตตุลาการ คือ กระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการทางศาลซึ่งระงับข้อพิพาทโดยมีผลผูกพัน อย่างไรก็ดี การอนุญาโตตุลาการเป็นกระบวนการที่อาศัยความยินยอมเห็นชอบจากสองฝ่าย โดยคู่พิพาทจะต้องตัดสินใจในขั้นตอนของการทำสัญญาหรือช่วงหลังจากได้ทำสัญญาแล้ว ว่าจะระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการ “อนุญาโตตุลาการ” คือ บุคคลที่สามที่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาและตัดสินคดี โดยคดีหนึ่งอาจมีอาจมีอนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคนซึ่งเรียกว่าคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitral Tribunal) คู่พิพาททั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ตกลงเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการในกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันเรียกว่าคำชี้ขาด ทั้งนี้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการสามารถบังคับได้ในเขตอำนาจศาลที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958 (อนุสัญญานิวยอร์ก)

การอนุญาโตตุลาการมีกี่ประเภท การอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) 2) การอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration)

การอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ เกิดขึ้นในกรณีที่คู่พิพาทเลือกที่จะดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการกันเอง ไม่ใช้บริการของสถาบันใด ตกลงจัดทำระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการกันเองด้วย อาจประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริการโดยสถาบัน แต่คู่พิพาทต้องมีความรอบรู้ ด้านกระบวนการอนุญาโตตุลาการอย่างดี

การอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน เกิดขึ้นในกรณีที่การดำเนินการและบริหารจัดการกระบวนการอนุญาโตตุลาการทำโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยคู่สัญญาอาจมีการตกลงระบุสถาบันที่จะดำเนินการและบริหารจัดการกระบวนการอนุญาโตตุลาการไว้ในข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ แต่ละสถาบันมีข้อบังคับและระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่แตกต่างกันออกไป

การอนุญาโตตุลาการมีกระบวนการอย่างไร (http://thac.or.th/)

การอนุญาโตตุลาการมีกระบวนการอย่างไร (1) การเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยสัญญาอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาทสามารถทำสัญญาระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการไม่ว่าก่อน หรือ หลังการเกิดขึ้นของข้อพิพาท ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามทั้ง 2 ฝ่าย โดยข้อตกลงในสัญญาอื่นๆ คู่พิพาทสามารถกำหนดข้อสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการลงไปในสัญญาหลักก็ได้

ตัวอย่างข้อสัญญาให้ใช้อนุญาโตตุลาการ “ข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาฉบับนี้รวมทั้งข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญา การเลิกสัญญา หรือความสมบูรณ์ของสัญญานี้ให้ได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดโดยการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับสถาบันอนุญาโตตุลาการว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาทเพื่อการอนุญาโตตุลาการ โดยให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ”

ข้อพิจารณาภายใต้ พรบ. อนุญาโตตุลาการ 2545 นำต้นแบบจากกฎหมายแม่แบบของ UNCITRAL ไม่ได้แยกกระบวนการอนุญาโตตุลาการภายในประเทศและอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศออกจากกัน แม้ว่าตามกฎหมายฉบับนี้ จะไม่ได้ให้อำนาจอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่คู่พิพาทก็สามารถร้องขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งดังกล่าวได้ ข้อห้ามทนายความต่างชาติ เฉพาะในกรณีข้อพิพาทนั้นอยู่ภายใต้กฎหมายไทย หรือ กรณีคำชี้ขาดจะถูกบังคับในประเทศไทย ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีอนุญาโตตุลาการ คือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้นหากเป็นข้อพิพาทจากสัญญาทางปกครอง คู่พิพาทก็สามารถนำคำชี้ขาดไปขอบังคับที่ศาลปกครองได้อีกด้วย

การระงับข้อพิพาทในสัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชน พรบ.อนุญาโตตุลาการ 2545 มาตรา 15 “ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้ และให้สัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา ”

การระงับข้อพิพาทในสัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้อนุญาโตตุลาการในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนได้เกือบทุกประเภท คณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติเฉพาะการใช้อนุญาโตตุลาการในสัญญาดังต่อไปนี้ สัญญาตามโครงการ ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (มูลค่าตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาท หรือ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง) สัญญาสัมปทาน แต่หากมีปัญหา มีความจำเป็น มีข้อเรียกร้องของคู่สัญญาที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ให้เสนอต่อ ครม. พิจารณาอนุมัติเพื่อใช้อนุญาโตตุลาการต่อสัญญาเหล่านั้นได้เป็นรายๆไป

มติ ครม. 14 กรกฎาคม 2558

การระงับข้อพิพาทในสัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างชาติ กลไกภายใต้ความตกลงระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Bilateral Investment Treaty : BIT) หรือ ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) มีข้อกำหนดแก่นักลงทุนต่างชาติในการระงับข้อพิพาท ได้แก่ (1) กระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolutions) ซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทนอกศาลโดยอาจใช้วิธีการเจรจาและการหารือ การไกล่เกลี่ย และการประนีประนอมข้อพิพาท และ (2) กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (International Arbitration) ภายใต้องค์กรและกฎระเบียบและวิธีดำเนินการที่กำหนดในความตกลงฯ

รูปแบบและผลของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาทต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาด เนื่องจากคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตามคู่พิพาทฝ่ายที่ไม่พอใจคำชี้ขาด อาจดำเนินการได้ใน 2 ประการ คือ - ขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาด หรือ - ไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด โดยรอให้คู่พิพาทฝ่ายที่ชนะ ยื่นคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แล้วจึงต่อสู้คดีว่าคำชี้ขาดมีความบกพร่องและตนไม่ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ กรณีคู่พิพาทฝ่ายที่ไม่พอใจคำชี้ขาดอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 90 วัน เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้มูลเหตุที่ทำให้คำชี้ขาดถูกเพิกถอนนั้น แบ่งได้ใน 2 ประการคือ (1) เหตุที่คู่พิพาทต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลด้วยตนเอง (2) เหตุที่ศาลสามารถยกขึ้นได้เอง

เหตุที่คู่พิพาทต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลด้วยตนเอง คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบกพร่องความสามารถ สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ หรือตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทำคำชี้ขาดนั้นในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คู่พิพาทไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินกระบวนพิจารณา การกระทำเกินขอบอำนาจหรือขาดอำนาจ ความผิดปกติในกระบวนพิจารณา คำชี้ขาดยังไม่สมบูรณ์

เหตุที่ศาลสามารถยกขึ้นได้เอง กล่าวคือ ศาลพบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ด้วยตนเอง ข้อพิพาทนั้นตามกฎหมายไทยไม่สามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ “ คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบังคับตามคำชี้ขาดด้วยตนเองหรือให้อนุญาโตตุลาการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวไม่ได้ ” แม้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะมีผลเป็นที่สุดและผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าคู่พิพาทฝ่ายใด (ซึ่งมักเป็นฝ่ายที่แพ้ตามคำชี้ขาดและต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาด)ไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งจะบังคับตามคำชี้ขาดนั้นด้วยตนเองหรือให้อนุญาโตตุลาการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวไม่ได้ เนื่องจากการบังคับดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจรัฐเท่านั้น

หลักเกณฑ์การบังคับตามคำชี้ขาด ภายใต้ พรบ. อนุญาโตตุลาการ 2545 หลักเกณฑ์การบังคับตามคำชี้ขาด ภายใต้ พรบ. อนุญาโตตุลาการ 2545 ไม่ว่าคำชี้ขาดจะทำขึ้นในประเทศใด หากประเทศเหล่านั้นเป็นภาคีของอนุสัญญานิวยอร์ก ศาลไทยสามารถบังคับตามคำชี้ขาดระหว่างประเทศนั้นได้ ต้องยื่นขอบังคับตามคำชี้ขาดภายใน 3 ปี “ คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับตามคำชี้ขาดต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่พิพาท ” ให้ศาลรีบทำการไต่สวนว่ามีการทำคำชี้ขาดกันจริงและถูกต้องหรือไม่ ให้คู่พิพาทฝ่ายที่จะถูกบังคับมีโอกาสคัดค้านว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ถูกต้องและตนมีสิทธิไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น โดยเสนอพยานหลักฐานประกอบคำคัดค้าน - หากคำคัดค้านนั้นฟังไม่ขึ้น ศาลต้องพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาด - หากคำคัดค้านฟังขึ้น ศาลต้องปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาด โดยการยกคำร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว

ข้อยกเว้นที่ศาลจะไม่บังคับตามคำชี้ขาด ข้อยกเว้นอันเป็นเหตุที่ทำให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น แบ่งได้ใน 2 ประการ (เหมือนกรณีมูลเหตุที่ทำให้คำชี้ขาดถูกเพิกถอน) คือ (1) เหตุที่คู่พิพาทต้องยกขึ้นต่อสู้ในศาลด้วยตนเอง (2) เหตุที่ศาลสามารถยกขึ้นได้เอง

สถาบันระงับข้อพิพาททางเลือกในประเทศไทย สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานสภาอนุญาโตตุลาการ หอการค้าไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา (กรมทรัพย์สินทางปัญญา)

จุดเด่นของอนุญาโตตุลาการ สามารถบังคับใช้ได้ประเทศทุนนิยมทั่วโลก คำชี้ขาด สามารถนำไปบังคับได้ในเขตอำนาจศาลกว่า 150 ประเทศ ซึ่งเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958 (อนุสัญญานิวยอร์ก) สร้างความเป็นกลาง การใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการช่วยให้คู่สัญญาระหว่างประเทศสามารถหลีกเลี่ยงการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้เปรียบจากการฟ้องคดีในระบบศาลของตนเอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการที่จะต้องใช้กระบวนการศาลต่างประเทศที่ไม่เป็นที่คุ้นเคย (ปัญหาปกป้องผลประโยชน์ของชาติเหนือสิ่งใด)

จุดเด่น สามารถรักษาความลับของคู่ความได้ กระบวนการอนุญาโตตุลาการในเกือบทุกกรณีดำเนินการเป็นความลับ คำชี้ขาดมีผลเป็นที่สุด: คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะถูกพิจารณาเพิกถอนได้ด้วยมูลเหตุที่จำกัด ดังนั้น กระบวนการอนุญาโตตุลาการจึงจบลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับการฟ้องร้องและอุทธรณ์ฎีกาในศาล คู่พิพาทมีอำนาจในการกำหนด คู่พิพาทสามารถเลือกสถานที่ ระเบียบกฎเกณฑ์ ภาษา อนุญาโตตุลาการ และจำนวนของอนุญาโตตุลาการ ในการอนุญาโตตุลาการ การมีส่วนร่วมของคู่พิพาทฝ่ายที่สามในกระบวนการ จะเข้ามาได้แค่ในบางกรณี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคู่พิพาท

ข้อด้อยของการอนุญาโตตุลาการ กระบวนการต้องเกิดจากความยินยอมเท่านั้น การอนุญาโตตุลาการไม่มีสภาพบังคับต้องขึ้นกับความยินยอมของทั้งสองฝ่ายในการระงับข้อพิพาท ไม่สามารถที่จะบังคับให้คู่พิพาททำการอนุญาโตตุลาการได้ ต้องอาศัยอำนาจศาลในการบังคับ การอนุญาโตตุลาการเป็นเรื่องของเอกชน จึงต้องมีศาลเพื่อดำเนินการในบางขั้นตอน เช่น การขอให้ศาลออกหมายเรียก/การคุ้มครองชั่วคราว หรือนำคำชี้ขาดขึ้นสู่ศาลเพื่อการเพิกถอน หรือการบังคับตามคำชี้ขาด

มติคณะรัฐมนตรี 14 กรกฎาคม 2558 และผลการเปลี่ยนแปลง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2547 (กำหนดขอบเขตประเภทสัญญาที่ ไม่ควรมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด) มีผลให้ สัญญาสัมปทานซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง ที่รัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศ หากจำเป็นจะต้องมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการจะต้องเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆไป (เพราะเป็นสัญญาทางปกครองและควรส่งไปพิจารณาพิพากษายังศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (ขยายขอบเขตประเภทสัญญาที่ไม่ควรมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด) มีผลให้ สัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ หากจำเป็นต้องมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการจะต้องเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (ลดขอบเขตประเภทสัญญาที่ไม่ควรมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดลงจากมติฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) มีผลให้มีเพียง 1. สัญญาที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครอง หรือไม่) (PPP) 2. สัญญาสัมปทานที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ให้สัมปทาน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่) และ 3. สัญญาใดที่ส่วนราชการต้องเสนอครม.ตามพรฎ.ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมครม. พ.ศ. 2548 หากจำเป็นจะต้องมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จะต้องเสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆไป

พรบ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2556 (PPP) มาตรา 4 นิยาม กิจการของรัฐ” หมายความว่า กิจการที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ กิจการที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วยรวมกันมีอํานาจหน้าที่ต้องทําตามกฎหมาย กิจการที่จะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือหลายหน่วยรวมกัน “ร่วมลงทุน” หมายความว่า ร่วมลงทุนกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด หรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใด “โครงการ” หมายความว่า การลงทุนในกิจการของรัฐ

พรฎ.การเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี 2548 "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงานอื่นของรัฐตามมติ ครม.ข้อ 2 กำหนดให้เฉพาะส่วนราชการต้องนำสัญญาเสนอคณะครม. ดังนั้น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ไม่ต้องเสนอสัญญาตาม พรฎ. หมายเหตุ: ตามพรฎ. 1. นิยาม : - มาตรา 3 2. เรื่องที่ต้องเสนอต่อ ครม. : - มาตรา 4