Peace Theory
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม Structural functionalism 1 ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมเห็นว่าสังคมและสถาบันทางสังคมทั้งหลายเป็นระบบซึ่งส่วนต่างๆ พึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่ละส่วนมี “หน้าที่” function ทำงานของตัวเองและร่วมกันทำให้ระบบสังคมและระบบของแต่ละสถาบันในสังคมอยู่ในสภาพสมดุล แนวคิดนี้มิได้ปฏิเสธว่าสังคมมีความขัดแย้ง แต่เห็นว่าสังคมมีวิธี กลไลหรือสถาบันที่กระทำหน้าที่ควบคุมความขัดแย้งนั้น ฐานคติ assumption อันเป็นเสาเอกของทฤษฎีนี้อยู่ที่ความสมดุลของการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในสังคม
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม Structural functionalism 2 แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมี ชีวิตดำรงอยู่ได้
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม Structural functionalism 3 General Conceptual Diagram The diagram below is a general conceptual diagram of Structural functionalism. It shows that all of the different organizations and institutions in society are interdependent. When one institution in society changes, other institutions accommodate that change by changing as well, though the ultimate effect is to slow overall change.
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม Structural functionalism 4
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 1 นอกเหนือจากทฤษฎีแนวความคิดแบบมาร์กซ์ เราสามารถจำแนกทฤษฎีความขัดแย้งออกเป็น 2 สายหลัก คือ สายที่เน้นความขัดแย้งเป็นมูลฐานของปรากฎการณ์สังคม ผู้ที่เป็นนักทฤษฎีคนสำคัญของสายนี้ คือ ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) เราอาจจะทำความเข้าใจแกนความคิดของเขาได้ง่ายขึ้นด้วยการทำความเข้าใจความหมายของอำนาจ อำนาจ เป็นเสมือนกุญแจในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความขัดแย้งในสังคม ในฐานะศัพท์ทางสังคมวิทยาอำนาจรวมถึงคำศัพท์ 2 คำ คือ power และ authority ซึ่งต่างแปลในภาษาไทยว่าอำนาจ แต่มีความต่างกันคือ
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 2 อำนาจ (power) หมายถึง ความเป็นไปได้ที่ฝ่ายหนึ่งในความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในฐานะที่จะกระทำตามความประสงค์ได้ แม้ว่าจะมีการต่อต้าน หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งได้ว่า ฝ่ายที่มีอำนาจ คือ ฝ่ายที่สามารถทำให้ฝ่ายอื่นยอมให้การกระทำเป็นไปตามความต้องการของฝ่ายตน เช่น สหภาพแรงงานสามารถทำให้ฝ่ายนายจ้างยอมสนองตอบต่อข้อเรียกร้องด้วยวิธีการนัดหยุดงาน นักจี้ใช้อาวุธบังคับผู้มีทรัพย์ยอมให้ของมีค่า ฯลฯ
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 3 ส่วนอำนาจ A เป็นชนิดหนึ่งของอำนาจ P ที่หมายถึงอำนาจอันผูกอยู่กับบทบาทหรือตำแหน่ง ซึ่งโดยเนื้อหาเป็นความชอบธรรม (legitimate) ในแง่ของความยอมรับและการปฏิบัติในสังคม (social norms) เช่น เมื่อนาย ก. ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราฎรและได้เป็นรัฐมนตรี ก็มีอำนาจ A ในฐานะรัฐมนตรีสั่งการตามกฎหมายต่อข้าราชการในกระทรวงที่เขาว่าการได้ เมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งอำนาจ A นี้ก็จะหมดไป แต่เขาอาจจะมีอำนาจ P ในการบงการลูกน้องของเขาอยู่ เราอาจจะพูดได้ว่า อำนาจ A นั้นสื่อความหมายถึงอำนาจในฐานะใดฐานะหนึ่ง เช่น อำนาจในฐานะผู้ปกครอง อำนาจในฐานะครู หรือ อำนาจในฐานะลูกน้อง
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 4 ตัวอย่างที่อาจแสดงถึงความแตกต่างระหว่างอำนาจ P กับอำนาจ A คือ กรณีความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง โดยทั่วๆ ไป นั้นลูกจ้างเป็นฝ่ายไม่มีอำนาจ P แต่เมื่อลูกจ้างได้รวมตัวกันตั้งและจกทะเบียนเป็นสหภาพแรงงาน ตัวแทนของลูกจ้างนั้นในฐานะกรรมการของสหภาพก็จะมีอำนาจ A ซึ่งสามารถจะใช้อำนาจ P ตอบโต้และเรียกร้องต่อนายจ้างได้ ส่วนนายจ้างนั้นมีทั้งอำนาจ A และ P อยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะสังคมยอมรับกันเช่นนั้น
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 5 เมื่อพิจารณาทฤษฎีความขัดแย้งแนวนี้จากมุมของสันติศึกษา เราจะเห็นว่า คุณูปการของทฤษฎีอยู่ที่คำอธิบายเกี่ยวกับการแฝงอยู่และการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ไม่สันติ ในความหมายของสันติที่ตรงข้ามความขัดแย้ง ทฤษฎีสายนี้ไม่ได้พูดถึงสันติภาพโดยตรง และไม่เชื่อในสันติภาพขั้นสมบูรณ์ว่าจะมีและเป็นไปได้ แต่เชื่อในการจัดการความขัดแย้ง เช่น การแก้ไขความขัดแย้งในอุตสาหกรรมให้เกิดความสันติ (industrial peace) ด้วยหลักการประชาธิปไตยในองค์กร (industrial democracy) หรือการกระจายอำนาจ A ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเพื่อมิให้เกิดความวุ่นวายในความหมายที่มีการแก้ไขจัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ มากกว่าในความหมายที่จะเกิด “ความสงบเรียบร้อย” หรือ “ความสงบราบคาบ”
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 6 ความขัดแยงที่เกิดขึ้นในสังคมเปนผลมาจากความกดดันจา ความรุนแรงจะมากหรือนอยนั้นขึ้นอยูกับการจัดการและก แบงออกเปน ๒ กลุม คือ กลุมที่มีสิทธิอํานาจ กับกล เทาเทียมกันในสังคมนั้นเกิดจากความไมเทาเทียมกันใน ไดดวยการประนีประนอม แนวคิดความขัดแยงของ Dahrendorf เสนอวา คุณลักษณะความขัดแยงมีลักษณะสอดคลอง กับทุกสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา เพราะฉะน ตางฝายตางมีผลประโยชนแอบแฝงอยูเบื้องหลัง แตละฝ แนวคิดความขัดแยงของ Dahrendorf ุมที่ไมมีสิทธิอํานาจ ทําใหสังคมเกิดกลุมแบบไมสม ายจึงพยายามรักษาผลประโยชนของฝายตนไว สวนระดับขอ เรื่องสิทธิอํานาจ (authority) ซึ่งกลุมที่เกิดขึ้นภ กภายนอกโดยสังคมอื่นๆ โดยที่ความขัดแยงสามารถควบคุม ารประสานผลประโยชนของกลุมที่ครอบงํากลุมอื่น ทั้งน ั้นทุกสังคมจึงเกิดความขัดแยงไดตลอดเวลา และความไม ายในสังคม บูรณขึ้น เพราะ ง ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 6 สรุปแนวคิดความขัดแยงของ Dahrendorfแนวคิดความขัดแยงของ Dahrendorf เสนอวา คุณลักษณะความขัดแยงมีลักษณะสอดคลองกับทุกสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา เพราะฉะนั้นทุกสังคมจึงเกิดความขัดแยงไดตลอดเวลา และความไมเทาเทียมกันในสังคมนั้นเกิดจากความไมเทาเทียมกันในเรื่องสิทธิอํานาจ (authority) ซึ่งกลุมที่เกิดขึ้นภายในสังคม แบงออกเปน ๒ กลุม คือ กลุมที่มีสิทธิอํานาจ กับกลุ่มที่ไมมีสิทธิอํานาจ ทําใหสังคมเกิดกลุมแบบไมสมบูรณขึ้น เพราะตางฝายตางมีผลประโยชนแอบแฝงอยูเบื้องหลัง แตละฝายจึงพยายามรักษาผลประโยชนของฝายตนไว สวนระดับของความรุนแรงจะมากหรือนอยนั้นขึ้นอยูกับการจัดการและการประสานผลประโยชนของกลุมที่ครอบงํากลุมอื่น ทั้งนความขัดแยงที่เกิดขึ้นในสังคมเปนผลมาจากความกดดันจากภายนอกโดยสังคมอื่นๆ โดยที่ความขัดแยงสามารถควบคุมไดดวยการประนีประนอม
