การอำนวยความเป็นธรรม ในหน้าที่ของฝ่ายปกครอง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Advertisements

น.พ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ปทุมธานี นางปลื้มจิตต์ เนี้ยวคงศักดิ์ นายอารัต เมืองจร
2 ตาม พ. ร. บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ. ศ ******************* กำหนดให้ อ. ก. พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณากำหนดตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ที่
โดย... กอง บริหารงาน บุคคล วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ. ศ ณ ห้อง ประชุมสภาชั้น 4 อาคารทีปวิชญ์
การออกคำสั่งทางปกครอง
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การคืนเงินให้แก่นายจ้าง หรือ ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่น ในกรณีเงิน ที่รับไว้เป็นเงินไม่พึงชำระแก่กองทุน.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีสาขาระดับอำเภอ 6 สาขา
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
นางหทัยรัตน์ หงษ์ทอง ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหาร และพิธีการบิน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การคุ้มครองพยานในคดีอาญา ตาม พรบ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา.
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
(มีผลใช้บังคับวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗)
กลุ่มเกษตรกร.
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
กระบวนการดำเนินการทางวินัย
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
อำนาจอธิปไตย 1.
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 ธันวาคม 2561
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ. ศ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
(สนง. ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ)
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
อภิรัฐธรรมนูญไทย.
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อำนาจสืบสวน สอบสวน (มาตรา 17-21)
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ********************
จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
การปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบัน
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
การขับเคลื่อน การจัดทำแผนการพัฒนากำลังคน รายจังหวัด
วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ตุลาคม 2561
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การอำนวยความเป็นธรรม ในหน้าที่ของฝ่ายปกครอง กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท วันที่ 20 มกราคม 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. โดย ร.ต.ต.หญิง สายสุนี ยมานันท์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญา ส่วนการสอบสวนคดีอาญา สำนักการสอบสวนและนิติการ

กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ. ศ กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ.ศ. 2554 กำหนดให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองมีอำนาจในการสอบสวนความผิดอาญาตามกฎหมายดังต่อไปนี้ได้ กฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย กฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ 11. กฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย 12. กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน 13. กฎหมายว่าด้วยยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน 14. กฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ 15. กฎหมายว่าด้วยโรงแรม 16. กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ 17. กฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ 18. กฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน 19. กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน

กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ. ศ กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. เหตุผลการออกกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ.ศ. 2554 คือ (1) ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.18 ที่ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่และปลัดอำเภอมีอำนาจ ในการสอบสวนความผิดอาญาในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร (2) ให้สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในการรักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความเป็นธรรม (3) ให้การบังคับใช้กฎหมายตามภารกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ทำการสอบสวนความผิดอาญา บางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร รวมทั้งทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ

2. กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 1 พ. ศ 2. กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 17 มิถุนายน 2554 และกำหนดให้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

3. เหตุผลที่กฎกระทรวงฯ ปี 2554 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มี 3 ประการ คือ (1) ให้กรมการปกครองมีเวลาเตรียมความพร้อมในด้านอัตรากำลังพนักงานสอบสวน (2) ให้กรมการปกครองมีเวลาเตรียมความพร้อมด้านการจัดระบบการบริหารงานคดี การพัฒนาองค์ความรู้ และหลักเกณฑ์การสอบสวน (3) ให้กรมการปกครองมีเวลาเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบสวน ยานพาหนะ และสมาชิก อส. ในการนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานอัยการ เพื่อฟ้องศาล รวมทั้งการตั้งงบประมาณสนับสนุนจังหวัดและอำเภอ

4. กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 2 พ. ศ 4. กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ได้ยกเลิกความผิดทางอาญาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ พ.ศ. 2554 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย การพนัน กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

5. เหตุผลในการออกกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 2 พ 5. เหตุผลในการออกกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนคดีอาญาบางประเภทฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 คือ (1) โดยที่ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน มีสถิติการเกิดคดีสูง ซึ่งเกี่ยวกันกับอาชญากรรมร้ายแรง สมควรแก้ไขให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสอบสวนในความผิดดังกล่าว (2) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ควบคุมผู้ต้องหา สมควรแก้ไข โดยกำหนดข้อยกเว้นให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองมอบตัวผู้ต้องหาฝากควบคุมไว้ ณ สถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่ทำการของพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองตั้งอยู่และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการควบคุมไว้

6. ในกรณีการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมาย 16 ฉบับ เป็นการกระทำกรรมเดียว ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ถ้าความผิดอาญาตามกฎหมาย 16 ฉบับ เป็นความผิดที่มีโทษหนักที่สุด ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำการสอบสวนการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายนั้นด้วย

7. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอผู้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือ ที่ว่าการอำเภอ เป็นพนักงานสอบสวนสำหรับกิ่งอำเภอหรืออำเภอนั้น

8. ให้ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือนายอำเภอ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามมาตรา 18 วรรคสี่ และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 140 แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา

9.ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย จะเข้ามาเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามมาตรา 18 วรรคสี่ และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามมาตรา 140 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในคดีใดคดีหนึ่งที่อยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอหรืออำเภอที่อยู่ในจังหวัดนั้นก็ได้

10. ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจขอให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองในสังกัดกรมการปกครองไปร่วมสอบสวนในคดีใด คดีหนึ่งที่อยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอ อำเภอ หรือจังหวัดก็ได้

11. ในกรณีจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจประสานขอให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดแต่งตั้งพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในจังหวัดนั้น เข้าทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองในท้องที่กิ่งอำเภอ อำเภอ หรือจังหวัดก็ได้

12. ในการสอบสวนโดยปกติ ให้ใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอ หรือศาลากลางจังหวัดที่มีอยู่ในเขตท้องที่กิ่งอำเภอ อำเภอ หรือจังหวัดนั้น แล้วแต่กรณี เป็นสถานที่ทำการสอบสวน

13. เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จะไปทำการสอบสวนที่ใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ให้บันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย

14. ในกรณีจำเป็นจะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ในระหว่าง การสอบสวน ให้ควบคุมไว้ ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง เว้นแต่ไม่มีสถานที่ควบคุมเช่นว่านั้น ให้ฝากควบคุมไว้ ณ สถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่ทำการของพนักงานสอบสวน ฝ่ายปกครองตั้งอยู่

15. การสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์ การปล่อยชั่วคราวของสำนักงานอัยการสูงสุด และหลักเกณฑ์ การปล่อยชั่วคราวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้

16. พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองอาจกันผู้ต้องหาซึ่งไม่ใช่ตัวการสำคัญ ไว้เป็นพยานได้ในกรณีดังนี้ (1) เป็นคดีที่มีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคน และเป็นคดีที่พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองได้พยายามสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐานอย่างเต็มความสามารถแล้ว (2) แต่ไม่อาจหาพยานหลักฐานในคดีนั้นได้ (3) หรือพยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมด หรือบางส่วนได้

17. แนวทางการกันผู้ต้องหาซึ่งมิใช่ตัวการสำคัญไว้เป็นพยาน (1) ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองทำความเห็นโดยระบุเหตุผลและความจำเป็น เพื่อขออนุญาตต่อหัวหน้าพนักงานสอบสวนและผู้ว่าราชการจังหวัดตามลำดับ (2) กรณีที่ว่าราชการจังหวัดเห็นควรอนุญาต ให้ทำหนังสือเพื่อขอความเห็นจากพนักงานอัยการก่อนจะที่จะพิจารณาอนุญาต (3) กรณีพนักงานอัยการให้ความเห็นว่าควรอนุญาต ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน และให้สรุปสำนวนมีความเห็นควร สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น

18. เมื่อพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเห็นว่าการสอบสวน เสร็จแล้ว ให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็นต่อหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยมิชักช้า (2) ให้หัวหน้าพนักงานสอบสอบสวนสรุปสำนวนทำความเห็นเสนออัยการเห็นควร “สั่งฟ้อง” “สั่งไม่ฟ้อง” หรือ “เห็นควรงดการสอบสวน”

19. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ดำเนินการ ดังนี้ (1) ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี และได้สืบสวนสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ งดการสอบสวนและบันทึกเหตุที่งดไว้ (2) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี และได้สืบสวนสอบสวนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทำความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน (3) ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยบันทึกที่งดการสอบสวนหรือความเห็นที่ควรให้งดการสอบสอบ แล้วแต่กรณี ไปยังพนักงานอัยการ

20. ผู้มีอำนาจควบคุม ตรวจตรา หรือแนะนำเพื่อให้การสอบสวนเป็นไปตามกฎหมาย ในส่วนกลาง คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง รองอธิบดีกรมการปกครอง ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ ผู้อำนวยการส่วนและหัวหน้ากลุ่มงานในสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ในระดับจังหวัด คือ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายปกครองตั้งแต่ปลัดจังหวัดขึ้นไป

21. ในคดีอาญาใดที่ได้ดำเนินการสอบสวนไปก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2520 จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

22. ผู้มีอำนาจในการออกกฎกระทรวงฯ คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับนี้เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ 2 หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจชาตินั้นเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ฉะนั้น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจในการออกกฎกระทรวงและลงนามในท้ายกฎกระทรวงดังกล่าว

ขอบคุณค่ะ