หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ผู้บรรยาย รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัด มาตรวัดทางจิตวิทยาคืออะไร ประวัติความเป็นมาของมาตรวัดทางจิตวิทยา ประเภทของมาตรวัดทางจิตวิทยา วิธีการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัด การวัด หมายถึง กระบวนการแปรสภาพแนวคิดทฤษฏี เกี่ยวกับตัวแปรในงานวิจัยซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมให้เป็นข้อมูลหรือตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลข ทั้งเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ การวัด เป็นกระบวนการในงานวิจัยที่ใช้ระบุความแตกต่างของคุณสมบัติของหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่/ในลักษณะใด/และมากน้อยเพียงใด การวัด สิ่งใด ผู้วิจัยจะต้องนิยามปฏิบัติการตัวแปรที่ต้องการวัดให้เด่นชัดว่าคืออะไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง และมีกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างไรที่นำมารวมกันสร้างเป็นมาตรวัด รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา มาตรวัดทางจิตวิทยาคืออะไร มาตรวัดทางจิตวิทยา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ หรือประเมินผลพฤติกรรมทางจิต-สังคม ที่นิยมใช้เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลในงานวิจัยทางจิตวิทยาส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือ มาตรวัดเจตคติ เจตคติ (Attitude) หมายถึง ท่าที ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลอันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลพร้อมจะแสดงพฤติกรรมตอบโต้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบวกหรือลบ สนับสนุนหรือต่อต้านก็ได้ องค์ประกอบของเจตคติคือ ความเชื่อ ความรู้สึก และความพร้อมกระทำ รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา มาตรวัดเจตคติ ประกอบด้วยข้อความจำนวนหนึ่งที่ใช้วัดท่าที ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าต่างๆ อันเป็นความรู้สึกที่ค่อนข้างลึกซึ้ง และพร้อมที่จะแสดงออก ทางพฤติกรรมถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้านั้นๆ การสร้างมาตรวัดเจตคติ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ของเจตคติ ทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้คิดความเชื่อ ความรู้สึก และการกระทำ ของบุคคลที่คาดหวังต่อตัวแปรที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรการวัดทางจิตวิทยา ชนิดของมาตรวัดเจตคติ มาตรวัดเจตคติ มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ชนิด: 1. วิธีใช้ค่าประจำประโยคของเทอร์สโตน Thurstone: The Method of Equal – Appearing Interval 2. วิธีใช้คำคุณศัพท์ที่มีความหมายตรงข้ามกันของออสกู๊ด Osgood: Semantic differential scale 3. วิธีประเมินค่าจากคะแนนรวมของลิเคิร์ท Likert: Summated rating scale รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา มาตรวัดเจตคติของเทอรสโตน ลักษณะสำคัญ ประกอบด้วย จำนวนประโยคประมาณ 15- 20 ข้อ (J) กลุ่มผู้ตัดสินประมาณ 50 คนหรือมากกว่า ทำหน้าที่ประเมินข้อความว่าควร อยู่ในช่วงความรู้สึกระดับใดใน (1 – 11) ช่วง (S) Scale value ค่าของคะแนนประจำข้อความที่แสดงว่าข้อความนั้นอยู่ในประเภทสนับสนุน (ค่า s ต่ำ) หรือต่อต้าน(ค่า S สูง)ประมาณ 0-15คะแนน (Q) Quartile deviation ใช้ตรวจสอบความคลุมเครือของประโยค ด้วยค่า Q1-Q3 ถ้าค่า Q สูง แสดงว่าข้อความนั้นผู้ตัดสินมีความเห็นต่างกันมาก ถ้าค่า Q ต่ำ แสดงว่าข้อความนั้นผู้ตัดสินมีความเห็นสอดคล้องกันมากโดยคำนวณค่า การกระจายจากค่า s สูงสุด – sต่ำสุด หารด้วยจำนวนข้อทั้งหมด-1 รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ตัวอย่างประโยค