การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 161211 Learning Management and Classroom Management วิทยาลัยการศึกษา, สาขาวิชาการศึกษา
พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning)หรือพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีทางปัญญา
Behaviorism Pavlov Skinner Thorndike Operant Behavior Respondent Behavior Pavlov Behaviorism Skinner Operant Behavior Thorndike
พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) Ivan Pavlov
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค นักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ใน ที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
I van Pavlov การนำหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟไปใช้ในการเรียนการสอน ก. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) ความแตกต่างทางด้านอารมณ์ผู้เรียนตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ครูต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ของผู้เรียนว่า จะสร้างอารมณ์ให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยการสนใจที่จะเรียนได้อย่างไร ข. การวางเงื่อนไข (Conditioning) การวางเงื่อนไขเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียน หรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนหรือแม้แต่ตัวครูได้ ค. การลบพฤติกรรม ที่วางเงื่อนไข (Extinction) ผู้เรียน ที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวครู เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ครูทำโทษเขา ง. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง (Generalization และ Discrimination) คือ อาจเป็นในด้านที่เป็นโทษและเป็นคุณ ในด้านที่เป็นโทษ เช่น การที่นักเรียนเกลียดครูสตรีคนใดคนหนึ่งแล้วก็จะเกลียดครูสตรีหมดทุกคน เป็นต้น ถ้าหากนักเรียนเกิดการสรุปความเหมือนในแง่ลบนี้แล้ว ครูจะหาทางลดให้ CR อันเป็นการสรุป กฎเกณฑ์ที่ผิด ๆ หายไป ส่วนในด้านที่เป็นคุณนั้น ครูควรส่งเสริมให้มาก นักเรียนมีโอกาสพบ สิ่งเร้าใหม่ ๆ เพื่อ จะได้ใช้ความรู้และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางมากขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) ทฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์
ท ฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์ 1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/พฤติกรรมนิยม(Conditioning or Behaviorism ความสัมพันธ์สิ่งเร้า กับ การตอบสนอง (stimulus-response association) 1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์ (S-R Bond or Thorndike’s Connectionism) หลักการเรียนรู้ : การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
การทดลอง ธอร์นไดค์นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
ท ฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์ กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมองกล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
ฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์ ท ฤษฎีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองของธอร์นไดค์ 2. กฎแห่งการฝึกหัด(Law o f Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำๆบ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง 3. กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect) กฎนี้เป็นผลทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้หรือสิ่งเชื่อมโยงแข็งมั่นคง หรือกล่าวว่า หากอินทรีย์ได้รับความพอใจจากผลการทำกิจกรรม ก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้อินทรีย์อยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นอีก ในทางตรงข้ามหากอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้ ที่มา: http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/tar/pages/operent/thorndike.htm
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) B.F. Skinner
ฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory) ท ฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์กับการจัดการเรียนรู้ของครู 1. ควรเสริมในพฤติกรรมที่แสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วโดยตอนแรกๆควรจะให้แรงเสริมทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนา ต่อมาจึงค่อยใช้แรงเสริมเป็นครั้งคราวและจะต้องระวังมาให้แรงเสริมเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 2. การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) คือ การปรุงแต่งพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
3. บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรม (Program Learning) การให้แรงเสริมของสกินเนอร์ที่ว่า เมื่อผู้เรียนทำถูกจะได้รางวัลทันที มีผลให้เกิดบทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) ขึ้น ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้ 4. การปรับพฤติกรรม คือ ทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน สรุปทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทะของสกินเนอร์เป็นหลักการที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยการให้สิ่งเร้าที่เป็นตัวเสริมแรง หลังจากที่ได้มีการกระทำตามเงื่อนไขแล้ว การเสริมแรงทุกครั้งจะมีส่วนช่วยทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆของอินทรีย์มีอันตราการตอบสนองที่เข้มข้นขึ้น
พฤติกรรมนิยมรุ่นใหม่ (Neo- Behaviorism) ทฤษฎีการเสริมแรงของฮัลล์ (Hull’s Reinforcement Theory ) เน้นปริมากกว่าคุณภาพ ตั้งอยู่บนฐานกฎแห่งความอยู่รอดของดาร์วิน คือ อินทร์ย์ต้องต่อสู่เพื่อความอยู่รอดโดยการปรับตัว เป็นทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant Conditioning) หรือการวางเงื่อนไขชนิดที่มีการเสริมแรง (conditioning With Reinforcement) ฮัลล์เชื่อการเสริมแรง ก่อให้เกิด “นิสัย”
พฤติกรรมนิยมรุ่นใหม่ (Neo- Behaviorism) 1. การเสริมแรงบ่อยๆ กฎการเรียนรู้ของฮัลล์ 2. สิ่งเร้าส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่พอดีกับสมอง 3. พฤติกรรมเป็นการแสดงออกเพื่อความอยู่รอด จึงมีการปรับตัวให้สามารถใช้ได้ในสถานการณ์นั้นๆ ได้ 4. การกระทำที่มีความเข้มข้น ครูจึงควรจัดลำดับเนื้อหาจากน้อยไปหามาก 5. ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดลงในช่วงเวลาระหว่างการตอบสนองกับการเสริมแรง ดังนั้นการเรียนต้องใช้เวลายาวนาน 6. การให้จดจำ ทำได้โดยการให้หยุดพักระยะหนึ่ง เรียนระยะสั้นได้ผลดีกว่าการเรียนที่ใช้เวลายาวนาน