บทที่ 2 Input & Output Devices

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Monitor LG LED 20” E2042TC Barcode:
Advertisements

แนะนำอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบหลักและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กไปถีงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการทำงาน.
ชุดที่ 2 Hardware.
ประเภทของ Input ข้อมูล - Data โปรแกรม - Program คำสั่งงาน - Command
SONY- Sony VAIO F (VPCF127HG)
SONY VAIO NOTEBOOK VGN-CR327
1.
ได้อะไรบ้างจาก หลักสูตร ? 1. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. เทคนิคและวิธีเลือกซื้ออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ 3. วิธีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ.
การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
LCD Monitor. ● ทำความรู้จักมอนิเตอร์ LCD ● ทำความรู้จักมอนิเตอร์ LCD ● ประเภทของมอนิเตอร์แบบ LCD ● ประเภทของมอนิเตอร์แบบ LCD ● หลักการทำงานของมอนิเตอร์
Introduction to Multimedia
Introduction to Multimedia
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
การแก้ไขปัญหาเครื่องพิมพ์
อิเล็กทรอนิกส์กับสื่อการสอนและ วิทยาการก้าวหน้าในวงการอิเล็กทรอนิกส์
IC เพื่อการประชาสัมพันธ์
หน่วยนำข้อมูลเข้าและออก Input Unit And Output Unit
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
อ. กิตติศักดิ์ โชติกิติพัฒน์. DataProcessInformation Text Voice Image Video etc Calculate Sum Sort Merge etc Text Voice Image Chart etc.
Computer graphic.
วัตถุประสงค์ อธิบายความหมายของการรับเข้าได้ อธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์นรับเข้าได้ อธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์บันทึกภาพ อธิบายความหมายของการส่งออก อธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ส่งออก.
HP- HP Pavilion dv6-3022TX ราคา 59,900 บาท. CPU : Intel Core i7-720QM (1.60GHz/L3 6 MB/QPI) Memory : 8GB DDR3 Harddisk : 640 GB 5400RPM Graphics : ATi.
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น อ. ว่าที่ ร. ต. กฤษฎา ศักดิ์คำดวง.
Output คือ การแสดงผลลัพท์ หรือ สารสนเทศ ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล แบ่งเป็น –Soft Copy ผลลัพท์ชั่วคราว –Hard Copy ผลลัพท์ถาวร Screen Output, Printed Output,
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลโดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ เครื่อง.
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Input&Output เสนอ อ. อภิเดช จิตมุ่ง โดย นาย ภคินนัย ชมภูนุช ม.4/1 เลขที่ 8 นางสาว ฟ้ารุ่ง วะสาร ม.4/1 เลขที่ 27 นางสาว รัฐภัทร บุญทัน.
นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษา “ กระดานอัจฉริยะ ”
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
งานวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
การสื่อสารข้อมูล.
วิชา ฮาร์ดแวร์ และการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ง33222
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : เทคโนโลยีการแสดงผลและจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
คอมพิวเตอร์..เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
บทที่ 3 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เครื่องมือวัดดิจิตอล
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
Computer Network.
Overview 13 October 2007
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 3 : เทคโนโลยีการแสดงผลและจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
สื่อประเภทเครื่องฉาย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
บทที่ 5 : ภาพบิตแมป สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ
การประชุมสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คืออะไร      คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงหาสารสนเทศ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล.
บทที่ 4 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและองค์ประกอบข้อมูล
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (COMPUTER NETWORK)
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for Life)
ผู้สอน : อ.บุศรินทร์ เอี่ยมธนากุล [อ.อ้อย]
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
School of Information & Communication Technology
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เรื่อง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
บทที่ 2 อุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผล (Input & Output Devices)
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และภาษาซี
บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 Input & Output Devices IT201 Computer and Information Technology

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจความสำคัญและความเข้าใจในการทำงาน ของอุปกรณ์ในการนำข้อมูลเข้าและอุปกรณ์แสดงผล ข้อมูล รู้จักกับอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าและอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลที่ ใช้งานในปัจจุบัน Ports ชนิดต่างๆ คุณสมบัติสำคัญของอุปกรณ์ต่างๆ

Computer System

Input Devices อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ - ส่งข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์อินพุตจะแปลงข้อมูลขาเข้าให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ก่อนที่จะเริ่มประมวลผลข้อมูลนั้น

Types of Input Devices Typing Devices Pointing Devices Scanning Devices (Source-data Automation) Other Devices

Typing Devices

Pointing Devices Mechanical Mouse Optical Mouse Roller Optical Cordless/ Wireless Mouse

Trackball (Upside down Mouse) มีทั้งชนิดที่แยกจากคีย์บอร์ด เวลาใช้จะต้องก็นำมาติดตั้ง และชนิดที่ติดตั้งอยู่กับคีย์บอร์ดอย่างถาวร

Trackball (Upside down Mouse) ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยเมี่อเทียบกับการใช้เมาส์ ลดปัญหาเรื่องฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับเมาส์ การใช้งาน เหมาะสำหรับงานออกแบบ นิยมใช้กับตู้คิออส (Kiosk) ใช้ในชุดอุปกรณ์เล่นเกมส์ ตู้เกมส์ อธิบายการใช้งานตู้คิออส

Trackball (Upside down Mouse) ตู้คิออส (Kiosk) Trackball อธิบายการใช้งานตู้คิออส

Trackball (Upside down Mouse) Optical Trackball

Pointing Devices Pointing Stick Trackpad

Pointing Devices ที่ใช้ในการเล่นเกม Game Pad Wheels Joystick

Scanning Devices Scanner หลักการพื้นฐานของสแกนเนอร์ รวมคุณสมบัติของกล้องถ่ายรูปอิเล็กทรอนิกส์ เข้ากับเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อใช้จับภาพ นำภาพต้นฉบับมาผ่านกระบวนการทำให้เป็นข้อมูลดิจิตอล โดยจะทำการแยกภาพทั้งหมดออกเป็นจุดย่อย ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) สแกนเนอร์เองก็จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้สามารถอ่านข้อมูลจากต้นฉบับได้ หลักการพื้นฐานของสแกนเนอร์ คือ การจัดรวมคุณสมบัติของกล้องถ่ายรูปอิเล็กทรอนิกส์ เข้ากับเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อใช้จับภาพ และนำต้นฉบับมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านกระบวนการทำให้เป็นข้อมูลดิจิตอล กระบวนการนี้จะทำการแยกภาพทั้งหมดออกเป็นจุดย่อย ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) และสแกนเนอร์เองก็จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้สามารถอ่านข้อมูลจากต้นฉบับได้

Scanner Scanner จัดเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในกลุ่ม Source-data Automation ซึ่งรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง Source-data Automation หมายถึง กระบวนการนำ ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องผ่านการ คัดลอกด้วยแรงงานมนุษย์ ข้อดี 1. ลดความผิดพลาดจากการพิมพ์ (Typing Errors) 2. ทำให้กระบวนการการนำข้อมูลเข้า เป็นไปอย่าง รวดเร็ว

ชนิดของ Scanners Flatbed Scanner (แบบแท่นนอน) Sheet fed Scanner (แบบเลื่อนกระดาษ) Portable Handheld Scanner

Scanning Devices OMR Reader Photo Scanner Barcode Reader

Scanning Devices Biometric Devices Ratina Scanner Finger Scanner

Microphone (Input for Sound) Other Input Devices Microphone (Input for Sound) LCD Pen Tablet Web Camera Digital Tablet

Other Input Devices -- Motion Tracking

Output Devices อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ หรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้กับผู้ใช้ โดยอุปกรณ์เอาท์พุตจะแปลงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจได้

ประเภทของผลลัพธ์ Soft Copy เป็นข้อมูล / ผลลัพธ์ที่ไม่ถาวร จะปรากฏแค่ชั่วคราว เช่น ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนจอภาพ Hard Copy เป็นข้อมูล / ผลลัพธ์ที่ปรากฏถาวร เช่น ผลลัพธ์ที่ถูกพิมพ์ลงบน กระดาษ

Output Devices for Soft Copy CRT ประเภทของ Monitor 1. Cathode Ray Tube (CRT) 2. Liquid Crystal Display (LCD) 3. Organic Light Emitting Diode (OLED) LCD OLED

CRT Monitor เป็นจอคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับจอโทรทัศน์ ซึ่งส่วนประกอบของจอภาพประกอบด้วย หลอดจอภาพเป็นแก้วขนาดใหญ่ เรียกว่า “หลอดรังสีคาโธด” (Cathode Ray Tube) ส่วนหน้าสุดของจอภาพ เรียกว่า “สกรีน” (Screen) ข้างในจอภาพถูกควบคุมด้วยจุด Phosphor จำนวน 3 จุดด้วยกัน คือ สีแดง 1 จุด สีเขียว 1 จุด และสีน้ำเงิน 1 จุด โดยถูกกำหนดเป็นพิกเซล

คุณสมบัติของ CRT Monitor Size Resolution Refresh Rate Dot Pitch

ขนาดของ Monitor การวัดขนาดของจอภาพจะใช้หลักเดียวกับการวัดขนาดของ จอทีวีทั่วไป คือ การวัดในแนวทะแยงมุม (Diagonally) จอภาพยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งทำงานสะดวกมากขึ้น แต่ราคาก็จะ สูงตามไปด้วย

Resolution จำนวนของ Pixels ทั้งหมดที่ปรากฏบนจอภาพ ตัวอย่างเช่น 640 x 480 หมายถึง 640 pixels แนวนอน และ 480 pixels แนวตั้ง

Refresh Rate เป็นจำนวนรอบที่ปืนอิเล็กตรอนฉายแสงไปครบทั้งจอภาพใน 1 วินาที หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นอัตราการสะท้อนแสงบนจอภาพ เพื่อทำให้ภาพคมชัด Refresh rate ใช้หน่วยเป็น Hertz (Hz) หรือ Cycle Per Second จอภาพที่ดีควรมี Refresh rate ระดับ 75 Hz หรือสูงกว่า อัตราของ Refresh rate ที่ต่ำเกินไปจะก่อให้เกิด flicker

Dot Pitch Dot pitch คือ ระยะห่างระหว่างจุดสีในหนึ่ง Pixel ในหนึ่ง pixel ประกอบด้วยจุดสี 3 จุดสี (dots) คือ Red , Green , Blue ถ้าจุดสี 3 จุดอยู่ไกลกัน จะเกิดความมัว (blur) จอภาพที่ดีควรมี dot pitch ไม่เกิน 0.28 millimeter

LCD (Liquid Crystal Display)

LCD (Liquid Crystal Display) Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า มักจะใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอเครื่อง Palm ขาวดำ เป็นส่วนใหญ่ Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก

คุณสมบัติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ LCD Monitor Aspect Ratio : รูปทรงของการแสดงผล หรือรูปทรงของจอ เช่น มาตรฐานทั่วไปเป็น 4:3 คือ ด้านกว้าง 4 ต่อความสูง 3 ส่วน จอภาพแบบ Wide screen มีสัดส่วนเป็น 16 : 9 Resolution : ค่าความละเอียดการแสดงผล ขึ้นอยู่กับ ขนาดที่เหมาะสม View Angle : ค่าของมุมมองที่สามารถมองจอมอนิเตอร์ เห็นชัดเจน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 120-140 องศา Aspect Ratio : รูปทรงของการแสดงผล เช่น มาตรฐานของมอนิเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนี้จะอยู่ที่ 4:3 คือ ด้านกว้าง 4 ต่อความสูง 3 ส่วน แต่ถ้าเป็นจอภาพแบบ Wide screen ก็จะมีสัดส่วนเป็น 16 : 9 คือ เป็นจอทรงยาวเหมาะกับการเอามาดูภาพยนตร์มากกว่าทำงานทั่วไป Resolution : ค่าความละเอียดการแสดงผล ขึ้นอยู่กับขนาดที่เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นมอนิเตอร์ขนาด 15 นิ้ว ค่าความละเอียดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1,024x768 พิกเซล แต่ถ้าเป็น 17 นิ้วก็อาจจะเป็นค่าเดียวกันหรือสูงกว่าคือ 1,280x1,024  พิกเซล ดังนั้นการเลือกค่าความละเอียดนั้นควรเลือกที่เหมาะสมกับการทำงาน View Angle : ค่าของมุมมองที่สามารถมองจอมอนิเตอร์เห็นชัดเจน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 120-140 องศา เช่น ถ้าจอที่เราจะซื้อมีมุมมองที่ 140 ก็คือ ให้แยกเป็น ซ้าย 70 และขวา 70 นั่นคือมุมมองที่สามารถมองจอในด้านข้างได้ชัดเจน ถ้าเกินกว่านั้นก็จะเริ่มมองไม่ชัด หรือมองไม่เห็นเลย Contrast Ratio : ค่าความสว่าง ที่มีตัวเลขออกมาเป็น 250 : 1 หรือ 400 : 1 ค่านี้คือค่าความต่างที่มอนิเตอร์ตัวนั้นสามารถแสดงผลสีขาวที่สว่างที่สุด กับสีดำที่มืดที่สุด ค่ายิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะจะชี้ให้เห็นว่าจอนั้นสามารถแสดงผลได้ชัดเจน ควรเลือกซื้อจอที่มีค่า Contrast Ratio สูงที่สุด จะดีกว่า

คุณสมบัติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ LCD Monitor Contrast Ratio : ค่าความสว่าง ที่มีตัวเลขออกมาเป็น 250 : 1 หรือ 400 : 1 เป็นค่าความต่างที่มอนิเตอร์ตัวนั้นสามารถแสดงผลสีขาวที่สว่างที่สุด กับสีดำที่มืดที่สุด ค่ายิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะจะชี้ให้เห็นว่าจอนั้นสามารถแสดงผลได้ชัดเจน ควรเลือกซื้อจอที่มีค่า Contrast Ratio สูง จะดีกว่า Response Time: เวลาอย่างน้อยที่สุดที่ใช้ในการแสดงภาพ ถ้าเวลาน้อยเท่าไร การแสดงภาพจะเร็วขึ้น Aspect Ratio : รูปทรงของการแสดงผล เช่น มาตรฐานของมอนิเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนี้จะอยู่ที่ 4:3 คือ ด้านกว้าง 4 ต่อความสูง 3 ส่วน แต่ถ้าเป็นจอภาพแบบ Wide screen ก็จะมีสัดส่วนเป็น 16 : 9 คือ เป็นจอทรงยาวเหมาะกับการเอามาดูภาพยนตร์มากกว่าทำงานทั่วไป Resolution : ค่าความละเอียดการแสดงผล ขึ้นอยู่กับขนาดที่เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นมอนิเตอร์ขนาด 15 นิ้ว ค่าความละเอียดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1,024x768 พิกเซล แต่ถ้าเป็น 17 นิ้วก็อาจจะเป็นค่าเดียวกันหรือสูงกว่าคือ 1,280x1,024  พิกเซล ดังนั้นการเลือกค่าความละเอียดนั้นควรเลือกที่เหมาะสมกับการทำงาน View Angle : ค่าของมุมมองที่สามารถมองจอมอนิเตอร์เห็นชัดเจน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 120-140 องศา เช่น ถ้าจอที่เราจะซื้อมีมุมมองที่ 140 ก็คือ ให้แยกเป็น ซ้าย 70 และขวา 70 นั่นคือมุมมองที่สามารถมองจอในด้านข้างได้ชัดเจน ถ้าเกินกว่านั้นก็จะเริ่มมองไม่ชัด หรือมองไม่เห็นเลย Contrast Ratio : ค่าความสว่าง ที่มีตัวเลขออกมาเป็น 250 : 1 หรือ 400 : 1 ค่านี้คือค่าความต่างที่มอนิเตอร์ตัวนั้นสามารถแสดงผลสีขาวที่สว่างที่สุด กับสีดำที่มืดที่สุด ค่ายิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะจะชี้ให้เห็นว่าจอนั้นสามารถแสดงผลได้ชัดเจน ควรเลือกซื้อจอที่มีค่า Contrast Ratio สูงที่สุด จะดีกว่า

OLED Monitor (Organic light-emitting diode) เทคโนโลยีจอแสดงผลเปลี่ยนรูปโฉมโดยมีการพัฒนาให้มีขนาด บางลง ถึงขนาดว่าสามารถม้วนพับเก็บไว้ได้ เนื่องจากไม่ต้อง อาศัยการส่องแสงออกมาจากหลังภาพ ทั้งยังให้ภาพที่คมชัดกว่า ใช้พลังงานน้อยลง มีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่า LCD Monitor ใน ขนาดเท่าๆ กันสูงถึง 40% เทคโนโลยีจอแสดงผลเปลี่ยนรูปโฉมโดยมีการพัฒนาให้มีขนาดบางลง ถึงขนาดว่าสามารถม้วนพับเก็บไว้ได้ เนื่องจากไม่ต้องอาศัยการส่องแสงออกมาจากหลังภาพ ทั้งยังให้ภาพที่คมชัดกว่าเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาขนาดเล็กอย่างเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือรุ่นบาง จากเคียวเซร่า ส่วนโซนี่ คอร์ปอเรชั่นทำจอทีวีขนาดเล็กที่ใช้เทคโนโลยีโอแอลอีดี เป็นต้น ใช้พลังงานน้อยลงและมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่า LCD Monitor ในขนาดเท่าๆ กันสูงถึง 40%

Other Output Devices Video Projector Speakers

เครื่องพิมพ์ (Printers) Output Devices for Hard Copy เครื่องพิมพ์ (Printers) คุณสมบัติสำคัญของเครื่องพิมพ์ คุณภาพของเครื่องพิมพ์วัดเป็น Dot Per Inch (DPI) ความเร็วของเครื่องพิมพ์วัดเป็น - Line Per Minute (LPM) หรือ - Page Per Minute (PPM) คุณสมบัติทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อ เครื่องพิมพ์ เพื่อให้มีคุณภาพการพิมพ์และความเร็วเหมาะสม กับการนำไปใช้งาน

Types of Printers 1. Impact Printer Line Printer Dot-Matrix Printer

Types of Printers Laser Printer 2. Non-Impact Printer Inkjet Printer Plotter

ลักษณะงานที่เหมาะสมกับเครื่องพิมพ์แต่ละประเภท ประเภท Dot-Matrix เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่สามารถทำ สำเนาได้ กระดาษใหญ่ หมึกถูก ประเภท Inkjet เหมาะหรับงานพิมพ์ทั่วไป สามารถพิมพ์ เอกสารและรูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้ ประเภท Laser เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียด หรือใช้ในสำนักงานขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีงาน เอกสารปริมาณที่มาก ประเภท Multifunction เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาพร้อม ทำงานที่ครบเครื่องทั้ง พิมพ์ สแกน ก๊อปปี้ และส่งแฟกซ์

เทคนิคการเลือกซื้อ Printer เปรียบเทียบเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นให้เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการ พิจารณาทั้งความเร็วในการพิมพ์และความละเอียดที่ต้องการใช้งาน ตรวจสอบการเชื่อมต่อ (ใช้ USB Port หรือ Parallel Port) ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่สามารถจุกระดาษและหมึกได้มากพอกับความ ต้องการใช้งาน โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยเกินไป ถ้าต้องการความละเอียดในการพิมพ์สูง ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มี หน่วยความจำมาก หรือ เลือกเครื่องพิมพ์ที่สามารถเพิ่ม หน่วยความจำได้ 1.เปรียบเทียบเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นด้วยผลงานแบบที่เราต้องการ เพราะงานพิมพ์เอกสาร กราฟิกและรูปถ่ายนั้นต้องการเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นจะพิมพ์เอกสารได้ดีกว่า ส่วนเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจะพิมพ์รูปภาพและกราฟิคได้ดีกว่า 2. อย่าเปรียบเทียบความเร็วในการพิมพ์จากค่าที่บริษัทใช้โฆษณา แต่ให้เทียบความเร็วในการพิมพ์ที่ความละเอียดที่เราต้องการใช้งาน เพราะเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้ความเร็วสูงสุดเป็นจุดขาย แต่เราจะใช้ความละเอียดสูงบ่อยกว่า 3. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ ถ้าหากเรายังใช้เครื่องรุ่นเก่าหรือระบบปฏิบัติการตัวเก่าที่ไม่สนับสนุน USB ต้องแน่ใจว่า เครื่องพิมพ์ที่ซื้อนั้นต่อพ่วงกับพอร์ตขนาน 4. ยิ่งถ้าเราเปลี่ยนอุปกรณ์สิ้นเปลืองน้อยครั้งเท่าใดยิ่งดี ถ้าเราพิมพ์เอกสารวันละ 25 แผ่น แต่เครื่องพิมพ์รองรับกระดาษได้ 25 แผ่นเช่นกัน เราจำเป็นต้องใส่กระดาษทุกๆ วัน ในขณะที่เครื่องพิมพ์ที่รองรับกระดาษได้ถึง 250 แผ่นนั้น เราเพียงแค่ใส่กระดาษเพิ่มอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องที่จุกระดาษและหมึกได้มากพอกับความต้องการใช้งาน โดยที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยเกินไป 5. เครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มหน่วยความจำได้ บางรุ่นภายในเครื่องอาจไม่มีหน่วยความจำมาให้หรือมีเพียงเล็กน้อย เพราะว่าจะทำงานทั้งหมดจากคอมพิวเตอร์ก่อน ในกรณีที่สามารถอัพเกรดหน่วยความจำได้ ตรวจสอบก่อนว่าเครื่องพิมพ์มีหน่วยความจำมาให้เพียงพอกับที่เราต้องการ เช่น เราอาจจะต้องอัพเกรดหน่วยความจำให้สูงขึ้นพื่อจะสามารถพิมพพ์งานที่ความละเอียดสูงสุด

เทคนิคการเลือกซื้อ Printer ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่สามารถรองรับงานพิมพ์ได้ประมาณ 4 เท่า ของงานพิมพ์จริงที่เราต้องการ ควรมีบริการอัพเดตไดรเวอร์และมีข้อมูลทางเทคนิค จากผู้ผลิต เมื่อต้องการเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายจริงที่ เกิดขึ้น เช่น สายไฟ ความจุของวัสดุสิ้นเปลือง ตลับหมึก เป็นต้น ถ้าไม่ต้องการพิมพ์งานสี เลือกเครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาว-ดำ ถ้าต้องการเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานร่วมกัน ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่ สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายได้ 6. ถ้าหากจำเป็นต้องพิมพ์งานปริมาณมากจริงๆ วิธีที่ดีทีสุดก็คือ จะต้องตรวจสอบปริมาณงานพิมพ์ที่เครื่องนั้นรองรับต่อเดือน โดยเครื่องที่เลืออกนั้นควรจะรองรับงานพิมพ์ได้ประมาณ 4 เท่าของงานพิมพ์จริงที่เราต้องการ 7. ก่อนจะซื้อเครื่องพิมพ์ ควรตรวจสอบเว็บไซด์ของผู้ผลิตเสียก่อน เพื่อดูว่าบริษัทมีการอัพเดตไดรเวอร์และมีข้อมูลทาวเทคนิคบริการเอาไว้ให้ 8. เมื่อต้องการเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น อุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องเช่น สายไฟ สายสัญญาณ ความจุของวัสดุสิ้นเปลือง ตลับหมึก ไม่ใช่เพียงแค่ดูจากราคาเครื่องที่แตกต่างกันเท่านั้น เพราะยิ่งถ้าหากเราพิมพ์งานมาก ค่าใช้จ่ายต่อแผ่นที่แม้จะต่างกันเพียงเล็กน้อยย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดเช่นกัน 10.ทางเลือกที่ควรจะเลือกสำหรับเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานร่วมกันคือ ต่อตรงเข้ากับเน็ตเวิร์กได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบวิธีการเชื่อมต่อ และซอฟต์แวร์ในการควบคุมตรวจสอบเครื่องพิมพ์ที่ให้มาด้วยว่าสามารถใช้งานร่วมกับเน็ตเวิร์กที่ใช้งานอยู่ได้หรือไม่

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ภายนอก Port เป็นส่วนของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่ ใช้ในการรับข้อมูล หรือแสดงผลจากคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น พอร์ตมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ Serial port Parallel port USB Port FireWire (IEEE 1394)

ตัวอย่าง Port ต่างๆ

Serial Port ข้อมูลจะถูกขนส่งผ่านสายส่งข้อมูลทีละบิต (bit) เรียงไปตามลำดับของข้อมูล ตัวอย่างเช่น Port ที่เชื่อมต่อกับ Mouse และ MODEM (Transfer Rate ประมาณ 115 kbps) PS/2

Parallel Port การรับหรือการส่งข้อมูล จะทำครั้งละหลายๆ บิต เป็นกลุ่มของข้อมูล เช่น ครั้งละ 8 บิต ใช้ในการเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ที่มีอัตราการรับส่ง ข้อมูลปานกลาง เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น Transfer Rate ประมาณ 150 - 1024 kbps

Serial and Parallel Ports

USB (Universal Serial Bus) Port เป็น Serial Port ความเร็วสูงคือ ประมาณ 12 Mbps ซึ่งเร็วกว่า Pararell Port ด้วย รองรับอุปกรณ์ได้หลายชนิด เสียบ-ถอดขณะเปิดเครื่องอยู่ได้

USB (Universal Serial Bus) Port เวอร์ชั่นปัจจุบันของ USB Ports คือ USB 2.0 หรือ เรียกว่า ไฮสปีด (Hi-Speed) ซึ่งมีความเร็วในการรับ- ส่งข้อมูลประมาณ 480 Mbps สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripherals) เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ และ อุปกรณ์เครือข่าย เชื่อมต่ออุปกรณ์มัลติมีเดีย เช่น สแกนเนอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เครื่องเล่นเพลง MP3

ตัวอย่างอุปกรณ์ทื่เชื่อมต่อผ่าน USB Port Handy Drive หรือ Pen Drive (USB Flash Drive )

FireWire (IEEE 1394) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อ พ่วงอีกชนิดหนึ่ง บางเมนบอร์ดจะ มีพอร์ตความเร็วสูงตามมาตรฐาน ใหม่ คือ IEEE 1394 มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่า USB Port คือ 800 Mbps

FireWire (IEEE 1394) ใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของช่องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยตรง

Input & Output Devices Multi-Purpose Device Telephone Digital Camera

สรุป Input Device and Output Devices สามารถอธิบายลักษณะและหนาที่ของอุปกรณ์นำเข้า ของข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลได้ ทราบถึงประเภทของอุปกรณ์นำเข้าของข้อมูล และ สามารถอธิบายหน้าที่การทำงานของแต่ละอุปกรณ์ได้ ทราบถึงประเภทของอุปกรณ์แสดงผล และสามารถ อธิบายหน้าที่การทำงานของแต่ละอุปกรณ์ได้ สามารถอธิบายลักษณะและหน้าที่ของอุปกรณ์เชื่อมต่อ ทราบถึงประเภทของอุปกรณ์เชื่อมต่อและสามารถ อธิบายหน้าที่การทำงานของแต่ละอุปกรณ์เชื่อมต่อ

ข้อมูลอ้างอิง www.dcomputer.com www.dailynew.co.th www.sisthai.com support.mof.go.th