คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
CMS กับการบริหารจัดการเว็บไซต์ห้องสมุด นำเสนอในการสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 2 “ห้องสมุดกับสังคมแห่งการเรียนรู้” ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Advertisements

Cancer in Thailand Cancer in Thailand 2003.
สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนา หลักประกันสุขภาพไทย Health Insurance System Research Office Social Protection Floor: Situation and Way Forward Thaworn Sakunphanit.
1 คณะที่ 5 การตรวจราชการแบบบูรณา การ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี
การเขียนแบบ รายงาน การเยี่ยมสำรวจ นันทา ชัยพิชิตพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
การจัดการการดูแล (Care Management) นางอุไลวรรณ์ ไขสังเกต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
Family assessment and Home health care
เศรษฐกิจพอเพียงยุคเอทีเอ็ม โดย ดร
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว ในการดูแลระยะยาว
จารุพร ตามสัตย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(APN)
โครงการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) เขตเมืองและเขตชนบท ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการ.
ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค กุมภาพันธ์ 2554
แพทย์หญิง ฐนิตา สมตน เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
บทนำ 1 ความหมายของการตลาด แนวความคิดหลักทางการตลาด
Facilitator: Pawin puapornpong
บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
2.4 ประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้เกณฑ์เสี่ยง มีการให้บริการตามมาตรฐานภาวะเสี่ยง ได้รับคำแนะนำเรื่องที่มาพบแพทย์ มี high risk clinic
เภสัชกรหญิงหทัยรัตน์ โคตรสมพงษ์ ภบ., วท.ม. (เภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร)
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome
การจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานสูงวัย
Colon Cancer มะเร็งลำไส้.
ประชุมวิชาการ ระดับ รพ.สต. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 รพ.สิรินธร ขอนแก่น
แนวทางการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก และการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ในคลินิกเด็กดี
การดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว (Long Term Care )
INHOMESS นพ.นนท์ โสวัณณะ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
คลินิกบริการดูแลผู้ติดเชื้อHIV/AIDS โรงพยาบาลเขาสมิง จังหวัดตราด
Advanced Topics on Total Quality Management
ผลการดำเนินงานด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2559
การสร้างการเรียนรู้การใช้ SPA in Action เพื่อจุดประกายการพัฒนาคุณภาพ
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
สมรรถนะ (Competency) สมรรถนะ (Competency) โดย รศ.สุรชัย ขวัญเมือง
แนวทางการบริหารงานเพื่อสอดรับ กับการปรับระบบบริหารงานบุคคล
ทิศทางการบริหารจัดการยุทธศาสตร์งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรณีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
บทที่1 ความรู้เบื้องต้นทางศิลปะ
วิชา กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ
โภชนาการ เด็กวัยเรียน สิรภัทร สาระรักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี
ผู้วิจัย ศิริมา เที่ยงสาย
เข็มมุ่งกรมอนามัย ประจำปี 2559
การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (Workplace Health Promotion)
ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ อ.เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
Family assessment.
แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี(ด้านสาธารณสุข) และการตรวจราชการประจำปี ๒๕๖๐
นางเกษรา อุ่นใจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
UHC : Universal Health Coverage: Achieving Social Protection for All
แนวทางการประเมินผลงานวิชาการ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช
การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
เครือข่ายโภชนาการช่วงแรกของชีวิต ประเทศไทย
เทคนิคการทำวิจัยสถาบัน
ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านเรียนการสอน
การตลาดในเศรษฐกิจยุคใหม่ (Marketing in the New Economy)
การพยาบาลมารดาระยะหลังคลอด
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
การรายงานผลการดำเนินงาน
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยใน (IPD)แบบประคับประคอง จังหวัดสกลนคร Discharge planning in Palliative care รายการ Assessment Planning/ผู้บันทึก D: Disease.
คลินิกอาชีวเวชศาสตร์
ขอชื่นชมอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ที่มีผลงานวิชาการ นำเสนอในเวทีระดับชาติ และตีพิมพ์ในวารสาร TCI ประจำปี พ.ศ
สมชาย ละอองพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง การอบรมระยะสั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด (หลักสูตรฟื้นฟู 10 วัน) วันที่ 22 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุม 89 พรรษาสมเด็จย่า Pornapa Boontasaeng, 22th May 2017

มะเร็งกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ในปัจจุบันมีความพยายามในการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด ตามความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น และในโรงมะเร็งบางชนิดตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นอย่างดี ความคาดหวังในการรักษา อาจคาดหวังถึงการหายจากโรคมะเร็งนั้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าเคมีบำบัดจะสามารถช่วยให้ระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ยาวนานขึ้นแต่ก็ไม่ได้หมายความถึงการดำรงอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี หลายครั้งที่เคมีบำบัดให้ผลในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดีแต่ผู้ป่วยกลับทุกข์ทรมานหรืออาจถึงแก่เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากผลข้างเคียงของเคมีบำบัด Pornapa Boontasaeng, 22th May 2017

คุณภาพชีวิต: มีชีวิตอย่างไรจึงเรียกว่า “ชีวิตที่มีคุณภาพ” “ได้กินอิ่ม” “อยากกินอะไร..ก็ให้ได้กิน” “ได้นอนหลับ” “คือ..หัวถึงหมอนนี้หลับเลย” “ ขับถ่ายได้” “ถ่ายไม่ได้ เยี่ยวไม่ได้ ..นี้ทรมานสุดล่ะ” “ใจเบิกบานไง” “ใจดี นี้ดีสุดสุดล่ะ” กินได้ – นอนหลับ – ขับถ่ายสะดวก - จิตใจเบิกบาน

คุณภาพชีวิต .. อาจหมายถึงอะไรที่มากไปกว่านั้น “อยากไปไหน ก็ได้ไป อยากกินอะไรก็ได้กิน” “อยากไปทำงาน.. เอาแบบทำงานได้นะ ไม่ใช่ว่านู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้” “อยากทำหน้าที่ได้ คือ เป็นสามีก็เป็นสามีได้ เป็นภรรยาก็เป็นภรรยาได้” “อยากกอดลูก อยากอุ้มหลาน อยากเล่นกับน้องหมา อยากกอดน้องแมว” คือ อยากทำในสิ่งที่เคยทำได้ http://blog.noonswoonapp.com/love-relationships https://es.123rf.com/ https://www.dogilike.com/

ความจริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็ง กินไม่ได้ กินได้น้อยลง อยากกินอาหารที่เคยกินได้ .... ก็ไม่ได้กิน

ความจริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็ง อยากไปหากินกับเพื่อนๆ ก็ไปไม่ได้

ความจริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็ง ต้องนอนหันหลังให้กัน ..แยกห้องนอน..แยกบ้าน

แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต

คุณภาพชีวิต: ความหมาย Aristotle กล่าวว่า..คุณภาพชีวิต คือ ความสุข .. การทำสิ่งใดที่เป็นความดีแล้วก่อให้เกิดความสุข และเชื่อว่าความสุขนั้นเป็นสิ่งที่พระเจ้าให้มา โดยสอนมนุษย์ให้ทำแต่ความดี เพื่อให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดี Dean อธิบายว่า คุณภาพชีวิต คือ ความพึงพอใจในชีวิต ความมีคุณค่าในตัวเอง ความผาสุก สุขสภาวะ ความสุข การปรับตัว ชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย และการทำหน้าที่ต่างๆ ของบุคคล Ferrans อธิบายว่า คุณภาพชีวิต คือ การมีชีวิตที่เป็นปกติ เกิดความสุข ความพึงพอใจในชีวิตที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

คุณภาพชีวิต.. เปลี่ยนแปลงไป.... ก็เพราะ ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วย โรคมะเร็ง โรคประจำตัวอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม การรักษา การผ่าตัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา และวิธีอื่นๆ ทำให้ภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะแทรกซ้อนจาการรักษา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เจ็บปาก ท้องเสีย ท้องผูก ติดเชื้อ มีไข้ มีเลือดออกผิดปกติตามที่ต่างๆ ... ไม่รวมกับเศร้าสร้อย วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่นคัน ผิวคล้ำ เล็บดำเล็บลาย มือเจ็บเท้าเจ็บ มือลอก เท้าลอก ชามือ ชาเท้า อ่อนแรง

คุณภาพชีวิต.. เปลี่ยนแปลงไป.... ก็เพราะ รู้สึกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่คุกคามสุขภาพ คุกคามชีวิต จึงเกิดความเครียด วิตกกังวล กลัวตาย และเบื่อหน่ายการรักษา รับรู้ถึงการมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานไม่แน่นอน ท้อแท้และหมดหวังในชีวิต รู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลงจึงแยกตัว ลดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นออกจากคนอื่น สูญเสียการทำหน้าที่ทางสังคม สูญเสียความมั่นใจ จึงต้องวางแผนการดำเนินชีวิตให้เข้ากันกับแผนการรักษาทั้งผู้ป่วย ทั้งผู้ดูแล ทั้งหน้าที่การงานที่ต้องทำ ต้องขาดรายได้ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่ารักษา ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์สนับสนุนและอื่นๆ

การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งในการศึกษาทางคลินิก การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็ง ใช้คุณภาพชีวิตเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญ หากการรักษานั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมาก หรือเป็นมะเร็งที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา การพิจารณารักษาจะพิจารณาว่า การรักษานั้นๆ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงใด ถ้าส่งผลกระทบมาก และมีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ แผนการรักษาอาจจำเป็นต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรักษา ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยทางคลินิกหากเป็นผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณารับแผนการรักษาอย่างมาก ในรายที่มะเร็งตอบสนองต่อการรักษาดี หวังผลถึงการรักษาให้หายขาด หรือ หวังว่าจะมีระยะที่โรคสงบยาวนาน แม้การรักษาจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตก็จะถูกนำมาพิจารณารักษาและหาทางป้องกันสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

แนวคิดคุณภาพชีวิตกับการรักษาพยาบาล ในวงการสุขภาพ ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตมาตั้งเป็นเป้าหมายในการรักษาพยาบาล และนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการให้บริการ การดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งที่เจ็บป่วยและไม่เจ็บป่วย ทางด้านการพยาบาล มุ่งให้ความสนใจกับการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ โดยที่ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามสภาพที่เป็นอยู่ในสังคมขณะนั้น นำแนวคิดคุณภาพชีวิตมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการพยาบาล และนำมาพัฒนาการพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยให้มีระดับที่ดีขึ้น (Padilla and Grant, 1985)

แบบวัดคุณภาพชีวิตตามแนวคิดของ (Padilla and Grant, 1985) สมจิต หนุเจริญกุล (2533) เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับ ความเพียงพอในการรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ การมีกิจกรรม การติดต่อกับบุคคลอื่น สมรรถภาพในการทำงาน ความรู้สึกเป็นสุข ความพึงพอใจในชีวิต ความไม่สุขสบายจากอาการข้างเคียง การสูญเสียภาพลักษณ์ของตนเอง ประกอบด้วยข้อคำถาม 19 ข้อ คะแนน 0 – 100 ให้ผู้ป่วยทำเครื่องหมาย X ลงในช่วงของคะแนน และเขียนตัวเลขกำกับ 0 20 40 60 80 100 ไม่มีเลย มากที่สุด การการแปลผลคะแนน คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 0-33 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิตระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต > 33-66 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิตระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต >66-100 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิต ระดับสูง

แบบวัดคุณภาพชีวิตดัดแปลงจากแบบวัดคุณภาพของ(Burckhardt, 1982) บังอร ฤทธิ์อุดม (2536 อ้างถึงใน อุบล จ๋วงพานิช, 2542) ประกอบด้วยแบบวัด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบวัดความพึงพอใจในชีวิตเฉพาะเรื่อง (Domain satisfaction rating scale) ประกอบด้วยคำถาม 24 ข้อ เป็นแบบวัดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ คือ หมายถึง คะแนน พอใจอย่างยิ่ง ขณะนี้ผู้ตอบมีความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องนั้นอย่างมากที่สุด 5 พอใจ ขณะนี้ผู้ตอบมีความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องนั้น 4 ไม่แน่ใจ ขณะนี้ผู้ตอบมีความรู้สึกไม่แน่ใจว่าพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ 3 ไม่พึงพอใจ ขณะนี้ผู้ตอบมีความรู้สึกไม่พึงพอใจในเรื่องนั้น 2 ไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง ขณะนี้ผู้ตอบมีความไม่รู้สึกพึงพอใจในเรื่องนั้นอย่างมากที่สุด 1