ในแบบวัดเจตคติต่อสงคราม -สงครามเป็นการต่อสู้ที่ไร้ประโยชน์ส่งผลให้เกิดการทำลายตนเอง (1.4) -ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสงครามนั้นไม่คุ้มกับความทุกข์ยากและ ความทรมาน (3.2) -เป็นการยากที่จะตัดสินใจว่าสงครามมีโทษมากกว่าคุณ (5.5) -ในบางกรณีสงครามเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม (7.5) -หน้าที่อันสูงสุดของมนุษย์คือการต่อสู้ในสงครามเพื่ออำนาจและ เกียรติยศของประเทศตน (10.8) รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา มาตรวัดเจตคติแบบออสกู๊ดมี 3 ประเภท 1) แบบประเมินค่า (Evaluative type) : ดี------เลว : สะอาด-----สกปรก : สวย------น่าเกลียด 2) แบบศักยภาพ (Potency type) : แข็ง------อ่อน : หยาบ-----ละเอียด : หนัก-----เบา 3) แบบกิจกรรม (Activity type) : เร็ว------ช้า : ร้อน-----เย็น : กระฉับกระเฉง------เฉื่อยชา รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา แบบวัดของออสกู๊ดนี้ มีชื่อเรียกว่า Semantic differential scales ลักษณะสำคัญ: แบบวัดนี้อาจมีจำนวน 10-20 ข้อ : ใช้คำคุณศัพท์ ที่มีความหมายตรงข้ามเป็นคู่ๆ : นำคะแนนที่ได้จากมาตรวัดของบุคคลมาเปรียบเทียบกันโดยตรงกับคนอื่นๆ หรือเรื่องอื่นที่ใช้มาตรส่วนเดียวกัน รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ตัวอย่างมาตรวัดของออสกู๊ด ลักษณะของงานราชการ สะอาด สกปรก ล้าหลัง ก้าวหน้า รวดเร็ว เชื่องช้า เครียด ตามสบาย มีค่ามาก ไร้ค่า แคบ กว้าง 3 2 1 0 -1 -2 -3 รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา วิธีการประเมินแบบลิเคิร์ท (Summated rating scales) มีลักษณะสำคัญดังนี้ : -ประโยคข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นของเจตคติที่จะศึกษา 10-15 ประโยคขึ้นไป -มาตราส่วนอาจเป็น 5 ระดับ หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความ สามารถของผู้ตอบ -ผู้ตอบจะเลือกตอบแสดงความเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย โดยกาเครื่องหมายบนมาตราส่วนประจำประโยคเพียงตำแหน่งเดียว รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา - เจตคติ ของแต่ละบุคคล คือคะแนนรวมที่ได้จากทุกประโยครวมกัน เช่น มีข้อความ 20 ข้อ คะแนนรวมสูงสุด คือ 20X5คะแนนรวมต่ำสุดคือ 20X1 เนื่องจากคะแนนในแต่ละข้ออยู่ในมาตรอันดับ (Ordinal scale) ค่าเฉลี่ยรวมของทุกคนในกลุ่มจะเป็นตัวชี้ว่า ผู้ตอบมีเจตคติต่อเรื่องนั้นต่ำกว่า หรือ สูงกว่า ผู้ตอบคนอื่นๆ หลักการที่สำคัญในการสร้าง ก็คือ 1.ข้อความทั้งหมดต้องเป็นเรื่องเดียวกัน 2.ข้อความที่ใช้ต้องมีข้อความทั้งทางบวกและทางลบ 3.ข้อความนั้นเป็นเพียงความคิดเห็นไม่ใช่ความจริง 4.ข้อความที่ใช้ในแต่ละข้อต้องมีความหมายเดียว รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ดัชนีความสอดคล้องและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) ค่า IOC มีค่าระหว่าง -1 ถึง 1 ถ้า ต่ำกว่า 0.5 ต้องปรับแก้ไข สอดคล้อง (1) ประเด็นที่ต้องการ วัด ไม่แน่ใจ (0) ไม่สอดคล้อง (-1) 1.ท่านคิดว่า การมีส่วนร่วมของพนัก งานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง 2.ท่านรู้สึกพอใจมาก ถ้ามีคนกล่าวชื่นชมหน่วยงานของท่าน 3.