Cash Flow Case Study
Buck’s Dilemma: Gross or Net ? Buck’s Hunting Equipment Inc. เป็นผู้ค้าปลีกอุปกรณ์ล่าสัตว์ เครื่องแต่งกายเพื่อการล่าสัตว์และอุปกรณ์กลางแจ้ง ธุรกิจของ Buck ตั้งอยู่ที่ Pittsburgh, PA โดยมีร้านค้าปลีกตั้งอยู่ใกล้ชนบทตลอดไปจนถึงตะวันตกเฉียงใต้ของ Pennsylvania Buck จะขยายสาขาไปยังรอบๆภูมิภาค รวมถึงจะมีการก่อสร้างร้านค้าปลีกใหม่ๆใน Virginia ตะวันตก และ Ohio ใต้ Buck ตั้งใจจะก่อสร้างและเปิดตัวสาขาใหม่ภายใน 3 ปีข้างหน้า
Buck’s Dilemma: Gross or Net ?
คำถามข้อที่ 1. Buck ควรนำเสนอกิจกรรมการกู้ยืม และการจ่ายชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน, กิจกรรมลงทุน, หรือกิจกรรมจัดหาเงิน ? ตอบ เงินสดรับจากการกู้ยืม และเงินสดจ่ายจากการชำระเงินควรนำเสนออยู่ภายใต้กิจกรรมจัดหาเงิน
คำถามข้อที่ 2. ในแต่ละสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ให้ตัดสินใจว่า Buck ควรนำเสนอกิจกรรมการกู้ยืมและการจ่ายชำระเงินภายใต้วิธี net หรือวิธี gross ภายใต้กิจกรรมการจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด ?
สถานการณ์ที่ 1: จำนวนเงินที่สามารถกู้ยืมได้สูงสุดคือ 100 ล้านเหรียญ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดของสัญญา และการถอนเงินมาใช้ขึ้นอยู่กับความต้องการ 15 ก.ค. 2010 Buck ถอนเงิน 60 ล้านเหรียญ จากจำนวนเงินทั้งหมดที่สามารถกู้ยืมได้ 30 ส.ค. 2010 Buck ถอนเงินเพิ่มจำนวน 40 ล้านเหรียญ จากจำนวนเงินทั้งหมดที่สามารถกู้ยืมได้ 30 ก.ย. 2010 Buck จ่ายเงินคืนจำนวน 50 ล้านเหรียญ สมมติได้ว่ามีการหมุนเวียนของรายการสูง
ตอบคำถาม เงินสดรับ 50 ล้านเหรียญจากการกู้ยืม เป็นเงินสดรับของรายการที่หมุนเร็ว จำนวนเงินสูงและอายุครบกำหนดสั้น เพราะฉะนั้นจะแสดงรายการด้วยยอดสุทธิ (Net) ภายใต้กิจกรรมการจัดหาเงิน
สถานการณ์ที่ 2 : จำนวนเงินที่สามารถกู้ยืมได้สูงสุดคือ 100 ล้านเหรียญ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดของสัญญา โดยมีการกำหนดเวลาการชำเงินที่ชัดเจน ซึ่งได้มีการเจรจาต่อรองระหว่าง Buck และธนาคาร หลังจากมีการถอนเงินกู้ยืม 15 มิ.ย. 2010 Buck ถอนเงิน 60 ล้านเหรียญ และออกตั๋วเงินจ่ายเต็มจำนวนเงินที่กู้ยืมภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2010 30 ก.ย. 2010 Buck ถอนเงินเพิ่มเติมอีก 40 ล้านเหรียญ และออกตั๋วเงินจ่ายเต็มจำนวนเงินที่กู้ยืมภายใน วันที่ 1 ธ.ค. 2010 1 ธ.ค. 2010 Buck จ่ายชำระเงิน 40 ล้านเหรียญ ให้กับธนาคาร (ยอดถอนครั้งที่ 2) 15 ธ.ค. 2010 Buck จ่ายชำระเงิน 60 ล้านเหรียญ ให้กับธนาคาร (ยอดถอนครั้งที่ 1) สมมติว่ามีการหมุนเวียนของรายการสูง
สถานการณ์ที่ 2 :
ตอบคำถาม การถอนเงินและการจ่ายชำระคืนจำนวน 60 ล้านเหรียญ เป็นการรับและจ่ายเงินจำนวนเงินที่สูง เป็นรายการที่หมุนเร็ว แต่มีอายุการครบกำหนดเกินกว่า 3 เดือน ดังนั้นควรแสดงแบบยอดรวม (Gross Basis) ภายใต้กิจกรรมจัดหาเงิน การถอนเงินเพิ่มและการจ่ายชำระคืนจำนวน 40 ล้านเหรียญ การรับและการจ่ายเงินจำนวนมาก เป็นรายการที่ห มุนเร็ว และอายุการจ่ายชำระเงินคืนสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ดังนั้นควรแสดงแบบยอดสุทธิ (Net Basis) ในกิจกรรมจัดหาเงิน
สถานการณ์ที่ 3: จำนวนเงินที่สามารถกู้ยืมได้สูงสุดคือ 100 ล้านเหรียญ เงินที่ถอนมาในแต่ละส่วนไม่ได้กำหนดวันชำระเงินที่ชัดเจน แต่ต้องคืนภายใน 3 ปี 30 มิ.ย. 2010 Buck ถอนเงิน 70 ล้านเหรียญ 30 ก.ย. 2010 Buck ถอนเงินเพิ่มอีก 15 ล้านเหรียญ 30 พ.ย. 2010 Buck ถอนเงินที่เหลืออีก 15 ล้านเหรียญ 15 ธ.ค. 2010 Buck จ่ายชำระเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญ สมมติว่ามีการหมุนเวียนของรายการสูง
ตอบคำถาม การยืมและการชำระเงินทั้งหมดในสถานการที่ 3 แสดงด้วย Gross basis เพราะ ไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินที่ชัดเจน เพียงแต่ระบุว่าต้องคืนภายใน 3 ปี รายการถอนเงินของวันที่ 30 ก.ย. และ 30 พ.ย. เป็นการถอนเงินในจำนวนที่น้อย
การแสดงรายการโดย Net Basis ของเงินกู้ ต้องมีครบทุกข้อดังต่อไปนี้ จำนวนเงินสูง มีการชำระเงินเงินภายใน 3 เดือน หรือ น้อยกว่า มีการหมุนเวียนของรายการสูง
คำถามข้อที่ 3. สิ่งที่ IFRS นำไปใช้ในการนำเสนองบกระแสเงินสด ? เมื่อเทียบกับ U.S. GAAP ? ตอบ IFRS ใช้ IAS 7 Statement of cash flow ซึ่งเป็นสิ่งแรกเริ่มในการแนะนำการแสดงกระแสเงินสด ทั้ง IFRS และ U.S. GAAP ต้องการงบกระแสเงินสดเพื่อที่จะอธิบายกระแสเงินสดในช่วงเวลาที่เงินสดแพร่กระจายในกิจกรรมการจัดหาเงิน กิจกรรมการดำเนินงาน และกิจกรรมการลงทุน ทั้งสองสิ่งนี้ช่วยให้มีการประยุกต์ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการแสดงการไหลของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
สมาชิกในกลุ่ม นางสาว กชกร ลิ้มวัฒนา รหัสนักศึกษา 561510001 นางสาว กชกร ลิ้มวัฒนา รหัสนักศึกษา 561510001 นางสาว เป็งห่าน อินทร รหัสนักศึกษา 561510163 นางสาว พิมพลอย ยอดมงคล รหัสนักศึกษา 561510191 นางสาว ภัณฑิรา เชษบัญฑิตย์ รหัสนักศึกษา 561510199 นางสาว ภัทธิดา เรือนสุข รหัสนักศึกษา 561510201