ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

แนวทางการบริหารงบประมาณ
เป็นการนำความรู้ด้าน Microsoft Excel ที่มีความพิเศษตรงที่สามารถ กำหนดสูตรการคำนวณในแต่ละเซลล์ ของ Sheet งานนั้นๆได้ โดยอาศัย ความแม่นยำในการคีย์ข้อมูลเข้าไป.
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
การถอดประกอบชุดกลไกลิ้นของเครื่องยนต์
ระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ (Engine lgnition System)
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ชุมชนปลอดภัย.
บัญญัติ 10 ประการ เพื่อการขับรถประหยัดเชื้อเพลิง
Gas Turbine Power Plant
เครื่องวัดความถี่ไฟฟ้า Frequency Meter
เครื่องยนต์ เครื่องยนต์.
องค์ประกอบและเทคนิคการทำงาน
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
ระดับความเสี่ยง (QQR)
คุณลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
DC Voltmeter.
จากรูปที่ 13.3 ที่เวลา เมื่อไม่มีสัญญาณที่อินพุตทรานซิสเตอร์ จะไม่ทำงานและอยู่ในสภาวะ OFF คาปาซิเตอร์ C จะเก็บประจุเพื่อให้แรงดันตกคร่อมมีค่าสูง ทำให้มีกระแสไหลผ่าน.
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
เครื่องมือช่างยนต์ (Auto Mechanic hand tools)
โครงสร้างของเครื่องยนต์
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ระบบดับเพลิง และการตั้งกระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน และถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก ไว้ในอาคารเก็บน้ำมันโดยเฉพาะที่มีระบบดับเพลิง พ.ศ.
นางสาวอิศกฤตา โลหพรหม ผู้นำเสนอ นางสาวปาริชาด สุริยะวงศ์
การอนุรักษ์พลังงานในระบบอัดอากาศ
Basic Input Output System
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
เพื่อพัฒนาพลังงานรองรับวิกฤตการณ์พลังงานของประเทศ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
แผนที่อากาศและแนวปะทะอากาศ
เรื่อง อันตรายของเสียง
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นระบบระบายอากาศ
World Time อาจารย์สอง Satit UP
ระบบทำความเย็น.
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ได้กล่าวว่า..."ความเชื่อเปลี่ยนแปลงได้เสมอ   แต่ความจริงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้" 
การแข่งขันทักษะวิชาชีพครั้งที่ 31
เครื่องบันทึกและถอดข้อความ
พนักงานขับรถยกด้วยความปลอดภัย
เค้าท์ นิโครลาส ออตโต ที่มา มนุษย์ได้คิดค้นและประดิษฐ์ยานพาหนะ ทางบกที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยกำลัง งานของตัวเอง มาเป็นระยะเวลานานแล้ว.
SMS News Distribute Service
กฎหมายเอกเทศสัญญา 1 อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 13.
ตัวชี้วัดที่ 5 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดน้ำ
การหักเหของแสง การหักเหของแสง คือ การที่แสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งที่มีความหนาแน่นต่างกันจะทำให้แสงมีความเร็วต่างกันส่งผลให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไป.
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
การทดลองหาค่าความแน่นของดินที่มีเม็ดผ่านตะแกรงขนาด 19.0 มม. 1 เติมทรายลงในขวดซึ่งประกอบเข้ากับกรวยเรียบร้อย แล้วให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งาน.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
หมวดที่ 4 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
นวัตกรรมทางการพยาบาล “FIFO cautery box”
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
ความช้าเร็ว ที่เกิดของวิปัสสนา
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
การทำงานของวาล์วแปรผันในเครื่องยนต์บลูคอร์ (Variable Valve Actuation)
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
บทที่ 5 พัลส์เทคนิค
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การวิเคราะห์สถานะคงตัวของ วงจรที่ใช้คลื่นรูปไซน์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

หน้าที่หลักของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศและน้ำมัน เชื้อเพลิงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไอดี” เข้าไปในกระบอกสูบ สำหรับสวน ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน คือ คาร์บูเรเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงใน อัตราส่วนที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ คือ 15 : 1

วงจรน้ำมันเชื้อเพลิง

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล จะอาศัยปั๊มฉีดน้ำมัน เชื้อเพลิงเป็นตัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับหัวฉีดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันให้ เป็นฝอยละออง เพื่อส่งเข้าไปในกระบอกสูบ แต่การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลจะ ดีก็ต่อเมื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ เริ่มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวะและเวลาที่ถูกต้องในทุก ๆ ครั้ง ปรับปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะกับภาระ และความเร็วของรถยนต์ หัวฉีดจะต้องฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละออง การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องกระจายทั่วทั้งห้องเผาไหม้

ส่วนประกอบของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน จะประกอบด้วย อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1 ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel tank) 2 กรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel filter) 3 ท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel lines) 4 คาร์บูเรเตอร์ ( Carburetor) 5 ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel pump) 6 เกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel gauge)

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel tank) ถังน้ำมันเชื้อเพลิงทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายน้ำมัน เชื้อเพลิง โดยปกติแล้วถังน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกติดตั้งอยู่ส่วนหลังหรือ ส่วนท้ายใต้เบาะนั่งของรถยนต์ การติดตั้งถังน้ำมันให้อยู่ห่างจาก เครื่องยนต์ ก็เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา

ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel pump) ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ทำหน้าที่ส่ง จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงนี้จะ ไหลผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อดักฝุ่นละอองที่ปนมากับ น้ำมันเชื้อเพลิง ก่อนที่จะส่งเข้าไปยังคาร์บูเรเตอร์ ปั๊มน้ำมัน เชื้อเพลิงสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1.ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใช้กลไก (เม๊กคามิคอล ปั๊ม) 2.ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใช้ไฟฟ้า (Electrical pump)

กรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel filter) กรองน้ำมันเชื้อเพลิงจะติดตั้งอยู่ระหว่างคาร์บูเรเตอร์กับปั๊มน้ำมัน เชื้อเพลิง ซึ่งจะทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น ทราย เศษผง และเศษโลหะ เป็นต้น เพื่อทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีความสะอาด ก่อนที่จะส่งไปยังคาร์บูเรเตอร์ ถ้ามีสิ่งสกปรกปะปนเข้าไปกับน้ำมันเชื้อเพลิง จะทำให้การจ่ายน้ำมัน เชื้อเพลิงไม่เป็นไปตามปกติ และจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ

ท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel lines) สวิตช์จุดระเบิดเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสวิตช์กุญแจทำหน้าที่ตัดและต่อ กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบจุดระเบิด สวิตช์จุด ระเบิดมีอยู่หลายแบบที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ขั้ว คือ 1.ขั้ว B ขั้วนี้จะเป็นขั้วที่รับกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (ขั้วบวก +) 2.ขั้ว IG ขั้วนี้จะไปที่ขั้ว + ของคอยล์จุดระเบิด และต่อไปยังอุปกรณ์อื่นๆ อีก เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบไฟสัญญาณ วิทยุ – เทป เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ เป็นต้น

คาร์บูเรเตอร์ ( Carburetor) คาร์บูเรเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากชิ้นหนึ่งในระบบน้ำมัน เชื้อเพลิงซึ่งจะทำหน้าที่ผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ได้อัตราส่วนที่ ถูกต้องและเหมาะสมกับเครื่องยนต์ เพื่อส่งเข้าไปยังห้องเผาไหม้ภายใน กระบอกสูบ ให้เหมาะสมกับความเร็วรอบและภาระของเครื่องยนต์

เกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuelgauge) เกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิงจะทำหน้าที่ วัด และบอกระดับของปริมาณ น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในถัง

ประเภทของคาร์บูเรเตอร์ 1. คาร์บูเรเตอร์ประเภทสุญญากาศไม่คงที่ จะมีช่องคอคอดตายตัวไม่สามารเปลี่ยนขนาดได้ฉะนั้นสุญญากาศที่เกิดขึ้นบริเวณคอคอด จึงต้องมีมากบ้างหรือน้อยบ้างทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลูกสูบ เพราะฉะนั้นคาร์บูเรเตอร์แบบนี้จึงต้องจัดให้มีวงจรขึ้นหลาย ๆ วงจร เพื่อทำให้อัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อ เพลิงที่ส่งที่ส่งเข้าไปยังห้องเผาไหม้หรือภายในกระบอกสูบ ให้เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์

2. คาร์บูเรเตอร์ประเภทสุญญากาศคงที่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เอสยู คาร์บูเรเตอร์ ซึ่งเป็นคาร์บูเรเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของคอคอด (Venturi) ได้โดยจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับแรงจากการดูดของ ลูกสูบเครื่องยนต์ หรือการบังคับควบคุมด้วยมือ

หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์ เพื่อให้คาร์บูเรเตอร์แบบนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถ ควบคุมปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามความต้องการของ เครื่องยนต์จึงได้จัดแบ่งการทำงานภายในคาร์-บูเรเตอร์ออกเป็นวงจรต่าง ๆ 6 วงจรด้วยกัน คือ

เกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuelgauge) เกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิงจะทำหน้าที่ วัด และบอกระดับของปริมาณ น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในถัง

วงจรลูกลอย (Floating circuit) วงจรลูกลอย ทำหน้าที่รักษาของน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องลูกลอย ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะและคงที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะที่เครื่องยนต์ ทำงาน น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกส่งเข้าไปใช้ ทำให้ลูกลอยที่อยู่ในห้องลูกลอย ต่ำลงมาเพื่อให้เข้มลูกลอยได้ และในขณะเดียวกันนั้นลูกลอยจะค่อย ๆ ลอยสูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่งที่เข็มลูกลอยจะปิดช่องทางไม่ให้น้ำมันเข้ามา ได้ เพื่อเป็นการรักษาระดับของน้ำมันเชื้อเพลิง ในห้องลูกลอยคงที่ ตลอดเวลา เพื่อเป็นการป้องกันระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องลูกลอยมาก เกินไป ระดับน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องต่ำกว่าหัวฉีดหลัก(นมหนูหลัก) ประมาณ 2-5 มม.

วงจรลูกลอย

วงจรเดินเบาและวงจรความเร็วต่ำ (Idle and Low speed circuit ) วงจรเดินเบาทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่เครื่องยนต์เดินเบาอยู่กับที่ในขณะที่ลิ้นเร่ง (ทอสเทิล วาล์ว : Thorttle valve) ปิด (ไม่ได้เหยียบคันเร่ง) ดังนั้นจะไม่มีแรงดูดเหนือลิ้นเร่ง แต่อากาศจะ ถูกดูดผ่านช่องอากาศ และในขณะเดียวกันก็ดูดเอาน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาจาก ห้องลูกลอยผ่านนมหนูเดินเบา ผสมกันในช่องอากาศแล้วผ่านมายังตอนล่าง และไหลออกมาด้านช่องเดินเบา (ไอเดิล พอร์ท : Idle port) เพียงรูเดียว ดังนั้นเครื่องยนต์จะได้รับอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงส่วน เดียว ตามปริมาณที่พอเหมาะกับความเร็วรอบไม่เกิน 600 รอบ / นาที ของ เครื่องยนต์เท่านั้น

วงจรเดินเบา

วงจรความเร็วสูง (High speed circuit) วงจรความเร็วสูง ทำหน้าที่จ่ายส่วนผสมของกับน้ำมันเชื้อเพลิงใน ขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วสูงขึ้น และมีความต้องการส่วนผสมของอากาศ กับน้ำมัน เชื้อเพลิงเพิ่มเติมมากขึ้น นั่นก็คือถ้าเราเหยียบคันเร่งจะทำให้ลิ้น เร่งปิดกว้างขึ้น อากาศจำนวนมากก็จะถูกฤดูผ่านช่องคอคอด มากขึ้น เป็น ผลทำให้ทำให้การเปิดให้น้ำมันเชื้อเพลิงจากห้องลูกลอยผ่านนมหนูหลัก ออกมาปะทะกับความเร็วของอากาศ ทำให้เกิดการกระจายเป็นฝอยละอองเข้า ไปยังห้องเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ

สรุป ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เป็นระบบที่มีความสำคัญ มากเป็นระบบที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องยนต์ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน กับเครื่องยนต์ดีเซล มีระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันออกไป เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปผสมกับอากาศที่ คาร์บูเรเตอร์แล้วจ่ายเข้าไปในห้องเผ่าไหม้ ในจังหวะดูด ส่วนเครื่องยนต์ ดีเซลจะจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านปั๊มแรงดันสูงเพื่อสร้างแรงดันแล้วส่งไปที่ หัวฉีด ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบในจังหวะระเบิด