ISC2102 สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล อาจารย์พรพิสิทธิ์ เลี้ยงอยู่ This template can be used as a starter file for presenting training materials in a group setting. Sections Right-click on a slide to add sections. Sections can help to organize your slides or facilitate collaboration between multiple authors. Notes Use the Notes section for delivery notes or to provide additional details for the audience. View these notes in Presentation View during your presentation. Keep in mind the font size (important for accessibility, visibility, videotaping, and online production) Coordinated colors Pay particular attention to the graphs, charts, and text boxes. Consider that attendees will print in black and white or grayscale. Run a test print to make sure your colors work when printed in pure black and white and grayscale. Graphics, tables, and graphs Keep it simple: If possible, use consistent, non-distracting styles and colors. Label all graphs and tables.
คำอธิบายรายวิชา ความหมาย ขอบเขต ประโยชน์ของสถิติ ทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจก แจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง แจกแจงกลุ่มตัวอย่าง ประมาณ ค่าพารามิเตอร์ ทดสอบสมมติฐาน การทดสอบเปรียบแบบที การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว Fundamental uses of statistics. Theory of probability; Probability distributions; Random sampling and sample distribution; Parameter estimation; Hypothesis testing; T-test; One-way analysis of variance (One-way ANOVA).
หัวข้อการศึกษา ความหมายของสถิติ ขอบเขต ประโยชน์ของสถิติ ทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว Give a brief overview of the presentation. Describe the major focus of the presentation and why it is important. Introduce each of the major topics. To provide a road map for the audience, you can repeat this Overview slide throughout the presentation, highlighting the particular topic you will discuss next.
สัปดาห์ที่ 1 สั
ความหมายของสถิติ สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สถิติที่แสดงปริมาณ น้ำฝน สถิติอุบัติเหตุ สถิตินักเรียน จำนวนผู้ป่วยเป็นเอดส์ของจังหวัดสุโขทัย สถิติ หมายถึง ศาสตร์ หรือหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติที่ว่าด้วย 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล 2 การนำเสนอข้อมูล 3 การวิเคราะห์ข้อมูล 4 การตีความหมายข้อมูล ที่มา : http://www.stvc.ac.th/elearning/stat/csu1.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 59
ประเภทของข้อมูล 1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งที่มาโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การวัด การจดข้อมูลจากการทดลอง ฯลฯ ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ 1.1 การสำมะโน คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยของประชากรหรือเรื่องที่เรา ต้องการศึกษา 1.2 การสำรวจจากข้อมูลตัวอย่าง เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสำรวจ ความพึ่งพอใจในการทำงานของรัฐบาล การศึกษาพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นของไทย ฯลฯ เรา เพียงสุ่มตัวอย่างให้มากพอในการศึกษาเท่านั้นไม่ได้ให้คนไทยทั้งประเทศเป็นคนตอบ คำถาม หมายเหตุ! การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ นิยมใช้แบบสัมภาษณ์ การสอบถาม การ ทดลอง การสังเกตุจากแหล่งข้อมูลโดย ตรง โดยไม่มีผู้ใดรวบรวมไว้ก่อน 2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูล ที่ถูกรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้วตามแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รายงานการส่งออก รายงานจำนวนนักเรียนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย รายงาน อุบัติเหตุบนท้องถนนของปี 2553 เป็นต้น
ลักษณะของข้อมูล ลักษณะของข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณ ซึ่งสามารถออกมา เป็นตัวเลขได้เลย เช่น จำนวนนักเรียนระดับ ปวช.1 - ปวช. 3 มีจำนวน 950 คน ปริมาณการผลิตมันสำปะหลังของปี 2549 คะแนนสูงสุดของการสอบวิชาสถิติของ นักศึกษาระดับ ปวส. 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้โดยตรง เช่น เพศ สถานภาพการสมรส วุฒิการศึกษา ความคิดเห็น เช่น ชอบมากที่สุด ชอบ ปานกลาง ไม่ชอบ เป็นต้น
ประเภทของสถิติ นักคณิตศาสตร์ได้แบ่งสถิติในฐานะที่เป็นศาสตร์ออกเป็นสาขาใหญ่ ๆ 2 สาขา ด้วยกัน คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการอนุมานเชิงสถิติ หรือ สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ซึ่งแต่ละสาขามีรายละเอียดดังนี้ 1.สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของ ข้อมูล (Data) ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่สนใจ ซึ่งอาจจะ แสดงในรูป ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความ แปรปรวน เป็นต้น 2.สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) หมายถึง สถิติที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะบางประการของ ประชากร โดยมีการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้ สถิติสาขานี้ ได้แก่ การ ประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยและ สหสัมพันธ์ เป็นต้น
ประโยชน์ของสถิต ประโยชน์ของสถิติมิใช่เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจ และกำหนดนโยบายต่างๆ ให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะเห็นวา สถิติเป็นเครื่องมือที่ทรงคุณประโยชน์ อย่างยิ่งในการประเมินผลงานโครงการต่าง ๆ ที่จัดทำไปแล้วว่าได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้เพียงไร สมควรที่จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขโครงการนั้น ๆ หรือไม่อย่างไรอีกด้วย เนื่องจากสถิติมีขอบข่าย กว้างขวาง ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์แทบทุกแขนงวิชาการ ดังนั้น นักบริหาร นักวิชาการ หรือแม้แต่ สามัญชนทั่วไป จึงควรมีความรู้ทางสถิติตามสมควร หรือตามความจำเป็น กล่าวคือ อย่างน้อยก็ สามารถอ่านข้อมูลจากตาราง จากแผนภูมิ หรือจากแผนภาพต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ถูกต้อง ประโยชน์ของ สถิติสรุปได้ คือ 1. ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ 2. ด้านธุรกิจ 3. ด้านการเกษตรกรรม 4. สถิติเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งสำหรับการวิจัย ทั้งนี้เพราะ 4.1. ข้อมูลที่รวบรวมมาจากการวิจัยมีตัวเลขจำนวนมาก การนำสถิติมาจัดตัวเลขเหล่านั้นให้เป็น ระเบียบ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ถูกต้องตรงความเป็นจริงในเวลาอันรวดเร็ว 4.2. การทำงานวิจัยเป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาข้อสงสัยด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ข้อมูลที่ รวบรวมมาได้ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการทางสถิติก็จะทำให้นักวิจัยมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ประกอบการ ตัดสินใจ
สัปดาห์ที่ 2 ความหมาย ขอบเขต ประโยชน์ของสถิติ การนำเสนอข้อมูล กรณีศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/06.aspx
สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สถิติที่ แสดงปริมาณน้ำฝน สถิติอุบัติเหตุ สถิตินักเรียน สถิติ หมายถึง ศาสตร์ หรือหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติที่ว่าด้วย 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล 2 การนำเสนอข้อมูล 3 การวิเคราะห์ข้อมูล 4 การตีความหมายข้อมูล สถิติเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งสำหรับการวิจัย
การวิจัย คือ กระบวนการค้นหาข้อมูล องค์ความรู้ ด้วยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ซึ่งมาจากคำว่า Research Re การทำซ้ำ Search การค้นหา ฉะนั้นการวิจัย จึงเป็นการค้นหาข้อมูลซ้ำ ๆ เพื่อศึกษาข้อมูล ด้วยกระบวนการที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล
กระบวนการวิจัย การเตรียมการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเขียนโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล *** การเขียนรายงานการวิจัยและเผยแพร่ผลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย การเผยแพร่ผลการวิจัย
โอกาส ของการเกิดเหตุการ กรณีศึกษา การหาความน่าจะเป็น สัปดาห์ที่ 3 ทฤษฎีความน่าจะเป็น โอกาส ของการเกิดเหตุการ กรณีศึกษา การหาความน่าจะเป็น
สัปดาห์ที่ 4 ทฤษฎีความน่าจะเป็น (ต่อ) ความน่าจะเป็น คือการวัดหรือการประมาณความเป็นไปได้ว่า บางสิ่งบางอย่างจะ เกิดขึ้นหรือถ้อยแถลงหนึ่ง ๆ จะเป็นจริงมากเท่าใด ความน่าจะเป็นมีค่าตั้งแต่ 0 (โอกาส 0% หรือ จะไม่เกิดขึ้น) ไปจนถึง 1 (โอกาส 100% หรือ จะเกิดขึ้น) ระดับของความน่าจะ เป็นที่สูงขึ้น คือความเป็นไปได้มากขึ้นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด หรือถ้ามองจากเงื่อนเวลา ของการสุ่มตัวอย่าง คือจำนวนครั้งมากขึ้นที่เหตุการณ์เช่นนั้นคาดหวังว่าจะเกิด มโนทัศน์เหล่านี้มาจากการแปลงคณิตศาสตร์เชิงสัจพจน์ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งใช้ กันอย่างแพร่หลายในขอบเขตการศึกษาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การเงิน การพนัน วิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์/การ เรียนรู้ของเครื่อง และปรัชญา เพื่อร่างข้อสรุปเกี่ยวกับความถี่ที่คาดหวังของเหตุการณ์ ต่าง ๆ เป็นอาทิ ทฤษฎีความน่าจะเป็นก็ยังนำมาใช้เพื่ออธิบายกลไกรากฐานและความ สม่ำเสมอของระบบซับซ้อน
สัปดาห์ที่ 5 การแจกแจงความน่าจะเป็น ค่าหาค่าร้อยละ จากความน่าจะเป็น ค่าหาค่าร้อยละ จากความน่าจะเป็น กรณีศึกษา การหาค่าร้อยละ
สัปดาห์ที่ 6 การแจกแจงความน่าจะเป็น การใช้สถิติพรรณา ค่าร้อยละ ความถี่ การวัดค่ากลาง การวัดการกระจาย ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit
สัปดาห์ที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาศึกษาซึ่งเป็นตัวแทน ของประชากร การที่กลุ่มตัวอย่างจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเพื่อการอ้างอิงไปยัง ประชากรอย่างน่าเชื่อถือได้นั้น จะต้องมีการเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่ง จะต้องอาศัยสถิติเข้ามาช่วยในการสุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึง กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็น ตัวแทนที่ดีของประชากร
ประเภทของการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไร 2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถ นำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้
1. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไร ทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่ สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่ง สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้ 1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ 1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย คำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศ ชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ 1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณา จากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling
2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling ) 2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่า ทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมี รายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับ วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อ ประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร 2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมี รายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากร ออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่ม ประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้
2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยก ประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละ ชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร 2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่ง ประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่าง ประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการ แล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่ นั้นๆ หรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน แหล่งข้อมูล http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re6.htm
สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาค
กรณีศึกษา : การหาประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สัปดาห์ที่ 9 การสุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา : การหาประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ฝึกปฏิบัติการหากลุ่มตัวอย่าง สัปดาห์ที่ 10 แจกแจงกลุ่มตัวอย่าง ฝึกปฏิบัติการหากลุ่มตัวอย่าง ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit
สัปดาห์ที่ 11 กรณีศึกษา ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit ประมาณค่าพารามิเตอร์ กรณีศึกษา ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit ศึกษา จาก https://sites.google.com/site/gskrittiyanee/home/bth-thi-6- kar-praman-kha-pharamitexr
สัปดาห์ที่ 12 ทดสอบสมมติฐาน และ กรณีศึกษา ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit และ https://home.kku.ac.th/wichuda/BasicStat/Slide/Ch8Hypo.p df
สัปดาห์ที่ 13 กรณีศึกษา ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit การทดสอบเปรียบแบบที กรณีศึกษา ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit และ http://phep.ph.mahidol.ac.th/Academics/CAI_SPSS_PHEP6 26/SP_Final/c10f3.htm
สัปดาห์ที่ 14 การทดสอบเปรียบแบบที ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit กรณีศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล
สัปดาห์ที่ 15 การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit และ https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&sour ce=web&cd=1&ved=0ahUKEwjG6PW9iIbYAhXKr48KHd 6xAnUQFgglMAA&url=http%3A%2F%2Fwww.polsci.chula .ac.th%2Fsumonthip%2Fstat6anova.doc&usg=AOvVaw3XS ddQP6CQDxwBHCY62Ug_
สัปดาห์ที่ 16 ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ศึกษา จาก www.teacher.ssru.ac.th/pornpisit กรณีศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล