ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
1. ทำไมชายมีเสียงต่ำ และผู้หญิงมีเสียงสูงกว่า 2. นอกจากมีลักษณะเสียงแตกกัน หญิงและชายมีลักษณะอะไรที่แตกต่างกันอีก
การทดลองของ อาร์โนล เอ เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold) ต่อมไร้ท่อ(endocrine gland) การทดลองของ อาร์โนล เอ เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold) กลุ่มที่ 1 ลูกไก่ที่เจริญเป็นไก่เพศผู้ปกติ กลุ่มที่ 2 ลูกไก่เพศผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออก กลุ่มที่ 3 ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่
ต่อมมีท่อ(exocrine gland) ต่อมไร้ท่อ(endocrine gland)
ตำแหน่งของต่อมไร้ท่อ (Endocrinepositon)
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) สร้างสารเคมี รียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) เข้าสู่กระแสเลือด ลำเลียงไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Target organ) เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะให้เป็นปกติ ต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยเซลล์มีลักษณะพิเศษไม่มีท่อลำเลียงฮอร์โมนที่สร้างขึ้น ต้องใช้กระแสเลือดช่วยหมุนเวียน มีต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนี้ เนื้อเยื่อ ต่อมไร้ท่อ เอกโทเดิร์ม มีโซเดิร์ม เอนโดเดิร์ม ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล อะครีนัลเมดัลลา อัณฑะ รังไข่ อะครีนัลคอร์แทกซ์ ไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
เซลล์ที่ผลิตเคมีสื่อสาร 1. Endocrine cell 2. Paracrine cell 3. Nerve cell
ต่อมไร้ท่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อร่างกาย ถ้าถูกทำลายหรือผิดปกติ จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ มี 3 ต่อม ได้แก่ - ต่อมพาราไทรอยด์ ตายเพราะขาด PTH ทำให้กล้ามเนื้อทำงานล้มเหลว เกร็ง และชักกะตุก - ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (ตับอ่อน) ตายเพราะขาดอินซูลิน จากบีตาเซลล์ ทำให้เมตาบอลิซึมของกลูโคสไม่ดี เลือดเป็นกรด การหายใจผิดปกติ - อะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไต ขาด aldosterone ทำให้ร่างกายเสียสมดุลของแร่ธาตุและน้ำ ปริมาณเลือดและความดันลดต่ำลง
ต่อมไร้ท่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (ต่อ) 2. ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย แม้จะถูกทำลายก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่มีความผิดปกติของร่างกายเกิดขึ้น เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทมัส อะดรีนัลเมดัลลาของต่อมหมวกไต อัณฑะและรังไข่
ต่อมไร้ท่อที่สำคัญ Hypothalamus Pituitary Parathyroids Thyroid Adrenais Pancreas Ovaries (female) Testes (mate)
ต่อมไพเนียล( pineal gland)
ต่อมไพเนียล( pineal gland)
ต่อมไพเนียล( pineal gland) เป็นต่อมอยู่เหนือสมองอยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วน ซีรีบรัม ซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้ คือ เมลาโทนิน (melatonin) ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่งโกนาโดโทรฟินให้น้อยลง ถ้าต่อมไพเนียลสร้างเมลาโทนินไม่ได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ(เช่นเป็นมะเร็ง) แต่ถ้าสร้างมากเกินไป จะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ
ต่อมไพเนียล( pineal gland) ต่อมไพเนียล ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) เป็นระบบประสาทที่ผลิต เมลาโทนินตามการสั่งงานของไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพศ (gonads) ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ เซลล์ไกลอัล (glial cells) เป็นเซลล์ประสาทที่มีตำแหน่งอยู่บนโครงข่ายประสาทของเซลล์ไพเนียล หน้าที่ยังไม่ชัดเจน เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสติดสีเข้มกว่าเซลล์ชนิดแรก
สรุป ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล หลั่งฮอร์โมน melatonin แสงสว่างที่กระทบเรตินายับยั้งการหลั่ง ความมืดกระตุ้นการหลั่ง ทำให้สัตว์สีซีดจาง ยับยั้ง gonadotrophin ยับยั้งอวัยวะเพศ ช่วยบรรเทาอาการ jet-lag ฟืนฟูความจำ ถ้าตัดต่อมนี้จะเป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ
ต่อมใต้สมอง ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) มีขนาดเล้กเท่าเมล็ดถั่วอยู่ด้านล่างสมองส่วนไฮโพทาลามัส แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ส่วนหน้า และส่วนกลาง ส่วนหลัง
