นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29 นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29 นางสาวสรญา ศักดิ์คำ เลขที่ 33 โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ (สัตวบาล) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กีบโค 1. ผนังกีบ เป็นส่วนที่แข็งที่สุด 2. พื้นกีบ เป็นส่วนที่มีความแข็งรองจากผนังกีบ 3. ส้นกีบ เป็นส่วนที่อยู่ด้านท้ายของกีบ มีความแข็งน้อย ค่อนข้างนุ่ม 4. ซอกกีบ (หรือง่ามกีบ) เป็นส่วนรอยต่อเชื่อมระหว่าง กีบเท้าด้านนอกและกีบเท้า ด้านในของลำตัว 5. ไรกีบ เป็นส่วนรอยต่อ ระหว่างผิวหนังของขากับผนังกีบ เป็นจุดเริ่มแรกในการสร้างผนังกีบออกมา
กีบเท้า ต้องรับน้ำหนักตัวแม่โคตลอดเวลา ทั้งในช่วงยืนพัก และช่วงก้าวเดิน น้ำหนักตัวที่ผ่านลงไปยังกระดูก นิ้วเท้าของ กีบ จะกดกระแทกเนื้อเยื่อสร้างกีบที่ห่อหุ้มกระดูกนิ้วเท้าอยู่ ตลอดเวลาเช่นกัน เนื้อเยื่อสร้างกีบ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเนื้อกีบให้ หนาขึ้นและยาวขึ้น อาจจะได้รับอันตรายได้ ถ้ากีบเท้ามีรูปร่าง ลักษณะผิดปกติไป
ปัญหาความผิดปกติของกีบเท้าโค ส่วนมากจะเกิดกับขาคู่ หลัง ในแต่ละขาซึ่งประกอบด้วยกีบคู่ คือ กีบนอก (กีบด้าน นอกลำตัว) และกีบใน (กีบด้านในลำตัว) โดยปกติแล้วถ้าหาก กีบเท้ามีลักษณะรูปร่างปกติดี สมบูรณ์ และแข็งแรง แม่โค สามารถยืนได้ตรง แต่ถ้าหากกีบนอกของแต่ละขามีความหนา มากขึ้น ก็จะทำให้การยืนของ ขาคู่หลังถ่างออกหรือข้อเข่าบิด เข้าหากัน ความผิดปกติเช่นนี้ เป็นการปรับตัวของแม่โคแบบ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นภายในกีบเท้า
ปัญหากีบมีรูปทรงผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นปัญหาทั่วไป จำเป็นที่ผู้เลี้ยงโคนมต้องเข้าใจและหมั่นสังเกต การยืนการเดินของแม่โคทุกตัวในฟาร์มของตน หากพบว่ากีบมีความยาวหรือความหนาเพิ่มขึ้นผิดสังเกตแล้ว ก็ควรที่จะดำเนินการตัดแต่งกีบโคให้เข้าลักษณะที่ปกติ และควรสังเกตและแก้ไขเป็นระยะ ๆ
สรุปแล้ว อาจมีผลต่อการเกิดโรคกีบในโคนมลูกผสมขาวดำโรคกีบ เกิดมากขึ้นในโคนมที่มีอายุมากขึ้น , โคนมลูกผสมขาวดำในช่วงอายุ 5 ปีแรกเป็นโรคกีบชนิดแผลซอกกีบแผลหลุมพื้นกีบ และพื้นกีบฟกช้ำมากที่สุด และหลังจากนั้นจนถึงอายุ 7 ปีครึ่ง มีปัญหาพื้นกีบงอกซ้อนกันเกิดเพิ่มขึ้นด้วย และมีแนวโน้มว่าโคนมที่มีระดับสายเลือดขาวดำ 75%ขึ้นไปมีปัญหาโรคกีบมากกว่ากลุ่มที่มีระดับสายเลือดขาวดำต่ำกว่า 75%
จบการนำเสนอ ใครสงสัย ????