การเตรียมโรงเรือน การจัดการ 1. การย้ายมูลไก่ออกจากโรงเรือน กรณีเลี้ยงไก่ตั้งแต่รุ่นที่ 2 เป็นต้นไป ย้ายมูลไก่ออกจากโรงเรือน โดยใช้พลั่วตักมูลไก่ออก แล้วนำไปทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปตากแห้ง เพื่อนำไปปลูกพืชผักสวนครัว เป็นการหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ เมื่อขนย้ายมูลไก่เรียบร้อยแล้วจึงทำความสะอาดโรงเรือน เริ่มตั้งแต่เพดานด้านบน โดยฉีดน้ำพ่นให้สิ่งกปรกหล่นลงมา เมื่อทำความสะอาดด้านบนเสร็จ ด้านล่างจะมีความชื้น ให้ฉีดน้ำเพื่อให้มูลไก่ไปกองรวมกันเพียงด้านเดียว ห้ามฉีดย้อนไปย้อนมา เพราะจะทำให้การล้างไม่มีประสิทธิภาพ ล้างไล่จากส่วนที่สูงไปสู่ส่วนที่ต่ำ ฉีดน้ำพร้อมๆกับการกวาดและถูสลับกัน
การเตรียมโรงเรือน การจัดการ 1. การย้ายมูลไก่ออกจากโรงเรือน การล้างโรงเรือนนับเป็นปัจจัยที่ 1 ที่ทำให้การเลี้ยงไก่มีประสิทธิภาพ ในรุ่นแรกอาจไม่พบปัญหามากนัก แต่สำหรับรุ่นที่ 2-3 เป็นต้นไปจะต้องเข้มงวดมากขึ้น เพราะเมื่อเลี้ยงไปหลายๆรุ่น มูลไก่จะเป็นบ่อเกิดของการเพาะเชื้อหมักหมม หากนำไก่ใหม่เข้ามา เชื้อโรคที่เกิดจากมูลไก่จะเข้าสู่ไก่ใหม่ ทำให้เกิดความสูญเสียได้
การเตรียมโรงเรือน การจัดการ 2. ตัดหญ้ารอบบริเวณโรงเรือน ตัดหญ้ารอบบริเวณโรงเรือน ให้รัศมีห่างออกไปอย่างน้อย 4 เมตร เพื่อป้องกัน หนู หรือ งู เนื่องจากไก่ไข่ตกใจง่าย และเวลาตกใจมักกระโดดชนกรง ผลเสียก็คือ ไข่อยู่ข้างในแตก 3. ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง โดยใช้ยาในกลุ่ม ไซเปอร์เมททริน อัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 250 ลิตร: พื้นที่ 1000 ตร.ม.
การเตรียมโรงเรือน การจัดการ 4. เก็บกวาดขยะ เก็บกวาดขยะ ซากแมลง สิ่งปฏิกูลต่างๆ ภายในและรอบโรงเรือน 5. ล้างทำความสะอาดโรงเรือน กรงตับ และอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ ล้างทำความสะอาดโรงเรือน กรงตับ และอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก โรงเรือน โดยลักษณะกรงของโรงเรือนเป็นตาข่าย จะทำให้ล้างยาก วิธีล้างคือให้ฉีด ไล่จากข้างบนลงมา
การเตรียมโรงเรือน การจัดการ 6. ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ โดยใช้ยาในกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ อัตราส่วน 1 ลิตร : น้ำ 150 ลิตร : พื้นที่ 400 ตร.ม. ทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน โดยปกติสัตวแพทย์ประจำเขตจะเข้าไปแนะนำ เรื่องอัตราส่วนให้ และเมื่อล้างเล้าไก่สัก 3 วัน ควรฉีดซ้ำอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจ 7. ปิดโรงเรือน ห้ามบุคคลหรือสัตว์เข้าออกโรงเรือน เมื่อฉีดพ่นยาเรียบร้อยแล้วให้ปิดโรงเรือน ห้ามบุคคลหรือสัตว์เข้าออกโรงเรือนอย่างน้อย 21 วัน ก่อนนำไก่สาวเข้าเลี้ยง โรงเรือนต้องคลุมตาข่ายให้มิดชิด เพื่อป้องกัน นก หนู ไม่ให้เข้าไปในโรงเรือน รวมถึงปิดช่องระบายอากาศ และท่อระบายน้ำด้วย
3.3 การรับไก่รุ่นไข่ 1. ขอใบอนุญาตเข้าเลี้ยงสัตว์จากปศุสัตว์ในท้องที่ 3.3 การรับไก่รุ่นไข่ 1. ขอใบอนุญาตเข้าเลี้ยงสัตว์จากปศุสัตว์ในท้องที่ 2. ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ เช่นรางน้ำ รางอาหาร เป็นต้น 3. รีบนำไก่ลงจากรถและนำเข้าอย่างนุ่มนวลและรวดเร็ว 4. ให้ไก่ที่เข้ามาใหม่นั้นได้กินน้ำทันที โดยฝึกการกินน้ำ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วจึงให้อาหารทีละน้อย
การรับไก่รุ่นไข การจัดการ ขอใบอนุญาตเข้าเลี้ยงสัตว์จากปศุสัตว์ในท้องที่ เมื่อสร้างโรงเรือนเสร็จ ต้องแจ้งปศุสัตว์อำเภอถึงโรงเรือน ว่าสร้างเสร็จเรียบร้อย ตามมาตรฐานฟาร์ม รอเอาไก่เข้า ปศุสัตว์จะออกหนังสือการรับรองไก่ จากนั้นนำหนังสือที่ได้ส่งถึงสัตวบาล เพื่อทำการเคลื่อนย้ายไก่มาให้ เพิ่ม รายละเอียดมาตรฐานฟาร์ม ........ (รายการที่ต้องทำให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์)
การรับไก่รุ่นไข การจัดการ การย้ายไก่ ขณะเคลื่อนย้ายไก่ ต้องมีกล่องใส่ให้พอเหมาะพอดี ไม่ควรใส่กระบะรถมา ถ้าระยะทาง 100 กิโลเมตร สามารถใส่ได้กล่องละ 10 ตัว ถ้าเกิน 200 กิโลเมตร แนะนำให้ใส่ 8 ตัว เนื่องจากระยะทางไกล ไก่จะเหนื่อย ช้ำ ความเสียหายค่อนข้างเยอะ ในกรณีที่รับไก่มาไม่ดี ไก่เพลีย ไก่ไม่กินน้ำ หรือไม่กินอาหาร ต้องปรึกษาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด
การรับไก่รุ่นไข การจัดการ การให้น้ำ และอาหาร ก่อนนำไก่เข้าโรงเรือน ต้องตรวจสอบความพร้อมของตรวจสอบก่อนว่าระบบน้ำภายในโรงเรือนเปิดให้พร้อมใช้งานเรียบร้อย เมื่อนำไก่เข้า ต้องให้น้ำก่อนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงให้อาหาร ใน 3 วันแรก ของการรับไก่ ถ้าไก่กินอาหารไม่ได้ ให้เปิดไฟทิ้งไว้ 3 วัน 3คืน เพื่อให้ไก่ได้เรียนรู้การกินน้ำ กินอาหาร ในกรณีหากกินไม่ได้เท่าปกติ ให้เพิ่มการให้แสงสว่างเป็น 7 วัน โดยกลางวันไม่ต้องเปิดไฟ สามารถใช้แสงธรรมชาติได้
การรับไก่รุ่นไข การจัดการ การคัดไก่ เมื่อไก่เข้า 1 -2 วันแรก ต้องทำการชั่งไก่และคัดไก่ โดยไก่ตัวเล็ก หงอนเล็ก ให้นำขึ้นไว้ข้างบน ส่วนไก่ตัวใหญ่ หงอนใหญ่ ให้นำมาอยู่รวมกันข้างล่าง เพราะหากนำไก่ตัวเล็กและไก่ตัวใหญ่เข้ามาอยู่รวมกัน ไก่ตัวใหญ่จะแย่งกินอาหารกินหมด อีกทั้งถ้านำไก่ตัวใหญ่ขึ้นไว้ข้างบน ไก่ตัวเล็กจะได้รับแสงสว่างไม่เพียงพอ
กรณีไม่มีเครื่องพ่นทำอย่างไร 3.4 การจัดการไก่ก่อนเริ่มไข่ 1. ให้แสง 22 ช.ม. ในสัปดาห์แรก เพื่อให้ไก่ได้ปรับตัวและเรียนรู้การกินอาหารและน้ำ เน้นให้เฉพาะแสงธรรมชาติจนกว่าน้ำหนักไก่จะได้ 1.550 กก. จึงเปิดการให้แสงตามตามโปรแกรมการให้แสง 2. เสริมวิตามิน 3 วันแรก เพื่อลดความเครียด 3. หลังเข้าไก่เต็มเล้า 5 วัน พิจารณาพ่นไรโดยดูจากตัวไก่โดยตรง (ใช้เครื่องพ่นแรงดัน 20–30 bar หรือจับไก่จุ่มน้ำยา) ใช้ Cypermethrin อัตราส่วน1 ซีซี:น้ำ1 ลิตร สารละลาย150 ซีซี:ไก่ 1ตัว 4. หลังพ่นไร 1 สัปดาห์ (อายุไก่ 20 สัปดาห์) ทำการหยอดวัคซีนหรือละลายน้ำตามโปรแกรมสัตวแพทย์ กรณีไม่มีเครื่องพ่นทำอย่างไร
รับไก่สาวก่อนให้เริ่มไข่ 1 - 2 สัปดาห์ ควรเลี้ยงไก่อายุเดียวกัน คัดไก่ขนาดเดียวกันไว้ในกรงเดียวกัน ฝึกไก่กินน้ำโดยการกดนิปเปิ๊ลให้น้ำหยดลงถ้วยน้ำ ให้แสง 22 ช.ม. ใน 3 วันแรก หลังจากเข้าไก่
ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน
พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน ใช้ พานาคูร์ อัตราส่วน10 มิลลิกรัม/ตัว/วัน กินติดต่อกัน 3 วัน 1. ไก่ 100 ตัว ใช้ยา 100 ซีซี/ วัน 2. ไก่ 200 ตัว ใช้ยา 200 ซีซี/ วัน 3. ไก่ 300 ตัว ใช้ยา 300 ซีซี/ วัน ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน พยาธิตัวกลม เพิ่ม วิธีการทำ พยาธิตัวแบน
การจัดการก่อนไก่เริ่มไข่ การถ่ายพยาธิ ทำไมไก่ยืนกรงถึงมีพยาธิ สาเหตุหลักที่ทำให้ไก่มีพยาธิ คือ แมลงวัน เพราะเมื่อแมลงวันบินมาตอมอาหาร อาจเอาไข่พยาธิติดมาด้วย และเมื่อไก่กินอาหารนั้นๆเข้าไป ก็ทำให้เกิดการแพร่กระจายของพยาธิในไก่ ผู้เลี้ยงจะไม่สามารถรู้ได้ว่าไก่มีพยาธิหรือไม่ จนกว่าไก่จะขับออกมาเป็นพยาธิ หากไก่ขับออกมาเป็นพยาธิเต็มตัว นั่นคือไก่ทุกตัวมีพยาธิ 100% ไก่ที่มีพยาธิมีหลักสังเกตเบื้องต้น คือ ไก่กินได้ดีแต่ผอม ขอบตาหลือง แห้ง ซีด การรักษา ใช้ยาพานาคูร์ อัตราส่วน 10 มิลลิกรัม/ตัว/วัน กินติดต่อกัน 3-5 วัน ตามดุลพินิจของสัตวแพทย์
ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน ใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มไซเปอร์เมททริน อัตราส่วน 50 ซี.ซี./น้ำ 100 ลิตร ต่อไก่ 1,000 ตัว ฉีดพ่น หรือ จับไก่จุ่มน้ำ ไรไก่ เหาไก่ เพิ่ม เทคนิค/วิธีการ การพ่น/จุ่มน้ำ
เพิ่ม วิธีการกำจัดไร/เหา การจัดการ การจัดการก่อนไก่เริ่มไข่ การกำจัดไรและเหา ไรและเหา มักจะมากับโรงเรือนที่ไม่มีคุณภาพ หรือติดมาตั้งแต่แรก ดังนั้น ก่อนนำไก่เข้าโรงเรือนจะต้องสังเกตว่าเวลาจับไก่เข้ากรง มีตัวอะไรเล็กๆ ไต่ยิบๆที่มือหรือไม่ ถ้ามีนั่นหมายความว่าไก่ที่จะนำเข้าโรงเรือนมีไรติดอยู่ ส่วนเหามักจะติดอยู่ตามปีก ถ้าดึงขนหางออกมาจะสามารถสังเกตเห็นได้ หากพบไรต้องแจ้งให้สัตวแพทย์นำยามาพ่น เพราะหากไก่ที่เลี้ยงมีไร จะส่งผลให้ไก่ไม่ได้นอน ไม่ได้พักผ่อน ปริมาณไข่ลดลงไป 3% การรักษาใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไซเปอร์เมททรินอัตราส่วน 50 ซีซี/น้ำ 100 ลิตร/ไก่ 1000 ตัว เพิ่ม วิธีการกำจัดไร/เหา
ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน
การจัดการก่อนไก่เริ่มไข่ การซ่อมปากไก่ ปากไก่ที่ดีนั้น ปากบนจะสั้นกว่าปากล่างเล็กน้อย โค้งมน ไม่สั้นหรือยาวเกินไป โดยทางสัตวบาลจะคัดไก่และตัดปากไก่ให้ประมาณ 2 มิลลิเมตรก่อนนำมาส่งโรงเรียน ไก่ที่ปากไม่ดี จะทำให้ไก่เลือกกินอาหารและจิกกัน ส่งผลให้ไก่ตัวอื่นเสียหาย เพราะไก่ตัวอื่นไม่สามารถจิกได้เนื่องจากถูกตัดปากไปแล้ว การซ่อมปากไก่ ไม่แนะนำให้ซ่อมเอง กรณีมีไก่ปากยาว ต้องแต่งปากไก่โดยวิธี - ใช้เครื่องตัดปาก กรณีที่ปากยาวมากๆ - ใช้เครื่องตัดปากจี้ กรณีที่ปากยาวไม่เท่ากัน เพิ่มเติม กรณีซ่อมปากไก่เอง ทำอย่างไร ใช้อุปกรณ์อะไร
สัปดาห์ที่ แสง (ชม.) เวลาเปิด (น.) เวลาปิด ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน สัปดาห์ที่ แสง (ชม.) เวลาเปิด (น.) เวลาปิด ไก่เข้าใหม่ 2 -3 วัน จนไก่กินอาหรเป็น 22 18.00 06.00 อายุไก่ที่ 16 - 19 15 03.00 อายุไข่ที่ 1 – 14 อายุไข่ที่ 15 14 04.00 อายุไข่ที่ 16 13 05.00 อายุไข่ที่ 17 - ปลด แสงธรรมชาติ วิธีการนับชั่วโมงแสง ชั่วโมงแสงในตาราง ต้องรวมชั่วโมงแสงธรรมชาติ หรืออย่างไร เช่น 18.00-06.00 นับได้ 12 ชม.
การจัดการก่อนไก่เริ่มไข่ การให้แสงสว่าง ไก่ 3-7 วันแรก ควรได้รับแสง 23 ชม. กรณีที่ไก่กินได้อาจจะแค่ 3 วัน แต่ถ้ากินไม่ได้ เปิดต่ออีกเป็น 7 วัน ตั้งแต่อายุไข่ที่ 1 สัปดาห์ แสงอยู่ที่ 12 ชม. เมื่ออายุไข่เพิ่มขึ้น การให้แสงก็จะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละครึ่งชั่วโมง จนถึง 15 ชม. หมายเหตุ อายุไก่ 19 สัปดาห์ = อายุไข่ที่ 1 สัปดาห์
ถ่ายพยาธิ กำจัดไรและเหา คัดไก่ซ่อมปาก การให้แสงสว่าง การให้วัคซีน
การจัดการก่อนไก่เริ่มไข่ การให้วัคซีน ไก่เข้าเลี้ยงใหม่ควรให้วัคซีนครั้งแรกที่อายุ 20 สัปดาห์ ควรให้วัคซีนตามเวลาที่กำหนด ให้วัคซีนนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบชนิดเชื้อเป็น โดยการหยอดและละลายน้ำดื่ม ทั้ง 2 ชนิด ให้พร้อมกันหรือออย่างไร บอกวิธีการหยอดวัคซีน การละลายน้ำให้ไก่กิน
3.5 หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร 3.5 หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร กระตุ้นการกินอาหารในช่วงอายุไข่ที่ 1–10 สัปดาห์ ให้ได้ที่ 11.00 – 11.50 กก./100 ตัว/วัน ให้แสง 15 ชม. ต่อ วัน หรือมากกว่านี้ หากกินอาหารไม่ได้ เงื่อนไขไก่ไข่ “กินอาหารได้ไข่ได้” คำนวณจาก มาตรฐานเป็นแนวทาง ใช้ STD ตามอายุ x จำนวนตัวไก่/100 ตัว คำนวณอาหารแยกเป็นแถว ยึดถือหลักอาหารหมด วัน/วัน ปริมาณอาหารต้องสม่ำเสมอในราง ให้อาหาร 15.00 น. ครั้งเดียว ต้องกระตุ้นการกินหากไก่กินไม่ได้ตามต้องการโดยการเกลี่ยอาหาร 4 – 5 ครั้ง/วัน
ปริมาณการกินอาหาร (ค่ามาตรฐาน)
หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การจัดการ หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การให้วัคซีน เมื่อไก่เข้าโรงเรือนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มปล่อยให้ไข่ ในช่วงนี้ไก่จะกินประมาณ 90 กรัม และเมื่ออายุไข่ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องผลักดันให้กินอาหารให้ได้ 100-115 กรัม ถ้าไข่เยอะแล้วไม่ให้อาหาร จะเกิดปัญหาไข่ลดลง อาหารที่ใช้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ อายุไก่ 18-19 อาหารใช้เบอร์ 523 NP อายุการไข่ที่ 1-36 อาหารใช้เบอร์ 524 NFP อายุการไข่ที่ 37-ปลด อาหารใช้เบอร์ 525 NFP (ค่ามาตรฐาน)
ใช้อาหารระยะก่อนไข่ 2-3 สัปดาห์ เมื่อไก่ให้ไข่ได้ 3 % เริ่มใช้อาหารระยะไข่ ให้อาหาร 1 ครั้ง /วัน เกลี่ยอาหารบ่อยครั้ง เพิ่มแสงในช่วงกลางคืน
การให้อาหารไก่ในระยะให้ไข่ ให้อาหารวันละ 1 ครั้ง เวลา 15.00 น. หลังให้อาหารต้องเกลี่ยอาหารทุกครั้ง อาหารต้องหมดรางไม่น้อยกว่า 1-2 ชั่วโมงก่อนการให้อาหารครั้งต่อไป
หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การจัดการ หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การให้อาหารไก่ในระยะให้ไข่ โดยปกติไก่จะแบ่งออกเป็น 4 แถว ยกตัวอยางเช่น ไก่ 100 ตัว แบ่ง 4 แถว ๆ ละ 25 ตัว ในการให้อาหารต้องคำนวณว่า 100 ตัว กินตัวละ 115 กรัม คำนวณตัดให้เป็นแถว ดังนั้นจะได้แถวละ (100*115)/4 = 2875 กรัม โดยให้อาหารเวลาเดียว คือ 15.00 น. ทุกเช้าต้องเกลี่ยอาหาร อย่าหมักหมมอาหาร เพราะจะเกิดเชื้อรา เมื่อไก่กินเข้าไปจะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ไข่ไม่ดี และติดเชื้อ ไก่ไทยต้องเลี้ยงอย่างสะอาดจึงให้ไข่ดี อาหารต้องให้หมดรางไม่น้อยกว่า1-2 ชั่วโมงก่อนการให้อาหารครั้งต่อไป ปริมาณอาหารในราง ต้องสม่ำเสมอ อย่าใช้กระป๋องใหญ่ๆเทอาหาร แต่ให้ใช้ขันเล็กๆตัก เพื่อป้องกันอาหารหก
การให้อาหารไก่ในระยะให้ไข่ ดูแลทำความสะอาดรางอาหาร อยู่เสมอ (ทุก 2 วัน ) เกลี่ยอาหารบ่อยครั้ง (วันละ 4-5 ครั้ง) จนกว่าไก่จะกินอาหารได้ตามมาตรฐาน
หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การจัดการ หลักเกณฑ์ในการให้อาหาร การให้อาหารไก่ในระยะให้ไข่ ดูแลทำความสะอาดรางอาหารอยู่เสมอ โดย 1-2 วันให้เช็ดทำความสะอาด 1 ครั้ง กระตุ้นการกินอาหาร หากไก่กินไม่ให้ได้ตามมาตรฐานต้องการ โดยการเกลี่ยอาหาร 4-5 ครั้งต่อวัน ไก่ที่ให้ไข่ได้ดีจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1 กิโล 85 ถึง 1 กิโล 95 ควรสุ่มชั่งน้ำหนักเดือนละครั้ง เพื่อให้รู้ภาวะของไก่ 1.85-1.95 ก.ก.
