บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 11 : System Implementation
Advertisements

The Implementation Plan and Project Closure
Chapter 14 Project Implementation, Closure, and Evaluation.
Chapter 12 : Maintaining Information Systems
การจัดหา การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบ
SCC : Suthida Chaichomchuen
การปฏิบัติงานและสนับสนุนระบบ
Unit Test Unit Test ระบบ Simple MRP เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของฟังก์ชั่นในการทำงานของระบบ โดยพยายามทำการหาข้อผิดพลาดของตัวระบบให้ได้มากที่สุดโดยใช้เวลาและจำนวนของ.
Language Evaluation Criteria
บทที่ 15 Start การซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance) Next.
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
บทที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
วิธีการทางคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความต้องการเชิงคุณภาพ (Qualitative Requirements)
Chapter 2 Software Process.
บทที่ 13 การทดสอบซอฟต์แวร์ ( Software Testing ).
การพัฒนาระบบประยุกต์
Software Testing  - ช่วยกำจัด และลดข้อบกพร่องที่จะก่อให้เกิดปัญหาลงให้มากที่สุดที่จำทำได้ (ตามเวลาที่มี) - ช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นใจ และน่าเชื่อถือ.
chapter7 -Intro to Software Testing
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
Chapter 1 Introduction to Software Engineering – Software Engineering Chaichan Kusoljittakorn 1.
อาจารย์ วิทูร ธรรมธัชอารี. เนื้อหาในการเรียน  เครื่องมือในการออกแบบและพัฒนาระบบ บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล  การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
เนื้อหาที่จะเรียน คอมพิวเตอร์คืออะไร ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ อินเตอร์เน็ต Microsoft Office.
1 Documentation SCC : Suthida Chaichomchuen
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การทดสอบซอฟต์แวร์ Software Testing
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ในประเทศไทย
Thai Quality Software (TQS)
บทที่ 13 กลยุทธ์การทดสอบซอฟต์แวร์ (TESTING STRATEGIES)
บทที่ 5 แบบจำลองกระบวนการ
2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
Information System Development
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์อัตรากำลัง โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
การจัดหาหรือจัดให้มีการพัฒนา และการบํารุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการแบบปลอดภัย.
บทที่ 6 วิศวกรรมระบบ (System Engineering)
ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 7 ระบบสารสนเทศ.
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
สื่อการสอนรายวิชา ง30204 โปรแกรมภาษาชี ภาษาคอมพิวเตอร์และโปรแกรม
IT Project Management 05 IT Quality Management.
บรรยายภาษาไทยโดย ผศ.วิชัย บุญเจือ
Object-Oriented Programs Design and Construction
บริษัท โกลบัล คอนเซิร์น จำกัด 1 ธันวาคม 2553
ระบบฐานข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมประเทศไทย
การวางแผน (Planning) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
กระบวนการพัฒนาระบบงาน
(1) ภาวะการหางานทำของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทที่ 9 การออกแบบระบบ และการออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟช
Development Strategies
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
วิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
Injection.
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(การนำเสนอข้อมูลด้วยตารางด้วยเทคนิค storytelling)
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
บทที่ 3 กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ (Software Process)
นายเกรียงไกร แก้วมีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้งาน (USER INTERFACE DESIGN)
กลยุทธ์การทดสอบซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
แนวทางการจัดทำและการขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการ สพฐ.
Introduction to Structured System Analysis and Design
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ คว

บทนำ ระยะนี้จะทำให้ระบบเกิดผลด้วยการสร้างระบบขึ้นมา ซึ่งข้องเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การจัดหาระบบ การเขียนโปรแกรม (Coding) การทดสอบ (Testing) การติดตั้ง (Installation) การจัดทำเอกสารคู่มือการใช้งาน (Documentation) การฝึกอบรม (Training) การประเมินผลระบบ (System Evaluation)

หัวข้อการเรียนรู้ ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม การทดสอบแบบ Black Box และ White Box วิธีการติดตั้งระบบ เอกสารคู่มือการใช้งาน ชนิดของการฝึกอบรม แบบฟอร์มการประเมินผล วิธีการบำรุงรักษาระบบ