Anterior lobe (ส่วนหน้า)
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า สร้างฮอร์โมนมาควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ จึงอาจเรียกว่า “ Master gland” ก็ได้ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนนี้ ได้แก่ Posterior lobe ส่วนหลัง Anterior lobe ส่วนหน้า ให้นักเรียนเปรียบเทียบลักษณะของเซลล์ประสาทจากไฮโพทาลามัสของส่วนหน้าและส่วนหลัง
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone: GH หรือ Somatotrophin Hormone : STH) ควบคุมการเจริญเติบโตโดยทั่วไปของร่างกาย โดยเฉพาะการแบ่งเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีนและการสร้างกระดูก ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็ก จะเป็นโรคเตี้ยแคระ (Dwarfism) แต่ถ้าขาดในผู้ใหญ่จะเป็นโรคซิมมอน (Simmon ‘s Disease) ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป ในวัยเด็กจะเป็นโรคยักษ์ (Gigantism) แต่ถ้ามีมากในผู้ใหญ่ จะเป็นโรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)
เตี้ยแคระ ร่างกายสูงผิดปกติ dwarfism เตี้ยแคระ gigantism ร่างกายสูงผิดปกติ
Acromegaly อะโครเมกาลี
Simmons diseas โรคซิมมอน
สรุป 1. Growth Hormone Species specific ส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มเมทาบอลิซึม เซลล์จับกรดอะมิโนได้ดีขึ้น เพิ่มน้ำตาลในเลือด สรุป 2. โปรแลกติน (Prolactin : PRL) -กระตุ้นการเจริญและพัฒนาการของเต้านมจนสามารถผลิตน้ำนมได้ ความผิดปกติ PRL มากเกินไป ในหญิง ทำให้ไม่มีประจำเดือน เป็นโรคน้ำนมไหล (galactorrhea) ในชาย ทำให้เสียสมรรถภาพทางเพศ (loss of libido)
โกนาโดโทรฟิก (Gonadotrophic) ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฟอลลิเคิลสติมิวเลทิงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Homone : FSH) ลูทิไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone : LH)
ฟอลลิเคิลสติมิวเลทิงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Homone : FSH) กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลในรังไข่ของเพศหญิง และร่วมกับฮอร์โมน LH กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลสร้างฮอร์โมนเอสโดรเจน (Estrogen) กระตุ้นการเจริญของอัณฑะและหลอดสร้างอสุจิของเพศชาย
FSH (follicle stimulating hormone)
ลูทิไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone : LH) ทำให้เกิดการตกไข่ (Ovulation) และทำให้ฟลอลิเคิลกลายเป็นคอร์พัสลูเทียม ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ออกมากระตุ้นผนังมดลูกชั้นใน (Endometrium) ให้เตรียมรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ กระตุ้นกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล (Interstitial cell) ในอัณฑะให้หลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จึงอาจเรียก LH อีกชื่อว่า “Interstitial Cell Stimulating Hormone” หรือ “ICSH”
LH (luteinizing hormone) ในหญิง
LH (luteinizing hormone) ในชาย
สรุป 3. Gonadotrophin Follicle Stimulating hormone (FSH) กระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญของฟอลิเคิลและการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน กระตุ้น sertoli cell สร้างโปรตีนจับกับ testosterone Luteinizing hormone (LH หรือ ICSH) กระตุ้นการทำงานของรังไข่และอัณฑะ กระตุ้นการตกไข่ กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย Leydig cell
สรุป 4. Thyroid stimulating hormone : TSH กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน 5. Adrenocorticotropic hormone : ACTH กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างและหลั่ง glucocorticoids (cortisol) และ androgens 6. Endorphin จับกับรีเซพเตอร์ของสารฝิ่น ในสมองมีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้ระบบประสาทได้พักการทำงาน ตัวกระตุ้นการหลั่ง การออกกำลังกาย สาร capsaisin
ต่อมใต้สมองส่วนกลาง มีขนาดเล็กเห็นชัดในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ผลิตฮอร์โมนเพียงชนิดเดียว คือ เมลาโนไซท์สติมิวเลติงฮอร์โมน (Melanocyte Stimulating Hormone: MSH) กระตุ้นรงควัตถุเมลานิน (Melanin) ในเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ที่ผิวหนังให้กระจายไปทั่วเซลล์ทำให้ผิวสีเข้มขึ้น พบในสัตว์พวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม MSH จะกระตุ้นการสร้างเมลานินเช่นกัน แต่การเปลี่ยนสีผิวเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและค่อนข้างช้า
MSH (melanocyte stimulating hormone)
ผู้ไหญ่ที่ไม่สามารถสร้างเมลานินได้ (vitiligo) ทารกที่ไม่สามารถสร้างเมลานินตั้งแต่เกิด (piebaldism)
Posterior lobe (ส่วนหลัง)
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ไม่ใช่ต่อมไร้ท่อที่แท้จริง เพราะสร้างฮอร์โมนเองไม่ได้ แต่รับฮอร์โมนมาจากนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) ของไฮโพทาลามัส ได้แก่ ออกซิโทซิน (Oxtocin) กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวขณะคลอดบุตร กล้ามเนื้อรอบต่อมน้ำนมบีบตัวให้น้ำนมหลั่งออกมาเลี้ยงลูกอ่อน วาโซเพรสซิน (Vasopressin) หรือแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone : ADH) การควบคุมการดูดน้ำกลับของท่อหน่วยไตเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย หากมี ADH ในเลือดน้อยเกินไป จะเกิดโรคจืด คือมีน้ำในปัสสาวะมากกว่าปกติ
ออกซิโทซิน(oxytocin)
สรุป ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง 1. Vasopressin หรือ Anti-diuretic hormone : ADH เพิ่มการดูดกลับน้ำ เพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด 2. Oxytocin ทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว เร่งการคลอด ยาทำแท้ง (abortifacient drog)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะเป็นพู 2 พู อยู่สองข้างคอหอย มีเยื่อบาง ๆ เรียกว่า “ Isthmus” เชื่อมต่อกันระหว่าง 2 พู กลุ่มเซลล์ภายในต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนได้ 2 กลุ่ม คือ ไทรอกซิน (Thyroxin) แคลซิโทนิน (Calcitonin)
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
Thyroglobulin เป็นโปรตีนสารตั้งต้นของฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroid follicle (ฟอลลิเคิล) (เซลล์ฟอลลิคูลาร์) Thyroglobulin เป็นโปรตีนสารตั้งต้นของฮอร์โมนไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) หรือfollicular cell (เซลล์ฟอลลิคูลาร์) (เซลล์พาราฟอลลิคูลาร์หรือ ซี เซลล์)
ไทรอกซิน (Thyroxin) ควบคุมอัตราเมทาบอลิซึมในการใช้ออกซินเจนสลายอาหารให้เกิดพลังงาน ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะพัฒนาการของสมอง กระตุ้นเมทามอร์โฟซิสของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้ลูกอ๊อดเปลี่ยนเป็นกบ (หากขาดฮอร์โมนนี้ลูกอ๊อดจะไม่เปลี่ยนเป็นกบ หากได้รับมากจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างเร็วขึ้น และกบมีขนาดเล็กกว่าปกติ)
โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism) ขาดฮอร์โมนไทรอกซิน โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism)
โรคมิกซีดีมา(myxidema) โรคคอพอก (simple goiter)
ขาดฮอร์โมนไทรอกซิน 1. โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism) ไทรอกซินในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมากโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมองพัฒนาการทาง ด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน 2. โรค มิกซีดีมา( myxedema ) เป็นผู้ใหญ่ ทำให้อัตราเมแทบอลิซึมลดน้อยลง ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เซื่องซึม เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ทนหนาวไม่ได้ มีคอเลสเทอรอลสูง ผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยาโต้ตอบช้าหรือถึงขั้นความจำเสื่อม ประจำเดือนผิดปกติ
ขาดฮอร์โมนไทรอกซิน 3. โรคคอพอก (simple goiter) ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิตไทรอกซินได้น้อย (hypothyroidism) ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน ( TSH ) เพิ่มมากขึ้นเพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มมากขึ้น จนต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมจะขยายขนาดโตขึ้น
คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter หรือ Hyper thyroidism วิธีรักษา ทำได้โดย 1. กินยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน 2. ผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออก 3. กินไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter หรือ Hyper thyroidism
สรุป ไทรอกซิน ถ้าขาดในเด็กทำให้ เกิดโรค cretinism การเจริญพัฒนาสมองไม่มี เตี้ยแคระ คอพอก (simple goiter) Myxenema (ในผู้ใหญ่) ถ้ามากเกิน Graves disease (Toxic goiter : ตาโปน)
แคลซิโทนิน (Calcitonin) เซลล์ซี (C-cell) หรือเซลล์พาราฟอลลิคูลาร์ (parafollicular cell)เป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ ในระหว่างไทรอยด์ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์ซึ่งสร้างฮอร์โมนแคลซิโทนิน (calcitonin) มีหน้าที่ ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่ำลงถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูงกว่าปกติ ทำได้โดย เพิ่มการสะสมแคลเซียมที่กระดูก ลดการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไต (ขับแคลเซียมทิ้งทางน้ำปัสสาวะ) ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก (เพื่อไม่ให้แคลเซียมถูกดูดเข้าสู่กระแสเลือด)
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เซลล์ชีฟ เซลล์ออกซี่ฟิล
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland ) และต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid ) อยู่ชิดติดกัน โดยมี เปลือกหุ้มเรียกว่า capsule ซึ่งเป็นเนื้อประสานแบ่งแยกออกจากกัน เนื้อ ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเป็น Follicles ที่มีหลายขนาดภายใน follicle บรรจุ colloid ส่วน เนื้อพาราไทรอยด์ประกอบด้วยเซลล์อัดกันแน่นมีลักษณะเป็นแผ่น โดยมีเซลล์ 2 ชนิด chief cells หรือ principle cells เซลล์นี้มีขนาดเล็กและ cytoplasm น้อยกว่าเซลล์ สร้างและ หลั่งฮอร์โมนพาราทอร์โมน 2. oxyphil cells ซึ่งเป็นเซลล์ตัวโตมี cytoplasm มาก และ มักพบอยู่เป็นกลุ่มหน้าที่ยังไม่ทราบ
หน้าที่ของ (Parathormone function) 1. เพิ่มการละลาย แคลเซียม และ ฟอสเฟต ออกจากกระดูกและฟัน 2. เพิ่มการดูด แคลเซียม และ ฟอสเฟต ที่ลำไส้ โดยอาศัยวิตามิน D ช่วย 3. เพิ่มการดูด แคลเซียม และ ฟอสเฟต กลับคืนที่ท่อของหน่วยไต
Hypoparathyroidism พาราธอร์โมนน้อย
พาราธอร์โมนมากเกินไป Hyperparathyroidism พาราธอร์โมนมากเกินไป
ความผิดปกติของปริมาณ Parathormone Hypoparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนต่ำเกินไป อาการแคลเซียม และ ฟอสเฟต ในเลือดต่ำ - กล้ามเนื้อชักกระตุก - ปอดไม่ทำงาน - เลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผล การแก้ไข ฉีด Parathormone ร่วมกับวิตามิน D Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนมากเกินไป อาการ แคลเซียม และ ฟอสเฟต ในเลือดสูง - แคลเซียม สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง - เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล - กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย การแก้ไข ฉีด Calcitonin เพื่อต้านการทำงานของ Parathormone
ตับอ่อน(pancreas)
กราฟแสดงระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติหลังจากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ก) ขณะออกกำลังกาย (ข)
กราฟแสดงระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติหลังจากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต(ก) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน (ข)
ตับอ่อน(pancreas) ตับอ่อนประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 2 ชนิด ได้แก่ acinar cell ผลิตเอ็นไซม์ Islets of Langerhans ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด 2.1 เบตาเซลล์(β-cells ) ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(insulin) 2.2 แอลฟา เซลล์ (α cell) ผลิตฮอร์โมนกลูคากอน(glucongon)
อินซูลิน(insulin) เบตาเซลล์ (β-cells ) ฮอร์โมนอินซูลิน(insulin)เป็นฮอร์โมนประเภทเปปไทด์ สร้างมาจาก เบตาเซลล์ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) ช่วยในการสร้างสารชีวโมเลกุล (anabolic hormone) เพิ่มการเก็บกลูโคส กรดไขมัน และโปรตีน จากกระแสเลือดและสำรองไว้ใช้ระหว่างช่วงมื้ออาหารและเมื่อร่างกายขาดแคลน ทำให้ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีค่าปกติ ทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนกลูคากอน
กลูคากอน(glucongon) แอลฟา เซลล์ (α cell) ฮอร์โมนกลูคากอน(glucongon)เป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากแอลฟา เซลล์ (α cell) ของไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) ในตับอ่อน กระตุ้นการสลายของไกลโคเจนเรียกว่าไกลโคจีโนไลซีส ( glycogenolysis) ในตับ เปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส กระตุ้นการสลายโปรตีน (proteolysis) เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกลูโคส เรียกขบวนการสร้างกลูโคส (gluconeogenesis) มีผลการทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin)
โรคเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก และ วัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป
สรุป ฮอร์โมนจากตับอ่อน อินซูลิน ลดระดับน้ำตาล นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ กระตุ้นตับเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจน ถ้าขาด เป็นโรคเบาหวาน ถ้ามาก น้ำตาลในเลือดต่ำ 2. กลูคากอน เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นตับเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นน้ำตาล
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก อยู่ส่วนบนของไตทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (Adrenal Cortex) อะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal Medulla)
zona glomerulosa zona fasciculata zona reticularis
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (Adrenal Cortex) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อมหมวกไตเจริญมาจากเนื้อเยื่อ Mesoderm ผลิตฮอร์โมนประเภทสเตอรอยด์มากกว่า 50 ชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลูโคคอร์ติคอร์ฮอร์โมน (Glucocorticoid Hormone) มิเนราโลดอร์ติคอยด์ฮอร์โมน (Mineralocorticoid Hormone) ฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone)
กลูโคคอร์ติคอร์ฮอร์โมน (Glucocorticoid Hormone) ควบคุมเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยกระตุ้นให้ตับเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคสทำให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงขึ้น มีหลายชนิด เช่น คอร์ติซอล (cortisol) คอร์ติโซน (cortisone) คอร์ติคอสเตอโรน (corticosterone) เป็นต้น
ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป ผู้ป่วยเป็นโรคคุชชิง (Cushing’s syndrome )
มีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์น้อยเกินไปเป็น โรคแอดดิสัน(Addison’s disease) จะมีอาการซูบผอม รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน ท้องเสีย การรักษาสมดุลของแร่ธาตุสูญเสีย ทำให้สับสนและถึงแก่ความตายได้ และบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก (เหงือก ริมฝีปาก กระพุ้ง แก้ม ลิ้น) อาจมีรอยตกกระดำ ๆ บางคนผิวหนังอาจมีรอยด่างขาวร่วมด้วย
มิเนราโลดอร์ติคอยด์ฮอร์โมน (Mineralocorticoid Hormone) Aldosterone ควบคุมสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย โดยกระตุ้นให้ท่อหน่วยไต ต่อมเหงือ ผนังลำไส้ดูดน้ำ และ Na+ เข้าสู่เส้นเลือดและขับ K+ ออกจากท่อหน่วยไต ฮอร์โมนนี้มากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอก หรือได้รับมินเนอราโลคอร์ติคอยด์เกินขนาด จะเกิดภาวะโซเดียมในร่างกายมีมากเกินไป และทำให้โพรแทสเซียมในร่างกายน้อย เกิดภาวะร่างกายเป็นด่าง ปริมาณพลาสมาจะเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป มักมีสาเหตุเหมือนกับการขาดกลูโคคอร์ติคอยด์ เช่นในโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ถ้าเกิดขาดแอลโดสเตอโรน อย่างเดียวมักมีอาการขาดน้ำ ความดันโลหิตต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ระดับโปตัสเซียมสูงเกินไป และเลือดมีความเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
ฮอร์โมนเพศ (Sex Hormone) มีบทบาทน้อยเมื่อเทียบกับฮฮร์โมนเพศที่สร้างจากอวัยวะสืบพันธุ์ หากอะครีนัลคอร์เทกซ์สร้างฮอรโมนเพศมากเกินปกติจะทำให้เป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น เสียงห้าวมีขนตามร่างกายมากกว่าปกติ ผู้หญิงบางคนมีหนวดเคราเกิดขึ้น ดังนั้น ในวัยผู้ใหญ่ เมื่อหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมามากจะไม่พบความผิดปกติ แต่ในวัยเด็ก ถ้าเป็นผู้ชาย จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่ากำหนด ส่วนในเพศหญิง เนื่องจากต่อมหมวกไต ส่วนนอกนี้ผลิตแอนโดรเจน ถ้ามีการผลิตฮอร์โมนนี้มากซึ่งอาจเกิดจากมีเนื้องอก จะทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้ คือมีพฤติกรรมคล้ายผู้ชาย มีการสร้างโปรตีนที่ทำให้แขนขาใหญ่ มีหนวดเครา เสียงห้าว ไม่มีประจำเดือน มีขนขึ้นตามตัวและใบหน้า
ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (androgen) ถ้ามีมากในหญิง สตรีที่มีฮอร์โมนเพศชายมากหลังเป็นสาวแล้ว
สรุป ฮฮร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก 1 Aldosterone - เพิ่มการดูดกลับ Na+ ที่ไต 2 Cortisol - เพิ่มเมทาบอลิซึมสารอาหาร ถ้ามากเกิน - ทำให้มีไขมันสะสมที่ต้นคอด้านหลัง - Cortisol มากเกินไปทำให้เกิดโรค Cushing ‘syndrome - Aldosterone น้อยเกินไปทำให้เกิดโรค Addison’s Disease 3 ฮอร์โมนเพศชายจากต่อมหมวกไตส่วนนอก - มีน้อย ไม่ active ถ้ามากเกินในเด็ก - ทำให้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติในหญิงทำให้มีขนมาก (chirsutism) ลักษณะเพศชาย (Virilism)
อะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal Medulla) เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของต่อมหมวกไต เจริญมาจากเนื้อเนื่อ Ectoderm ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ 1 อะดรีนาลินฮอร์โมน (Adrenalin Hormone) 2 นอร์อะดรีนาลินฮอร์โมน (Noradrenalin Hormone)
อะดรีนาลินฮอร์โมน (Adrenalin Hormone) กระตุ้นการสลายไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อเป็นกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว ตัดสินใจเร็ว และมีความกล้าขณะที่เปลี่ยนอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ กลัว ตกใจ เป็นต้น
นอร์อะดรีนาลินฮอร์โมน (Noradrenalin Hormone) หลั่งจากอะดรีนัลเมดัลลาและปลายประสาทของเส้นประสาทซิมพาเทติก มีหน้าที่คล้ายอะดรีนาลิน เช่นกระตุ้นการเต้นของหัวใจและเพิ่มระดับกลูโคสในเลือดโยสลายไกลโคเจน แต่มีผลน้อยกว่า อะดรีนาลินมาก
ฮอร์โมนเพศ อวัยวะที่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้มี 3 ส่วน คือ 1 รังไข่ (ovary) 2 อัณฑะ (testis) 3 รก (placenta)
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศของอัณฑะและรังไข่
อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง รังไข่(ovary) อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
รังไข่ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเป็นต่อมไร้ท่อโดยผลิตฮอร์โมนเพศหญิง คือฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen ออกเสียงอีกอย่างได้ว่า เอสโทรเจน) และ โพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งเป็น สเตรอยด์ ระดับของฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของรอบประจำเดือน
กราฟแสดงระดับฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ใน 1 รอบประจำเดือน กราฟเส้นสีเหลืองแสดงฮอร์โมนอะไร กราฟเส้นสีฟ้าแสดงฮอร์โมนอะไร กราฟเส้นสีเหลืองแก่แสดงฮอร์โมนอะไร
หน้าที่ของอีสโทเจน 1. กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของเพศหญิง
2. ต่อต้านการแข็งตัวของเลือดโดยฮอร์โมนอีสโทรเจนจะเพิ่มระดับคอเลสเทอรอลชนิดดี (high density lipoprotein)) และลดคอเลสเทอรอลชนิดเลว (low density lipoprotein) ทำให้เส้นเลือดหยืดหยุ่น และเกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน ทำให้ไม่ค่อยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดแข็งตัวและปัญหาเส้นเลือดที่หัวใจ 3. ผลต่อเมแทบอลิซึม ลดการสลายของกระดูก และคงสภาพของผิวหนังและหลอดเลือด
หน้าที่ของโพรเจสเทอโรน 1. ทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว 2. ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน 3. ทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น 4. ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียว เข้มขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นสามารถว่ายมาผสมกับไข่ที่ผสมแล้วได้สะดวก 5. ป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างตั้งครรภ์
6. ทำงานร่วมกับอีสโทรเจน โดยอีสโทรเจนจะทำให้มีการเจริญของท่อน้ำนม
อัณฑะ(testis)
Leydig cell or interstitial cell
Leydig cell or interstitial cell สร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(testosterone)ซึ่งมีหน้าที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เด็กชายเข้าสู่วัยหนุ่ม
รก(placenta) รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ 1. ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน 2. ฮอร์โมนอีสโทรเจน 3. ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic gonadotropin: HCG) (รก)
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ระดับของHCGซึ่งสร้างจากรกจะสูงมากและฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่สร้างจากคอร์ปัสลูเทียมยังคงสูงอยู่ ซึ่งทำให้ไม่มีประจำเดือนและทำให้เยื่อบุมดลูกเจริญ เมื่อรกทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น (ภาพกลาง) คอร์ปัส ลูเทียมจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนน้อยลงและหมดหน้าที่ไป (ภาพสุดท้าย) และระดับของ HCG จะลดลง เมื่อระยะเวลาการตั้งครรภ์มากขึ้น รกจะผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น
ต่อมไทมัส(thymus gland)
ต่อมไทมัสอยู่ที่หน้าอกใต้กระดูกสเตอร์นัมหรือลิ้นปี่ (sternum) มีจำนวน 2 พู อยู่รอบเส้นหัวใจใหญ่ฮอร์โมนชื่อ ไทโมซิน (thymosin) และไทโมโปอิทิน ( thymopoietin) เมื่อเป็นเด็กต่อมไทมัสจะมีขนาดใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นขนาดของต่อมจะเล็กลง เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ต่อมนี้จะเหี่ยวไป และเมื่อเข้าสู่วัยชราจะกลายเป็นพังผืด ฮอร์โมนชื่อ ไทโมซิน (thymosin) และไทโมโปอิทิน (thymopoietin) ทำหน้าที่ใด
หน้าที่ ไทโมซินทำหน้าที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (lymphocyte หรือ T cell) ที่ยังอ่อนอยู่ แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (cellular immunity) คือทำหน้าที่เกี่ยวกับปฎิกริยาภูมิแพ้ และการไม่ยอมรับเนื้อเยื่อแปลกปลอมที่ปลูกถ่ายกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
ถ้าต่อมนี้ติดเชื้อหรือฝ่อตั้งแต่แรกเกิด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไทโมซินไม่ได้ ทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อถึงแก่ชีวิตได้
ฮอร์โมนจากกระเพาะอาหาร คือ ฮอร์โมนแกตริน(gastrin) พบบริเวณกระเพาะอาหารส่วนที่เรียกว่า คอร์ปัส อวัยวะเป้าหมาย : เซลล์กระเพาะอาหารที่สร้าง เอนไซม์หรือน้ำย่อย และ กรดไฮโดรคลอริก หน้าที่ : กระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารที่สร้าง น้ำย่อย และ กรดไฮโดรคลอริก หลั่งเอนไซม์หรือน้ำย่อย และ กรดไฮโดรคลอริก ออกมาเพื่อย่อยอาหาร
เอนเทอโรเอนโดไครน์เซลล์ (Enteroendocrine cells) ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนแกสตริน(Gastrin)
เซลล์ในกระเพาะอาหาร 1) ชีฟเซลล์ (Chief cell) สร้างเอนไซม์รูปโพรเอนไซม์ ชื่อ เพปซิโนเจน และโพรเรนนิน 2) พาริเอตัลเซลล์ (parietal cell) สร้างกรดเกลือ (HCl) ที่ช่วยในการเปลี่ยนโพรเอนไซม์ไปเป็นเอนไซม์ 3) มิวคัสเซลล์ (Mucus cell) ทำหน้าที่สร้างเมือก มีฤทธิ์เป็นเบส 4) เอนเทอโรเอนโดไครน์เซลล์ (Enteroendocrine cells) ในภาพคือ G Cell ส่วน ECL Cell ผลิตฮีสตามีนภายใต้การควบคุมของ G Cell
ฮอร์โมนจากลำไส้เล็ก คือ ฮอร์โมนซีครีทิน(secretin)
ฮอร์โมนที่สร้าง : ซีครีทิน ( secretin ) สร้างจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า ดูโอดีนัม ( duodenum ) อวัยวะเป้าหมาย : ตับอ่อน , ท่อน้ำดี หน้าที่ : 1. กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์และโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ( NaHCO3 ) เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น 2. กระตุ้นท่อน้ำดีให้บีบตัวหลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน 1. การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback ) 2. การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback )
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับเป็นรูปแบบการควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมนน้อยลง เช่น การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อระดับของกลูโคสในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำกลูโคสเข้าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ระดับกลูโคส ในกระแสเลือดลดลง ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำลง จะไปส่งสัญญาณให้ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง เป็นต้น
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่า เป็นการทำงานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน จะไปกระตุ้นให้มีการทำงานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งการที่ทารกดูดนมมารดาอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไต้สมองสร้างฮอร์โมนออกซิโทซินตลอดเวลาหรือมากขึ้น
การบีบตัวของมดลูก
ฟีโรโมน (Pheromone)
ภาพที่ 9-29 ค.-ง.
ภาพที่ 9-29 จ.
ฟีโรโมน ฟีโรโมน หมายถึงอะไร
ฟีโรโมน (Pheromone) หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ(exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ ฟีโรโมน ของแมลงส่วนใหญ่เป็นสารเคมีพวกกรดไขมัน มีโครงสร้างโมเลกุลสั้น ๆ(ผลิตขึ้นจากต่อมมีท่อในตำแหน่งต่างกัน) มีคุณสมบัติละเหยได้ดีในอากาศ
ฟีโรโมน มีกี่ชนิด
สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex attractant) ชนิดของฟีโรโมน สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex attractant)
สารเตือนภัย (Alarm pheromone)
ฟีโรโมนตามรอย (trail phermone)
สารทำให้รวมกลุ่ม (Aggregation pheromone)
ฟีโรโมน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม รีลิสเซอร์ฟีโรโมนไปกระตุ้นให้สัตว์แสดงพฤติกรรมทันทีหลังจากได้รับการกระตุ้น 1.1 สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex attractant) 1.2 สารเตือนภัย (Alarm pheromone) 1.3 ฟีโรโมน ตามรอย (trail phermone) 1.4 สารทำให้รวมกลุ่ม (Aggregation pheromone) เช่น นางพญาปลวกปล่อย สารออกมา ทำให้ปลวกงานมารวมกลุ่มกัน
2. ไพเมอร์ ฟีโรโมน (Primer Pheromone) ฟีโรโมนกลุ่มนี้จะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวกับกระบวนการทางสรีรวิทยาของผู้รับ พบในพวกแมลงสังคม เช่นมด ปลวก ผึ้ง จะกินฟีโรโมนเข้าไปจะเป็นปลวกทหาร ฟีโรโมนราชินีผึ้ง ( Queen Substance ) ทำให้ผึ้งเป็นหมัน 3. Imprinting Pheromone มีผลต่อการฝังใจในช่วงวิกฤติ เช่น แมลงสาบระยะตัวอ่อนได้รับฟีโรโมนจากตัวเต็มวัยตัวผู้ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตและจำเพาะต่อสัตว์ Species เดียวกันในการผสมพันธุ์
ฟีโรโมนเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
การรับ ฟีโรโมนเข้าสู่ร่างกาย การรับฟีโรโมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดได้ 3 ทาง ดังนี้ 1.ทางกลิ่น พบในแมลงหลายชนิด เช่น ฟีโรโมนดึงดูดเพศตรงข้ามให้มาหา หรือเตือนภัยให้รู้อันตรายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ชะมดมีกลิ่นตัวแรงสร้างมาจากต่อมใกล้ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ 2.การกิน พบในผึ้ง เช่น ผึ้งงานกิน Queen Substance จากผึ้งราชินี ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน เพราะสารนี้จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของรังไข่ และการสร้างไข่ 3.การดูดซึม พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงมุมบางชนิด แมลงสาบ และตั๊กแตน
ข้อแตกต่างระหว่างฟีโรโมนกับฮอร์โมน 1. เป็นสารเคมีพวกไขมันโมเลกุลสั้น ๆ 1. เป็นสารพวก โปรตีน เอมีน ฯลฯ 2. สร้างจากต่อมมีท่อ 2. สร้างจากต่อมไร้ท่อหรือเนื้อเยื่อ 3. หลั่งออกมาภายนอก 3. เก็บหมุนเวียนอยู่ในร่างกาย 4. ไม่มีผลต่อตัวเอง 4. มีผลต่อตัวเองและตัวอื่น ๆ 5. มีผลต่อสัตว์สปีชีส์เดียวกัน 5. มีผลทั้งต่างและสปีชีส์เดียวกัน
ฟีโรโมนมีประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของฟีโรโมน ใช้ในการเกษตร จับแมลงศัตรูพืช ใช้ในการจับแมลงเพื่อศึกษา
เตรียมตัวสอบย่อย..อิอิ จบบทแล้วนะ เตรียมตัวสอบย่อย..อิอิ