Principle of Public administration หลักรัฐประศาสนศาสตร์ By Dr.Pimchana Sriboonyaponrat
Memorable Thoughts Worthy Cogitating “Life can only be understood backwards; but it must be lived forwards.” John C. Maxwell. Jump Start Your Growth: A 90-Day Improvement Plan. Center Street, 2015, p.58. “การจะเข้าใจชีวิตได้ดีต้องดูย้อนหลัง แต่การดำรงชีวิตนั้น ต้องมุ่งมองไปข้างหน้าเสมอ” รวบรวม เรียบเรียง แปลโดย ศ.พิเศษ ดร.จิรโชค วีระสย
Critical Thinking การเรียนรู้รัฐประศาสนศาสตร์และสาขาอื่น ๆ มีระดับปริญญาตรี (undergraduate) ระดับปริญญาโท (Master’s degree) และปริญญาเอก Ph.D ต้องเข้าสู่ความรู้โดยคิด แบบวิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) คือ 1. รู้จำ (Commit to memory) อ่านฟังโดยตั้งใจเข้าสู่สมอง 2. รู้จด (note) บันทึก เพราะฟังหรือเห็นแล้วย่อมลืมเลือนได้ 3. รู้แจกแจง (analytical) รู้วิเคราะห์แยกแยะ
Critical Thinking การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์และสาขาอื่น ๆ มีระดับปริญญาตรี (undergraduate) ระดับปริญญาโท (Master’s degree) และปริญญาเอก Ph.D ต้องเข้าสู่ความรู้โดยคิดแบบ วิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) คือ 4. รู้จับจุด (key points) สามารถระบุประเด็นหลักใจความ สำคัญ 5. รู้เจาะจง (specialize) รู้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ เมื่อจำเป็นต้องนำมา สู่ปฏิบัติก็ทำให้เกิดคุณค่าประโยชน์ได้ 6. รู้เจนจัด (experienced)
Critical Thinking การเรียนรู้รัฐประศาสนศาสตร์และสาขาอื่น ๆ มีระดับปริญญาตรี (undergraduate) ระดับปริญญาโท (Master’s degree) และปริญญาเอก Ph.D ต้องเข้าสู่ความรู้โดยคิดแบบ วิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) คือ 7. รู้จัดแจง (management) การจัดระบบแห่งความรู้ และ การจัดการให้ความรู้แพร่ขยายและนำไปใช้ประโยชน์ 8. รู้จดจ้องจริยธรรม (ethical, virtucous) ในวง ธุรกิจเน้นความรับผิดชอบช่วยสังคมขององค์การบรรษัท CSR (Corporate Social Responsibility)
onion peelTheory การเรียนรู้ทางการเมืองในดรุณวัย : กระบวนการเรียนรู้แบบกลีบหัวหอม มีการแบ่งช่วงอายุของคนต่างๆ กัน เช่น กวีเอกของอังกฤษ วิลเลียม เชกส์เปียร์ แบ่งออกเป็น 6 ระยะ แต่ในนวนิยายปรัมปราอียิปต์โบราณ (เกี่ยวกับ การทายปริศนาซึ่งชิงชัยชนะจากตัวสฟิ้งส์ Sphinxได้) ได้มีการแบ่งช่วงอายุของ คนออกเป็น 3 ช่วง คือ “ยามเช้าเจ้าสี่ขา คลานไปมาร้องไห้แง เที่ยงวันกลับผันแปร เห็นสองขาน่าแปลกใจ ครั้นถึงสายัณห์เย็น กลับแลเห็นสามเท้าได้ นี้คือตัวอะไร ถ้าเห็นชอบตอบมาเอย” (จากหนังสือ ปมด้อย, ของสวามี สัตยานันทบุรี) การแบ่งนี้ก็คือแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ คือ วัยทารก วัยเติบใหญ่ และวัยชรา ซึ่งต้องใช้ไม้เท้าช่วงเวลาเคลื่อนไหว
onion peelTheory ได้มีการค้นพบทางพฤติกรรมศาสตร์ (ซึ่งได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้โดยเฉพาะจากจิตวิเคราะห์ศาสตร์) ว่าวัยแรก คือ วัยเรียน วัยเรียนในที่นี้หมายถึง การจำฝังใจในเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านความรู้สึก อารมณ์ การประทับใจ เปรียบเสมือนกับการทาสีครั้งแรก สีนั้นอาจลบได้ก็จริงอยู่ แต่โดยปกติแล้วยังมีร่องรอยเหลืออยู่บ้างไม่มากก็น้อย การฝังใจภาพประทับใจในวัยที่ยังอ่อนต่อโลก จึงมีผลยั่งยืน (long lasting) ต่อ 1) ความรู้สึก 2) ทัศนคติ (attitude๗ และ 3) อุดมการณ์ (ideology) ในภายหลังได้ด้วย