แบบวัดคุณภาพชีวิตดัดแปลงจากแบบวัดคุณภาพของ(Burckhardt, 1982) บังอร ฤทธิ์อุดม (2536 อ้างถึงใน อุบล จ๋วงพานิช, 2542) ประกอบด้วยแบบวัด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 2 แบบวัดคุณภาพชีวิตโดยรวม (Overall quality of life rating) เป็นแบบวัดที่ประเมินภาวะจิตวิสัย โดยสรุปเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยรวมทั้งหมดของตน ซึ่งมีเพียงคำถามเดียว โดยให้ผู้ตอบคิดว่าขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ระดับใด และเลือกตอบเพียงคำตอบเดียวที่ตรงกับความรู้สึกที่เป็นจริง ลักษณะคำตอบเป็นแบบวัดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ คือ หมายถึง คะแนน ดีมาก ผู้ตอบคิดว่าโดยสรุปแล้วในขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนอยู่ในระดับดีมาก 5 ดีพอใช้ ผู้ตอบคิดว่าโดยสรุปแล้วในขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนอยู่ในระดับดีพอใช้ 4 ปานกลาง ผู้ตอบคิดว่าโดยสรุปแล้วในขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนอยู่ในระดับปานกลาง 3 ไม่ดี ผู้ตอบคิดว่าโดยสรุปแล้วในขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนอยู่ในระดับไม่ดี 2 แย่มาก ผู้ตอบคิดว่าโดยสรุปแล้วในขณะนั้นคุณภาพชีวิตของตนอยู่ในระดับไม่ดีที่สุด 1

แบบวัดคุณภาพชีวิตดัดแปลงจากแบบวัดคุณภาพของ(Burckhardt, 1982) บังอร ฤทธิ์อุดม (2536 อ้างถึงใน อุบล จ๋วงพานิช, 2542) คะแนนคุณภาพชีวิตเป็นผลรวมของคะแนนที่ได้จากแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตเฉพาะเรื่อง และแบบวัดคุณภาพชีวิตโดยรวม คะแนนทั้งหมดของแบบวัดคุณภาพชีวิตมีช่วงคะแนนระหว่าง 25 – 125 คะแนน โดยที่คะแนนต่ำแสดงถึงทิศทางของคะแนนคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี และคะแนนสูงแสดงถึงทิศทางของคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อคำถาม พึงพอใจอย่างยิ่ง พึงพอใจ ไม่แน่ใจ ไม่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง 1. อาหารที่ท่านรับประทาน 2. เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ท่านสวมใส่ 3. ........... 24. ความสะดวกหรือความสบายใจในการออกไปมีกิจกรรมภายนอกบ้าน

แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง (Functional Assessment of Cancer Therapy: FACT) เป็นเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง พัฒนาโดย Cella, D. และคณะ, 1993 ฉบับ FACT-G (V.4) ประกอบด้วยคำถามคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ ความผาสุกด้านร่างกาย มีข้อคำถาม 7 ข้อ ความผาสุกด้านสังคม/ ครอบครัว มีข้อคำถาม 7 ข้อ ความผาสุกด้านอารมณ์จิตใจ ครอบครัว มีข้อคำถาม 6 ข้อ ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรม ครอบครัว มีข้อคำถาม 7 ข้อ แบบสอบถามเป็นเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ในแต่ละข้อมีค่าคะแนน 0 – 4 คะแนน ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้านคือคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวม แบ่งระดับคุณภาพชีวิตเป็น 3 ระดับ คือ คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 0.1 - 36  หมายถึงมีคุณภาพชีวิตระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 36.1 - 72 หมายถึงมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 72.1-108 หมายถึงมีคุณภาพชีวิต ระดับสูง

Functional Assessment of Cancer Therapy: FACT FACT-G มะเร็งทั่วไป FACT-O มะเร็งรังไข่ FACT-Hep มะเร็งตับ FACT-C มะเร็งลำไส้ใหญ่ FACT-E มะเร็งหลอดอาหาร FACT-H&N มะเร็งศรีษะและคอ FACT-En มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก FACT-L มะเร็งปอด FACT-Leu มะเร็งเม็ดเลือดขาว FACT-B มะเร็งเต้านม FACT-Br มะเร็งสมอง FACT-Cx มะเร็งปากมดลูก

ข้อคำถามใน FACT - G ความผาสุกด้านร่างกาย ไม่เลย เล็กน้อย ปานกลาง ค่อนข้างมาก มากที่สุด 1. ข้าพเจ้ารู้สึกหมดเรี่ยวแรง 2. ข้าพเจ้าคลื่นไส้ 3. …………………….. 7. ข้าพเจ้าต้องใช้เวลาส่วนใหญ่นอนอยู่บนเตียง

แบบวัดคุณภาพชีวิตของ WHO WHOQOL-BREF มี 26 ข้อคำถาม มีความหมายด้านบวก 23 ข้อ ความหมายด้านลบ 3 ข้อ - ครอบคลุมองค์ประกอบของคุณภาพชีวิต 4 ด้าน 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสัมพันธ์ทางสังคม 4. ด้านสิ่งแวดล้อม มีฉบับภาษาไทยที่ถูกพัฒนามาจาก WHOQOL-100 ได้รับการยอมรับจาก WHO อย่างเป็นทางการ

การให้คะแนน คะแนนกลุ่มที่ 1 ความหมายทางลบ กลุ่มที่ 1 แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้ ตอบ ไม่เลย 5 คะแนน เล็กน้อย 4 คะแนน ปานกลาง 3 คะแนน มาก 2 คะแนน มากที่สุด 1 คะแนน

การให้คะแนน คะแนนกลุ่มที่ 2 ความหมายทางบวก กลุ่มที่ 2 แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้ ตอบ ไม่เลย 1 คะแนน เล็กน้อย 2 คะแนน ปานกลาง 3 คะแนน มาก 4 คะแนน มากที่สุด 5 คะแนน

การแปลผล คะแนนที่ได้ คือ 26 – 130 คแนน คะแนน แสดงถึง 26 – 60 การมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี 61 – 95 การมีคุณภาพชีวิตกลางๆ 96 – 130 การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณสมบัติของแบบประเมินคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อความสั้น เข้าใจง่ายนำไปใช้สะดวก ครอบคลุมองค์ประกอบของชีวิตแต่ละด้าน เนื้อหาสอดคล้องกับกลุ่มประชากรที่ศึกษา เป็นค่าปริมาณ มีคะแนนเป็นตัวเลข ใช้ได้ทุกสถานการณ์ มีข้อจำกัดน้อยที่สุด ได้ตรวจสอบความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ เป็นที่ยอมรับในการวัดจากผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพของผู้ถูกวัด แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างเด่นชัด มีเหตุผลดี

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง เรื่อง ผลการให้การพยาบาลระบบสนับสนุนการดูแลตนเองและให้ความรู้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมและได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด (อุบล จ๋วงพานิช รัชนีพร คนชุม และสมจิตร หร่องบุตรศรี, 2546) กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร แบบวัดคุณภาพชีวิต ผลการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมและได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ คุณภาพชีวิต แบบวัดคุณภาพชีวิตที่พัฒนามาจากแบบวัดคุณภาพของเบอร์ชาร์ท, 1982 โดย บังอร ฤทธิ์อุดม, 2536 แบบวัดคุณภาพชีวิตโดยรวม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง เรื่อง ความสามารถในการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกขณะได้รับรังสีรักษาและหลังได้รับรังสีรักษา (วรวรรณ เหนือคลอง, 2534) กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร แบบวัดคุณภาพชีวิต ผลการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกขณะได้รับรังสีรักษาและหลังได้รับรังสีรักษา ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต แบบวัดคุณภาพชีวิตที่พัฒนามาจากดรรชนีวัดคุณภาพชีวิตของพาดิลา และคณะ, 1983 โดย สมจิต หนุเจริญกุล, 2531 ความสามารถในการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในทางบวกมดทั้งขณะได้รับรังสีรักษาและหลังได้รับรังสีรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การจัดการกับอาการ ความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี (สุรชัย มณีเนตร และชนกพร จิตปัญญา, 2557) กลุ่มเป้าหมาย ตัวแปร แบบวัดคุณภาพชีวิต ผลการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดี อาการ การจัดการกับอาการ ความเข้มแข็งในการมองโลก คุณภาพชีวิต แบบวัดคุณภาพชีวิตFACT-G ที่พัฒนาโดย เซลลา และคณะ, 1993 ฉบับภาษาไทย (วรชัย รัตนธราธร และคณะ, 2531) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีอยู่ในระดับปานกลาง อาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์ทางบากกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

ก่อนประเมินคุณภาพของชีวิต.. ต้องรู้จักชีวิต

การประเมินความผาสุกในมิติคุณภาพชีวิต การเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพที่ดี ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และมีความเป็นส่วนตัว เปิดการสนทนาด้วยคำถามง่ายๆ “เป็นอย่างไรบ้างคะ .. เมื่อคืนนอนหลับไหม” “ เช้าวันนี้รับประทานอาหารได้บ้างไหมคะ” เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้บอกเล่าถึงความเจ็บป่วย .. ความรู้สึกไม่สบาย ซึ่งในการสนทนานั้นเราจะได้รู้ว่า ผู้ป่วยรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองอย่างไร รับรู้แผนการรักษา หรือวิธีการดูแลตนเอง มองตนเองอย่างไร เห็นคุณค่าตนเองหรือไม่ อย่างไร

การประเมินความผาสุกในมิติคุณภาพชีวิต สังเกตการทำกิจวัตรประจำวัน อันนี้จะเป็นการประเมินสมรรถนะทางกาย ดูว่าทำได้มาก - น้อยแค่ไหน สังเกตสีหน้าท่าทาง การแสดงออก และมีคำถาม “เหนื่อยไหม เวลาเราลุกเดิน” หรือ เมื่อทำกิจกรรมอื่นๆ สังเกตุการช่วยเหลือ การดูแลของผู้ดูแลในครอบครัว สังเกตสีหน้าท่าทาง การแสดงออก มองให้เห็นกระบวนการความสัมพันธ์ การพูดคุยสนทนาระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุย และบอกเล่าถึงความรู้สึก ซึ่งตรงนี้เราจะเห็นความกังวล ความวิตก หรือแม้กระทั่งความกลัว จากคำถามของผู้ป่วย “ผ่าแล้วจะฟื้นไหม” “ผ่าแล้วต้องเข้ายา (เคมี)ไหม” “เขาว่า .. เป็นแนวนี่ ปัวกะตาย บ่ปัวกะตาย ความกลัวนี้ ... น่ากลัว

การถูกทอดทิ้ง .. นี้ น่ากลัว

ผู้ป่วยและครอบครัว .. ผู้ให้การดูแล และเครือข่ายร่วมดูแล

ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว (Patient & Family Assessments) ประเมินความพร้อมที่จะรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การรับรู้เรื่องโรค ภาวะสุขภาพ ความเชื่อ และความคาดหวังต่อการรักษา ของผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการจัดการในครอบครัว การทำหน้าที่ และบทบาทอื่นๆ ประเมินแหล่งประโยชน์ ผู้ดูแล สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาตามนัดและการติดตามการรักษา Pornnapa Boontasaeng, 22th May 2017

ทำความรู้จักผู้ป่วยของเราอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยเราเป็นใคร มีภูมิหลังและความเป็นมาอย่างไร ศาสนา ศาสดา ที่นับถือ พุทธ คริสต์ อิสลาม (หากนับคริสต์ นิกายใด เรียกตนเองว่า “คริสตัง” “คริสเตียน” หรือ “พยานพระยะโฮวา” ) มีความเชื่อต่อสิ่งใด มีสิ่งใดเป็นที่ยึดมั่น ศรัทธา อยู่ในบริบท สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างไร มีความสัมพันธ์กับผู้คนในสังคมอย่างไร มีบทบาท หน้าที่ ตำแหน่ง การทำงาน ทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน และในสังคมอย่างไร

ทำความรู้จักผู้ป่วยของเราอย่างครอบคลุม สิ่งที่ทำแล้วมีความสุข มีความภาคภูมิใจ .. มีความคิด ความหวัง และความคาดหวังอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องบ่งบอกความผาสุกทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณและสะท้อนให้เราเห็นว่าความเจ็บป่วยนี้ ส่งผลกระทบต่อความผาสุกของเขาหรือไม่ อย่างไร ช่วยให้เรามองเห็นว่า สิ่งใด กิจกรรมใด หรือบุคคลใดที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนหรือเติมเต็มชีวิตให้ผู้ป่วยนั้นมีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร

พี่เขยผมกำลังวาดรูปบนถนนในโรงเรียน โรงเรียนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ รูปลวดลายดอกไม้บาน บนกิ่งก้านอันอ่อนช้อย สร้างงานศิลป์จนถึงเป็นผู้อำนวยการ สร้างมายาวนานตั้งแต่เป็นครูน้อย และแล้วลำเรือกาลเวลาที่เทียบท่ารอคอย ก็ถึงยามพาล่องลอยเดินทางไกลไป ณ ฟากโพ้น เพลงพิณที่แผ่วพริ้วผ่านทางลมในหุบผา ณ ช่วงยามอำลาอันอ่อนโยน ผู้เป็นที่รักรับรู้และไม่ร้องกู่ตระโกน เราเชื่อว่า ณ ฝั่งโน้นย่อมเป็นดินแดนดีงาม เชิญเถิดเชิญกล่าวคำอำนวยพร และคำลาก่อนหาใช่สิ่งต้องห้าม จิตวิญญาณเราจะเชื่อมโยงโมงยาม วาววามด้วยความระลึกถึงอันเป็นนิรันดร์. ........... ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ทำความรู้จักครอบครัว ผู้ดูแลและเครือข่ายร่วมดูแล สมาชิกในครอบครัว มีใครบ้าง ใครคือผู้ดูแล มีการจัดการการดูแลในครอบครัว อย่างไร “แม่บอระบัติ” “ผู้ปรนนิบัติ” “Primary Caregiver” “ผู้ดูแลผลัดเปลี่ยน” “ผู้ดูแลสนับสนุน” ความสัมพันธ์..สัมพันธภาพ...กับผู้ดูแล การรับรู้ของครอบครัวเกี่ยวกับ..ความเจ็บป่วย..แผนการรักษา..เป้าหมาย.. ความต้องการการดูแล ความคาดหวัง..ต่อผลการรักษา แหล่งประโยชน์ แหล่งสนับสนุน ความสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม ครอบครัว และเครือญาติ สถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน และความสัมพันธ์กับบุคลากรสุขภาพและสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน

แผนผังครอบครัว P C

ความสัมพันธ์ในครอบครัว ลูกเขย ลูกสาว สามี ผู้ป่วย หลาน หลาน

การประเมินด้านจิตสังคม และจิตวิญญาณ แหล่งประโยชน์ แหล่งสนับสนุน ความสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม ครอบครัว และเครือญาติ ความสัมพันธ์กับบุคลากรสุขภาพ และสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน

แหล่งสนับสนุนทางสังคม พี่น้อง รพ.ใกล้บ้าน เครือญาติ ลูกเขย ลูกสาว พระ ผู้ป่วย ผู้นำ ด้านจิตวิญญาณ สามี หลาน หลาน หมอลำ รพ.ศรีนครินทร์ เพื่อนบ้าน

Family Genogram & Attachment

Social Network

Social Network

เรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา

ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย หญิงไทย วัย 49 ปี CA Cervix: PV; Exophytic mass 0 8 Cms. มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องน้อย ปวดก้น มีไข้ ถ่ายอุจาระลำบาก ปัสสาวะออกครั้งละน้อย รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด

ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย มีความปวด..ปวดท้อง “ปวดมาก” นอนไม่หลับ มีภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ Anemia: Hct 21 Vol% มีไข้ Dehydration ถ่ายอุจาระลำบาก ปัสสาวะไม่สุด

การรักษา รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด Pain Management ATB Blood transfusion

ให้การพยาบาลเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยเหลือจัดการอาการที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย และบรรเทาความทุกข์ทรมาน ส่งเสริมให้ได้นอนหลับและพักผ่อนอย่างเพียงพอในสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรและปลอดภัย สนับสนุนและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามแผนการรักษาและภาวะสุขภาพ ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่เพียงพอและมีประโยชน์เหมาะสมต่อภาวะสุขภาพ ดูแลให้ได้ขับถ่ายอย่างเป็นปกติปกติ สนับสนุนให้ข้อมูล ความรู้และคำนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อให้มุขภาพดี แข็งแรงและปลอดภัยในระหว่างการรักษา สนับสนุนให้ญาติอยู่ดูแล ฝึกทักษะและปฏิบัติช่วยเหลือดูแล รวมทั้งให้กำลังใจผู้ป่วยและผู้ดูแลในครอบครัว

การพยาบาลเมื่อเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด: วิถีของการดูแลที่ถูกต้อง ครอบคลุม และต่อเนื่อง Pornnapa Boontasaeng, 21th May 2010

บทส่งท้าย การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดให้ได้รับการรักษาอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในระหว่างการรักษาและภายหลังการรักษา นับเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของพยาบาลที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการร่วมดูแลจากทีมสุขภาพ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องพัฒนาความสามารถในการพยาบาลให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีความเข้าใจ และเข้าถึงจิตใจ อารมณ์ สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยและครอบครัว จึงจะสามารถให้การพยาบาล ดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวมีชีวิตอยู่กับภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีความสุขตามภาวะสุขภาพนั้น

มีเวลาเหลืออยู่ ... มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันดีไหม?