Chapter 2 Subjects of International Law

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 1 วิวัฒนาการและลักษณะสำคัญ ของกฎหมายระหว่างประเทศ
Advertisements

Chapter 5 Law of the Sea Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law, CMU November 2015 Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015.
The Brief (global) History of the Un-sustainabilities
การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนที่พ้นโทษ
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
Public International Law & International Criminal Law
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law, CMU November 2015
Chapter 3 The Law of Treaties
Public International Law & International Criminal Law
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)
Chapter 9 Peaceful Settlement of Dispute
วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
หลักสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
HUMAN RIGHTS GAME.
กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การบริหารจัดการคดีชั้นสูง (คดีพิเศษและคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อน)
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont.)
Peace Theory.
กระบวนทัศน์การบริหารงานยุติธรรม
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
องค์การทางการเงินทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
@ North South Initiative
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 1)
Chapter I Introduction to Law and Environment
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
องค์การระหว่างประเทศ น.อ.กฤษฎางค์ สุทัศน์ ณ อยุธยา
Gucci v. Guess. Gucci v. Guess Gucci lost the court case in France to GUESS in February 2015 Gucci won the court case in Australia, in September 2015.
Chapter 7 Acquisition of Territory and Space Law
มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
AEC ผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อนายจ้างและแรงงานไทย
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities
Globalization and the Law
สไลด์การอภิปรายทิศทางฯงานสิทธิฯของพม.
บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด
วิชากฏหมายทะเล The Law of the Sea
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม,การจัดงาน
Chapter 2 Subjects of International Law
Law and Modern world กฎหมายกับโลกสมัยใหม่
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
โดย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์
บทที่ 2 วิวัฒนาการของกฎหมาย
กฎหมายสิ่งแวดล้อม : การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม
ปฏิทิน 2561 Calendar 2018 วันสำคัญที่เกี่ยวข้อง ด้านสิทธิมนุษยชน ตามที่องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนด Rights and Liberties Protection Department.
Review - Techniques of Environmental Law
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้สอนวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร(bus226)
ภัยคุกคามกับการรักษาความปลอดภัย
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง
Chapter 8 State and Sovereign Immunity
วันสำคัญที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน ตามที่องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนด Calendar 2019 ปฏิทิน 2562.
Chapter 8 State and Sovereign Immunity
การปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยกับ การอำนวยความเป็นธรรมในสังคม
การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement)
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
บทที่ 1 กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน
ความเป็นกลางในยุคดิจิทัล
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
Principles of codification
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Chapter 2 Subjects of International Law Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law September 2015

ประชากร (a permanent population) รัฐบาล (a government) “บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ การมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ มีสิทธิ หน้าที่หรือ อำนาจที่ก่อตั้งตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีความสามารถในการกระทำในบริบทระหว่างประเทศ ...” (Oppenheim’s International Law (9th ed. Vol. 1 Longman 1996, pp. 119-120) The Montevideo Convention on Rights and Duties of States 1933 ได้ให้คำนิยามคำว่า “รัฐ” ในมาตรา ๑ ว่า “รัฐในฐานะที่เป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ประชากร (a permanent population) ดินแดน (a defined territory) รัฐบาล (a government) ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่น (capacity to enter into relations with other states)

การรับรอง (Recognition) กับรัฐอื่นในฐานะการเป็นรัฐในสังคมระหว่างประเทศ (State Recognition) หรือ ความเต็มใจของรัฐบาล หนึ่งที่จะติดต่อสัมพันธ์กับรัฐบาลใหม่ในฐานะของการเป็นตัวแทนของรัฐ (Government Recognition) การรับรอง เป็นกระบวนการที่รัฐบาลใช้เฉพาะกรณีเมื่อเกิดข้อพิพาทด้านสถานภาพที่แท้จริงของรัฐหรือ รัฐบาล อาทิ มีคำถามหรือปัญหาว่าเป็นรัฐหรือไม่ หรือองค์คณะหรือกลุ่มบุคคลนี้เป็นรัฐบาลของประเทศ นั้นหรือไม่

ในเชิงทฤษฎีการรับรองรัฐมีด้วยกัน 2 ทฤษฎี ได้แก่ Constitutive theory หน่วยการเมืองนั้นมีคุณสมบัติครบทุกประการของการเป็นรัฐ แต่จะยังไม่ถือว่า เป็นรัฐจนกว่าจะมีการรับรอง Declaratory theory การรับรองเป็นเพียงแค่รูปแบบเท่านั้น ไม่มีผลในทางกฎหมาย กล่าวคือ รัฐมีอยู่ ตามความเป็นจริง ถ้าครบคุณสมบัติการเป็นรัฐก็ถือว่าเป็นรัฐ การให้การรับรองเป็นเพียงการรับรู้ข้อเท็จจริง นั้นเท่านั้น การรับรองรัฐ (Recognition of State) ต่างกันกับ การรับรองรัฐบาล (Recognition of Government)

