Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย แนวทางปฏิบัติ 1. การเตรียมให้สารน้ำ 1.1 บุคลากรควรได้รับการอบรมความรู้เรื่องระบาดวิทยา การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและฝึกฝนทักษะในเรื่องการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ควรทบทวนความรู้เป็นระยะ (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 1.2 เตรียมผู้ป่วยและญาติ โดยอธิบายให้ทราบถึงเหตุผลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (Category IA) 1.3 เตรียมให้สารน้ำ โดยตรวจดูชนิดของสารน้ำซึ่งต้องเป็นสารน้ำปราศจากเชื้อ ไม่ใช้สารน้ำที่มีลักษณะขุ่น ถุงรั่ว แตก หรือหมดอายุ ติดป้ายแสดงชื่อของผู้ป่วย ชนิดของสารน้ำและยาที่ผสมจำนวนหยดที่ให้ วัน-เวลาที่ให้ (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 1.4 เตรียมอุปกรณ์ในการให้สารน้ำ จำเป็นต้องอาศัยหลักการปราศจากเชื้อได้แก่ ชุดให้สารละลาย (IV set), เข็ม (Medicut) กระปุกสำลี ไม้พันสำลี และก๊อสปราศจากเชื้อแผ่นเล็ก, 70% Alcohol หรือ 10% Povidine และสารยางรัดแขน และพลาสเตอร์ที่สะอาด (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2. การให้สารน้ำ 2.1 ล้างมือแบบ hygienic hand washing หรือ alcohol hand rubs ให้สะอาดก่อนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำทุกครั้ง (Category IA) 2.2 เปิดชุดให้สารน้ำที่ปราศจากเชื้อแล้วปิด roller clamp ต่อชุดให้สารน้ำเข้ากับสารน้ำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อและไล่สารน้ำให้จนถึงปลายเข็ม (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.3 ผสมน้ำยาหรือสารน้ำอื่น ๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ(ถ้ามี) (Category IA) 2.4 ควรใช้ยาที่เป็น single dose ที่บรรจุใน ampule ไม่นำส่วนที่เหลือใน ampule กลับมาใช้อีก (Category II)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.5 กรณีที่ต้องใช้ยาหลายครั้ง (multidose vials) ให้ทำดังนี้ (Category IA) 2.5.1 ปฏิบัติตามหลัก Aseptic technique 2.5.2 เช็ดจุกยางด้วย 70% Alcohol ก่อนและหลังดูดยาทุกครั้ง 2.5.3 เก็บยาที่เหลือในกรณีที่เป็น vial อย่าง sterile ในตู้เย็นที่อุณหภูมิเหมาะสม (2-8 องศาเซลเซียส)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.6 เลือกตำแหน่งที่ต้องการให้สารน้ำที่ถูกต้องปลอดภัยทุกครั้ง หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังหรือมีบาดแผล หลีกเลี่ยงบริเวณข้อพับต่าง ๆ กรณีที่ผู้ป่วยมีขนให้หลีกเลี่ยง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ตัดขนก่อน ควรเลือกบริเวณ มือ ศีรษะ หลังเท้า สำหรับผู้ป่วยเด็กเล็ก (Category IA) 2.7 ใส่ถุงมือสะอาดในการแทงเข็มหลอดเลือดดำ (Category IA)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.8 ทำความสะอาดผิวหนังก่อนให้สารน้ำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อทุกครั้ง โดยเช็ดบริเวณผิวหนังด้วย 70% Alcohol รอจนระเหยแห้ง (Category IA) กรณีที่ใช้ 10% Povidine ควรปล่อยให้สัมผัสผิวหนังอย่างน้อย 2 นาที แต่ห้ามใช้ Chlorhexidine gluconate กับทารกอายุน้อยกว่า 2 เดือน (Category U)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.9 ใช้หลัก Aseptic technique ในการแทงเข็มห้ามนิ้วแตะสัมผัสบริเวณผิวหนังหลังทาน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนแทงเข็ม (Category IA) 2.10 ต่อสายให้สารน้ำกับเข็มโดยใช้หลักปลอดเชื้อ (Category IA) 2.11 ตรึงสายไว้ไม่ให้ หัก พับ งอ และเลื่อนหลุด (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.12 ปิดบริเวณรอยต่อระหว่างเข็มกับผิวหนังด้วย ก๊อสปราศจากเชื้อ ติดพลาสเตอร์ทับ หรือใช้แผ่นฟิล์มใสปราศจากเชื้อ (sterile, transparent, semi permeable dressing) (Category IA) ที่ประชุมมีมติให้ใช้ก๊อสปราศจากเชื้อปิดก่อนใช้ Fixomull ปิดทับอีกทีหนึ่ง ให้ Supply ตัดก๊อสแล้วทำให้ปราศจากเชื้อโดยการนึ่ง
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.13 บันทึกขั้น วัน เวลา แทงเข็ม ด้านบนพลาสเตอร์ปิดทับบริเวณที่แทงเข็ม และบันทึกการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ อัตราการหยดของสารน้ำ ลงในแบบฟอร์มที่เป็นมาตรฐาน (Category II)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 2.14 กรณีที่ให้ยา ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นข้อต่อและจุกยางให้สารน้ำด้วย 70% Alcohol ให้แห้งก่อนเติมยาเข้าสายให้สารน้ำทุกครั้ง (Category IA)
Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3. การดูแลผู้ป่วยขณะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย 3.1 ตรวจสอบบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ของสายให้สารน้ำ และเข็มให้อยู่ในสภาพที่แน่น ไม่หลวมหลุดง่าย มีการสวมปิดข้อต่อต่าง ๆ ด้วย stopcocks ทุกครั้ง (Category IB)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3.2 ควรถอดข้อต่อต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับสารน้ำที่ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วออกทันที (Category IA) 3.3 ตรวจสอบบริเวณที่ให้สารน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยสังเกตอาการบวมแดง และการไหลของสารน้ำเมื่อพบว่ามีอาการบวมแดง ควรมีการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เมื่อก๊อสมีการเปื้อนเลือดหรือคราบสกปรกให้ทำความสะอาดโดยเปลี่ยนใหม่ (Category II)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3.4 ดูแลบริเวณที่แทงเข็มไม่ให้เปียกชื้น ไม่ทา Antibiotic ointments หรือ cream ในตำแหน่งที่แทงเข็ม เพราะจะส่งเสริมการเกิดเชื้อรา หรือเชื้อดื้อยา (Category IA)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3.5 กรณีผู้ป่วย On Injection plug ให้ flush NSS 5 ml. ก่อนและหลังฉีดยาทุกครั้ง กรณีที่มียาฉีด 2 ชนิดขึ้นไปในเวลาเดียวกัน ให้ใช้ NSS flush ก่อนเริ่มยาอีกตัว ในกรณีที่มียาฉีดวันละครั้งหรือวันละ 2 ครั้ง ให้ใช้ NSS flush ทุก 6 ชั่วโมง และเพื่อป้องกันการลืม ควร Run ในใบ Medical sheet ด้วย (Category IC)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3.6 ล้างมือและสวมถุงมือสะอาดเมื่อเปลี่ยน Dressing (Category IC) 3.7 เปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็ม เมื่อเข็มออกนอกหลอดเลือดหรือเมื่อมีการติดเชื้อในตำแหน่งที่แทงเข็มหรือเกิด Phlebitis หากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวให้เปลี่ยนทุก 3 วัน (Category IC)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 3.8 ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (Category IA) 3.9 หากพบว่าไม่ได้ปฏิบัติตามหลัก Aseptic technique อย่างเคร่งครัด เช่น กรณีเร่งรีบ ฉุกเฉิน ให้เปลี่ยนทันทีที่ทำได้หรือภายใน 24 ชั่วโมง (Category II) 3.10 เอาเข็มให้สารน้ำออกทันทีที่ความจำเป็นสิ้นสุดลง (Category IA)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 4. การเปลี่ยนสารน้ำและชุดให้สารน้ำ 4.1 เปลี่ยนสายให้สารน้ำทุก 72 ชั่วโมง (Category IA) 4.2 เปลี่ยนชุดให้เลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือดทุก 4 ชั่วโมง (Category IB)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 4.3 กรณีที่ให้สารน้ำที่มีส่วนผสมของไขมัน ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง กรณีที่ใช้สารไขมัน (Lipid emulsion alone) ให้หมดภายใน 12 ชั่วโมง แต่ถ้าปริมาณมากควรให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง (Category IB)
ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) Clinical practice guideline-CPG การป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ต่อ) 5. การเฝ้าระวังการติดเชื้อ (Category IB)\ 5.1 ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย 5.2 วิเคราะห์และรายงานอัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิตในรูปอุบัติการณ์ โดยคิดต่อ 1000 วันที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
มาตรฐานการจัดระดับคุณค่าหลักฐาน (Evidence level) ของสถาบัน CDC Category IA ข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากที่สุด โดยมีข้อมูลสนับสนุนจากรายงานการวิจัยเชิงทดลองที่มีกระบวนการวิจัยสมบูรณ์ถูกต้อง และมีการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาประกอบ Category IB ข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยมีข้อมูลสนับสนุนจากรายงานการวิจัย/การศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยา ทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้อง Category IC ข้อกำหนดที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรสากรให้ใช้เป็นกฎหรือมาตรฐานเดี่ยวกัน Category II แนะนำให้ปฏิบัติตามเนื่องจากมีรายงานการระบาดวิทยาที่มีความเกี่ยวเนื่องและสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือ Unresolved Issue (U) การนำเสนอยังหาข้อสรุปไม่ได้เนื่องจากหลักฐานหรือข้อสนับสนุนยังไม่เพียงพอ