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 7 สายที่เชื่อมความขัดแย้งเข้ากับการทำงานประสานกันของส่วนต่างๆ ในสังคม ชื่อหัวข้อทฤษฎีสายนี้เป็นประโยคเชิงบรรยายที่หมายถึง แนวทฤษฎีที่นำมาเสริมกับแนวทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม นักทฤษฎีผู้เสนอทฤษฎีสายนี้คือ Lewis Coser เขาเน้นประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น คือ ความขัดแย้งนั้นสลับซับซ้อน อยู่ในแง่มุมและระนาบต่างๆ มากกว่าความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ ความขัดแย้งใช่ว่าจะส่งผลลบเสมอไป แต่ควรพิจารณาถึงหน้าที่ (function) ในชีวิตสังคมด้วย
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 8 2.1 ความสลับซับซ้อนของความขัดแย้ง Lewis Coser เห็นว่า ความขัดแย้งมิได้เกิดขึ้นเพียงระหว่างชั้นและกลุ่มผลประโยชน์เท่านั้น แต่ความขัดแย้งนั้นเกิดทั่วไปในความสัมพันธ์สังคมที่สานกันโยงใยเป็นตาข่าย ความขัดแย้งจึงเป็นเสมือนใยแมงมุม (web of conflict) เพราะฉะนั้นในความสัมพันธ์บางด้านอาจจะขัดกัน แต่บางด้านอาจร่วมมือกัน เช่น ก. อาจเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับ ข. ซึ่ง ข. นี้กำลังต่อสู้ทางความคิดกับ ค. และ ค. เป็นหุ้นส่วนทางการค้ากับ ก. ดังนั้นความสัมพันธ์ในสังคมจึงสลับตัดกันไปมาซึ่งประกอบด้วยความขัดแย้งและการประสานประโยชน์กัน อันเป็นการผูกเชื่อมโยงไว้
ทฤษฎีความขัดแย้ง Conflict Theory 9 2.2 ผลของความขัดแย้ง Lewis Coser เห็นว่า ความขัดแย้งนั้นก่อผลไปสู่ความเปลี่ยนแปลง บางกรณีก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น สงครามทำให้เกิดการวมศูนย์การบริหาร อย่างไรก็ตามแม้ว่าความขัดแย้งจะส่งผลทั้งในทางลบและทางบวกแต่ทฤษฎีสายนี้ได้พยายามเน้นถึงผลประการหลัง คือ การวิเคราะห์ถึงบทบาทของความขัดแย้งในการรักษา ส่งเสริม การยึดเหนี่ยวกันของส่วนต่างๆ ในสังคม
ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล Adam Curle 1 นักวิชาการด้านการวิจัยเรื่องสันติภาพได้เสนอวิธีการในการศึกษาสันติภาพ โดยให้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่ไม่สันติ (unpeaceful relation) และความสัมพันธ์ที่สันติ (peaceful relation) จากมุมนี้ทำให้เข้าไปสู่การอธิบายความหมายความสัมพันธ์ที่สันติ(ในระดับบุคคล) ว่าเป็นมิตรภาพและมีความเข้าใจกันดีพอที่จะมองข้ามความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล Adam Curle 2 ส่วนในระดับที่กว้างออกไปสื่อถึงความสัมพันธ์ที่มีการอยู่ร่วมกันอย่างแข่งขัน ความร่วมมือกันอย่างมีการกำหนดวางแผน และมีความพยายามอย่างชาญฉลาดในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่แฝงอยู่ซึ่งทำนองเดียวกันกับความสัมพันธ์ที่มีการพัฒนา กล่าวคือ ถ้าการพัฒนาจะมีขึ้นได้ หรือ ถ้าความสัมพันธ์จะเติบโตขึ้นในความกลมกลืนและความสร้างสรรค์ ก็จำเป็นต้องมีความเสมอภาค และการตอบสนองซึ่งกันและกันในเกณฑ์มากพอ
ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล Adam Curle 3 ความสัมพันธ์ที่สันติ (peaceful relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ในด้านบวก คือ มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และถือว่าทั้งสองด้านมีความเท่าเทียม ความสัมพันธ์ที่ไม่สันติ (unpeaceful relation) เคิร์ล ได้พิจารณาจากแนวคิด ความขัดแย้ง ความสมดุลกับความไม่สมดุลและความตระหนักถึงความขัดแย้งซึ่งอาจจะอธิบายได้ดังนี้
ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล Adam Curle 4 ความขัดแย้ง เป็นการที่ไปด้วยกันไม่ได้ Incompatibility ตั้งแต่บุคคลจนถึงรัฐ โดยอาจจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ การศึกษา อุดมการณ์ เป็นต้น ความสัมพันธ์ที่สมดุล/ไม่สมดุล โดยมีความหมายในเชิงอำนาจ ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องมีอำนาจชนิดเดียวกัน แต่เป็นไปในลักษณะที่พึ่งพากัน อำนาจทั้งสองก็จะสามารถคานกันได้ ในความเท่าเทียมกันแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสัมพันธ์ที่สมดุลจะเป็นความสัมพันธ์ที่สันติและความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลจะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สันติ ความสัมพันธ์ที่สมดุลอาจก่อให้เกิดความรุนแรงได้ โดยที่หากทั้งสองฝ่ายมีอำนาจเท่าเทียมกันและใช้การต่อสู้เข้าแก้ปัญหาเช่นเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลอาจเป็นความสัมพันธ์ที่มีสันติได้ หากใช้มาตรการปราศจากความรุนแรงในการแก้ปัญหา
ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล Adam Curle 5 การตระหนักถึงความขัดแย้ง ซึ่งก็คือการรับรู้ความเป็นจริงทางภาวะวิสัยที่เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นการนำไปสู่การถกเถียงซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยการมองที่คุณค่า (Value) คือ การให้ความสำคัญว่าสิ่งนั้นมีค่าควรให้การยกย่อง เคิร์ลได้ให้ความหมายของคุณค่าว่าเป็นการดำรงชีวิตอยู่และเมื่อมีชีวิตอยู่ก็อยู่อย่างมีคุณภาพมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ มีการพัฒนาศักยภาพรวมถึงความเสมอภาคทางโอกาส เช่น กรรมกรมีความพอใจกับการทำงานของตัวเอง และมีความสุขกับการทำงานกับนายจ้างที่ใจดี เป็นต้น
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 1
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 2 Johan Galtung (Father of Peace Studies)เป็นนักวิชาการด้านสันติภาพ อีกหนึ่งที่มีความสำคัญมาก Galtung ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบข่ายทางสันติภาพของมนุษย์ว่า สันติภาพที่เป้นเพียงภาวะที่ปลอดจากสงครามนั้นยังไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นภาวะที่ไม่มีการกระทำรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ ความรุนแรงในทัศนะของ Galtung ไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางตรงอันเกิดจากการกระทำระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรุนแรงทางทางโครงสร้างอันเกิดจากระบบสังคมที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 3 1. การดำรงชีวิต (Survival) 2. การมีความเป็นอยู่ที่ดี (Welfare) 3. การมีเสรีภาพ (Freedom) 4. การมีเอกลักษณ์และความรู้สึกมีความหมายในชีวิต (Identity)
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 4 การที่มนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน 4 ประการนี้ Galtung ใช้เป็นตัววัดค่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยแยกลักษณะการเกิดความรุนแรงว่ามี 2 ลักษณะ คือ ความรุนแรงทางตรง เช่น การถูกทำร้าย การถูกวิ่งราวทรัพย์ และความรุนแรงทางโครงสร้าง เช่น การที่เด็กจำนวนมากต้องเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร ในขณะที่มีคนจำนวนมากมีอาหารรับประทานอย่างเหลือเฟือ นอกจากนั้น Galtung มองว่า ผลของความรุนแรงนอกจากจะเป็นผลทางร่างกายหรือวัตถุแล้ว ยังส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 5
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 6 The Basic Needs Approach (Galtung) ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need – Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็น ลำดับดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs ) 2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs ) 3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs ) 4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs ) 5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs) The Basic Needs Approach (Galtung) 1. การดำรงชีวิต (Survival) 2. การมีความเป็นอยู่ที่ดี (Welfare) 3. การมีเสรีภาพ (Freedom) 4. การมีเอกลักษณ์และความรู้สึกมีความหมายในชีวิต (Identity)
ทฤษฎีสันติภาพของ Johan Galtung 8
แนวคิดเกี่ยวกับการสรางสันติภาพ แนวคิดการเสริมสรางสันติภาพเปนที่รูจักครั้งแรกในป ค.ศ. 1975 จากบทความเรื่อง 3 แนวทางสูสันติภาพ: การรักษาสันติภาพ การทําใหเกิดสันติภาพ และการเสริมสรางสันติภาพ (Three Approaches to Peace: Peacekeeping Peacemaking and Peacebuilding) ของ Johan Galtung นักวิจัยสันติภาพยุคใหม โดย Galtung ไดนําเสนอโครงสรางการเสริมสรางสันติภาพเพื่อเปนแนวทางสูสันติภาพที่ยั่งยืน โดยการระบุถึงรากเหงาของความขัดแยงที่กอใหเกิดความรุนแรง ผานกิจกรรมสําหรับแกปญหาความขัดแยงที่เกิดขึ้น ตามรูปแบบของสันติศึกษาเพื่อนําไปสูการแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแยงดวยสันติวิธี จนกระทั่งในป ค.ศ. 1992 การเสริมสรางสันติภาพไดรับการยอมรับอยางกวางขวางมากยิ่งขึ้น เมื่อเลขาธิการสหประชาชาติไดมีขอเรียกรอง “วาระสันติภาพ” (An Agenda for Peace) ที่ระบุวาสหประชาชาติและประชาคมนานาชาติมีความรับผิดชอบตอการจัดการความขัดแยงรวมสมัยในรูปแบบของมาตรการทางการทูตในเชิงปองกัน (preventive diplomacy) การทําใหเกิดสันติภาพ (peacemaking) และการรักษาสันติภาพ (peacekeeping) สงผลใหแนวคิดการเสริมสรางสันติภาพเปนที่รูจักและนํามาใช้ในการจัดการความขัดแยงอยางแพรหลายในสังคมโลกยุคปจจุบัน
แนวคิดการสร้างสันติภาพ 1 Boutros Boutros-Ghali ได้จำแนกระเบียบวาระเพื่อสันติภาพ (Agenda for Peace) ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ Preventive Diplomacy การทูตเชิงป้องกัน การใช้นโยบายหรือการเจรจาทางการทูตทั้งในเชิงป้องกันการเกิดขึ้นของข้อพิพาท ป้องกันมิให้ข้อพิพาทกลายเป็นความขัดแย้ง และจำกัดการขยายตัวของความขัดแย้งในกรณีที่ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว Boutros Boutros-Ghali 1992
แนวคิดการสร้างสันติภาพ 2 Peacemaking การทำให้เกิดสันติภาพ หมายถึง การกระทำเพื่อให้คู่กรณีสามารถทำความตกลงร่วมกันได้ Methods of Peacemaking Article 33 of the UN Charter specifies, "negotiation, enquiry, mediation, conciliation, arbitration, judicial settlement, [and] resort to regional agencies or arrangements" as modes of peaceful intervention in violent conflicts. Articles 41 and 42 of the Charter also allow for sanctions, blockading, and violent intervention in order to restore the peace between warring states.
แนวคิดการสร้างสันติภาพ 3 3. Peacekeeping การรักษาสันติภาพ หมายถึง การส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในพื้นที่ที่เป็นกรณีพิพาท โดยความยินยอมจากคู่กรณีทั้งหมด United Nations Mission in Bosnia-Herzegovina The United Nations Supervision Mission in Syria
แนวคิดการสร้างสันติภาพ 4 Post-conflict peace-building การสร้างสันติภาพภายหลังความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำเพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็งแก่สันติภาพที่เกิดขึ้น อันจะเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิดปัญหาครั้งใหม่จนนำไปสู่ความขัดแย้งอีก United Nations Mission in Sierra Leone