วิชา พุทธปรัชญาเถรวาท THERAVADA BUDDHIST PHILOSOPHY ดร.ชัยชาญ ศรีหานู มจร. บาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
บทที่ ๑ แนวความคิดทางปรัชญาทั่วไป บทที่ ๑ แนวความคิดทางปรัชญาทั่วไป เนื้อหา ๑.๑ ลักษณะของปรัชญาต่าง ๆ ๑.๒ แนวความคิดปรัชญาตะวันออก-ตะวันตก ๑.๓ ศึกษาลักษณะเฉพาะของพุทธปรัชญา ๑.๔ ศึกษาข้อแตกต่างระหว่างพุทธศาสนากับปรัชญา
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ประจำบท ๑.๑. บอกลักษณะของปรัชญาทั่วไปได้ ๑.๒. เข้าใจแนวความคิดปรัชญาตะวันออก-ตะวันตก ๑.๓. เข้าใจลักษณะเฉพาะของพุทธปรัชญาเถรวาท ๑.๔. อธิบายข้อแตกต่างระหว่างพุทธศาสนากับปรัชญา
๑.๒ ลักษณะของปรัชญา ๑. ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ ๒. ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน และ ๓. ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
๑. ปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ เพราะ มนุษย์เป็นสัตว์รู้คิด แต่บางครั้งความอยากรู้อยาก เห็นของมนุษย์ ก็เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการหา ความรู้ เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Descartes ๑๕๙๐-๑๖๕๐)
๒. ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาพื้นฐาน ปัญหาพื้นฐานที่ปรัชญาศึกษา คือ ๑) อะไรคือความจริงสูงสุด? ๒) เราจะรู้ความจริงนั้นได้อย่างไร? ๓) มนุษย์เราจะกระทำอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับความจริงนั้น?
๓. ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์ โลกทัศน์ คือ ความเชื่ออันเป็นระบบในวิถีชีวิต ของคนๆ หนึ่ง
๑.๓ แนวคิดปรัชญาตะวันออก - ตะวันตก
๑.๓.๑ แนวคิดปรัชญาทางตะวันออก ๑. ปรัชญาอินเดีย ๒. ปรัชญาจีน ๓. ปรัชญาญี่ปุ่น
๑. ปรัชญาอินเดีย ปรัชญาอินเดียเริ่มปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่ ๓,๐๐๐-๔,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ. -เริ่มต้นจากพระเวท -พัฒนามาเป็นแนวคิดเรื่อง พรหมัน คือสิ่งจริง สูงสุด -การดำเนินตาม ชญานโยคะ-กรมโยคะ-ภักติ โยคะ
ปรัชญาจีน ๑. เล่าจื๊อ ลักษณะของปรัชญาเล่าจื๊อเป็นอภิปรัชญาล้วน ๆ สิ่งที่เป็นเบื้องต้นของสิ่งทั้งปวง คือ เต๋า ๒. ปรัชญาขงจื๊อ ขงจื๊อเกิดเมื่อประมาณ ๕๕๑ ปี ก่อนคริสตศักราช สอนหลักจริยศาสตร์ไว้ ๕ ประการ คือ (๑) หลักความเมตตา (๒) หลักความชอบธรรม (๓) หลักความเหมาะสม (๔) หลักความรอบรู้หรือปัญญา (๕) หลักความเป็นผู้น่าเชื่อถือได้
๓. ปรัชญาญี่ปุ่น ญี่ปุ่นโบราณในทางปฏิบัติมีปรัชญาในการดำเนินชีวิต โดยยึดตามหลักคำสอนขงจื๊อ เห็นอกเห็นใจกัน อาศัยสติปัญญาเป็นแนวทางปฏิบัติ เคารพต่อบรรพบุรุษ และ กฎระเบียบของสังคมเป็นสำคัญ ต่อมาในราวปลายศตวรรษที่ ๑๙ จักรพรรดิเมจิ ได้ ยอมรับศาสนาชินโตเป็นศาสนาของรัฐ เพื่อจะหล่อหลอมจิตใจของคนในชาติ และเพื่อ ผลทางการเมือง ปรัชญาในลัทธิชินโตจึงได้ฝังจิตฝังใจของชาวญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา ฉะนั้น เทพเจ้าในลัทธิชินโตจึงมีความสำคัญที่สุด เพราะนอกจากให้กำเนิดจักรพรรดิญี่ปุ่นแล้ว ยังให้ความคุ้มครองช่วยเหลือประเทศชาติ และประชาชนทุกคน ประชาชนผู้รักชาติ อุทิศตน เพื่อประเทศชาติจึงเสมือนภักดีต่อพระเจ้าด้วย
๑.๓.๒ แนวคิดปรัชญาตะวันตก
The Three Most Famous Philosophers Socrates Plato Aristotle
๑. โซคราตีส (Socrates - ๓๖๙ - ๓๙๙ ก่อน ค.ศ.) ปัญหา ๒ ประการ คือ เรื่องทฤษฎีความรู้หรือญาณ วิทยากับจริยศาสตร์ โซคราตีส เห็นว่า "ความรู้เป็นธรรม" เพราะฉะนั้น ผู้มี คุณธรรมจึงเป็นผู้รักในความจริง
๒. เพลโต (Plato ๕๒๗ - ๓๔๗ ก่อน ค.ศ.) (๑) อภิปรัชญา รวมทั้งฟิสิกส์ และจิตวิทยา เพลโตเป็นนักปรัชญา ประเภทจิตนิยม โดยแบ่งโลกออกเป็น ๒ ชนิด คือ โลกเท่าที่ปรากฏ ทางประสาทสัมผัสกับโลกแห่งความคิด (๒) ตรรกวิทยา ว่าด้วย ทฤษฎีแห่งความรู้ ความรู้ทางตรรกวิทยา เป็นความรู้ที่มีเหตุมีผล พ้นจากสิ่งเฉพาะ ไปสู่สิ่งสากล ความคิด ออกเป็นชนิดต่างๆ คือ ประกอบด้วย การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ ความคิดที่แจ่มแจ้งแน่ชัด และลงรอยกับตัวเองได้ (๓) จริยศาสตร์ โตเห็นว่า "คุณธรรมเป็นความดีสูงสุด"
๓. อริสโตเติล (Aristotle ๓๘๔ - ๓๒๒ ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาสัจนิยม และเป็นศิษย์เพลโต แบ่งปรัชญาออกเป็น ๒ ระดับ คือ ๑) อภิปรัชญา ๒) วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ปรัชญาของอริสโตเติล สรุปได้ ๓ สาขา คือ (๑) อภิปรัชญา เนื้อสารเป็นรูปธรรม วัตถุต่างๆ เป็นเนื้อสารที่แท้จริง เราจะรู้ได้จากรูปลักษณะ ต่าง ๆ ของวัตถุที่ปรากฎ เพราะเนื้อสารเป็นรูปของมันที่ปรากฎนี้เอง เราจึงสามารถรู้วัตถุได้ (๒) ตรรกวิทยา สร้างตรรกวิทยาสมบูรณ์เป็นคนแรก ตรรกวิทยา คือ การวิเคราะห์รูปแบบ และเนื้อหาของความคิด เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมบูรณ์ (๓) จริยศาสตร์ เห็นว่า ความดีสูงสุด คือ ความสุข คุณธรรมจะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างปลาย สุดทั้ง ๒ หรือ ที่เรียกว่า "ทางสายกลาง" คือ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
๑.๔ ลักษณะเฉพาะของพุทธปรัชญา ๑. มนุษย์ควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้อง ๒. ควรจะเชื่อสติปัญญาของตนเองหรืออำนาจภายนอก ๓. มนุษย์ควรจะหวังอะไรได้บ้างจากชีวิตนี้ จุดหมายของการเกิดที่แท้จริงอยู่ที่การกิน การหลับนอน การเสพ กาม และร่าเริงเท่านั้น หรือมีอุดมคติสูงส่งยิ่งกว่านี้? ๔.ความรอดพ้นจากความทุกข์ ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นไปได้หรือไม่ และด้วยวิธีการอย่างไร ด้วยอาศัยการโปรด ปรานของพระเจ้าหรือด้วยอาศัยความสามารถของมนุษย์เอง? ๕. เจ้าลัทธิ เป็นจำนวนมากต่างก็ประกาศปรัชญาคำสอนต่าง ๆ ชนิดที่ขัดแย้งตรงกันข้าม และชี้ว่าวิธีของตน เท่านั้นถูกต้อง วิธีการอื่นผิดหมด แล้วอะไรเล่าคือความจริง?
ลักษณะพุทธปรัชญา ๑. มีวิธีการเป็นแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ๒. เน้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (Human dignity) ๓. มีคำสอนเป็นประจักษนิยม (Empiricism) ๔. มีคำสอนเป็นเหตุผลนิยม (Rationalism) ๕. มีคำสอนเป็นทางสายกลาง (Moderation) ๖. เป็นอเทวนิยมปฏิเสธปฐมเหตุ (Atheism) ๗. เป็นนาสติกะปฏิเสธคัมภีร์พระเวท (Nastika) ๘. ส่งเสริมหลักสันติภาพสากล และสันติสุขส่วนบุคคล (Pacifism)