รูปแบบการรับรองรัฐบาล (forms of recognition of governments) การรับรองแบบมีเงื่อนไข เป็นการให้การรับรองโดยพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลตามเงื่อนไข อาทิ อังกฤษให้การรับรองแก่รฐบาลของโปแลนด์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนเงื่อนไขว่ารัฐบาลนั้นต้องจัดให้มี การเลือกตั้งทั่วไปหลังจากประเทศเป็นอิสระแล้ว การรับรองรัฐบาลแบบ de jure เป็นการให้การรับรองแก่รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจำนวนมาก การรับรองรัฐบาลแบบ de facto เป็นการให้การรับรองแก่รัฐบาลที่มีการบริหารจัดการประเทศอย่าง สมบูรณ์เต็มที่ตามความเป็นจริง

การสรวมสิทธิรัฐ (State Succession) ประเด็นเรื่องการสรวมสิทธิรัฐเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบของประเทศ ที่ทำให้เกิดรัฐใหม่ (a successor state) การสรวมสิทธิรัฐ (state succession) เป็นการเปลี่ยนบุคคลตามกฎหมายระหว่าง ประเทศหรือการเกิดรัฐใหม่ในวิธีการต่างๆ อาทิ การผนวกดินแดน การแยกดินแดน การพ้นจากการเป็นรัฐใน อาณานิคม เป็นต้น การสรวมสิทธิรัฐ ก่อคำถามว่ารัฐใหม่ (successor state) จะรับตกทอดสิทธิและข้อผูกพันจาก รัฐเดิม (predecessor state) หรือไม่ การสรวมสิทธิรัฐนั้นได้กำหนดไว้ใน the Vienna Convention on Succession of States in respect of Treaties1978 มีผลใช้บังคับ 6 November 1996

กฎหมายระหว่างประเทศใหม่ หรือเกิดรัฐใหม่ State succession & Government succession การสรวมสิทธิทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน การสรวมสิทธิรัฐ (state succession) เป็นกรณีที่เกิดบุคคลตาม กฎหมายระหว่างประเทศใหม่ หรือเกิดรัฐใหม่ ส่วนการสรวมสิทธิรัฐบาล (government succession) เป็นกรณีที่เปลี่ยนรัฐบาลใหม่โดยยังคงมีรัฐเดิม รัฐบาลไม่ได้เป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศแต่เป็นเพียงแค่กระบอกเสียงของบุคคลตามกฎหมาย ระหว่างประเทศเท่านั้น การสรวมสิทธิรัฐบาล (Government succession) ไม่ทำให้สิทธิและข้อผูกพันของรัฐเปลี่ยน กล่าวคือ มีการตกทอดซึ่งสิทธิและข้อผูกพันมายังรัฐบาลใหม่ในฐานะที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐเดิม

คดี George W. Hopkins Claims อาทิ คดี George W. Hopkins Claims Hopkins ซื้อพันธบัตรใน Mexico ในช่วงที่เกิดความไม่สงบภายใน เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้ ปฏิเสธพันธบัตรดังกล่าวที่ออกโดยรัฐบาลที่ผ่านมา คณะตุลาการตัดสินว่าการขายพันธบัตรเป็นการปฏิบัติ งานบริหารทั่วไปที่ดำเนินการไปได้แม้ไม่มีรัฐบาล ดังนั้น พันธบัตรนี้ยังต้องได้ รับการชำระ คดี Tinoco Arbitration บริษัทอังกฤษทำสัญญากับระบอบ Tinoco ในประเทศ Costa Rica ระบอบ Tinoco ถูกโค่นลงรัฐบาลใหม่ อ้างว่าจะไม่ผูกพันตนกับสิ่งที่รัฐบาลระบอบ Tinoco ได้ทำไว้ ในคดีนี้คณะตุลาการพิจารณาว่า รัฐบาลระบอบ Tinoco เป็นรัฐบาลเดียวในขณะที่มีการทำสัญญา ดังนั้น จึงเป็นเพียงรัฐบาลเดียวที่เป็นกระบอกเสียงของ ประเทศ ซึ่งจะต้องผูกพันตามที่รัฐบาลระบอบ Tinoco ได้ทำไว้

อาทิ Robert E. Brown Claim การตกทอดข้อผูกพันที่เกิดจากการละเมิด (claims in tort) นั้น มีเฉพาะการสรวมสิทธิรัฐบาลเท่านั้น ไม่มีการตกทอดข้อผูกพันที่เกิดจากละเมิดในการสรวมสิทธิรัฐ เพราะการสรวมสิทธิรัฐเป็นกรณีที่เกิดรัฐใหม่ และเมื่อเกิดกรณีละเมิดนั้นรัฐใหม่ยังไม่เกิด ดังนั้น รัฐใหม่จึงไม่ต้องรับทอดผลละเมิด อาทิ Robert E. Brown Claim Brown คนอเมริกันเดินทางไป Old Transvaal Republic เพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดิน แต่ถูกปฏิเสธคำร้อง ในกรณีนี้อังกฤษเป็นผู้สรวมสิทธิในดินแดน Old Transvaal Republic และสหรัฐอเมริกาได้พยายามที่จะ เรียกร้องให้มีการบังคับสิทธิและรับผิดชอบต่อ Brown คณะตุลาการได้ปฏิเสธคำร้องของสหรัฐโดยให้เหตุ ผลว่าไม่มีการตกทอดความรับผิดในกรณีละเมิดเมื่อมีการสรวมสิทธิรัฐ

โดยหลักสนธิสัญญามีผลใช้ตลอดอาณาจักร เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น Vienna Convention on Succession of States in respect of Treaties 1978 มาตรา 2(1)(b) ได้กำหนดให้สิทธิและข้อผูกพันตกทอดสู่รัฐใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างไร ก็ตามสิทธิและข้อผูกพันตามสนธิสัญญาที่ตกทอดจากรัฐเก่าสู่รัฐใหม่มีข้อพิจารณาเพิ่มดังนี้ โดยหลักสนธิสัญญามีผลใช้ตลอดอาณาจักร เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ว่าด้วยสนธิสัญญาเกี่ยวกับอาณาเขต (a boundary treaty) นั้น โดยหลักการของความมั่งคง และ เสถียรภาพ (stability) การสรวมสิทธิจะไม่ขยายหรือปรับเปลี่ยนสนธิสัญญาเกี่ยวกับอาณาเขต ดังนั้น รัฐใหม่ก็ต้องรับทอดปัญหาข้อพิพาทชายแดนด้วย (ถ้ามี) ทั้งนี้อยู่บนหลักการ “รัฐมีในสิ่งที่ได้มี” [You have what you had Rule]

International Organization (IO) องค์การระหว่างประเทศ คือ องค์การที่ก่อตั้งโดยข้อตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป องค์การระหว่างประเทศมีความสามารถตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่หรือองค์การระหว่างประเทศ มีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ คดี Count Bernadotte Case 1949 เป็นกรณีที่ เจ้าหน้าที่หัวหน้าคณะผู้เจรจาแห่งองค์การสหประชาชาติ คือ Count Bernadotte คนสัญชาติสวีเดนถูกยิงเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ที่ Jerusalem ในเหตุการณ์นี้ องค์การสหประชาชาติได้ขอความเห็นจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (the international court of justice – ICJ) โดยศาลมีความเห็นว่า องค์การสหประชาชาติมีสภาพเป็น บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อเอื้อให้องค์การนี้สามารถฟ้องร้องคดีอันเนื่องมาจากความเสียหาย ที่เกิดแก่เจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ

อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าองค์การระหว่างประเทศเป็นรัฐ และไม่อาจกล่าวได้ว่าสิทธิและหน้าที่ของ องค์การระหว่างประเทศเป็นอย่างเดียวกับรัฐ ดังนั้นสิ่งจะสามารถพูดได้อย่างถูกต้องต่อการมีสภาพบุคคล ตามกฎหมายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศ คือ องค์การระหว่างประเทศเป็นบุคคลตาม กฎหมายระหว่างประเทศและมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างประเทศและสามารถฟ้องคดีต่อศาล นอกจากนั้นสิทธิและหน้าที่ยังขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาก่อตั้งองค์การ ระหว่างประเทศนั้น อาทิ UN Charter Article 43 กำหนดให้องค์การสหประชาชาติสามารถเข้าทำสนธิสัญญากับประเทศสมาชิก โดยเฉพาะสนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธ

ธรรมมนุษยชนแห่งยุโรป) Individual โดยหลักการแล้วเอกชนไม่เป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองจาก กฎหมายระหว่างประเทศ - ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนของรัฐนั้นได้มีประเด็นของสิทธิมนุษยชน (human rights) เข้ามาเกี่ยว ข้องกล่าวคือ เอกชนสามารถเข้าสู่ตุลาการระหว่างประเทศในกรณีมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน (เช่น ศาลยุติ ธรรมมนุษยชนแห่งยุโรป) การที่เอกชนสามารถเข้าสู่การยุติข้อพิพาททางการค้าและการลงทุน อาทิ จาก the 1965 Convention on the Settlement of Investment Disputes between States and Nationals of other States

เอกชนอาจถูกฟ้องเมื่อมีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยที่ถูกฟ้องต่อ ตุลาการระหว่างประเทศ อาทิ the International Criminal Court, the International Tribunal for the Prosecution of Persons Responsible for Serious Violations of International Humanitarian Law Committed in the Territory of the Former Yugoslavia , and ICT Rwanda สนธิสัญญาระหว่างรัฐ หรือระหว่างรัฐและองค์การระหว่างประเทศอาจกำหนดหน้าที่แก่เอกชน อาทิ International Convention on Civil Liability for Oil Pollution Damage 1969 ----------------- ในเรื่องการกำหนดหน้าที่ให้กับเอกชนนี้ Sir Hersch Lauterpacht ได้กล่าวดังนี้ “กรณีหน้าที่ที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศนั้น หลักการก็คือข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศผูกพันเอกชนโดยตรงโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติ ... โดยในคำตัดสินตุลาการทหาร ณ โตเกียว ได้กล่าวว่าอาชญกรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศถูกกระทำโดย “คน” และการลงโทษคนเท่านั้นที่ถือเป็นการบังคับตามกฎหมายระหว่างประเทศ