การจัดหาระบบ เกิดขึ้นเมื่อทีมงานโครงการทำการออกแบบระบบได้เสร็จสิ้นลง ทีมงานพัฒนาระบบก็จะทราบว่าระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาขึ้นใหม่จะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ การจัดหาอุปกรณ์ การจัดหาระบบ การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย

การจัดหาระบบ การจัดหาอุปกรณ์ (Hardware Acquisition) การซื้อระบบสำเร็จรูป การขอข้อเสนอทั่วไป การจัดหาอุปกรณ์ การขอข้อมูลเสนอที่เฉพาะเจาะจง การซื้อจากผู้ขายรายเดียวหรือหลายราย

การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ การจัดหาระบบ 2. การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ (Application Software Acquisition) การซื้อเข้ามาทั้งโปรแกรม การจัดหาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาขึ้นเอง

การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย การจัดหาระบบ 3. การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย (Vendor Review and Evaluation) การทดสอบแบบ Benchmark การพิจารณาข้อเสนอของผู้ขาย การให้คะแนนผู้ขาย

การเขียนโปรแกรม (Coding) คือการสร้างระบบขึ้นมาเพื่อใช้งาน โดยผู้รับผิดชอบคือโปรแกรมเมอร์ โดยการเขียนโปรแกรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ หมายถึงเอกสารที่ได้จากการวิเคราะห์ และออกแบบที่นักวิเคราะห์ระบบได้จัดทำไว้ให้ ประกอบด้วย แผนภาพกระแสข้อมูล คำอธิบายการประมวลผลข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล รวมถึงรูปแบบการบันทึกข้อมูลทางจอภาพ และรูปแบบเอาต์พุตหรือรายงานต่างๆ ออกแบบโปรแกรม เพื่อแก้ปัญหา และตัดสินใจแนวทางเพื่อให้การพัฒนาในขั้นตอนนี้เกิดผลสำเร็จ เขียนโปรแกรม ซึ่งขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันที่ใช้เขียน

การเขียนโปรแกรม (Coding) ทดสอบโปรแกรม ตามปกติแล้ว โปรแกรมเมอร์จะดำเนินการเขียนโปรแกรมควบคู่ไปกับการทดสอบโปรแกรมเสมอ โปรแกรมเมอร์นอกจากตรวจสอบความถูกต้องในรูปแบบภาษาเขียนแล้ว ยังต้องตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของโปรแกรมด้วย จัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม เอกสารที่ใช้ประกอบการเขียนโปรแกรม การจัดทำเอกสารดังกล่าว ก็เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในอนาคต

การทดสอบ (Testing) เป็นการทดสอบโปรแกรมที่ใช้งานในระบบว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง อาจมีความจำเป็นต้องจำลองสถานการณ์การดำเนินงานขึ้นมา

การทดสอบ (Testing) เทคนิคการทดสอบ (Testing Techniques) สามารถดำเนินการทดสอบวิธีการต่อไปนี้ Black Box Testing เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของระบบที่ต้องการทราบเพียงว่า เมื่อมีการอินพุตข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร โดยไม่สนใจว่าระบบมีกระบวนการทำงานอย่างไร White Box Testing เป็นการทดสอบโปรแกรมภายในว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร มีการตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมีข้อผิดพลาดเชิงตรรกะ (Logic Error) หรือไม่ มีการออกแบบตรรกะโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร

การทดสอบ (Testing) เทคนิคการทดสอบ (Testing Techniques)

การทดสอบ (Testing) ขั้นตอนการทดสอบ (Stages of Tests) จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ 1. การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing) 2. การทดสอบด้วยการนำโปรแกรมมาประกอบรวมกัน (Integration Testing) 3. การทดสอบทั้งระบบ (System Testing) 4. การทดสอบการยอมรับในระบบ (Acceptance Testing)

การทดสอบ (Testing) การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing) มุ่งเน้นถึงการตรวจสอบความถูกต้องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในโมดูล โปรแกรมเมอร์ก็จะทดสอบจนกระทั่ง เชื่อว่าโค้ดโมดูลนี้ปราศจากข้อผิดพลาด การทดสอบด้วยการนำโปรแกรมมาประกอบรวมกัน (Integration Testing) คือการทดสอบ ด้วยการนำกลุ่มโปรแกรมหรือโมดูลต่าง ๆ มาประกอบรวมกัน ระบบจะต้องทำงานโดยปราศจากข้อผิดพลาด และต้องมีความมั่นใจว่าการเชื่อมโยง และการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างโมดูลจะต้องทำงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน สามารถดำเนินการด้วยวิธีแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up Integration) และวิธีแบบบนลงล่าง (Top-down Integration)

การทดสอบ (Testing) การทดสอบทั้งระบบ (System Testing) คือการทดสอบระบบทั้งหมดก่อนที่จะดำเนินการส่งมอบให้กับลูกค้า นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมั่นใจว่าทุก ๆ โมดูล และโปรแกรมต่าง ๆ จะต้องทำงานร่วมกันโดยปราศจากข้อผิดพลาด และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ (Performance Testing) ว่าระบบมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร การทดสอบการยอมรับในระบบ (Acceptance Testing) คือการตรวจรับระบบ ที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ยืนยันถึงความสมบูรณ์ของระบบ ว่าระบบสามารถรองรับกระบวนการทางธุรกิจได้ตรงความต้องการ ถูกต้อง และครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร

การทดสอบ (Testing) การทดสอบแบบอัลฟา (Alpha Testing) จะดำเนินการทดสอบระบบด้วยการจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมา การทดสอบแบบเบต้า (Beta Testing) ทีมงานจะให้ผู้ใช้งานจริงทำการทดสอบระบบบนสภาพแวดล้อมจริง และใช้ข้อมูลจริงในการทดสอบ

การติดตั้ง (Installation) นักวิเคราะห์ระบบ สามารถเลือกใช้วิธีการติดตั้งที่มีอยู่หลายวิธีด้วยกันตามความเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยวิธีการติดตั้ง 4 วิธีด้วยกันคือ การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) เนื่องมาจากระบบเดิมกับระบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถนำผลลัพธ์จากระบบทั้งสองมาทำการเปรียบเทียบกันได้ สำหรับวิธีนี้บางครั้งอาจเรียกว่า Immediate Cutover ซึ่งถือเป็นวิธีการติดตั้งที่ง่ายที่สุด

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) ข้อดี - ระบบใหม่สามารถดำเนินการใช้งานได้ทันที - สถานการณ์บังคับให้ผู้ใช้งานต้องใช้ระบบใหม่ โดยไม่สามารถกลับไปใช้ ระบบงานเดิมได้ - ง่ายต่อการวางแผน - ค่าใช้จ่ายต่ำ และใช้เวลาน้อย

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งเพื่อใช้งานใหม่ทันที (Direct Installation) ข้อเสีย - อาจเกิดข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงในขณะที่ใช้ระบบใหม่ - ถึงแม้ระบบใหม่จะใช้งานได้จริงก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายถึงความสมบูรณ์ของ ระบบใหม่โดยรวม - จัดเป็นวิธีการติดตั้งที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งด้วยวิธีอื่น ๆ

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งแบบคู่ขนาน (Parallel Installation) เป็นวิธีการติดตั้งที่มีการปฏิบัติงานทั้งระบบเดิมกับระบบใหม่ขนานกันไป หากกรณีที่ระบบใหม่เกิดปัญหาขึ้น ก็จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ เนื่องจากระบบงานเดิมก็ยังคงดำเนินการปกติ โดยระบบจะสมบูรณ์ต่อเมื่อการดำเนินงานของระบบใหม่เป็นไปอย่างไม่มีปัญหาหรือไม่พบข้อผิดพลาดใด ๆ จนกระทั่งมั่นใจ แล้วจึงค่อยดำเนินการใช้ระบบใหม่ และยกเลิกใช้งานระบบเดิมในที่สุด ข้อดี - มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากหากระบบใหม่เกิดข้อผิดพลาด ระบบเดิมก็ยัง สามารถนำมาใช้งานเพื่อการสำรองได้ - สามารถเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน รวมทั้งเอาต์พุตที่ได้จาก ระบบระหว่างระบบเดิมกับระบบใหม่

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งแบบคู่ขนาน (Parallel Installation) ข้อเสีย - ใช้ต้นทุนสูง เนื่องจากจำเป็นต้องดำเนินการทั้งระบบเดิม กับระบบใหม่ควบคู่ ด้วยกัน - สิ้นเปลืองเวลาไปกับการทำงานทั้งสองระบบ และการเปรียบเทียบระบบทั้งสอง - ในกรณีที่ระบบใหม่เกิดข้อผิดพลาด ผู้ใช้งานอาจเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อระบบใหม่ และอาจมุ่งความสนใจกับการใช้งานระบบงานเก่าเช่นเดิม - ยากต่อการวางแผน และมีขั้นตอนควบคุมการทำงานที่ยุ่งยาก

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phased Installation) เป็นวิธีการติดตั้งที่มีการกำหนดเป็นระยะ ๆ โดยแต่ละระยะจะมีการเพิ่มองค์ประกอบหรือฟังก์ชันการทำงานของระบบ ข้อดี - เจ้าของระบบ หรือเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้อง ชำระเงินก้อนใหญ่ทั้งหมด สามารถชำระเงินค่าระบบ ในแต่ละส่วน ของแต่ละระยะนั้น ๆ ได้ - หากเกิดข้อผิดพลาด จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม โดยจะส่งผลต่อระบบ

การติดตั้ง (Installation) การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phased Installation) ข้อเสีย - อาจใช้เวลามากเกินไปกับบางระบบงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรอพัฒนาระบบงานย่อย ในลำดับถัดไปของระยะต่อไป - หากระบบย่อยต่าง ๆ ไม่สามารถแบ่งแยกโดยอิสระได้ ก็จะยากต่อการแบ่งการติดตั้งทีละระยะ กล่าวคือ ไม่เหมาะสมกับระบบงานที่ไม่สามารถแบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้

การติดตั้ง (Installation) 4. การติดตั้งแบบโครงการนำร่อง (Pilot Project) โดยจะดำเนินการติดตั้งระบบเฉพาะส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งก่อน ข้อดี - ลดความเสี่ยงได้ดี และค่าใช้จ่ายต่ำ ข้อเสีย - วิธีนี้เหมาะสมกับระบบที่มีความสมบูรณ์ใน ตัวเอง ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับระบบงานอื่น ๆ

การติดตั้ง (Installation)

การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals) จัดได้ว่าเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับการฝึกอบรม คุณภาพ และชนิดของเอกสารคู่มือการใช้งาน แต่หมายถึงความสำเร็จของระบบ โดยพื้นฐานชนิดของเอกสารคู่มือใช้งาน ประกอบด้วย เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ และเอกสารคู่มือระบบ เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) อ่านคู่มือใช้งานก่อนที่จะปฏิบัติงานจริงกับระบบ ข้อความในเอกสารต้องชัดเจน อ่านแล้วง่ายต่อการทำความเข้าใจ และควรมีการจัดแบ่งลำดับหัวข้อต่าง ๆ ให้เหมาะสม มีสารบัญ และดัชนีเพื่อใช้สำหรับช่วยค้นหาคำที่ต้องการได้ เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ ในบางครั้งอาจเรียกว่า User’s Manual แบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ

การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals) เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) ระบบความช่วยเหลือ (The Help System) เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการทราบว่าจะปฏิบัติงานกับฟังก์ชันต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร

การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals) เอกสารคู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Documentation) คู่มือปฏิบัติงาน (Procedures Manuals) เป็นการอธิบายว่าจะปฏิบัติงานกับงานทางธุรกิจนี้อย่างไร การฝึกสอน (Tutorials) เป็นการ ฝึกสอนให้ผู้ใช้สามารถระบบได้ด้วย บทเรียน

