หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
안녕하세요. ( อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย )
Advertisements

การเก็บข้อมูล (Data Collecting)
ข้อมูลและสารสนเทศ บทที่ 2.
การตัดสินใจเบื้องต้น : สถิติเบื้องต้น (Introduction to statistics)
สัมมนาครั้งที่ 2 สัมมนาครั้งที่ 1 ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก เจ้าของโครงการ ประสานงานกับผู้ร่วม โครงการโดยตรง ประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการ ทำงานกับผู้ร่วมโครงการ.
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล คำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ ปัจจุบันเราถือว่าข้อมูล.
ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
บทที่ 2 การวิจัยผู้บริโภค
ส่วนผสมการตลาดและประโยชน์ที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการ สนามฟุตบอลในเวลากลางคืนและความพอใจของผู้ใช้บริการใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เสนอ โดยกลุ่มที่ 3.
แนวทาง การดำเนินงาน องค์กรหัวใจดี แนวทาง แพทย์หญิงจุรีพร คงประเสริฐ 24 ธ.ค
งานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มยุทธศาสตร์และงานวิชาการ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
พ.ศ.๒๕๕๘ พ.ศ.๒๕๕๙ สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม
ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information.
Traning ผู้ต้องขัง เขตภาคเหนือตอนล่าง
สถิติในชีวิตประจำวัน : Statistics in Everyday life
รายวิชาชีวสถิติ (Biostatistics)
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย (Instrument)
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว
การวิเคราะห์เชิงปริมาณเบื้องต้น
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
กองทุนประกันสังคม พ.จ.อ.พิชิต ศรีทองหนา จนท.สิทธิประกันสังคม
ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
แบบทดสอบความรู้การช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด
การเพิ่มกลุ่มข้อมูลลงในกราฟโดยใช้ Graph Wizard
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.วิเศษชัยชาญ รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 8 มกราคม 2561
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว นิลุบล สุวลักษณ์ รหัสนักศึกษา
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.สามโก้ รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 12 มกราคม 2561
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.เมืองอ่างทอง รอบที่ 1 ปี วันที่ 11 มกราคม 2561
แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ปี 2559
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.ไชโย รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 5 มกราคม 2561
การดูแลและแนวทางการส่งต่อ-ส่งกลับผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 6 : เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต (Wired LANs : Ethernet) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
นโยบายการดำเนินงาน PrEP กับการยุติปัญหาเอดส์
การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
ข้อมูลและสารสนเทศในการคิด
อัตราความสำเร็จการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ (≥ 85 %)
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
สถานการณ์โรคเรื้อรัง
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางการปฏิบัติเมื่อบุคลากรสัมผัสเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งขณะปฏิบัติงาน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบและวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
บทที่ 8. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
พ.ศ.๒๕๕๘ พ.ศ.๒๕๕๙ สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม
Introduction to Public Administration Research Method
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
การวางแผนงานสาธารณสุข
การทำเหมืองข้อมูลด้วยโปรแกรม RapidMiner Studio
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลและสารสนเทศคืออะไร การรับรู้และการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ การประเมินและแปรความหมายข้อมูลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

สิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการคิดและการตัดสินใจ คือ ข้อมูลและสารสนเทศที่ผ่านเข้ามาในกระบวนการรับรู้ของบุคคลแล้วนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจ

สรุปข้อมูลและสารสนเทศ ถูกต้อง มีคุณภาพ ครอบคลุมและสมบรูณ์ตามความต้องการ เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการประกอบการตัดสินใจ

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (data) คือข้อความจริงที่เป็นเป้าหมายของการคิดที่อยู่ในรูปที่แตกต่างกันออกไป เช่นสิ่งต่างๆ รอบตัว สิ่งที่มองเห็น ผลจากการตรวจวัด จำนวน ตัวเลขแสดงปริมาณต่างๆ ความรู้ ความคิดเห็น หลักการ ทฤษฎี ข้อมูลไม่ได้มีความหมายในตัวเองเพราะข้อมูลบอกได้เพียงบางส่วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

สารสนเทศ ( information) คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ สารสนเทศสร้างขึ้นจากการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประมวลผลหรือการได้มาซึ่งสารสนเทศหนึ่งอย่างอาจต้องประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆส่วนมาประกอบกัน

ข้อมูลและสารสนเทศมีความสัมพันธ์กัน ข้อมูลจะยังคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เสมอสำหรับผู้ใช้ทุกคน ทุกคนจะได้รับทราบเกี่ยวกับปรากฏการณ์จากข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้หรือไม่ ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะข้อมูล แต่สำหรับสารสนเทศ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ผู้ใช้อาจได้สารสนเทศที่แตกต่างกันจากข้อมูลชุดเดียวกัน ขึ้นกับจุดประสงค์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นสารสนเทศจึงแปรสถานะของการเป็นสารสนเทศได้ตามผู้ใช้

ข้อมูล สารสนเทศ ข้อความจริง จัดเก็บ คงสภาพ ไม่มีความหมายในตัวเอง ข้อความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ เปลี่ยนแปลงตามผู้ใช้ นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ

กลั่นกรอง ใช้งาน การรับรู้และการวิเคราะห์ข้อมูลสนเทศ การรับรู้ ข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ กลั่นกรอง ใช้งาน สังเคราะห์

องค์ประกอบสำคัญ ที่ใช้ในการคิด ข้อมูล องค์ประกอบสำคัญ ที่ใช้ในการคิด สังคม วิชาการ ตนเอง

ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ..............................

ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม .............................

ข้อมูลทางวิชาการ ...........................

ตัวอย่าง การจัดทำสารสนเทศจากโครงการพัฒนาระบบบริการส่วนหน้าของสำนักงานคณะ ผู้จัดทำระบบบริการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดสารสนเทศที่ต้องการสร้าง รายการข้อมูลที่ต้องการใช้ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการออกแบบสารสนเทศผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดทำโครงการนี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการพัฒนาระบบบริการส่วนหน้าให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ สร้างสารสนเทศเพื่อแสดงสภาพปัจจุบันของการบริการ สร้างสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพความต้องการด้านบริการ สร้างระบบบริการที่มีประสิทธิภาพ

2.2 การรับรู้และการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ 2.2.1 ประเภทของข้อมูล ข้อมูลจำแนกออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จำแนก ดังนี้ การจำแนกตามลักษณะ 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ

เชิงปริมาณ (Quantitative Data) เชิงคุณภาพ (Qualitative Data) การจำแนกข้อมูล จำแนกตามคุณลักษณะ เชิงปริมาณ (Quantitative Data) เชิงคุณภาพ (Qualitative Data)

เป็นข้อมูลที่แสดงสมบัติของสิ่งต่างๆ เพื่อการจัดจำแนก ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่แสดงสมบัติของสิ่งต่างๆ เพื่อการจัดจำแนก โดยไม่มี การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่แสดงขนาดของสิ่งต่าง ๆ เพื่อการเปรียบเทียบ มาก-น้อย

ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ เพศ ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา อายุ รายได้ ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวนสมาชิกในครอบครัว

ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่ (Group Data) การจำแนกข้อมูล จำแนกตามการจัดกระทำ ข้อมูลดิบ (Raw Data) ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่ (Group Data)

(1) ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่จัดเก็บมาแล้วแต่ยังไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่จึงยังไม่มีความหมายหรือหาความหมายได้ยากและนำไปอธิบายสิ่งที่ต้องการได้ยาก (2) ข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นข้อมูลซึ่งถูกจัดจำแนกออกตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะ ทำให้ข้อมูลมีความหมายในตนเองระดับหนึ่ง นำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลดิบ

ข้อมูลดิบ 1 2 5 11 23 29 18 27 16 12 41 22 11 27 38 40 24 9 16 10 4 3 33 21

ข้อมูลที่จัดเป็นหมวดหมู่ วัย อายุ จำนวน วัยรุ่น 12 - 14 15 - 17 2 5 วัยผู้ใหญ่ 18 - 20 21 - 23 7 12 วัยชรา ___

ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) การจำแนกข้อมูล จำแนกตามแหล่งที่มา ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)

1) ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่ให้ข้อมูลโดยตรงไม่ได้ผ่านกระบวนการอื่นมาก่อน เช่น - คะแนนสอบของนักเรียนจากครูผู้สอน - ความคิดเห็นของครูต่อสภาพการจัดการของโรงเรียน ข้อดีของข้อมูลปฐมภูมิ คือได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์การศึกษา ส่วนข้อเสียคือใช้เวลาและงบประมาณในการจัดเก็บค่อนข้างมาก

(2) ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บจากแหล่งข้อมูลซึ่งได้จัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิมาไว้ก่อน แล้วตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ เช่น การศึกษาการติดยาเสพติดของนักเรียนจากรายงานการวิจัยของนักวิชาการ ข้อดี คือถ้าข้อมูลที่จัดเก็บสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาจะทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายน้อยแต่ข้อเสียคืออาจไม่มีข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์การศึกษาทำให้ต้องตีความและกาตีความอาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงได้

2.2.2 แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่ได้จัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยเหตุผลเพื่อเผยแพร่หรือการวิเคราะห์ วิจัย หรือเพื่อเก็บไว้เป็นฐานของการตัดสินใจในการทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แหล่งปฐมภูมิ (primary source) เป็นแหล่งกำเนิดของข้อมูลคือเจ้าของข้อมูลโดยตรงที่จะให้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลดิบ อาจเป็นบุคคล หรือหน่วยงาน เช่น การตรวจเลือดหญิงบริการในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาจำนวนหญิงบริการที่ติดเชื้อHIV แหล่งข้อมูล คือหญิงบริการในเขตกรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์หาสารบางชนิดที่ตกค้างในน้ำดื่มเพื่อประเมินคุณภาพน้ำดื่ม แหล่งข้อมูลคือน้ำดื่มที่ต้องการตรวจวิเคราะห์

แหล่งทุติยภูมิ (secondary source) แหล่งที่ทำการจัดเก็บหรือรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาเสนอเพื่อให้ผู้ที่สนใจนำไปใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบ การนำเสนอข้อมูลว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์ หรืออยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสืบค้นได้ในเครือข่ายสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญมักเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำ การเก็บรวบรวมข้อมูลในความรับผิดชอบและทำการรายงานข้อมูลเหล่านั้นเป็นระยะ โดยมักจะทำ การจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกเหตุการณ์หรือการสำรวจเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลด้านสังคม ข้อมูลด้าน

การทดลอง เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามเฉพาะเจาะจง 2.2.3 การรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกและทะเบียน เป็นการรายงานการเกิดของเหตุการณ์ เป็นวิธีที่สำคัญที่จะทำให้เกิดข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นอยู่ตามธรรมชาติหรือสภาพการณ์จากหน่วยงานหรือต้นกำเนิดของข้อมูล ทำได้โดยการสำมะโน หรือสำรวจตัวอย่าง การทดลอง เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามเฉพาะเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม เป็นการรวบรวมกระทงคำถามที่ต้องการ จัดแบ่งเป็นประเภทและเรียงตามลำดับ ออกแบบให้สะดวกและง่ายต่อการตอบ แล้วสร้างเป็นแบบสอบถามส่งให้ผู้ตอบโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ข้อดี คือ ใช้เวลาและงบประมาณน้อย ข้อมูลที่รวบรวมได้มี การจัดระบบไว้เรียบร้อยแล้วง่ายต่อการบันทึกและวิเคราะห์ ข้อเสีย คือ ถ้าคำถามไม่ชัดเจนหรือมากเกินไปจะทำให้ผู้ตอบสับสน และเบื่อหน่าย เป็นเหตุให้ได้ข้อมูลคลาดเคลื่อน จากวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ลักษณะทั่วไปของแบบสอบถาม ข้อคำถามในแบบสอบถามแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ คำถามปลายปิดและคำถามปลายเปิด

แนวทางในการสร้างแบบสอบถาม - ตัดสินใจว่าต้องการจะรู้อะไร - ผู้ตอบต้องมีความรู้หรือข้อมูลในเรื่องที่จะถาม - สิ่งที่จะถามทั้งหมดนั้นต้องครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่ กำหนดไว้ - ตั้งคำถามชัดเจน ต้องแน่ใจว่าผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจตรงกับความต้องการที่จะถาม - การกำหนดรูปแบบคำตอบ

เมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมาฉันไปเวียนเทียนที่วัด 1) เมื่อคำถามต้องการให้ตอบอย่างเสรีหรือเป็นคำถามปลายเปิดรูปแบบที่ต้องการคือ การมีช่องว่างหรือเนื้อที่สำหรับเติมความเห็นลงไปเป็นประโยค หรือในกรณีที่ซับซ้อนอาจเขียนในรูปเรียงความได้ 2) ในกรณีที่คำถามเป็นการสำรวจข้อเท็จจริง แบบคำตอบที่ต้องการจะเป็นแบบกำหนดตัวเลือก 2 ตัว เช่น ใช่-ไม่ใช่ จริง-ไม่จริง เมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมาฉันไปเวียนเทียนที่วัด จริง ไม่จริง

3)เมื่อคำถามต้องการทราบความถี่หรือความเข้มของการแสดงพฤติกรรม ความรู้สึกหรือความคิดซึ่งมีระดับแปรผันไปได้ต่างกัน รูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ มาตราส่วนประมาณค่า - หลังการสอบสัมภาษณ์ผ่านไปแล้ว คุณรู้สึกกังวลกับผลการสอบมากมายแค่ไหน -----------มากที่สุด -----------มาก -----------ปานกลาง -----------น้อย -----------น้อยที่สุดหรือไม่เลย

หรืออาจใช้เส้นระนาบแสดงน้ำหนักของความรู้สึก เช่น - หลังการสอบสัมภาษณ์งานแล้ว คุณรู้สึกกังวลกับผลการสอบมากน้อยแค่ไหน กังวลมากที่สุด---------:---------:----------:--------:---------ไม่กังวลเลย

4) หากในกรณีที่คำถามมีคำตอบที่กำหนดให้ไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อให้เลือกตอบ รูปแบบการตอบก็จะเป็นเหมือนข้อสอบหลายตัวเลือกดังนี้   คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับการทำแท้ง ---------รับไม่ได้ทุกกรณี ---------รับได้ในบางกรณี เช่น ในการตั้งครรภ์เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือถูกข่มขืน ---------ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ตั้งครรภ์

5) ในกรณีที่คำถามถามเพื่อให้จัดเรียงลำดับ รูปแบบการตอบก็ คือ การเรียงลำดับคำตอบที่จัดไว้ ดังเช่น   ให้คุณเรียงเครื่องใช้ที่จำเป็น จากที่จำเป็นมากที่สุดลงมาตามลำดับ ------------เครื่องซักผ้า ------------เตาไมโครเวฟ ------------ตู้เย็น ------------เครื่องปิ้งขนมปัง ------------วีดีโอ ------------วิทยุ ------------โทรทัศน์

การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์กระทำโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลโดยตรงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ลักษณะทั่วไปของการสัมภาษณ์ - การสัมภาษณ์เป็นการถาม-ตอบ ปากเปล่า - ช่วยให้เข้าใจบุคคลได้ดีมาก โดยเฉพาะในด้านเจตคติ ความสนใจ ความเชื่อและกระบวนการคิด ขั้นที่1 การเริ่มสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่ชี้แจงให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์

ขั้นที่ 2 การสัมภาษณ์ ถามเพื่อให้ได้ข้อมูลตามหัวข้อที่เตรียมมา เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามต้องการ ขั้นที่ 3 การจบการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของการสัมภาษณ์ ซึ่งใช้ตรวจ-สอบข้อมูลต่างๆ ที่ถามไปแล้วทบทวนคำตอบที่ได้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันและติดต่อนัดหมายสำหรับการสัมภาษณ์ต่อไปหากจำเป็น

กระบวนการสัมภาษณ์ 1) ในช่วงการเริ่มสัมภาษณ์ให้แนะนำตนเอง อธิบายสั้นๆ ถึงจุดประสงค์ในการสัมภาษณ์ 2) ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทำตัวตามสบายขั้นตอนนี้ดูจะเป็นหลักใหญ่ของการสัมภาษณ์การพูดคุยอย่างเป็นมิตรในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียดจะช่วยให้ไม่ 3) รักษาเวลาแม้บรรยากาศการสัมภาษณ์จะไม่เคร่งเครียด แต่ก็ต้องมีกำหนดเวลา เพราะทั้งคู่ต่างก็ต้องมีภาระอื่นที่ต้องปฏิบัติ 4) ให้มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดระหว่างการสัมภาษณ์ ถามคำถามและสบตาผู้ถูกสัมภาษณ์ขณะถาม จะเป็นการกระตุ้นให้ทั้งเราและผู้ถูกสัมภาษณ์เอาใจใส่กับการสัมภาษณ์ที่ดำเนินอยู่ 5) หลีกเลี่ยงการลงความเห็นโดยใช้แบบตายตัว

6) ถามคำถามไปตามคำถามที่เตรียมมาโดยเรียงไปตามลำดับ ทั้งนี้จะทำให้สัมภาษณ์ได้ง่ายขึ้นและไม่หลงประเด็น นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้คิด และทบทวนคำตอบ 7) อย่าตอบคำถามเอง บางครั้งผู้ถูกสัมภาษณ์ทำท่าเหมือนจะตอบคำถามไปในทิศทางอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ตอบออกมาให้ชัดเจน อย่าทึกทักว่านั้นคือคำตอบ 8) พูดช้า ๆ ให้ได้เข้าใจชัดเจน ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและดังพอเหมาะ 9) ซักถามเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แต่ต้องระวังการตั้งคำถามในการซักว่าต้องไม่ชี้นำหรือกดดัน ตัวอย่างการซัก 10) บันทึกคำตอบไปด้วยขณะสัมภาษณ์ อย่าพยายามเรียบเรียงใหม่จากความจำหลังการสัมภาษณ์แล้ว เพราะจะทำให้มีการเติมหรือตัดข้อเท็จจริงออกโดยไม่ตั้งใจ

ข้อดีและข้อจำกัดในการสัมภาษณ์ ข้อดีของการใช้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลคือ เหมาะกับผู้ตอบที่ด้อยความสามารถในการอ่าน - เขียนและเหมาะกับการลืบค้นหาความจริงส่วนที่ยังไม่เข้าใจชัดเจน แต่การสัมภาษณ์ก็มีจุดอ่อนในเรื่องการสิ้นเปลืองเวลา และในบางกรณีผู้ถูกสัมภาษณ์ก็หลีกเลี่ยงที่จะให้ความจริงซึ่งเป็นที่ไม่ยอมรับของสังคม

การสังเกต เป็นวิธีสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหาความจริงของปรากฏการณ์นั้น โดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตโดยตรงทำให้ได้ข้อมูลแบบปฐมภูมิซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้

ลักษณะทั่วไปของการสังเกต เมื่อต้องการใช้เทคนิค การสังเกตในการเก็บข้อมูล จะต้องเอาใจใส่กับประเด็น 3 ประเด็นคือจะสังเกตในสถานการณ์แบบใด ผู้ถูกสังเกตจะรู้ตัวหรือไม่ว่าตนกำลังถูกสังเกต และจะจดบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตได้อย่างไร สถานการณ์การสังเกต สถานการณ์การสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ - สถานการณ์ที่ได้กำหนดโครงสร้างสถานการณ์ตามธรรมชาติ - สถานการณ์ที่กำหนดโครงสร้าง

สถานการ์ที่ได้กำหนดโครงสร้างสถานการณ์ตามธรรมชาติ สังเกตพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างแสดงไปเรื่อย ๆ โดย ไม่มีการแทรกแซงหรือจัดการใด ๆ เพื่อสร้างสาเหตุของพฤติกรรมนั้น - สังเกตความเอาใจใส่ในการเข้าชมนิทรรศการสินค้าไทยของบุคคลในบูธ - การเลือกซื้ออาหารของบุคคลในศูนย์อาหาร

สถานการณ์ที่กำหนดโครงสร้าง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นหรือสร้างขึ้นเพื่อสังเกตพฤติกรรมเฉพาะอย่าง ซึ่งในสถานการณ์ประเภทหลังนี้ผู้ถูกสังเกตจะรู้สึกตัวว่าตนเองกำลังถูกสังเกต แม้ว่าในการสังเกตนั้นผู้สังเกตอาจไม่ปรากฎตัวให้เห็น เช่น สังเกตจากกระจกทางเดียว สถานการณ์ประเภทนี้มักใช้กับงานวิจัยที่มุ่งหมายในการศึกษาพฤติกรรมซึ่งปกติจะไม่ปรากฎขึ้นบ่อยในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ

การรู้ตัวของผู้ถูกสังเกต สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับสองในการศึกษาโดยใช้วิธีการสังเกต คือ จะให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวหรือไม่ว่าตนกำลังถูกสังเกต หากผู้ถูกสังเกตรู้ตัวว่าตนกำลังถูกสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกอาจไม่เป็นตามธรรมชาติ แต่หากไม่ให้รู้ตัว พฤติกรรมที่ได้อาจเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ การละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้ถูกสังเกต

การบันทึกพฤติกรรมที่ได้จากการสังเกต รูปแบบที่ 1 การพรรณนาพฤติกรรม รูปแบบที่ 2 การตรวจสอบรายการพฤติกรรม รูปแบบที่ 3 มาตราส่วนประมาณค่า

อุปสรรคของการสังเกต - อคติในการสังเกตซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจโดยที่ผู้สังเกตก็ไม่รู้ว่าตนมีอยู่ ในกรณี เช่นนี้ผู้สังเกตมักนำเอาแนวโน้มส่วนตัวเข้าไปในสถานการณ์ที่ตนกำลังสังเกต - การขาดความสามารถในการประเมินสิ่งที่สังเกตได้อย่างเป็นปรนัย - การสุ่มตัวอย่างของการสังเกตไม่รอบคอบพอ เช่น สุ่มสังเกตในเวลาที่ซ้ำกันทำให้ ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของพฤติกรรมที่แท้จริงของบุคคล - ตีความพฤติกรรมที่สังเกตผิดพลาดทำให้เสียประโยชน์จากการสังเกตครั้งนั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสังเกต 1) พยายามคงสถานการณ์การสังเกตให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด อย่าให้ผู้ถูกสังเกตเกิดความระแวงว่าตนกำลังถูกสังเกต มิฉะนั้นพฤติกรรมของเขาอาจเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น เช่น อายจนไม่กล้าแสดงออกหรือแสดงออกมากไปเป็นต้น 2) ในการสังเกตแต่ละครั้งนอกจากสังเกตพฤติกรรมแล้ว ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมของพฤติกรรมนั้นด้วย 3) หลังจากสังเกตสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปแล้วให้สังเกตพฤติกรรมที่ตั้งใจศึกษาครั้งละ 1 คน ใช้เวลาครั้งละ 15-30 นาที เป็นอย่างน้อย 4) ให้ความสนใจต่อกลุ่มปฏิกริยาตอบโต้จากผู้อื่น

ข้อดีและข้อจำกัดของการสังเกต ข้อดีของการสังเกตนั้นคือ เป็นเครื่องมือเบื้องต้นของการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลซึ่งบางครั้งไม่อาจเก็บได้ด้วยวิธีอื่น เนื่องจากบุคคลไม่รู้สึกว่าตนเองมีพฤติกรรมนั้นอยู่ ส่วนข้อจำกัดของการสังเกตคือ การศึกษาได้แต่พฤติกรรมปัจจุบันซึ่งถูกจำกัดไว้ด้วยสภาพแวดล้อม ข้อมูลจึงมีลักษณะแคบและจำเพาะ ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ถูกสังเกตรู้ตัวว่าตนกำลังถูกสังเกตอาจมีผลทำให้พฤติกรรมผิดไปจากธรรมชาติหรือแสดงความไม่พอใจออกมา

การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสำรวจ การนับและการวัด เป็นการแจงนับจำนวนการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆเพื่อศึกษาความถี่การเกิดปรากฏการณ์นั้น รวมถึงการวัดเชิงปริมาณ เช่น วัดระยะ ปริมาตร เวลา อุณหภูมิของปรากฏการณ์นั้น การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสำรวจ เป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิทั้งนี้เนื่องจาก ข้อมูลที่ต้องการมักจะเป็นข้อมูลมีจุดมุ่งหมายในการใช้เฉพาะกรณีจึงมักจะเป็นข้อมูลที่ยังไม่เคยมีการรวบรวมไว้ก่อนเครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม/สัมภาษณ์ และสังเกต เป็นต้น

การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีทดลอง เพื่อศึกษาว่าปัจจัยอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันจะทำให้เกิดผลอย่างไร เมื่อไม่มีปัจจัยอย่างอื่นที่ไม่สนใจมามีอิทธิพลร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลจึงจำเป็นต้องใช้วิธีทดลองและต้องมีแบบแผนการทดลองที่รัดกุม เพื่อไม่ให้มีปัจจัยที่ไม่พึงประสงค์มาแทรกซ้อน การทดลองผลจากการรับประทานอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งต่อระดับน้ำหนักของ ตัวเราและเพื่อน โดยจะต้องควบคุมให้ สภาพแวดล้อมชนิดเดียวกันในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกันได้

การรวบรวมข้อมูลจากรายงานของเหตุการณ์และทะเบียน การรวบรวมข้อมูลโดยวิธีนี้มักจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ โดยทั่วไป หน่วยงาน สถาบัน หรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน จะมีบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญและจำเป็นต้องอ้างอิงเป็นประจำ ปัจจุบันมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกดูได้จากเว็ปไซต์ของหน่วยงานนั้น ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

การรวบรวมสารสนเทศเป็นการรวบรวมข้อความจริงหรือความรู้ที่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจได้ การรวบรวมสารสนเทศต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการสร้างสารสนเทศ (1) การรวบรวมสารสนเทศที่คำนวณทางสถิติ ต้องพิจารณาว่าการสร้างสารสนเทศนั้นใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในเรื่องต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่ เช่น การใช้ประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ระเบียบวิธีทางสถิติที่ใช้ในการคิดคำนวณ การวิเคราะห์และการแปรผล

(2) การรวบรวมสารสนเทศที่ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ต้องพิจารณาว่าตัวแบบที่ใช้อาศัยทฤษฎีและหลักการใด ตัวแปรที่ใช้ถูกต้องหรือไม่ การนำเสนอด้วยกราฟมีความถูกต้องและชัดเจนหรือไม่ การสรุปผลสมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นต้น (3) การรวบรวมสารสนเทศจากเอกสารสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้เขียนหรือหน่วยงานที่จัดทำ และความเป็นปัจจุบันของสารสนเทศที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน

กิจกรรมหน่วยที่2-1 1. ข้อมูล คืออะไร 2. สารสนเทศ คืออะไร 3. ข้อมูลและสารสนเทศ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร 4. การจำแนกข้อมูลตามลักษณะแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง 5. วิธีสำมะโน หรือการแจงนับครบถ้วน เป็นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีใด 6. จงยกตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

6. จงยกตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 7 6. จงยกตัวอย่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 7. การตั้งคำถามที่ดีในการทำแบบสอบถาม ควรมีลักษณะอย่างไร 8. ขั้นตอนในการสัมภาษณ์ โดยทั่วไปสามารถจำแนกได้กี่ขั้นตอน อะไรบ้าง 9. จงบอกข้อดี และข้อจำกัดในการสัมภาษณ์ 10.จงบอกข้อดีและข้อจำกัดของการสังเกต มีอะไรบ้าง

หน่วยที่ 2 -2 การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