ท่านจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการรวมศูนย์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทันทีที่มีโอกาส 6 2 ความสอดคล้อง IOC =𝑹/𝒏 2 0.4 8 2 - 0.8 4 6 -0.2 รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด การตรวจสอบคุณภาพดำเนินการใน 2 ขั้นตอน คือ ตรวจสอบก่อนนำไปทดลองใช้ (try out) และหลังจากนำไปใช้แล้ว คุณภาพที่จำเป็นต้องตรวจสอบก่อนนำไปทดลองใช้ ได้แก่ ความตรง(Validity) ส่วนคุณภาพที่จำเป็นต้องตรวจสอบคือผลที่ได้หลังจากการนำไปทดลองใช้ ได้แก่ ความเที่ยง หรือ ความเชื่อถือได้ (Reliability) รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ความตรง (Validity) หมายถึงเครื่องมือนั้นมีความแม่นยำถูกต้องในการวัดในสิ่งที่เครื่องมือนั้นควรจะวัด ประเภทของความตรงจำแนกออกได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวัด การวัดในทางจิตวิทยาแบ่งความตรงออกเป็น 3 ประเภท รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของข้อคำถามว่าตรงตามเนื้อหาของตัวแปรที่ต้องการวัดหรือไม่ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นตรวจสอบโดยพิจารณาจากนิยามเชิงทฤษฎี นิยามเชิงปฏิบัติการ ในการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ผู้วิจัยจะต้องส่งทั้งนิยาม โครงสร้างของข้อคำถามและแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ พร้อมแบบฟอร์มรายงานการตรวจสอบ ดังตัวอย่าง รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา โปรดพิจารณานิยามตัวชี้วัด โครงสร้างข้อคำถาม และแบบสอบถาม โดยใส่เครื่องหมาย √ ในช่องระดับความสอดคล้อง ประเด็นที่ต้องการ วัด ไม่แน่ใจ ไม่สอดคล้อง 1.ท่านคิดว่า การมีส่วนร่วมของพนัก งานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง 2.ท่านรู้สึกพอใจมาก ถ้ามีคนกล่าวชื่นชมหน่วยงานของท่าน 3.ท่านจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการรวมศูนย์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทันทีที่มีโอกาส ระดับความสอดคล้อง สอดคล้อง รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ดัชนีความสอดคล้องและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) ค่า IOC มีค่าระหว่าง -1 ถึง 1 ถ้า ต่ำกว่า 0.5 ต้องปรับแก้ไข สอดคล้อง (1) ประเด็นที่ต้องการ วัด ไม่แน่ใจ (0) ไม่สอดคล้อง (-1) 1.ท่านคิดว่า การมีส่วนร่วมของพนัก งานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง 2.ท่านรู้สึกพอใจมาก ถ้ามีคนกล่าวชื่นชมหน่วยงานของท่าน 3.ท่านจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการรวมศูนย์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทันทีที่มีโอกาส 6 2 ความสอดคล้อง IOC =𝑹/𝒏 2 0.4 8 2 - 0.8 4 6 -0.2 รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา ความเชื่อถือได้ หรือความเที่ยง (Reliability) หมายถึงความคงที่ของผลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือชุดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกัน มีหลายวิธี ได้แก่ Test-retest method การทดสอบซ้ำ Parallel test การทดสอบแบบคู่ขนาน Measure of Internal Consistency การวัดความสอดคล้องภายใน เช่น วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ (split-half) วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) :K-R20 และ :K-R21 รศ.มุกดา ศรียงค์
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (coefficient -) ของครอนบาค (Cronbach) ซึ่งพัฒนาจากสูตรของ K-R20 เหมาะสำหรับมาตรประเมินค่า ที่ไม่เป็นระบบ 0,1 รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดผลทางจิตวิทยา ความหมายของสถิติ Statistics มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Status เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศเยอรมันนี Statistikซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า State ซึ่งหมายถึงข้อมูลหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารของรัฐหรือประเทศในด้านต่างๆ ความหมายสถิติที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ 3 ประการ คือ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติในความหมายแรก หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงต่างๆ หรือข้อความที่แสดงถึงปริมาณมากน้อยของวัตถุ สิ่งของ หรือพฤติกรรม เช่น สถิติจำนวนอุบัติเหตุจาการขับรถในช่วงเทศกาลต่างๆ สถิติรายได้ประชาชาติ สถิติในความหมายที่สอง หมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของตัวเลข และสรุปผลที่ได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลให้ทราบถึงคุณลักษณะและรายละเอียดของคุณสมบัติของข้อมูล ซึ่งสถิติในความหมายนี้ ประกอบด้วยหระบวนการ 4 อย่าง คือ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา 1) การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการของการวัดหลังจากได้มีการจัดการทดลองหรือมีการสำรวจสิ่งที่จะวัด ซึ่งการสรุปผลที่ถูกต้องจะเป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน 2) การจัดระบบข้อมูล เป็นกระบวนการจัดเตรียมและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการอธิบายและวิเคราะห์ต่อไป 3) การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมาย เป็นกระบวนการในการคำนวณและประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล 4) การตัดสินใจ เป็นกระบวนการแปลผลและสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติในความหมายที่สาม เป็นความหมายทางศัพท์เทคนิค (Technical term) หมายถึงค่าที่คำนวณได้จากข้อมูลของตัวอย่าง (sample)ซึ่งเรียกว่า ค่าสถิติ (statistic) เช่น ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) 𝒙 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) เป็นต้น สำหรับงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ จะใช้สถิติในความหมายที่สอง เนื่องจากในการรวบรวมข้อมูลคือคะแนน (score) ซึ่งได้จากพฤติกรรมหรือคุณลักษณะต่างๆที่สามารถวัดได้จากการสังเกต การใช้แบบสอบถาม และจากการใช้เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามระดับการใช้เพื่อสรุปข้อมูล 1) สถิติบรรยาย (Descriptive statistics) นักวิจัยใช้เพื่อต้องการสรุปหรืออธิบายการแจกแจงของตัวแปรเดี่ยว หรือประสงค์ที่จะเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรสองตัวหรือมากกว่า 2) สถิติอนุมาน (inferential statistics) เป็นสถิติที่ใช้สำหรับสรุปคุณลักษณะของประชากร(population)โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากตัวอย่าง (sample) รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล สิ่งผู้ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้สถิติคือ ประการแรก คือ วัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามในการวิจัย ประการที่สอง คือ ค่าของตัวแปร (value variable) ผู้วิจัยต้องมีการกำหนดค่าตัวเลขให้กับตัวแปรที่ศึกษาอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อบรรยายคุณลักษณะทางด้านปริมาณซึ่งตัวเลขตัวเลขสามารถนำมา บวก ลบ คูณ หารกันได้ หรือคุณภาพของสิ่งนั้นซึ่งไม่สามารถนำตัวเลขมา บวก ลบ คูณ หารกันได้ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา ระดับการวัดทางจิตวิทยา เป็นกระบวนการในการกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งที่จะวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงต้องมีการกำหนด มาตรวัด (Scale of measurement) ออกเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย 1. ระดับนามบัญญัติ (Norminal scale) เป็นระดับการวัดที่หยาบเพราะเป็นเพียงการจำแนกสิ่งที่จะวัดเป็นกลุ่มๆ และมีการเรียกชื่อหรือกำหนดตัวเลขเพื่อบอกให้ทราบว่าตัวเลขใดหมายถึงกลุ่มอะไร แต่ไม่มีความหมายทางคณิตศาสตร์ ไม่สามารถนำมาจัดเรียงลำดับ หรือ บวก ลบ คูณ หาร กันได้ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา เกณฑ์สำหรับระบุการวัดตัวแปรนามบัญญัติ คือ 1 ระดับหรือประเภทของตัวแปรที่จำแนกจะต้องเป็นอิสระแยกจากกันโดยเด็ดขาด และสามารถจัดหน่วยตัวอย่างเข้าในประเภทหรือระดับที่แบ่งได้ชัดเจน 2 ในแต่ละระดับหรือประเภทต้องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (homogrneous) ตามที่ได้นิยามไว้ สถิติที่ใช้ในระดับนี้ คือ ความถี่ ร้อยละ คำนวณค่าฐานนิยม (mode) และสามารถใช้สถิติทดสอบ ไค-สแควร์ (chi-square test) ในการทดสอบความเป็นอิสระ หรือเปรียบเทียบสัดส่วน ระหว่างตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันทั้งสองตัวได้ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา 2. ระดับเรียงลำดับ (Ordinal scale) เป็นระดับการวัดที่ชัดเจนกว่าระดับแรกเพราะสามารถจัดเรียงลำดับคุณลักษณะของบุคคลหรือสิ่งที่ต้องการวัด โดยเรียงค่าตัวเลข หรือคะแนนจากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามากได้ เช่น การสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ฐานะสูง ปานกลาง และต่ำ หรือการจัดลำดับความเก่งของนักเรียนตามคะแนนผลสัมฤทธิ์ จัดเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน จุดอ่อนของการวัดในระดับนี้คือ ระยะห่างของความแตกต่างแต่ละช่วงอาจไม่เท่ากัน ตัวเลขในระดับนี้จึงไม่สามารถนำมาบวกลบกันได้ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติที่ใช้คำนวณ คือ หาค่าร้อยละ และ มัธยฐาน (median) และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเรียงลำดับ (Spearman’s rank correlation coefficient) ตัวอย่างการวัดในระดับนี้ได้แก่ ระดับเชาวน์ปัญญา ระดับความสามารถในการทำงาน ระดับความบกพร่องทางภาษา ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา 3. ระดับอันตรภาค ( Interval scale) ต่างจากมาตรเรียงลำดับ เนื่องจากมีระยะห่างของความแตกต่างแต่ละช่วงเท่ากัน แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างในรูปของอัตราส่วนได้เพราะไม่มีค่าศูนย์ที่แท้จริง แม้ว่าจะมีคะแนนต่าง เช่น 10 20 และ 0 จะต้องมีการแปลงคะแนนใช้ใช้วิธี การแปลงเชิงเส้น (Linear transformation) โดยใช้สมาการ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา y = a + bx ในที่นี้ y = คะแนนชุดใหม่ x = คะแนนชุดเดิม a, b = สัมประสิทธิ์ของมาตราวัดเดิมและ ใหม่ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติที่ใช้คือมัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) และสถิติที่มีข้อตกลงว่าการกระจายของคะแนนเป็นแบบปกติ (Normal distribution) เช่น สถิติทดสอบ Z (Z – test) , สถิติทดสอบ t(t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ( ANOVA) ตัวอย่างการวัดในระดับนี้ ได้แก่ อุณหภูมิ คะแนนสอบ ความพึงพอใจ เป็นต้น มาตรประมาณค่า (Rating scale) จัดอยู่ในประเภทนี้ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา 4. ระดับอัตราส่วน (Ratio scale) เป็นการวัดขั้นสูงและละเอียด ต่างจากการวัดระดับอันตรภาคอยู่ที่คุณสมบัติที่เกี่ยวกับจุดเริ่มต้น คือมีจุดเริ่มต้นที่แท้จริงมีค่าเป็นศูนย์แท้ (Absolute zero)ข้อมูลทาวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับนี้ ใช้สมาการดังนี้ y = bx ในที่นี้ y = คะแนนชุดใหม่ x = คะแนนชุดเดิม b = สัมประสิทธิ์ของมาตราวัดเดิมแลใหม่ รศ.มุกดา ศรียงค์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวัดทางจิตวิทยา สถิติที่ใช้คำนวณ คือ หาค่าร้อยละ และ มัธยฐาน (median) และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเรียงลำดับ (Spearman’s rank correlation coefficient) ตัวอย่างการวัดในระดับนี้ได้แก่ ระดับเชาวน์ปัญญา ระดับความสามารถในการทำงาน ระดับความบกพร่องทางภาษา ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รศ.มุกดา ศรียงค์
สวัสดี รศ.มุกดา ศรียงค์