การจัดทำเอกสารคู่มือใช้งาน (Documentation/Manuals) เอกสารคู่มือระบบ (System Documentation) จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติการหรือโอเปอเรเตอร์ได้เข้าใจเกี่ยวกับแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ว่าจะจัดการกับระบบ หรือบำรุงรักษาระบบอย่างไรหลังจากที่ได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว รวมถึงการปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพอย่างไร จะดำเนินการแก้ไขอย่างไรในกรณีที่ระบบเกิดข้อขัดข้อง การติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต้องดำเนินการอย่างไร การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่าง ๆ วิธีการเพิ่มหรือเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ออกจากระบบ และการสำรองข้อมูลระบบ

การฝึกอบรม (Training) ผู้ใช้ คือ ผู้ที่โต้ตอบกับระบบเพื่อทำงานประจำวัน ผู้ปฏิบัติการหรือโอเปอเรเตอร์ ผู้ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสนับสนุนระบบให้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ

การฝึกอบรม (Training) ชนิดของการฝึกอบรม (Types of Training) การฝึกอบรม จึงสมควรดำเนินการฝึกอบรมตามชนิดของกลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบด้วย การฝึกอบรมผู้ใช้ และการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ - การฝึกอบรมผู้ใช้ (User Training) จะตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของระบบ และความต้องการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้เป็นสำคัญ จะต้องอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจถึงการทำงานของระบบว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และจะต้องดำเนินการอย่างไรเป็นสำคัญ - การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ (Operator Training) จะมุ่งความสนใจถึงหน้าที่การสนับสนุนระบบเป็นสำคัญ ด้วยการอธิบายว่าระบบมีการทำงานอย่างไร มากกว่าที่จะอธิบายว่าระบบทำอะไรบ้าง

การฝึกอบรม (Training) วิธีการฝึกอบรม (Training Method) - ฝึกอบรมโดยใช้วิทยากร การบรรยาย การอภิปราย หรือการสาธิตประกอบการฝึกอบรม - ฝึกอบรมด้วยตนเอง (Online Help) CBT (Computer-Based Training)

การประเมินผลระบบ (System Evaluation) ควรกำหนดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของการประเมินผลระบบ ก็คือ ควรดำเนินการภายหลังการติดตั้งและใช้งานไปแล้วประมาณ 6 – 9 เดือน จุดประสงค์หลัก ก็คือ ต้องการประเมินผลระบบงานว่า ระบบใหม่ที่ติดตั้งและใช้งานนั้นเป็นไปตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของผู้ใช้หรือไม่มีข้อบกพร่องส่วนใดบ้างที่คิดว่าน่าจะได้รับการปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นด้านฟังก์ชันการทำงานของระบบ การโต้ตอบกับระบบ ความปลอดภัยของระบบ รวมถึงเอกสารคู่มือประกอบการใช้งาน

การบำรุงรักษาระบบ (Systems Maintenance) ชนิดของการบำรุงรักษาประกอบด้วย 4 วิธี การบำรุงรักษาด้วยการแก้ไขให้ถูกต้อง (Corrective Maintenance) เป็นการควบคุมการทำงานของระบบที่ดำเนินงานอยู่ประจำวัน ให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งผู้ใช้อาจพบข้อผิดพลาดในระบบการทำงานบางส่วน ดังนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้ระบบงานสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ การบำรุงรักษาด้วยการปรับระบบให้สามารถรองรับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป (Adaptive Maintenance) หรือเป็นไปตามเทคโนโลยี นอกจากนี้ Adaptive Maintenance ยังรวมถึงการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามความต้องการใหม่ด้วย

การบำรุงรักษาระบบ (Systems Maintenance) ชนิดของการบำรุงรักษาประกอบด้วย 4 วิธี การบำรุงรักษาด้วยการปรับปรุงให้ระบบมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (Perfective Maintenance) เป็นการบำรุงรักษาด้วยการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ (Features) หรือปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม การบำรุงรักษาด้วยการป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต