โรงเรียนธนรัตน์วิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Eng31102Unit 10 Vocabulary Part I Eng31102Unit 10 meteorite (n.) /ˈmiːtiəraɪt/ –a piece of rock or other matter from space that has landed on Earth.
Advertisements

Travel with NASA from the biggest to the smallest distance of the universe. ร่วมเดินทางไปกับ นาซ่า จากจุดที่ไกลที่สุด ไปจนถึงจุดที่เล็กที่สุด ของจักรวาล.
Article A , An , The 1. การใช้ a, an:
จุดบนดวงอาทิตย์ ( Sunspots )
Solar Storm พายุสุริยะ
ดวงอาทิตย์ (The Sun).
(Structure of the Earth)
นิยามดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึงเทห์วัตถุที่มีสมบัติ ดังต่อไปนี้ครบถ้วน (ก) โคจรรอบดวงอาทิตย์ (ข) มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงของดาว.
ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet)
: Computer Graphics (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์)
Mars ดาวอังคาร Known as the Red Planet, it’s about to appear in spectacular fashion! รู้จักกันดีว่าเป็นดวงดาวสีแดง และได้ฤกษ์ที่จะปรากฏให้เห็นด้วยตาคุณเอง.
Software Testing  - ช่วยกำจัด และลดข้อบกพร่องที่จะก่อให้เกิดปัญหาลงให้มากที่สุดที่จำทำได้ (ตามเวลาที่มี) - ช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นใจ และน่าเชื่อถือ.
นาย ปวเรศ ชาวเวียง รหัสนิสิต
เรื่อง ระบบสุริยะ จัดทำโดย ด. ช. ณัฐวัตร ฐาปนสุนทร เลขที่ 12 ชั้น ม
ระบบสุริยะ จักรวาล.
Zhuge Liang = [ ขงเบ้ง ] Sima Yi= [ สุมาอี้ ] Zhou Yu= [ จิวยี่ ] Shu= [ จ๊กก๊ก ] Wei= [ วุยก๊ก ] Wu= [ ง่อก๊ก ] Rise of The 3 Kingdoms= [ กำเนิดสามก๊ก.
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล ( ร้อยละ 60) ระดับความสำเร็จใน การบรรลุเป้าหมาย  KPI 1. : ระดับกระทรวง และกรม มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการ ให้บริการ ( ร้อยละ 10)
กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ e- meeting วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555.
Image Acquisition and Digitization
สุขสันต์เทศกาลบะจ่าง
ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
การบริหารงานวิชาการ สู่ศตวรรษที่ 21
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
Microprocessor and Interfacing
อาจารย์ ดร.รวมพร นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
(MQS2104) โดย อ. วีระ ตุลาสมบัติ
ครั้งที่ 1 ระบบตัวเลข & ลอจิกเกต (Number Systems & Logic Gates)
 เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง ระเบียบการนำความรู้ เครื่องและวิธีการต่างๆทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  และ อวกาศ  ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ 
บทที่ 14 กลวิธีการทดสอบซอฟต์แวร์ (TESTING STRATEGIES)
Tides.
ความรู้รอบตัว......กับที่สุดในโลก
เนื้อหาเตรียมสอบภาษาจีนระดับ 1 (YCT)
ระบบสุริยะ (Solar System)
แผนพัฒนาการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปะหัน ปี 2560
บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ
Control Chart for Attributes
เตรียมเงิน/หุ้นให้เพียงพอสำหรับการ Settlement แบบ 2 วันรวมกัน
การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
กำเนิดระบบสุริยะ เกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula) เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานที่ใจกลางของกลุ่มก๊าซ.
งานจัดการเรียนการสอน
By Poonyaporn Siripanichpong
ระหว่างวันที่ พฤศจิกายน 2559
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ 8 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง มาตรการที่ 1 มาตรการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน.
หน่วยที่ 3 ระบบโครงข่ายสื่อสาร จุดประสงค์การสอน
แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงาน สคร.5 เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2558
ระบบจำนวนและ การแปลงเลขฐาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑาวุฒิ จันทรมาลี
Tides.
这 (zhè) นี่ 这(zhè)เป็นคำสรรพนามชี้เฉพาะในเรื่องระยะ ซึ่ง 这แปลว่า นี่ เช่น 这 是 什么? 这 是 苹果。 Zhè shì shénme?
Elements of Liquid-Level System
สวัสดิการ พนักงานส่วนท้องถิ่น
วิเคราะห์หลุมบนดวงจันทร์
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
ก๊าซธรรมชาติ.
จุดบนดวงอาทิตย์.
หน่วยที่ 5 เหล็กหล่อและโลหะนอกกลุ่มเหล็ก
By Personal Information Management
Bornedmen are we all and one
ผู้จัดทำวิจัย อิศกฤตา โลหพรหม ผู้นำเสนอ นางสาวปาริชาด สุริยะวงศ์
หน่วยที่ 7 เฟสและแผนภาพสมดุลย์ วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( )
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560
ระบบสุริยะ (Solar System)
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
กองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน
บทที่ 3 ระบบสุริยะ ดาราศาสตร์ และอวกาศ 3.1 กำเนินดวงอาทิตย์และบริวาร
หลักการนับพื้นฐาน การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ สัมประสิทธิ์ทวินาม
(สุริยุปราคา , จันทรุปราคา , ดาวตก)
สิ่งสนับสนุน (ห้องต่าง ๆ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรงเรียนธนรัตน์วิทยา ระบบสุริยะ คุณครูอรรถกร ถายะเดช โรงเรียนธนรัตน์วิทยา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ระบบสุริยะ(太阳系) ดาวหาง(慧星) ระบบสุริยะ(太阳系) อุกกาบาต(流星) ดวงอาทิตย์(太阳) ดาวเคราะห์น้อย(小行星) ดาวเคราะห์(行星) คำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาจีน 10 อันดับดาวน่าพิศวง

ระบบสุริยะ ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร ซึ่งโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวง บริวารของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ดาวเคราะห์ 4 ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เรียกว่า ดาวเคราะห์ชั้นใน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กและมีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร ดาวเคราะห์ 4 ดวงที่อยู่ถัดออกไปเรียกว่า ดาวเคราะห์ชั้นนอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซ

ระบบสุริยะ ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นในอวกาศ ยุบรวมกันภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง เมื่อ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา ที่ใจกลางของกลุ่มก๊าซเกิดเป็นดาวฤกษ์ คือ ดวงอาทิตย์ เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือจากการเกิดเป็นดาวฤกษ์ เคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบ เกิดการชนและรวมตัวกันเป็นภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงในช่วงเวลาหลายร้อยล้านปี ในที่สุดกลายเป็นดาวเคราะห์บริวารและวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์(The Sun) ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์อุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จนทำให้ก๊าซไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นก๊าซฮีเลียม และแผ่พลังงานออกมาอย่างมหาศาลเป็นความร้อนและแสงสว่าง เรียกปฏิกิริยานี้ว่า “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน” พลังงานความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์นี้เองที่เอื้อให้เกิดสิ่งมีฃีวิตบนโลกของเรา

ดาวเคราะห์(Planet) เป็นบริวารของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรามี 8 ดวงแบ่งเป็น ดาวเคราะห์ 4 ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เรียกว่า ดาวเคราะห์ชั้นใน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กและมีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร ดาวเคราะห์ 4 ดวงที่อยู่ถัดออกไปเรียกว่า ดาวเคราะห์ชั้นนอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซ ได้แก่ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน

ดาวพุธ(水星 ) ดาวพฤหัสบดี(木星) ดาวศุกร์(金星) ดาวเสาร์(土星) โลก(地球) ดาวเคราะห์(Planet) ดาวพุธ(水星 ) ดาวพฤหัสบดี(木星) ดาวศุกร์(金星) ดาวเสาร์(土星) โลก(地球) ดาวยูเรนัส(天王星) ดาวอังคาร(火星 ) ดาวเนปจูน(海王星) การจำแนกดาวเคราะห์

ดาวพุธ(Mercury) ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์หินซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กและไม่มีดวงจันทร์บริวารดาวพุธถูกเยี่ยมเยือนด้วยยานอวกาศเพียงลำเดียวคือ ยานมารีเนอร์ 10 ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งได้ทำการสำรวจและทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรก พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมาย คล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม และการที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ทำให้อุณหภูมิที่พื้นผิวดาวพุธในเวลากลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมากถึง 600 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิในเวลากลางวันสูงถึง 430 องศาเซลเซียส และลดลงเหลือ –180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน

ดาวศุกร์(Venus) ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หินอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 และไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปดาวศุกร์คือ มาริเนอร์ 2 ใน พ.ศ.2505 พื้นผิวดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วยที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ และภูเขาไฟขนาดใหญ่หลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นผิวดาวศุกร์ไม่มีหลุมอุกกาบาตขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกับดาวพุธ ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบนี้ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก

โลก( The Earth) โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ โครงสร้างภายในของโลกประกอบไปด้วยแกนกลางชั้นในที่เป็นเหล็ก มีรัศมีประมาณ 1,200 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยแกนกลางชั้นนอกที่เป็นของเหลวประกอบด้วยเหล็กและซัลเฟอร์ มีความหนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร ถัดขึ้นมาเป็นชั้นแมนเทิลที่เป็นของเหลวหนืด ประกอบไปด้วย เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร เปลือกโลกเป็นของแข็ง มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น แร่ควอตซ์ (ซิลิกอนไดออกไซด์) และเฟลสปาร์

ดวงจันทร์( The Moon) ดวงจันทร์เป็นบริวารดวงเดียวของโลก มีพื้นผิวที่เป็นของเข็ง เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตมากมาย แสงจันทร์ที่เรามองเห็นนั้นเป็นแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากพื้นผิวดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเราจะมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะที่เปลี่ยนไป ตามปริมาณของบริเวณที่ได้รับแสงและบริเวณด้านมืดที่หันหน้าเข้าหาโลก เรียกว่า ข้างขึ้นข้างแรม แม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยการที่มันอยู่ใกล้กับโลกของเรามากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ดวงจันทร์จึงมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์บนโลก เช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ และการเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา เป็นต้น

ดาวอังคาร( Mars) ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแกนกลางที่เป็นของแข็ง ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินเหลวหนืด และมีเปลือกแข็ง เช่นเดียวกับโลกเราสังเกตเห็นดาวอังคารเป็นสีแดง เพราะมีพื้นผิวที่ประกอบไปด้วยออกไซด์ของเหล็ก หรือ สนิมเหล็กนั่นเอง พื้นผิวดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ ภูเขาไฟโอลิมปัส ดาวอังคารมีบรรยากาศที่เบาบางมาก ประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ดาวอังคารมีบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง มีชื่อว่า โฟบัส และดีมอส ดวงจันทร์ทั้งสองดวงมีรูปร่างไม่สมมาตร และมีขนาด

ดาวพฤหัสบดี( Jupiter) ดาวพฤหัสบดี เป็นเทห์วัตถุที่มีความสว่างมากเป็นอันดับที่ 4 ของท้องฟ้า (รองจาก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดาวศุกร์ แต่บางครั้งดาวอังคารอาจสว่างกว่า) และเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยการค้นพบดวงจันทร์บริวารทั้งสี่ของกาลิเลโอ อันได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และ คัลลิสโต ดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงจึงได้ชื่อว่าเป็น “ดวงจันทร์กาลิเลียน” ดาวพฤหัสบดี ถูกเยี่ยมเยือนเป็นครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์ 10 ในปี พ.ศ. 2516 ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ โดยที่ไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง แต่เต็มไปด้วยก๊าซซึ่งมีความหนาแน่นสูงกดทับกันลึกลงไปชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีประกอบด้วยไฮโดรเจน 90% และ ฮีเลียม10% ซึ่งปะปนด้วย มีเทน น้ำ และแอมโมเนีย เพียงเล็กน้อย ลึกลงไปด้านล่างเป็นชั้นเมนเทิลชั้นนอกที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว และแมนเทิลชั้นในที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจนที่มีสมบัติเป็นโลหะ และแกนกลางที่เป็นหินแข็ง มีขนาดเป็น 2 เท่าของโลก

ดาวพฤหัสบดี( Jupiter) จุดแดงใหญ่ เป็นที่รู้จักมานานกว่า 300 ปี จุดแดงใหญ่มีรูปวงรี แผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้างถึง 25,000 กิโลเมตร ใหญ่พอที่จะบรรจุโลกได้ 2 ใบ จุดแดงใหญ่นี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี และยังไม่ทราบว่าพายุนี้จะจางหายไปเมื่อไร วงแหวนของดาวพฤหัสบดี จากการสำรวจของยานวอยเอเจอร์ 1 ทำให้เราทราบว่าดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีขนาดเล็กและบางกว่ามาก ประกอบไปด้วยเศษหินและฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และไม่มีน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบ จึงทำให้มันไม่สว่างมากนัก (หินและฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ไม่ดีเท่ากับน้ำแข็ง)

ดาวพฤหัสบดี( Jupiter) ดวงจันทร์บริวารหลักของดาวพฤหัสบดี ปัจจุบันพบว่าดาวพฤหัสมีดวงจันทร์อยู่อย่างน้อย 39 ดวง แต่มีเพียง 4 ดวงที่เป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่และมีรูปร่างเป็นทรงกลม ได้แก่ ไอโอ ยุโรปา แกนีมีดและ คัลลิสโต ดวงจันทร์ไอโอและยุโรปาเป็นดวงจันทร์ที่มีอายุน้อยและมีหลุมอุกกาบาตอยู่ไม่มากนัก โดยเฉพาะดวงจันทร์ไอโอที่ยังมีการครุกรุ่นของภูเขาไฟอยู่ที่พื้นผิว ส่วนดวงจันทร์แกนีมีดและคัลลิสโตนั้นเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่และมีอายุมากกว่า มีพื้นผิวที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตอยู่มากมาย

ดาวเสาร์(Saturn) ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153 ดาวเสาร์ถูกเยี่ยมเยือนครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522 โครงสร้างภายในของดาวเสาร์ มีลักษณะคล้ายคลึงกัของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีแกนกลางที่เป็นหินแข็งห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจน และแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายกับดาวพฤหัสบดี คือประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย เพียงเล็กน้อย

ดาวเสาร์(Saturn) วงแหวนดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์ ดูคล้ายกับว่าจะมีลักษณะเป็นแผ่น แท้ที่จริงแล้วประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาล ซึ่งมีวงโคจรอิสระ และมีขนาดตั้งแต่เซนติเมตร ไปจนหลายร้อยเมตร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 30 ดวง ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน รองจากไททันได้แก่ รี ดิโอนี ไออาเพตุส เททิส เอนเซลาดุส และมิมาส ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เล็กน้อย

ดาวยูเรนัส(Uranus) ยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกซึ่งถูกค้นพบโดย วิลเลี่ยม เฮอส์เชล ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปสำรวจดาวยูเรนัส ในปี พ.ศ. 2529 องค์ประกอบหลักของดาวยูเรนัสเป็นหินและ น้ำแข็ง หลากหลายชนิด มีไฮโดรเจนเพียง 15% กับฮีเลียมอีกนิดหน่อย บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% เนื่องจากก๊าซมีเทนในบรรยากาศชั้นบนดูดกลืนแสงสีแดงและสะท้อนแสงสีน้ำเงิน ดาวยูเรนัสจึงปรากฏเป็นสีน้ำเงิน

ดาวยูเรนัส(Uranus) วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคซึ่งมีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ฝุ่นผงไปจนใหญ่ถึง 10 เมตร ดาวยูเรนัสนับเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบว่ามีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งเป็นการค้นพบที่สำคัญที่ทำให้เราทราบว่า ดาวเคราะห์ก๊าซทุกดวงจะมีวงแหวนล้อมรอบอยู่ ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 21 ดวง ซึ่งประกอบไปด้วยดวงจันทร์ขนาดใหญ่อยู่หลายดวง ได้แก่ มิรันดา แอเรียล อัมเบรียล ไททาเนีย และโอเบรอน

ดาวเนปจูน(Neptune) ดาวเนปจูนถูกเยี่ยมเยือนโดยยานอวกาศเพียงลำเดียวคือ วอยเอเจอร์ 2 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2532 เกือบทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับดาวเนปจูนมาจากการเยี่ยมเยือนในครั้งนี้ เนื่องจากวงโคจรของ ดาวพลูโต เป็นวงรีมาก ในบางครั้งจะตัดกับวงโคจรของเนปจูน ทำให้เนปจูนเป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ไกลที่สุดในบางปีดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับยูเรนัสคือ รูปแบบของน้ำแข็ง มีไฮโดรเจน 15% และฮีเลียมจำนวนเล็กน้อย ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินเช่นเดียวกับดาวยูเรนัส เพราะในชั้นบรรยากาศมีก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย

ดาวเนปจูน(Neptune) วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวเนปจูนมีวงแหวนอยู่ 4 วง และมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์แสดงให้เห็นถึงวงแหวนหลัก 2 วง และวงแหวนบางๆ อยู่ระหว่างวงแหวนทั้งสอบ ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 8 ดวง โดยมีดวงจันทร์ชื่อ “ทายตัน” (Triton) เป็นบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาดวงจันทร์บริวารทั้ง 8 ดวง นักดาราศาสตร์คาดว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ และพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (อาจใช้เวลาถึง 100 ล้านปี)

ดาวเคราะห์น้อย(Asteroid) เป็นบริวารขนาดเล็กของระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ 1 กิโลเมตร จนถึง 932 กิโลเมตร ส่วนมากจะอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับ วงโคจรของดาวพฤหัสบดี วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเป็นวงรี บางดวงมีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของโลก ในบางครั้งเศษฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อย ถูกดูดให้ตกลง เสียดสีกับบรรยากาศโลก ลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็น “ฝนดาวตก” (Meteor shower )

ดาวหาง(Comet) ดาวหาง (Comet) เป็นบริวารชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ มีองค์ประกอบเป็นหินปนน้ำแข็ง วงโคจรรีมาก เมื่อมันโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจะทำให้น้ำแข็งระเหิดเป็นไอ ลมสุริยะพัดให้ก๊าซและฝุ่นพุ่งไปด้านหลังเป็นหางยาว วงโคจรของดาวหางเป็นวงรีมาก บางดวงมีวงโคจรที่ตัดกับวงโคจรของโลก ในบางครั้งเศษฝุ่นจากดาวหาง ถูกดูดให้ตกลง เสียดสีกับบรรยากาศโลก ลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็น “ฝนดาวตก” (Meteor shower)

อุกกาบาต(Metoroid)และดาวตก(Meteor) อุกกาบาต (Metoroid) และ ดาวตก (Meteor) อุกกาบาต หมายถึงเศษวัตถุขนาดเล็กในอวกาศ มีทั้งที่เป็นโลหะ และอโลหะ (ส่วนใหญ่มีขนาดเท่าเม็ดทราย) เมื่ออุกกาบาตถูกแรงโน้มถ่วงของโลก ดึงดูดให้ตกลงมา เสียดสีกับบรรยากาศของโลก ที่ระยะสูงประมาณ 70 - 80 กิโลเมตร เกิดความร้อนจนลุกไหม้ติดไฟ ทำให้เรามองเห็นเป็นทางยาว เรียกว่า "ดาวตก" หรือ "ผีพุ่งใต้" ในบางครั้งอุกกาบาตขนาดใหญ่ ลุกไหม้ไม่หมด ตกลงมาถึงพื้นโลก เราเรียกว่า “ก้อนอุกกาบาต” (Meteorite)

การจำแนกดาวเคราะห์ ใช้โลกเป็นเกณฑ์ ใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์

การจำแนกดาวเคราะห์โดยใช้โลกเป็นเกณฑ์ นักดาราศาสตร์ได้ ใช้โลกเป็นหลักในการแบ่งดวงดาวออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets) หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์ ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

การจำแนกดาวเคราะห์โดยใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์ ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ยังสามารถจำแนกออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ตามลักษณะพื้นผิวด้วย ดังนี้ ดาวเคราะห์ก้อนหิน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกเว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ ดาวเคราะห์ก๊าซ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายใน พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม

10 อันดับ ดาวน่าพิศวง ในจักรวาล            สำหรับนักดูดาวแล้ว ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจะส่องแสงระยิบระยับคล้ายๆ กัน แต่ในความเป็นจริงดาวฤกษ์ในจักรวาลกำลังเดินไปบนเส้นทางวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน เริ่มจากการระเบิด แต่จุดจบของมันก็ไม่ใช่ความสิ้นสุด ทว่าคือความแปรเปลี่ยนไปเป็นเทหวัตถุใหม่หลากหลายชนิด ตั้งแต่ดาวแคระขาวไปจนกระทั่งถึงหลุมดำ ซึ่งหลายชนิดมีความลึกลับและน่าพิศวงเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือ 10 อันดับดาวลึกลับหรือน่าพิศวงที่นักดาราศาสตร์จัดไว้

อันดับ 1 หลุมดำ หลุมดำ(Black Holes) หลุมดำกำเนิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัย ความน่าพิศวงของหลุมดำก็คือมันมีความหนาแน่นมากจนกระทั่งไม่มีสิ่งใดๆจะหลุดรอดจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันได้แม้กระทั่งแสง ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบหลักฐานว่าหลุมดำมีอยู่จริง และยังพบว่ามีหลุมดำยักษ์ที่เรียกว่า Supermassive Black Holes ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี่ด้วย

อันดับ 2 โซลาร์แฟลร์ ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะก็มีความน่าพิศวง บรรยากาศของดวงอาทิตย์หรือ คอโรนา (Corona) จะมีอุณหภูมิสูงถึง 3.6 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ หรือ 2 ล้านองศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่สูงมากขนาดนี้จะสาดอนุภาคพลังงานสูงที่มีประจุไฟฟ้าให้พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง การประทุนี้เรียกกันว่าโซลาร์แฟลร์ (Solar Flares) ซึ่งทำให้เกิดพายุสุริยะ เมื่อพายุสุริยะเดินทางถึงชั้นบรรยากาศของโลกมันสามารถทำลายระบบสื่อสารและดาวเทียมของโลกหรือ แม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือได้

อันดับ 3 ซุปเปอร์โนวา ปรากฏการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในท้องฟ้าอย่างหนึ่งก็คือ ซุปเปอร์โนวา (Supernova) การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากที่หมดอายุขัย ซึ่งจะส่งลำแสงพลังงานสูงและสสารสู่อวกาศ และยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ            ซุปเปอร์โนวามีความสว่างจ้าบนท้องฟ้าชั่วขณะหนึ่งซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ในเวลากลางวัน นับตั้งแต่เกิดซุปเปอร์โนวาเคปเลอร์เมื่อปี 1604แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่พบซุปเปอร์โนวาที่เกิดในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกอีกเลย

อันดับ 4 ระบบดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในกาแลกซี่ทางช้างเผือกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวอย่างดวงอาทิตย์แต่อยู่รวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า Multiple-Star Systems โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งจะอยู่กันเป็นคู่ๆที่เรียกว่า Binary Stars นอกจากพวกมันจะอยู่รวมกันแล้ว ดาวฤกษ์เหล่านี้จะมีดาวเคราะห์บริวารด้วยหรือไม่ ในปี 2005 นักดาราศาสตร์ก็ได้คำตอบเมื่อพบดาวเคราะห์บริวารดวงแรกของดาวเคราะห์คู่

อันดับ 5 ดาว RRATs นักดาราศาสตร์ค้นพบคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวปริศนาหลายดวงในกาแล็กซี่ทางเผือกเป็นช่วงๆและในเวลาสั้นๆเพียง 1 ในร้อยของวินาทีเท่านั้น การศึกษาพัลซาร์หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วและปล่อยรังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา คลื่นวิทยุและแสงสว่างออกมาเป็นจังหวะ มากกว่า 800 ดวง พบว่าไม่ใช่ต้นตอแน่นอน เพราะการส่งคลื่นวิทยุของมันแตกต่างกัน แต่ดาวปริศนานี้ก็หมุนรอบตัวเองคล้ายกับพัลซาร์            นักดาราศาสตร์เรียกดาวปริศนานี้ว่า Rotating Radio Transients หรือRRATs  และเชื่อว่ามันอาจจะเป็นดาวนิวตรอนชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการแตกต่างจากดาวนิวตรอนและดาวแม็กเนตาร์หรือกำลังวิวัฒนาการจากดาวนิวตรอนไปเป็นดาวแม็กเนตาร์ก็เป็นได้

อันดับ 6 ซุปเปอร์สตาร์ จักรวาลก็มีซุปเปอร์สตาร์ มันคือดาวนิวตรอน ( Neutron Stars ) ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์มวลมาก( 1.5 ถึง 3 เท่าของดวงอาทิตย์) ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาเมื่อมันเผาพลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จนหมดและยุบตัวลง  ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุด อัดแน่นไปด้วยนิวตรอนเกือบทั้งหมด เนื้อดาวขนาดหนึ่งช้อนชาจะหนักถึงหนึ่งพันล้านตันบนโลกหรือมากกว่า ดาวนิวตรอนที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับเมืองเล็กๆเท่านั้น           เมื่อปี 2005 นาซาตรวจพบดาวนิวตรอนสองดวงชนกันซึ่งปล่อยรังสีแกมมาออกมาอย่างมหาศาล มีความสว่างเท่ากับแสงของดวงอาทิตย์ถึง 100,000 ล้านล้านเท่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการชนกันของดาวนิวตรอนจะกลายเป็นหลุมดำในที่สุด

อันดับ 7 พัลซาร์ ปี 1999 นักดาราศาสตร์ตรวจพบรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาจากดาวนิวตรอน เชื่อกันในขณะนั้นว่ามันเป็นการระเบิดซึ่งเกิดจากการสั่นไหวของพื้นผิวดาวนิวตรอนที่เรียกว่า Starquake คล้ายกับแผ่นดินไหวบนโลก ทว่าการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ของ จอห์น มิดเดิลดิตช์ นักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองแห่งชาติลอส อลามอส และทีมงานพบว่ามันเกิดจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วพัลซาร์ (Pulsar) ดาวนิวตรอนชนิดหนึ่ง และยังพบว่าเวลาการสั่นไหวในครั้งต่อไปของมันจะเป็นสัดส่วนกับขนาดของการสั่นไหวครั้งก่อน

อันดับ 8 กระจุกดาว ดาวฤกษ์ต่างๆในกาแล็กซี่ไม่ได้อยู่กันตามลำพังหรือเป็นคู่ๆ หรือสามสี่ดวงเท่านั้น ทว่ายังมีดาวฤกษ์อยู่ใกล้กันเป็นกระจุกอีกด้วย บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์เพียงไม่กี่สิบดวง แต่บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์มากถึงหลายล้านดวง ดาวฤกษ์เหล่านี้กำเนิดในช่วงเวลาเดียวกันและในบริเวณเดียวกันก็จริงแต่ทำไมพวกมันจึงอยู่รวมกันเป็นกระจุก? นี่เป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้จนทุกวันนี้

อันดับ 9 ดาวแม็กเนตาร์ ดาวแม็กเนตาร์(Magnetars) คือ ดาวนิวตรอนชนิดหนึ่ง ความน่าพิศวงของมันก็คือ สนามแม่เหล็กของดาวแม็กเนตาร์มีพลังงานสูงกว่าสนามแม่เหล็กของโลกหลายพันล้านเท่า มันปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมาทุกๆ 10 วินาที และบางครั้งยังปล่อยรังสีแกมมาออกมาอีกด้วย

อันดับ 10 ดาวแคระขาว เมื่อดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลขนาดดวงอาทิตย์หรือน้อยกว่า1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เผาผลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หมดไป ผิวนอกของมันจะระเบิดและกระจายไปในอวกาศ ส่วนแกนกลางจะยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระขาว(white dwarf)            นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเปลือกของดาวแคระขาวซึ่งมีความหนาราว 31 ไมล์หรือ 50 กิโลเมตรเป็นผลึกของคาร์บอนและออกซิเจนซึ่งคล้ายกับเพชร ดาวแคระขาวจึงถูกเรียกขานว่า"เพชรในอวกาศ"

ไท่ หยาง ซี่ (tàiyángxì) 太阳系 ระบบสุริยะ

Sun ซัน ดวงอาทิตย์ ไท่ หยาง tàiyáng 太阳 ดวงอาทิตย์

Moon มูน ดวงจันทร์ เย่วฉิ๋ว yuè qiú 月球 ดวงจันทร์

Earth เอิร์ท โลก ตี้ ฉิว dìqiú 地球 โลก

Mercury เมอคิวริ ดาวพุธ เสว่ยซิง shuǐxīng 水星 ดาวพุธ

Venus วีนัส ดาวศุกร์ จินซิง jīnxīng 金星 ดาวศุกร์

Mar มาซ ดาวอังคาร ฮ่วอซิง huǒxīng 火星 ดาวอังคาร

Jupiter จูพิเทอ ดาวพฤหัสบดี มู้ซิง mùxīng 木星 ดาวพฤหัสบดี

Saturn แซ็ทเทิน ดาวเสาร์ ถู่ซิง tǔxīng 土星 ดาวเสาร์

เทียน หวัง ซิง tiānwángxīng Urenus ยัวระนัส ดาวยูเรนัส เทียน หวัง ซิง tiānwángxīng 天王星 ดาวยูเรนัส

ไห่ หวัง ซิง hǎiwángxīng Neptune เน็พทิวน ดาวเนปจูน ไห่ หวัง ซิง hǎiwángxīng 海王星 ดาวเนปจูน