บทที่ 5 เงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Condition)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สูตรคำนวณราคาตราสารหนี้ประเภทจ่ายดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Note)
Advertisements

scanf(“%d”,&a); a = (2+3)*4/5; b= a*5/100; if(a<0) ……..
เศรษฐศาสตร์มหภาค EC 312 บทนำ: Introduction
Specific Factor Model ดร.วิธาดา อนกูลวรรธกะ
Heckscher-Ohlin (3) ดร.วิธาดา อนกูลวรรธกะ
The Reveal of Dornbusch’s Exchange Rate Overshooting Theory
การกำหนดเป้าหมายตลาด
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
1 นายทินวัฒน์ พงษ์ทองเมือง. 2 การเปิดให้ Program ทำงาน 3  p:\xampplite\ xampplite-control.exe  Start Apache.
วัตถุประสงค์ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์
นโยบายและเป้าหมายในการบริหาร ระบบเศรษฐกิจ
LOGO. ส่วนประกอบของบัญชี รายได้ประชาชาติ NI Y = GDP GNPNNPNIGDPGNPNNPNI.
How to use epidemiology for trouble shooting the problems
การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน Production/Operation Management
1 Sutassa BenyasutKasetsart University Rangsarid TangkanaKhonkaen University Weekly Report # 2&3.
รายละเอียดของการทำ Control และ Forwarding สำหรับ MIPS Pipeline
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาด Marketing Environmental Analysis
การแข่งขันทาง การตลาด และตัวแปรทาง เศรษฐกิจ. การแข่งขันทางการตลาด (Competition) พฤติกรรมของผู้บริโภคไทยได้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ในช่วง.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
Chapter 12 Microprocessor without Interlocked Pipeline Stages (MIPS)
อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates)
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๑ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน
Risk Based Capital by Thanachart Life Assurance
การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง Power System Protection
การเงินระหว่างประเทศ
พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ศูนย์ข้อมูลตราสารการเงิน ประชุมคณะทำงานพหุภาคี ครั้งที่ 1
บทที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม
คู่มือคุณภาพ Quality Manual
การเปลี่ยนจากระบบปีฐานสู่ Chain Volume Measure
The Reveal of Dornbusch’s Exchange Rate Overshooting Theory
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
ศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด
การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
1.
สรุปรายงานสถานการณ์วัณโรค จังหวัดปทุมธานี ปี
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
จิตวิทยาการบริการ THM 1203 Service Industry Psychology
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
การนำเสนอผลงานการวิจัย
กระทรวงศึกษาธิการ.
วิชา การบริหารทางการตลาด (MKT 3202)
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาด Marketing Environmental Analysis
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการตลาด Marketing Environmental Analysis
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
แนวทางการปรับปรุงการทำงาน ด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว ปีงบประมาณ 2561
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
Chapter 12: Index Number เลขดัชนี.
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ
บทที่ 4 การทำงบการเงินรวมหลังวันซื้อหุ้น
การใช้ยา.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบและวิธีการรายงานผลการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การเงินระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น
อุปสงค์ อุปทาน ดุลยภาพของตลาด
4th Quarter CBA HUMAN RIGHTS.
Topic 13 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน/สำนักงาน ป.ป.ท.
โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเงินและการธนาคาร
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 5 เงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Condition)

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้เงื่อนไขเสมอภาค เงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Conditions) เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยมีข้อสมมติฐานที่สําคัญว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของประเทศนั้นๆ เป็นระบบลอยตัวแบบเสรี (Freely Floating Exchange Rate)

2. ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบสมบูรณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อ (ระดับราคา) และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 1. กฎสินค้าราคาเดียว 2. ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบสมบูรณ์ 3.ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบเปรียบเทียบ

กฎสินค้าราคาเดียวกัน สินค้าชนิดเดียวกันที่ขายในตลาดต่างประเทศควรมีราคาเท่ากัน เมื่อคิดเทียบกลับเป็นเงินสกุลเดียวกัน สินค้านั้นจะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ และต้องไม่มีข้อจำกัดการซื้อขายหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า รวมทั้งต้องไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

กฎสินค้าราคาเดียวกัน (ต่อ) สินค้าในแต่ละประเทศควรมีราคาเท่ากัน เมื่อคิดเทียบกลับเป็นเงินสกุลเดียวกัน สามารถคำนวณ หาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุลได้โดยการเปรียบเทียบราคาสินค้าชนิดเดียวกัน ในสองประเทศ ดังนี้ Pd x S = Pf S , S* = Pf Pd S คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (เงินสกุลต่างประเทศ/เงินสกุลท้องถิ่น) ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม S* อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบโดยตรง Pf คือ ราคาสินค้าในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ Pd คือ ราคาสินค้าในรูปเงินตราสกุลท้องถิ่น

ตัวอย่าง ณ เวลาปัจจุบัน สินค้าชนิดหนึ่งในประเทศไทยมีราคาขายหน่วยละ 3,440 บาท และสินค้าชนิดเดียวกันนี้มีราคาหน่วยละ 152 สวิสฟรังก์ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สามารถคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนทันทีระหว่างเงินสวิสฟรังก์และเงินบาท ตามหลักการของทฤษฎีสินค้าราคาเดียว ได้ดังนี้ S = Pf = SF152 = SF0.0442/฿ Pd ฿3,440

ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบสมบูรณ์ ราคาของกลุ่มสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดแต่ละประเทศ ควรเท่ากันเมื่อคิดเทียบกลับเป็นเงินตราสกุลเดียวกัน เงินตราสกุลท้องถิ่นหนึ่งหน่วย ควรมีอำนาจในการซื้อสินค้าเท่ากัน ไม่ว่าจะนำเงินนั้นไปใช้ในประเทศใดในโลก

สามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุลได้ดังนี้ PId x S = PIf S , S* = PIf Pid S คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (เงินสกุลต่างประเทศ/เงินสกุลท้องถิ่น) ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม S* อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบโดยตรง Pf คือ ดัชนีราคาสินค้าในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ Pd คือ ดัชนีราคาสินค้าในรูปเงินตราสกุลท้องถิ่น

ตัวอย่าง สินค้ากลุ่มหนึ่ง เมื่อสำรวจในประเทศไทย ณ เวลาปัจจุบันมีราคา 220,000 บาทและเมื่อสำรวจในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สินค้ากลุ่มเดียวกันนี้จะมีราคา 9,724 สวิสฟรังก์ สามารถคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุลนี้ ตามหลักการทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบสมบูรณ์ได้ดังนี้ S = Pf = SF9,742 = SF0.0442/฿ Pd ฿220,000

กล่าวได้ว่าเงินสวิสฟรังก์จะแข็งค่าขึ้น 4% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าลง 4% ในเวลาเดียวกัน มีการคาดคะเนว่าประเทศไทยจะมีอัตราเงินเฟ้อ 4% ซึ่งจะทำให้ระดับราคาของสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็น 228,800 บาท (220,000x1.04) ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มเดียวกันนี้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะยังคงเท่าเดิมที่ 9,724 สวิสฟรังก์ (อัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 0%) สามารถคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนได้ดังนี้ S = Pf = SF9,742 = SF0.0425/฿ Pd ฿228,800 i = r + 1 อัตราเงินเฟ้อ 4/100 + 1 = 1.04 กล่าวได้ว่าเงินสวิสฟรังก์จะแข็งค่าขึ้น 4% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าลง 4%

ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบเปรียบเทียบ ยังไม่สามารถนำไปใช้พยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ดีในทางปฏิบัติ ซึ่งนักวิชาการพยายามจัดรูปแบบทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคใหม่ให้อยู่ในรูปของทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบเปรียบเทียบ ซึ่งมีหลักการดังนี้ เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสองสกุล จะเท่ากับ เปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อระหว่างสองประเทศนั้น แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม (ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อ ค่าเงินจะอ่อนค่าลง)

ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคแบบเปรียบเทียบ (ต่อ) สามารถคำนวณได้ดังนี้ S1 = S0 (1+If) S1*= S0* (1+If) (1+Id) (1+Id) S0 , S1 คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินทันที ณ เวลาปัจจุบัน และหนึ่งงวดนับจาก วันนี้ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม (เงินสกุลต่างประเทศ/เงินสกุลท้องถิ่น) S0*, S1* คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินทันที ณ เวลาปัจจุบัน และหนึ่งงวดนับจาก วันนี้ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยตรง If คือ อัตราเงินเฟ้อในต่างประเทศ Id คือ อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ

ประเทศไทยจะมีอัตราเงินเฟ้อ 4% ซึ่งจะทำให้ระดับราคาของสินค้ากลุ่มนี้ ขณะที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราเงินเฟ้อ 0% อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสวิสฟรังก์และเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ณ อัตรา SF0.0442/฿ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ที่เท่ากับ SF0.0425/฿ สามารถคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบโดยอ้อมได้ดังนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบโดยอ้อมเดิม SF0.0442/฿ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบโดยอ้อมใหม่ SF0.0425/฿ การเปลี่ยนแปลงของ = อัตราเดิม – อัตราใหม่ x 100% อัตราแลกเปลี่ยนโดยอ้อม(%) อัตราใหม่ = 0.0442 - 0.0425 x 100% = 4% 0.0425 หมายความว่าหากประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อ 4% ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง 4% เมื่อเทียบกับเงินสวิสฟรังก์เช่นกัน

ผลการวิจัยทดสอบทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาค ผลการวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคทั้งแบบสมบูรณ์และแบบเปรียบเทียบไม่สามารถพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ กล่าวคือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและการบริการระหว่างประเทศนั้น จำเป็นต้องมีต้นทุนในการขนส่งสินค้าและการบริการจำนวนหนึ่งเสมอ โดยต้นทุนจำนวนนี้จะมีผลกระทบต่อระดับราคาสินค้าในประเทศต่างๆในขนาดที่แตกต่างกัน สินค้าและบริการหลายประเภทในประเทศต่างๆมีความแตกต่างกันในเรื่องคุณลักษณะ และคุณสมบัติ โดยขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้บริโภค และปัจจัยการผลิตที่อยู่ในประเทศนั้น จึงเป็นการยากที่จะนำมาเปรียบเทียบราคากันตามทฤษฎี

2.ทฤษฎี The International Fisher Effect 3.ทฤษฎี อัตรา ดอกเบี้ย เสมอภาค ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 1.ทฤษฎี The Fisher Effect 2.ทฤษฎี The International Fisher Effect 5.ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเป็นค่าพยากรณ์อย่างไม่มีอคติของอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอนาคต 4.การค้ากำไรโดย ปราศจากความเสี่ยง จากความแตกต่างใน อัตราดอกเบี้ย

1.ทฤษฎี The Fisher Effect “อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินของแต่ละประเทศ จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงบวกด้วยอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ” สามารถคำนวณได้ดังนี้ I = r + 1 i คือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) r คือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่นักลงทุนต้องการ (Real Interest Rate) I คือ อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Inflation Rate)

อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินจะแปรผันโดยตรง ตามอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเป็นในแต่ละประเทศ ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงจึงควรมีอัตรา ดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงกว่าอีกประเทศหนึ่งที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า สามารถคำนวณได้อีกรูปแบบหนึ่งดังนี้ 1 + If = 1 + if 1 + Id 1 + id If คือ อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในต่างประเทศ Id คือ อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในประเทศ if คือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินในต่างประเทศ id คือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินภายในประเทศ

ตัวอย่าง ถ้ามีการคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อ ในอีกหนึ่งปีข้างหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเท่ากับ 2% ขณะที่ประเทศไทยจะเท่ากับ10% ตามหลักการของทฤษฎี The Fisher Effect อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินในประเทศไทยควรจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศสหรัฐอเมริกา 8% เพื่อเป็นการชดเชยให้กับส่วนต่างของอัตราเงินเฟ้อระหว่างสองประเทศ

2.ทฤษฎี The International Fisher Effect ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินในตลาดเงินสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสองสกุล แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม เงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบจะมีแนวโน้มค่าเงินแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า สามารถคำนวณได้ดังนี้ S1 = S0 (1 + if ) ( 1 + id ) S0 , S1 คือ อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ เวลาปัจจุบัน และหนึ่งงวดนับจากวันนี้ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม (เงินสกุล ต่างประเทศ/เงินสกุลท้องถิ่น) id , if คือ อัตราดอกเบี้ยในประเทศ และต่างประเทศตามลําดับ  

ทฤษฎีดอกเบี้ยเสมอภาค เปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซ็นต์ส่วนเพิ่มหรือส่วนลดของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินตราสองสกุลนั้น แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม เป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ไม่มีต้นทุนในการ ทำธุรกรรม ไม่มีภาษี และไม่มีความเสี่ยงทางการเงิน

สามารถคำนวณได้จากสูตร F = 1 + if S 1 + id หรือ F(1+id) = S(l+if) F คืออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม(เงินตราสกุลต่างประเทศ/เงินตราสกุลท้องถิ่น) S คืออัตราแลกเปลี่ยนทันที ซึ่งเป็นการเสนอราคาแบบโดยอ้อม

i = r+1 (หาอัตราดอกเบี้ย) ตัวอย่าง มีการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยนทันทีของเงินสวิสฟรังก์ต่อเงินดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ SF1.5120/$ และอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าสามเดือน เท่ากับ SF1.4971/$ ขณะเดียวกันที่ตลาดเงินในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการเสนอราคาอัตราดอกเบี้ยสำหรับบัญชีเงินฝากสวิสฟรังก์เท่ากับ4%ต่อปี (1%ต่อไตรมาส) และในประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราดอกเบี้ยสำหรับบัญชีเงินฝากดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ8%ต่อปี (2%ต่อไตรมาส) สามารถคิดได้ดังนี้ i = r+1 (หาอัตราดอกเบี้ย) F = 1 + if = SF1.4971/$ = 1.01 S 1 + id SF1.5120/$ 1.02 หรือ F(1+id) = S(l+if) = SF1.4971/$ x 1.02 = SF1.5120/$ x 1.02 จะได้ 1.5271 = 1.5271

4.การค้ากำไรโดยปราศจากความเสี่ยงจากความแตกต่างในอัตราดอกเบี้ย ใช้ในการเสนอราคาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนทันที และอัตราตลาดแลกเปลี่ยนล่วงหน้าการเสนออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินไม่อยู่ในสภาวะที่สมดุลวิธีนี้ก็จะสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวได้ F = 1 + if S 1 + id หรือ F(1+id) = S(l+if)

%Forward Premium(Discount) = S - F x 12 x 100% F M มีการคำนวณอัตราส่วนเพิ่ม หรือส่วนลด ของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของเงินตราสองสกุล %Forward Premium(Discount) = S - F x 12 x 100% F M จากสูตรสามารถคำนวณได้ดังนี้ = 1.5120 – 1.4971 x 12 x 100% 1.4971 3 =3.981%

5.ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเป็นค่าพยากรณ์อย่างไม่มีอคติของอัตราแลกเปลี่ยนทันทีในอนาคต อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า สามารถใช้เป็นค่าพยากรณ์ของอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อาจมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นจากการพยากรณ์แต่จะเป็นไปอย่างมีระบบ ตลาดการเงินต้องมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งและนักลงทุนจะเป็นผู้กำหนดทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในตลาดเอง

การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุล (เงินSFแข็งค่าขึ้น4%) (5) (1) ส่วนเพิ่มหรือส่วนลดของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าระหว่างเงินตราสองสกุล (อัตราส่วนเพิ่มเงิน SF=4%) ความแตกต่างในอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่า จะเกิดขึ้นระกว่างสองประเทศ (เงินเฟ้อของไทย>สวิตเซอร์แลนด์ 4%) (3) (4) ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย ที่เป็นตัวเงินระหว่างสองประเทศ (อัตราดอกเบี้ยไทย>สวิตเซอร์แลนด์4%) (2)

ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา มี 5 ปัจจัยหลักที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 1.ปัจจัยอัตราดอกเบี้ย รายได้จากดอกเบี้ย สกุลเงินในโลก มีอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งจูงใจในการเคลื่อนไหว ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวกำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ โดยปกตินักลงทุนจะกู้ยืมเงินจากประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ผลที่ได้คือ กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และได้กำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน การเพิ่มขึ้นของเงินทุน

2.ปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา และอุปสงค์ของเงินที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วยนั่นเอง

3.ปัจจัยภูมิศาสตร์การเมือง  ความเสี่ยงทางเสถียรภาพทางการเมืองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต่างกังวล เนื่องจากกลัวว่าจะก่อให้เกิดอุปสรรค ความเสี่ยงต่อเงินทุน มักจะโยกเงินลงทุนออกไปก่อนจนกว่าจะเห็นความชัดเจน และมีเสถียรภาพมากขึ้น ปัญหาทางการเมืองยังเป็นปัญหาที่จะฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อมายังค่าเงินตามปัจจัยข้างต้นที่ได้กล่าวถึงอีกด้วย

4.ปัจจัยการค้าและกระแสเงินทุน ในส่วนนี้ ควรแยกพิจารณา ว่าระหว่างรายได้จากการค้าระหว่างประเทศ กับกระแสเงินทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุน มีผลต่อปริมาณกระแสเงินทุนไหลเข้าออกของประเทศมากน้อยแค่ไหน และอะไรมีผลมากกว่า เพราะทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนจะการเคลื่อนไหวไปตามผลกระทบนั้นมากกว่า

5.ปัจจัยการควบรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยที่สุดในการตัดสินใจทิศทางค่าเงินในระยะยาว มีประสิทธิภาพมากสำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินในระยะสั้น เนื่องจากเมื่อมีบริษัทในประเทศหนึ่ง จะซื้อสินทรัพย์ของบริษัทในอีกประเทศหนึ่ง ก็จะมีความจำเป็นที่ต้องแลกเงินเป็นสกุลเงินนั้นเพื่อใช้ในการชำระสินทรัพย์ดังกล่าว จากเหตุการณ์นี้จะทำให้ตลาดคาดการณ์ความผันผวนในระยะสั้นได้ว่า ค่าเงินสกุลที่เป็นที่ต้องการจะปรับตัวแข็งค่า

...คำถาม...?? Question

ข้อที่ 1 จากสูตร เป็นสูตรของทฤษฎีอะไรแล้วในทฤษฎีดังกล่าวนั้นมีนิยามของทฤษฎีว่าอย่างไร

คำตอบข้อที่ 1 เป็นสูตรของ ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาค (The Interest Rate Parity) ซึ่งทฤษฎีกล่าวไว้ว่า “เปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซ็นต์ส่วนเพิ่มหรือส่วนลด (Forward Premium/Discount) ของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินสองสกุลนั้น แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม”

ข้อที่ 2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีอะไรบ้างยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 3 ข้อ

คำตอบข้อที่ 2 การเปลี่ยนแปลงในอัตราเงินเฟ้อโดยเปรียบเทียบ (Relative Inflation Rates) การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยเปรียบเทียบ (Relative Interest Rates) การเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้เปรียบเทียบ (Relative Income Levels) การควบคุมของรัฐบาล (Government Control) ความคาดหวัง (Expectations) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ (Interaction of Factors)