onion peel Theory วัยเยาว์เป็นวัยที่หลอมได้ง่าย 1) คำอุปมาอุปไมยที่ยกย่องครูว่าเป็นเสมือน “แม่พิมพ์” ของ ชาตินั้นเป็นจริงแท้และแน่นอน โดยเฉพาะในความหมายที่กว้างที่สุด กล่าวคือ บิดามารดา ถือได้ว่าเป็นครูคนแรก 2) การเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองเริ่มต้นและพัฒนา “บ ว ร” บ้าน ครอบครัว วัด สถาบันศาสนา ศรัทธา โรงเรียน ร อีกตัวหนึ่ง คือ ราชการ คือ หน่วยและระเบียบราชการ
onion peelTheory การเรียนที่ฝังใจแต่เยาว์วัยนั้นขุดรากถอนโคนได้ยากที่สุด (เรียนรู้แบบกลีบหัวหอม) บางท่านจึงเปรียบเทียบกระบวนการเรียนนี้ว่า เหมือนกับการ เจริญเติบโตของหัวหอม กลีบแรกนั้นเกิดขึ้นก่อนสุด แต่จะถูกแกะ ออกหลังที่สุด เรียกว่า “onion-peel” nature of acculturation. (ดูเพิ่มเติมใน Melford Spiro, “The Acculturation of American Ethnic Groups”, American Anthropologist, 57 (1955), pp. 1240-52.)
onion peelTheory ลักษณะที่หนึ่ง : เรียนไม่ลึกซึ้ง เด็กมักจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยไม่คิดละเอียดลึกซึ้ง คือ เรียนโดยการ “ยอมรับ” ทันที พูดง่ายๆ ก็คือ เด็ก “หู เบา” หรือที่เรียกกันว่า “innocent” (เชื่อแบบไร้ เดียงสา) หรือเป็นแบบ “naive” (เชื่อแบบไม่มีสามัญ สำนึก เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง)
onion peelTheory ลักษณะที่สอง : การเรียนรู้ของเด็กมักเป็นไปในรูปของการ “เลียนแบบ” โดยไม่รู้ตัว คือทำตามตัวอย่างที่เห็น 1) ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่ว่า หากชาติใดมีผู้นำที่เสียสละเพื่อ ส่วนรวมมากๆ มาแต่ต้น ก็มักจะมีการสืบมรดกทางการเมือง ประเภทนี้ไว้นานๆ กล่าวคือมีการประพฤติตาม โดยถือว่าเป็น “คุณค่า” หรือ “ค่านิยม” (Value) ที่ดี
onion peelTheory ลักษณะที่สอง : การเรียนรู้ของเด็กมักเป็นไปในรูปของการ “เลียนแบบ” โดยไม่รู้ตัว คือทำตามตัวอย่างที่เห็น 1) ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่ว่า หากชาติใดมีผู้นำที่เสียสละเพื่อ ส่วนรวมมากๆ มาแต่ต้น ก็มักจะมีการสืบมรดกทางการเมือง ประเภทนี้ไว้นานๆ กล่าวคือมีการประพฤติตาม โดยถือว่าเป็น “คุณค่า” หรือ “ค่านิยม” (Value) ที่ดี
onion peelTheory 2) สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ได้ทรงนิพนธ์ไว้ ว่า : “ประวัติวีรบุรุษไซร้ เตือนใจ เรานา ว่าอาจจะยังชนม์ เลิศได้” ความหมายก็คือในชาติใดก็ตาม มีการกล่าวขวัญถึงวีรบุรุษหรือ รัฐบุรุษที่แกล้วกล้าสามารถแล้ว เยาวชนก็จะซึมซับความรู้สึกนิยม ชมชอบเข้าไปและพยายามปฏิบัติตาม
onion peelTheory 3) พฤติกรรมของคนในชาติ เช่น “พฤติกรรมเยี่ยง ผู้ประกอบการ” หรือ “มูลเหตุจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์” คือการ มุมานะบากบั่นของคนในชาติเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จากนว นิยายที่เด็กได้ยินได้ฟังแต่วัยเด็ก (ดูอ้างอิงในบรรพต (จิรโชค) วีระสัย, สังคมวิทยา – มานุษยวิทยา , อ้างแล้ว, หน้า 352-360 และหน้า 371-372)
onion peelTheory 4) ตัวอย่างที่ฝังใจเด็กอเมริกันมี เช่น 4) ตัวอย่างที่ฝังใจเด็กอเมริกันมี เช่น ก. การที่ประธานาธิบดี ยอร์จ วอชิงตัน ไม่ยอมสมัครรับ เลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม ทั้งๆ ที่ประชาชนเรียกร้องให้สมัครต่อ ยอร์จ วอชิงตัน เห็นว่าหากสมัครรับเลือกตั้งอีกเป็นครั้งที่สามจะเป็นการ ปลูกฝังประเพณีแห่งการเป็นประธานาธิบดีนานๆ หลายสมัย ซึ่งไม่ เหมาะนักในระบอบประชาธิปไตย
onion peelTheory ข. กรณีที่กล่าวกันว่า จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ไม่ยอมรับเงินเดือนในขณะเป็น ประธานาธิบดี เพราะถือว่าทำเพื่อส่วนรวม อีกทั้งตนเองก็มีอันจะกิน พอสมควรแล้วจึงรับเงินแต่เป็นพิธีเท่านั้น คือ เพียง 1 เหรียญสหรัฐในหนึ่งปี ค. การเมืองประเภท จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หรือคนอื่นๆ ในตระกูลนี้อาจเรียกได้ ว่าเป็นแบบที่ แม๊กซ์ เวเบอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวเยอรมันได้ให้ฉายาว่า “live for” politics – คือ อยู่เพื่อเล่นการเมืองโดยมิได้หวัง ผลตอบแทนเป็นวัตถุ 1) “live for” politics คือ “เพื่อ” การเมือง 2) “live off” politics ได้แก่การแสวงหาผลประโยชน์จากการ เล่นการเมือง หรือ อยู่โดย “พึ่ง” การเมือง
onion peelTheory ลักษณะที่สาม : อิทธิพลของบิดามารดา 1) เด็กมักเชื่อบิดามารดามากที่สุด ซึ่งโดยสามัญสำนึกย่อมน่าจะ เป็นเช่นนั้นเพราะ ก. บิดามารดาใกล้ชิดเป็น “ทิศเบื้องบน” ในบรรดาทิศทั้งหก แห่งหลักพุทธศาสนา ข. ตามหลักของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ปฐมาจารย์ทางจิตวิเคราะห์ บุพการี คือ ตัวมโนธรรม หรือ superego แต่เริ่มแรก
onion peelTheory คำกล่าวที่ว่า “like father, like son” คือ “พ่อเป็นอย่างใด ลูกเป็นอย่างนั้น” มีส่วนจริงอยู่มากในวงการเมือง คือ ก. มีการส่งทอดเจคคติ หรือ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อๆ กันมา เช่น ในเรื่องการนิยมชมชอบพรรคการเมือง (Party identification) ข. พ่อแม่สนับสนุนวิถีแห่งประชาธิปไตยย่อมอบรมบุตรธิดาให้นิยม ชมชอบในลัทธิประชาธิปไตย
onion peelTheory ลักษณะที่สี่ การเรียนรู้ในวัยเยาว์เป็นเบ้าหลอมให้ฝังใจในเรื่องทาง การเมืองต่อไปอีกหลายๆ ปี 1) เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงมาก 2) คนเราเมื่อโตขึ้นย่อมเปลี่ยนแปลงได้ แต่มักจะไม่ทิ้ง “ลาย” หรือลักษณะเดิมมากนัก 3) ในคัมภีร์พุทธศาสนาก็มีกล่าวไว้ถึงการที่พระอรหันต์มีท่าที เดินเหินไม่แตกต่างกว่าสมัยที่ครองเพศอยู่ในฆราวาสวิสัย และวัย เยาว์มากนัก
Definition of Public administration คำว่า Public Administration (ตัวใหญ่) หมายถึง สาขาวิชาการบริหารงานภาครัฐบาล ส่วน public administration (ตัวเล็ก) หมายถึง กิจกรรม (หรือกระบวนการ) การบริหารงานภาครัฐบาล
Definition of Public administration ในภาษาไทยนั้น คำว่า รัฐประศาสนศาสตร์ มักจะ หมายถึง สาขาวิชาการบริหารงานของรัฐ ส่วนการบริหาร รัฐกิจ มักจะหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการเกี่ยวกับ การบริหารงานของรัฐ
Definition of Public administration มาร์แชล ไดม็อก เกลดี้ส์ ไดม็อก และดักกลาส ฟอกช์ (Marshall Dimock, Gladys Dimock and Douglas Fox (1983) ให้คำจำกัดความของรัฐประศาสน ศาสตร์ ว่า ได้แก่การผลิตซึ่งสินค้าและบริการซึ่งถูกออกแบบขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของพลเมืองผู้บริโภค
Definition of Public administration ดี.เอ. คัทชิน (D.A. Cutchin (1981) ระบุว่า รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสาขาด้านการบริหารของรัฐบาล ราชการ องค์การระบบราชการ การกำหนด การนำไป ปฏิบัติ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย สาธารณะ
Concepts and theory รัฐประศาสนศาสตร์ มีขอบข่ายอยู่ 3 ขอบข่าย (อุทัย เลาหวิเชียร (2541) ได้แก่ 1. การเมืองและนโยบายสาธารณะ ครอบคลุม 3 เรื่องได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง การเมืองกับการบริหาร นโยบายสาธารณะ และค่านิยม 2. ทฤษฏีองค์การ สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ทฤษฎี ใหญ่ ได้แก่ กลุ่มทฤษฏีที่อาศัยหลักเหตุผล กลุ่มทฤษฏีที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของคน และกลุ่มทฤษฎีระบบเปิด
Concepts and theory 3. เกี่ยวกับเทคนิคการบริหาร ครอบคลุมเทคนิคทุก ชนิดที่ใช้ในการบริหารรัฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นเทคนิคที่ได้จาก ศาสตร์การจัดการ และอีกส่วนหนึ่งได้จากขอบข่ายทาง การเมืองและนโยบายสาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคที่ ได้จาก 3 วิชาหลักของรัฐประศาสนศาสตร์ คือ การบริหาร องค์การ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานคลัง
Concepts and theory วรเดช จันทรศร (2543) กล่าวว่า วิชารัฐประศาสนศาสตร์มี ความครอบคลุมถึงการพัฒนาลักษณะต่าง ๆ รวม 5 กลุ่มวิชา ด้วยกัน คือ 1. วิทยาการจัดการ 2. พฤติกรรมองค์การ 3. การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา
Concepts and theory 4. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ 5. ทางเลือกสาธารณะ
Development of public administration การวิวัฒนาการซึ่งอาจพิจารณาในกระแสคิดหลัก (main currents) หรือมุมมอง (perspective) ใหญ่ แห่งความคิด คือ กระบวนทัศน์ นักวิชาการอเมริกัน ร่วมสมัยชื่อ นิโคลัส เฮนรี่ (Nicholas Henry) อธิบายวิวัฒนาการโดย 5 พาราไดม์ คือ
Development of public administration พาราไดม์ที่ 1 (paradigm 1) เน้นการแยกกัน ชัดเจนระหว่างการเมืองกับการบริหารมาจากข้อเขียนของอดีต นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในสหรัฐอเมริกาชื่อ Woodrow Wilson วิลสันมีผลงานในรูปบทความที่สำคัญ คือ The Study of Administration ในวารสารซึ่ง พิมพ์ในปี 1887 ซึ่งถือว่าเป็นการแยกกันระหว่างสิ่งที่เป็นการเมือง กับการบริหาร
Development of public administration Frank J. Goodnow ในหนังสือชื่อการเมืองและ การบริหาร Politics and Administration (1900) ระบุว่า 1) การเมืองเกี่ยวโยงกับนโยบายหรือการ แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ 2) การบริหารเกี่ยวข้องกับการลง มือปฏิบัติ (execution) ให้นโยบายดำเนินการต่อไปเป็น รูปธรรมและกล่าวว่าฝ่ายนิติบัญญัติ รับผิดชอบโดยความช่วยเหลือ ของการตีความหมายจากฝ่ายตุลาการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ และเป็นผู้กำหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายบริหารดำเนินการให้นโยบายนั้น เป็นผล (Policy implementation)
Development of public administration พาราไดม์ที่ 2 (paradigm2) เน้นหลักการสำคัญในการ บริหาร ช่วง 1927-1937 ปีที่สำคัญ คือ การจัดพิมพ์หนังสือ ชื่อหลักการ ต่าง ๆ ว่าด้วยรัฐประศาสนศาสตร์ Principles of Public Administration ที่เขียนโดย W.F. Willowghby ที่เน้น หลักการบริหารมีส่วนที่ทำให้นักรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับความสนใจจากวงการ อุตสาหกรรมและรัฐบาลในช่วง ทศวรรษ 1930-39 และช่วงต้นของ 1940-49
Development of public administration ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คือในปี 1937 ของลูเธอร์ กูลิค (Luther H. Gulick) และเออร์วิค (Lyndall Urwick) ชื่อ Papers on the Science of Administration บุคคลทั้ง 2 เป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด ของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt (ผู้ซึ่ง เป็นผู้เดียวในประวัติศาสตร์อเมริกันที่ดำรงตำแหน่งถึง 4 สมัย) ในช่วงที่ 2 แห่งพาราไดม์มีการกำหนดหลักการ 7 ประการ เรียกว่า POSDCORB ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน จนกระทั่งทุกวันนี้ คือ
Development of public administration POSDCORB P = Planning (การวางแผน) O = Organizing (การจัดการ) S = Staffing (การบรรจุ) D = Directing (การอำนวยการ) C = Coordinating (การประสานงาน) R = Reporting (การรายงาน) B = Budgeting (การงบประมาณ)
Development of public administration ในปี ค.ศ. 1946 มีข้อเขียนโดยเฮอร์เบิร์ต ไซมอน Herbert Simon ในบทความชื่อ ภาษิตแห่งการบริหาร (The Proverbs of Administration) และต่อมามีข้อเขียนของ Robert A. Dahl ชื่อ The Science of Public Administration : Three Problems ซึ่งกล่าวถึง 3 ปัญหาในวิทยาการรัฐประศาสนศาสตร์ หรือบริหารรัฐกิจ คือว่าด้วย ค่านิยม (value) บุคลิกภาพและกรอบทางสังคม คือ ข้อแตกต่าง ในทางวัฒนธรรมของนานาสังคม บริหารที่เน้น 2 ตัว E คือ 2E’s คือ การประหยัด (Economy) เวลา เงิน และการมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
Development of public administration ข้อวิจารณ์ แม้ในยุคร่วมสมัยที่มุ่งผลลัพธ์เชิงวัตถุนิยมมากไป ย่อมละเลยความเป็นมนุษยธรรมและการบริการทางสังคม (CSR-Corporate Social Responsibility) และหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
Development of public administration พาราไดม์ที่ 3 (paradigm 3) เป็นช่วงที่เรียกว่า รัฐประศาสนศาสตร์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งหรือใกล้ชิดรัฐศาสตร์ บุคคลสำคัญได้แก่ โมเชอร์ (Frederick Mosher) ที่ถือ ว่ารัฐประศาสนศาสตร์ใกล้ชิดและเป็นการเน้นบางส่วนของ รัฐศาสตร์
Development of public administration ในปี 1962 เป็นครั้งแรกที่มีความเป็นเอกเทศของสาขาใหม่ คือ รัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งไม่ถูกกำหนดว่า เป็นสาขาย่อยของ รัฐศาสตร์ ในการรายงานของคณะกรรมว่าด้วยรัฐศาสตร์โดย สมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน และในปี 1964 การสำรวจบรรดา นักรัฐศาสตร์ ปรากฏว่า มีผู้ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับรัฐประศาสน ศาสตร์น้อยลง แสดงให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันระหว่าง 2 สาขา
Development of public administration พาราไดม์ที่ 4 (paradigm 4) การมองว่ารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นเรื่องของการจัดการ (management) ในช่วงเวลา 1956- 1970 ซึ่งเรื่องของการจัดการนั้น เกี่ยวโยงกับ 1) ทฤษฏีองค์การ 2) พฤติกรรมองค์การ 3) การวางแผน 4) การตัดสินใจ 5) วิชาหรือ ศาสตร์แห่งการจัดการ เช่น Planning, Organizing และอื่น ๆ รวมทั้งให้ความสนใจเรื่องการจัดการ 1) ทรัพยากร 2) ความเป็นผู้นำ 3) แรงจูงใจ 4) การสื่อสาร 5) การจัดระบบข้อมูลงบประมาณ 6) การตรวจสอบเรื่องของการผลิต และบางครั้งเกี่ยวโยงกับ 7) การตลาด มีการคำนึงถึงความเป็น “สาธารณะ” หรือ “มหาชน” “Public” ใน การบริหารกิจการของรัฐ
Development of public administration ต่อมามีการแยกกันโดย ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเป็นการบริหาร แนวใหม่ (New Public Administration) ช่วงเวลา 1965-1970 ซึ่งข้อเขียนสำคัญโดย Waldo แห่งมหาวิทยาลัยซิราคิ้วส์ Syracuse ในสหรัฐอเมริกา โดย จัดสัมมนาขึ้นและต่อมาปรากฏในรูปของหนังสือในปี 1971 ชื่อ Toward a new Public Administration ; The Minnowbrook Perspective. จุดสำคัญคือ การคิดใหม่ในประเด็นว่าด้วยการมีประสิทธิภาพ การมี ประสิทธิผลและเทคนิคการบริหาร
Development of public administration พาราไดม์ที่ 5 (paradigm 5)ในฐานะรัฐประศาสนศาสตร์ 1970 ในปี ค.ศ. 1970 มีการจัดตั้งสมาคมแห่งชาติว่าด้วยสำนัก ศึกษากิจการและการบริหารสาธารณะ (the National Association of Schools of Public Affairs and Administration (NASPAA ) แนสป้า) การมีสมาคมเฉพาะ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของความเป็นรัฐประศาสนศาสตร์ โดย เน้นหลักสูตร (curriculum) ซึ่งกำหนดรายวิชาที่ต้องเรียน และทำ ให้ปริญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ (MPA) ได้รับแรงสนับสนุนมาจนถึง ทุกวันนี้
Development of public administration พาราไดม์ที่ 6 Governance (Paradigm 6)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ แนวพินิจเชิงสหวิทยาการเป็นการเปิดโลกทัศน์เชิงวิชาการ (academic world view) ให้กว้างขวางไม่จำกัดอยู่ใน แนวคิดใดแนวคิดหนึ่งโดยผสมผสานหล่อหลอมแง่มุม หรือ แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รัฐประศาสนศาสตร์ เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น ๆ เช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับรัฐประศาสน ศาสตร์ การบริหารงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนซึ่งในการบริหารหน่วยงานภาครัฐจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และอาจมีบุคคลฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงานภายในหน่วยงาน เช่น ประชาชน นักการเมือง ส่วนราชการอื่น ๆ ในการตัดสินใจเรื่องใด ๆ ของผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์กับบริหารธุรกิจ มีความคล้ายคลึงกันหลายประการคือ 1. ทั้งสองฝ่ายมีจุดร่วมที่ต่างฝ่ายก็มุ่งเน้นในเรื่องการบริหารงาน เกี่ยวข้องในเรื่องของการร่วมมือดำเนินการหรือปฏิบัติการของกลุ่มบุคคลที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ 2. รัฐประศาสนศาสตร์คล้ายคลึงกับการบริหารธุรกิจ ในแง่ที่เป็นการนำหลักการ ทฤษฏี และกฏเกณฑ์การจัดองค์การและการบริหาร มาใช้ในการดำเนินงานภายในองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงาน
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์ กับศาสตร์อื่น ๆ กอร์ดอน และมิลาโควิช (Gordon and Milakovich,1995 pp. 18-20) ได้อธิบาย ถึงความแตกต่างกันของ รัฐประศาสนศาสตร์กับบริหารธุรกิจ ช่น สภาพแวดล้อมการบริหารที่แตกต่างกัน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงาน การควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา การคำนึงถึงแรงกดดันทางการเมืองและระเบียบราชการ ความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับกระบวนการทางการเมือง ความรับผิดชอบในผลของการบริหารงาน การตรวจสอบและสอดส่องดูแลจากสาธารณชน
การเมืองกับการบริหาร การเมืองเกี่ยวโยงกับ P ต่างๆ คือ 1) Power อำนาจ 2) Policy นโยบาย 3) People ประชาชน 4) Public มหาชน 5) Persons บุคคล ก) elite ชนระดับนำ กับ ข) grassroots--รากหญ้า 6) Participation การมีส่วนร่วม
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) เพลโต (Plato) ระบุว่าในสังคมประกอบไปด้วยชน 3 ระดับ ที่ตายตัว ไม่มี การเปลี่ยนแปลง คือ 1. ระดับทองคำ (gold) 2. ระดับเงิน (silver) 3. ระดับเหล็ก (iron)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) Bertrand Russell (1872-1970) นักปรัชญาชาว อังกฤษ กล่าวว่า ผู้นำต้องมีลักษณะ ดังนี้ ความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วทันกับเหตุการณ์ สามารถวางนโยบายหรือกำหนดการทำงานได้ อย่างเหมาะสม
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) การบริหารหน่วยงานของรัฐมีมาแล้วตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตัวอย่างคือ 1. การสร้างปิระมิดในอียิปต์ 2. กำแพงเมืองจีน 3. มรดกโลกต่าง ๆ 4. อนุสรณ์พุทธสถานซึ่งเป็นมหาเจดีย์ในประเทศอินโดนีเซีย 5. การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ รวมทั้งการสร้างเมือง หรือการ ทำสงคราม และดำเนินการค้าขนาดใหญ่
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) ในคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ หัวหน้าชื่อ โจเซฟ ถือได้ว่าเป็นนัก รัฐประศาสนศาสตร์ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนและการจำแนก แจกจ่ายเสบียงอาหารในอียิปต์ยุคโบราณ อีกทั้งโมเสส (Moses) ได้รับคำสั่งสอนจากพ่อตา ในบทที่ 18 ของคัมภีร์ที่ว่าด้วย Exodus ว่าด้วยการมอบหมาย คือ กระจายอำนาจ (delegation of authority) และว่าด้วยขอบข่ายแห่งอำนาจควบคุม (span of control)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) กษัตริย์ซอลโลมอน (Solomon—ออกเสียง ซอล ไม่ใช่โซ) มี ลักษณะแห่งความเป็นนักบริหารชั้นยอด แห่งคัมภีร์ศาสนาที่ว่าด้วย กษัตริย์ทั้งหลายเพราะต้องรับหน้าที่ในการจัดทำข้อตกลงทางการค้าที่มี ความสลับซับซ้อน อีกทั้งรับหน้าที่ในการสร้างวิหารแห่งโซโลมอน (Solomon’s temple) ซึ่งในระหว่างก่อสร้างมีข้อกำหนดไว้ว่าจะ ไม่ให้ได้ยินเสียงการทุบโดยค้อน (there was neither hammer nor ax nor any tool of iron heard in the house while it was in the building.)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) ในยุคร่วมสมัยระบบการเมืองหรือการพัฒนาขัดข้องเพราะความอ่อนแอ ของการบริหารรัฐกิจ ในวันที่ 15 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2490 อินเดียได้รับเอกราชซึ่งมีการทำพิธีส่งมอบ ผ่อนถ่ายอำนาจจากจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) ที่เคยเกรียงไกร และสะท้านพิภพมาก่อน ในเวลาเที่ยงคืน (Freedom at Midnight) ความไม่แน่นอนและความอลวนต่าง ๆ มีปรากฏซึ่งเป็นของ ธรรมดาแห่งการมอบอำนาจอธิปไตย (transfer of power) แต่ก็ยัง สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ทั้งนี้เพราะมรดก (legacy) แห่งการมีระบบ ข้าราชการพลเรือน คือ ระบบการบริหารรัฐกิจที่เข้มแข็ง เป็นเสมือนโครงสร้างที่ ทำด้วยเหล็กกล้าอันแข็งแกร่งและทนทาน ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันในยุคนั้น คือ “steel frame” (Selig S. Harrison. India: The Most Dangerous Decades. Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 1960.
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) สำหรับมาเลเซียมีประเด็นที่เกี่ยวข้องระหว่างการเมืองกับการบริหาร ดัง ปรากฏในหนังสือโดย Mavis Puthucheary. The Politics of Administration : The Malaysian Experience. Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1978. ซึ่งมีบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ The Fusion of Politics and Administration การเกี่ยวโยงผสมผสาน ระหว่างการเมืองกับการบริหาร
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) The Fusion of Politics and Administration การเกี่ยวโยงผสมผสานระหว่างการเมืองกับ การบริหาร Politics and Administration since Independence การเมืองและการบริหารภายหลังได้รับเอก ราชแล้ว Ethnic Representation in the Malaysian Bureaucracy การมีตัวแทนทางเชื้อชาติในระบบข้าราชการ หรือบริหารของมาเลเซีย
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) ในกรณีของไทย นักวิชาการชื่อ Fred Riggs ได้เขียน เกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดินไทย ซึ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นผลจากการ ปฏิรูปในยุคของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระ วรวงศ์ เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีบทบาทสำคัญในหนังสือชื่อ Bureaucratic Polity
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) Organizational Politics การเมืองในองค์การหรือ “การเมืองในสำนักงาน” (“office politics”) หมายถึง intentional acts มีการกระทำโดยตั้งใจหรือจงใจ of influence to enhance or protect the self-interest of individuals or groups. ที่จะปกป้องหรือส่งเสริมประโยชน์ของตัวบุคคลหรือกลุ่ม ทั้งนี้เน้น self-interest
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) Organizational Politics การเมืองในองค์การหรือ “การเมืองในสำนักงาน” (“office politics”) หมายถึง intentional acts มีการกระทำ โดยตั้งใจหรือจงใจ of influence to enhance or protect the self-interest of individuals or groups. ที่จะปกป้องหรือส่งเสริม ประโยชน์ของตัวบุคคลหรือกลุ่ม ทั้งนี้เน้น self-interest
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) สาเหตุที่มีการเมืองในองค์การ มีดังนี้ Unclear objectives. วัตถุประสงค์ไม่ชัดแจ้ง Vague performance measures. Ill-defined decision processes. กระบวนการตัดสินใจไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้ง Strong individual or group competition. Any type of change. ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) กลยุทธ์ย่อยทางการเมือง (Political Tactics) การศึกษา ด้วยวิธี in-depth interviews สัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้จัดการจากบริษัทอิเลคทรอนิกส์ 30 แห่งในตอนใต้ของ แคลิฟอร์เนียระบุว่า มีการใช้กลยุทธ์ย่อยทางการเมือง 8 อย่าง ดังนี้ 1. Attacking or blaming others. โจมตีหรือโยนความผิดให้ผู้อื่น 2. Using information as a political tool. ใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นเครื่องมือทางการเมือง 3. Creating a favorable image. (Also known as impression management.) การสร้างภาพ
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) 4. Developing a base of support. สร้างฝ่ายสนับสนุน 5. Praising others (ingratiation). 6. Forming power coalitions with strong allies. สร้างพรรคพวก 7. Associating with influential people. พยายาม เกี่ยวพันกับคนที่มีอำนาจ 8. Creating obligations (reciprocity). สร้างความ ผูกพันเพื่อให้มีการตอบแทน (อ้างอิง Robert Kreitner & Angelo Kinicki. Organizational Behavior, Fifth Edition, Boston: McGraw-Hill and Irwin McGraw-Hill, 2001, pp. 533-536.)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) การบริหาร (Administration) Administration is basically an organizational process คือ เป็นกระบวนการแห่งการจัดองค์การ เพื่อการรักษา สถานภาพเดิม (Barry M. Richman and Melvyn Copen. International Management and Economic Development: With Particular Reference to India and Other Developing Countries. New York: McGraw-Hill Book Company, Inc., 1972, pp.21-22.)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) การบริหารครอบคลุม all kinds of group effort. ดังนี้ “Administration is a process common to all group effort, public or private, civil or military, มีทั้งในฝ่าย พลเรือนและวงการทหาร Administration is the capacity (สมรรถนะ, ความสามารถ) of coordinating (เชื่อมโยง, เชื่อมต่อ, ประสาน) (อ้างอิง Jose P. Leveriza. Public Administration : The Business of Government, Second Edition, Metro Manila, Philippines: National Book Store, Inc., 1990, pp.5-6.)
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) การบริหาร ตามคำนิยามของ Webster’s New World Dictionary มีดังนี้ - กิจกรรม the act of administering; management - การจัดการ ; specify., the management of governmental or institutional affairs
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) - หมายถึง คณะผู้บริหาร administrators collectively; specif, (often A-)ถ้าใช้ตัวอักษรใหญ่ Administration หมายถึง the officials who make up the executive branch of a government and their policies and principles - วาระแห่งการดำรงตำแหน่ง their term of office เช่น ช่วงเวลาของ Bill Clinton Administration
การเมืองกับการบริหาร (ต่อ) การดำเนินการ the administering (of punishment ลงโทษ, medicine ให้ยา, a sacrament ทำพิธี , an oath กล่าวคำปฏิญาณ หรือสาบาน, etc.) - ใช้ในภาษากฎหมาย Law หมายถึง การจัดการและการดูแล เช่น การเป็นผู้จัดการกองมรดก the management and settling (of an estate) by an administrator or executor.