อาหารสำเร็จรูปไก่ไข่
3.6 การให้น้ำ น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด ผ่านการกรอง หรือผ่านการฆ่าเชื้อ 3.6 การให้น้ำ น้ำที่ให้ไก่กินต้องสะอาด ผ่านการกรอง หรือผ่านการฆ่าเชื้อ การให้น้ำด้วยราง ควรทำความสะอาดวันละ 2 ครั้ง การให้น้ำด้วยระบบนิปเปิ้ล ควรทำความสะอาดทุกๆ 2 WK ความดันน้ำของระบบนิปเปิ้ล เท่ากับ 10-16 นิ้วของความสูงน้ำ ปริมาณการไหลของน้ำไม่น้อยกว่า 75 ซี.ซี. / นาที ตรวจคุณภาพน้ำเป็นประจำ การฆ่าเชื้อในน้ำดื่มจะทำให้ลดการติดเชื้อของน้ำ ปริมาณน้ำที่กินเป็นตัวชี้วัดการกินอาหารได้ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ไก่จะกินน้ำประมาณ 2 เท่าของปริมาณอาหารที่กิน การตรวจคุณภาพน้ำ ทำอย่างไร
ตารางการปฏิบัติงานประจำวัน 8.00 น. เปิดน้ำท้ายเล้าทิ้ง เกลี่ยอาหารเที่ยวที่ 1 13.00 น. เกลี่ยอาหารเที่ยวที่ 2 15.00 น. ให้อาหารวันละครั้ง ตามอายุการไข่ เก็บไข่วันละ 1 ครั้ง ทำความสะอาดรางอาหาร ตักมูลไก่ 16.00 น. เกลี่ยอาหารเที่ยวที่ 3 สรุปรายงาน
ความสัมพันธ์ของน้ำหนักไข่อาหารที่ใช้ เบอร์ 0 น้ำหนักไข่ > 70 กรัม เบอร์ 1 น้ำหนักไข่ 66- 70 กรัม เบอร์ 2 น้ำหนักไข่ 61- 65 กรัม เบอร์ 3 น้ำหนักไข่ 56- 60 กรัม เบอร์ 4 น้ำหนักไข่ 51- 55 กรัม เบอร์ 5 น้ำหนักไข่ 46- 50 กรัม เบอร์ 6 น้ำหนักไข่ 40- 45 กรัม การสุ่มชั่งน้ำหนักไข่เพื่อนำไปคำนวณเปรียบเทีบกับค่ามาตรฐานของบริษัท
3.8 การจัดการผลผลิต เมื่อเก็บไข่ไก่จากเล้าแล้ว ควรใส่ถาดใข่แล้วนำไปจัดเก็บไว้ในโรงคัดไข่ การคัดเกรดไข่ตามขนาด เล็ก / กลาง / ใหญ่ ตามความเหมาะสม ควรนำไข่บางส่วนไปประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทานเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 ฟอง/คน (โดยใช้เงินจากกองทุนอาหารกลางวันมาซื้อไข่ไก่) ส่วนที่เหลีอจากการประกอบอาหารให้นำไปจำหน่าย โดยเน้นการขายปลีก ฟองละไม่ต่ำกว่าต้นทุน (2.20 บาท/ฟอง) แต่ไม่ควรแพงกว่าราคาขายปลีกในหมู่บ้าน (3 บาท / ฟอง) โดยซื้อ – ขาย เป็นเงินสด
กรณีวันหยุด ต้องมีการวางแผนการจัดการผลผลิตโดยนำไปเสนอขายให้กับผู้ปกครองเพื่อให้เด็กนักเรียนรับประทานที่บ้านเป็นประจำ / วันเว้นวัน สำหรับไข่บุบ / แตก / นิ่ม อาจจะนำมาเป็นค่าแรงเลี้ยงไก่ หรือรางวัลของเด็กนักเรียนที่รับผิดชอบการเลี้ยงไก่ไข่ก็ได้ กรณีการนำไปขายหรือจัดจำหน่ายควรผ่านสหกรณ์ของโรงเรียน ควรมีการเช็ดสต็อกการรับไข่จากเล้าไก่เป็นประจำ และเช็คสต๊อกการจำหน่าย และไข่คงเหลือเป็นประจำ