คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา Flowchart คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
วัตถุประสงค์ ความหมายและวิธีการสร้างอัลกอริทึม (Algorithm) ผังงาน (Flowchart) และการสร้างผังงาน การคำนวณและลำดับการคำนวณ
Algorithm กลุ่มของขั้นตอน หรือ กฎเกณฑ์ ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหาได้ ขั้นตอนวิธี ซึ่งอธิบายว่างานนั้นๆ ทำอย่างไร ประกอบไปด้วยชุดลำดับเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนจบ จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ตามต้องการ
ตัวอย่าง Algorithm 1 ปัญหาอัลกอริทึม ล้างรถ ขั้นตอนอัลกอริทึม ฉีดน้ำล้างรถให้ทั่วเพื่อขจัดฝุ่นและเศษดินทรายต่างๆ ออก ผสมแชมพูล้างรถ 1 ฝาต่อน้ำครึ่งถัง นำฟองสบู่ชุบน้ำแชมพูเช็ดทำความสะอาดให้ทั่ว ฉีดน้ำล้างให้สะอาด ใช้ผ้านุ่มๆ หรือ ผ้าชามัวร์ที่สะอาดเช็ดให้แห้ง
ตัวอย่าง Algorithm 2 ปัญหาอัลกอริทึม การเคลือบสีรถ ขั้นตอนอัลกอริทึม ล้างรถ (นำอัลกอริทึมการล้างรถมาใช้) นำฟองน้ำจุ่มน้ำยาเคลือบสีรถ ป้ายบนตัวถังรถด้วยการวนเป็นก้นหอยให้ทั่วตัวถังรถ ปล่อยให้แห้งสักพักหนึ่ง เช็ดด้วยผ้านุ่มๆ ที่สะอาด
ตัวอย่าง Algorithm 3 ปัญหาอัลกอริทึม การแสดงเลขคู่ 1 ถึง 20 ขั้นตอนอัลกอริทึม กำหนดให้ num มีค่าเท่ากับ 1 กำหนดให้ ans = num MOD 2 ถ้าคำตอบของ ans เท่ากับศูนย์ ให้แสดงค่า num ทางจอภาพ ตรวจสอบค่า num ถ้าค่า num <> 20 ให้ num = num +1 ไปทำขั้นตอนที่ 2 ถ้าค่า num = 20 จบการทำงาน
ตัวอย่าง Algorithm 4 ปัญหาอัลกอริทึม การชงกาแฟ ขั้นตอนอัลกอริทึม 1. เตรียมถ้วยกาแฟ 2. ใส่กาแฟสำเร็จรูป 2 ช้อน 3. ใส่ครีม 2 ช้อน 4. ใส่น้ำตาล 2 ก้อน 5. ใส่น้ำร้อน 3/4 ของแก้ว 6. คนให้เข้ากัน 7. เสิร์ฟ 8. หยุด
วิธีการสร้าง Algorithm การบรรยาย (Narrative Description) การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) การเขียนผังงาน (Flowchart)
วิธีการสร้าง Algorithm การบรรยาย (Narrative Description) เป็นวิธีเขียนอัลกอริทึมโดยการใช้คำพูดบรรยายเป็นตัวอักษร วิธีนี้ง่ายสำหรับผู้เขียน แต่ยากในการนำไปปฏิบัติ เนื่องจากขอบเขตของการบรรยายอาจกว้าง ยืดเยื้อ
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นรหัสคำสั่งที่ไม่ใช่คำสั่งภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เป็นชุดคำสั่งที่เขียนเพื่อเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างคำสั่งควบคุมของโปรแกรมภาษานั้นต่อไป
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เครื่องหมายหรือคำสั่งที่นิยมใช้ในรหัสจำลอง มักประกอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้ เช่น BEGIN…END, REPEAT, DO…UNTIL, WHILE…DO, IF…THEN…ELSE…, FOR, LOOP
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เช่น การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 num 1 num 0 do sum sum + num num num+1 until(num>100) การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เช่น การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 num 1 num 0 do sum sum + num num num+1 until(num>100)
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) ALGORITHM PROBLEM 1 Input Test Score1 Input Test Score2 Input Test Score3 Add Test Score1+Test Score2 +Test Score3 Divide total sum by 3 Print result of division END PROBLEM1
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนผังงาน (Flowchart) เป็นการนำเสนอในรูปแบบแผนภาพ ที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน ผังงานแบ่งเป็น ผังงานระบบ (System Flowchart) และ ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนผังงาน (Flowchart) หน่วยงานที่ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงาน : American National Standards Institute (ANSI) International Organization for Standardization (ISO)
วิธีการสร้าง Algorithm ประโยชน์ของการเขียนผังงาน (Flowchart) ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบไม่สับสน เป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
วิธีการสร้าง Algorithm การเขียนผังงานที่ดี (Flowchart) คำอธิบาย (Comments) ควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย มีลูกศรแสดงทิศทางชัดเจน ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า-ออก หากไกลกันมาก ควรใช้จุดเชื่อมต่อแทน (Connection)
ผังงาน (Flowchart) ผังงานระบบ (System Flowchart) เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักๆ โดย แสดงถึงตัวงานหลักที่ต้องทำในระบบ ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างงานหรือขั้นตอนต่างๆ ในระบบว่ามีกิจกรรมอะไรและมีความเกี่ยวข้องอย่างไร แต่ไม่แสดงรายละเอียดว่างานนั้นทำอย่างไร
ผังงานระบบ (System Flowchart) ฐานข้อมูลพนักงาน input คำนวณเงินเดือน process พิมพ์เช็ค output
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ โดยละเอียด ทุกขั้นตอน ทำให้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจหรือสื่อสารระหว่างกันได้
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) เริ่มต้น อ่านค่า รหัสพนักงาน ชั่วโมงการทำงาน อัตราค่าแรง ใช่ เงินเดือน = ((ชั่วโมงการทำงาน-160) 1.5 อัตราค่าแรง) + (160 อัตราค่าแรง) ชั่วโมง การทำงาน > 160 ไม่ใช่ เงินเดือน = ชั่วโมงการทำงาน * อัตราค่าแรง แสดง รหัสพนักงาน และเงินเดือน ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) จบ
ผังงาน (Flowchart) หลักเกณฑ์การเขียนผังงาน สัญลักษณ์ที่ใช้อาจมีขนาดต่าง ๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปร่างเป็นสัดส่วนตามมาตรฐาน ทิศทางของลูกศรในผังงาน ควรจะมีทิศทางจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวาเสมอ ผังงานควรมีความเรียบร้อย สะอาด พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนลูกศรที่ทำให้เกิดจุดตัดเพราะจะทำให้ผังงานอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก และถ้าในผังงานมีการเขียนข้อความอธิบายใดๆ ควรทำให้สั้นกะทัดรัดและได้ใจความ
สัญลักษณ์การเขียนผังงาน (Flowchart) แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์การประมวลผล PROCESS เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนการประมวลผล ประกอบไปด้วยกลุ่มคำสั่งโปรแกรมเพื่อแสดงกระบวนการทำงานหรือฟังก์ชันการทำงานต่างๆ
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์การประมวลผล
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์คำอธิบายเพิ่มเติม Comment เป็นสัญลักษณ์ใช้สำหรับบรรยายคำอธิบายหรือหมายเหตุเพิ่มเติม เพื่อสื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์คำอธิบายเพิ่มเติม
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์อินพุต/เอาท์พุต INPUT / OUTPUT เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการนำข้อมูลหรือการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล โดยไม่มีการระบุอุปกรณ์ที่ชัดเจนลงไป
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์อินพุต/เอาท์พุต
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ Connect เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาใช้แทนจุดเชื่อมโยงของแผนภาพในหน้าเดียวกัน
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์แทนการเชื่อมโยงต่อเนื่องอีกหน้าหนึ่ง Off-page Connector เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาใช้แทนจุดเชื่อมโยงของแผนภาพจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์แทนการเชื่อมโยงต่อเนื่องอีกหน้าหนึ่ง
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์เส้นทิศทาง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของแผนภาพ
สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ Document เป็นสัญลักษณ์เพื่อส่งเอาท์พุตหรือรายงานออกทางเครื่องพิมพ์
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์เทปแม่เหล็ก Magnetic tape เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อจัดเก็บข้อมูลแบบเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นได้ทั้งอินพุตและเอาท์พุต
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ Online Storage เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง เช่น ดิสก์ ดรัมแม่เหล็กซึ่งข้อมูลอาจจัดเก็บลงบนสื่อในลักษณะเอาท์พุต หรืออาจเรียกข้อมูลจากสื่อดังกล่าวมาใช้งานก็ได้ โดยคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บได้โดยตรง
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบดิสก์ Magnetic disk เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ในลักษณะอินพุตและเอาท์พุต
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์การรวม Merge เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการรวม เช่น การรวมไฟล์สองไฟล์เพื่อเก็บไว้อีกไฟล์หนึ่ง
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์การจัดเรียงข้อมูล Sort เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการจัดเรียงข้อมูล หรือ ชุดตัวเลข
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบออฟไลน์ Off-line Storage เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีการระบุชื่ออุปกรณ์ที่ชัดเจนลงไป
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์แสดงผลทางจอภาพ Display เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการแสดงผลข้อมูลทางจอภาพหรือเทอร์มินัล
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์อินพุตด้วยมือผ่านทางแป้นพิมพ์ Manual input เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์ประมวลผลด้วยมือ Manual Operation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการประมวลผลด้วยแรงงานมนุษย์
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์ลิงค์เพื่อการสื่อสาร เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งทั้งสองฝั่งอยู่ต่างพื้นที่ เช่น การสื่อสารทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ หรือ ดาวเทียม เป็นต้น
สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์ลิงค์เพื่อการสื่อสาร
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์การตัดสินใจ Decision เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการสร้างเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจทางเลือกที่ต้องการ
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์การตัดสินใจ
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์การทำงานเป็นรอบ Preparation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการทำงานเป็นรอบ (loop)
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์การทำงานเป็นรอบ
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์แทนกลุ่มขั้นตอนหรือโปรแกรมย่อย Predefined Process เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนชื่อกระบวนการที่ประกอบไปด้วยกลุ่มขั้นตอนโปรแกรมในโปรแกรมย่อย
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์แทนกลุ่มขั้นตอนหรือโปรแกรมย่อย
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด Terminator เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจุดเริ่มต้นของโปรแกรมและจุดสิ้นสุดของโปรแกรม
สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols) สัญลักษณ์แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด
ผังงานแบบโครงสร้าง (Structure Flowchart) ผังงานโครงสร้างมี 3 รูปแบบ คือ โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure) โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection Structure) โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure)
พื้นที่วงกลม = pi * รัศมี * รัศมี 1. โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure) เริ่มต้น “ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของผังงาน และเป็นลักษณะขั้นตอนการทำงานที่พบมากที่สุด คือทำงานทีละขั้นตอนตามลำดับ ” pi = 3.14 รับค่ารัศมีวงกลม พื้นที่วงกลม = pi * รัศมี * รัศมี แสดงพื้นที่วงกลม Flowchart การคำนวณหาพื้นที่วงกลม จบ
2. โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection Structure) เริ่มต้น “ รูปแบบที่ง่ายที่สุดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง” อ่านค่า รหัสพนักงาน ชั่วโมงการทำงาน อัตราค่าแรง เงินเดือน = ((ชั่วโมงการทำงาน-160) 1.5 อัตราค่าแรง) + (160 อัตราค่าแรง) ใช่ ชั่วโมง การทำงาน > 160 ไม่ใช่ เงินเดือน = ชั่วโมงการทำงาน * อัตราค่าแรง แสดง รหัสพนักงาน และเงินเดือน จบ
3. โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure) เริ่มต้น “ โครงสร้างนี้จะทำงานอย่างเดียวกันซ้ำไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังเป็นไปตามเงื่อนไข “ J = 1 J <= 5 ไม่ใช่ ใช่ แสดงค่า J จบ J = J+1
เครื่องมือช่วยวาดผังงาน เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการเขียนผังงาน อาจใช้เขียนด้วยมือหรือใช้โปรแกรม เช่น Microsoft Visio ก็ได้
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ กำหนดสิ่งที่โจทย์ต้องการ กำหนดรูปแบบของผลลัพธ์ (Output) กำหนดข้อมูลนำเข้า (Input) กำหนดตัวแปร ขั้นตอนการประมวลผล เขียนผังงานหรือรหัสจำลอง
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 จงคำนวณค่าแรงของพนักงานรายชั่วโมง พร้อมเงินที่ต้องจ่ายแก่พนักงานแต่ละคน และจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ต้องจ่าย
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ คำนวณค่าแรงให้กับพนักงาน และยอดเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 รูปแบบผลลัพธ์ <<PAYROLL REPORT>> ID-No. NAME HOURS RATE PAY ======================================== xxxxx xxxxxxxxx 999 999 99,999 xxxxx xxxxxxxxx 999 999 99,999 ……. …………. ….. … …….. TOTAL PAYMENT 999,999 =======
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 ข้อมูลนำเข้า รหัสพนักงาน ชื่อพนักงาน จำนวนชั่วโมงทำงาน อัตราค่าแรงต่อชั่วโมง
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 ตัวแปรที่ใช้ id_no รหัสพนักงาน name ชื่อพนักงาน ours จำนวนชั่วโมงทำงาน rate อัตราค่าแรงต่อชั่วโมง pay ค่าแรงที่จ่ายให้กับพนักงานแต่ละคน total ค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่าย
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 ขั้นตอนการประมวลผล กำหนดให้ตัวแปร pay, total มีค่าเท่ากับศูนย์ อ่านข้อมูล id_no, name, hours, rate กำหนด pay=hours*rate พิมพ์ค่า id_no, name, hours, rate, pay กำหนด total=total+pay กลับไปทำขั้นตอนที่ 2 จนจบ พิมพ์ค่า total จบการทำงาน
ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ 1 6. เขียนผังงาน
การคำนวณ และลำดับการคำนวณ นิพจน์คำนวณ (Arithmetic Expression) สัญลักษณ์ ตัวปฏิบัติการ ตัวอย่าง + การบวก A+B - การลบ A-B * การคูณ A*B / การหาร A/B ^ การยกกำลัง A^B
การคำนวณ และลำดับการคำนวณ ( ) คำนวณค่าในวงเล็บเป็นอันดับแรกเสมอ ^ คำนวณค่ายกกำลังอันดับถัดมา *, / คำนวณค่าคูณหรือหารอันดับถัดมา +, - คำนวณค่าบวกหรือลบอันดับสุดท้าย Note: ถ้าตัวดำเนินการอยู่ในลำดับเดียวกันให้ดำเนินการจากซ้ายไปขวา
ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ A+B-C/D*E ลำดับที่ 1. C/D ลำดับที่ 2. * E ลำดับที่ 3. A+B ลำดับที่ 4. -
ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ A + B – C / D * E 1 2 3 4
ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ A/(B-C)+D*E-F^2/G = ลำดับที่ 1. (B-C) ลำดับที่ 2. F^2 ลำดับที่ 3. A/ ลำดับที่ 4. D*E ลำดับที่ 5. /G ลำดับที่ 6. + ลำดับที่ 7. -
ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ A / (B-C) + D * E – F ^ 2 / G 1 2 4 3 5 6 7
ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ X / Y + A ^ 2 * (X-Y) + C 3 2 1 4 5 6
นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ 77 เป็นนิพจน์ที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบหรือการสร้างทางเลือก สัญลักษณ์ ตัวปฏิบัติการ ตัวอย่าง = เท่ากับ A = B <>, >< ไม่เท่ากับ A <> B, A >< B > มากกว่า A > B < น้อยกว่า A < B >=, => มากกว่าหรือเท่ากับ A >= B, A => B <=, =<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ A <= B, A =< B
นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ นอกจากจะมีการเปรียบเทียบเชิงปริมาณแล้วยังมีการเปรียบเทียบเชิงตรรกศาสตร์ คือ นิเสธ (NOT), และ (AND), หรือ (OR) P Q P OR Q P AND Q T F สัญลักษณ์ ตัวอย่าง NOT NOT P AND P AND Q OR P OR Q P NOT P T F
นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ 79 ตารางค่าความจริง AND หรือ สัญลักษณ์ ค่าความจริง T T จริง T F เท็จ F T F F
นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ 80 ตารางค่าความจริง OR หรือ V สัญลักษณ์ ค่าความจริง T V T จริง T V F F V T F V F เท็จ
นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ 81 ตารางค่าความจริง NOT หรือ ~ สัญลักษณ์ ค่าความจริง ~ T เท็จ ~ F จริง
ลำดับการทำงานของตรรกะ NOT จะโดยกระทำเป็นอันดับแรกเสมอ AND จะโดยกระทำเป็นอันดับต่อมา OR จะโดยกระทำเป็นอันดับสุดท้าย - เช่น A OR NOT B - เช่น NOT A AND (B OR C)
ลำดับการคำนวณนิพจน์ ถ้าในกรณีที่ นิพจน์ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์, การคำนวณ และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ ให้ลำดับการปฏิบัติการดังต่อไปนี้ ให้ทำนิพจน์ที่มีการคำนวณ ก่อน ให้ทำนิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ ให้ทำนิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบตรรกะ เช่น ANS$ = “Y” OR ANS$ = “y” A > B OR A <= C AND A = 8 NOT A > B OR A*B < C
ตัวอย่างโจทย์ 32*9-5^2+23 = 5^2<20 AND 6>4 = จงหาค่าของนิพจน์ต่อไปนี้ 32*9-5^2+23 = 5^2<20 AND 6>4 = 10/2+4*2^3-12/(4*3) = NOT 7>=4 OR 9^2<81 = (7+26)*8-(23*4)/2 =
Example 1 จงเขียนผังงานการใช้งานโทรศัพท์สาธารณะ ด้วยการใช้บัตรโทรศัพท์ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน สนทนา จนกระทั่งจบการสนทนา
Example 2 จงเขียนผังงานเพื่อพิมพ์ค่าตัวเลขเฉพาะเลขคู่จากชุดตัวเลขตั้งแต่ 1 – 50 เพิ่มเติม การคำนวณหาค่าเฉลี่ย, ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ของชุดตัวเลขที่ให้มา
Example 3 จงเขียนผังงานการคิดเกรดจากคะแนนรวม ซึ่งเกิดจากการนำ คะแนนเก็บ + คะแนนกลางภาค + คะแนนปลายภาค โดยคิดเกรด ดังนี้ 80-100 A 75-79 B+ 70-74 B 65-69 C+ 60-64 C 55-59 D+ 50-54 D 0-49 F
Example 4 จาก Example 3 ให้เพิ่มเติม แสดงจำนวนคนที่ได้เกรดแต่ละเกรด คะแนนสูงสุดที่ได้ คะแนนต่ำสุดที่ได้ คะแนนเฉลี่ยของห้อง
Homework จงเขียนผังงานเพื่อหาค่ามากที่สุด จากตัวเลข 3 ค่า โดยมีกฎเกณฑ์ว่าตัวเลขทั้ง 3 ต้องมีค่าแตกต่างกัน จากนั้นให้แสดงออกมาว่าค่าใดมีค่ามากที่สุด (… is max) จงเขียนผังงานเพื่อหาค่ามากที่สุด จากตัวเลข 3 ค่า โดยมีกฎเกณฑ์ว่าตัวเลขทั้ง 3 อาจมีค่าเท่ากันหรือแตกต่างกัน จากนั้นให้แสดงออกมาว่าค่าใดมีค่ามากที่สุด (A is max, AB are max or ABC are equal)