การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ลักษณะของระบบนิเวศ Succession /Development ecosystem
Advertisements

สรุป เนื่องจากดูเหมือนว่าสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดลักษณะการกระจายของพืชพรรณ ดังนั้นถ้าบริเวณใดมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเหมือนที่เกิดขึ้นตามเส้นรุ้ง ก็น่าจะมีลักษณะของพืชพรรณเหมือนกันด้วย.
“ไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใด ที่สามารถอยู่ได้ตามลำพัง”
หัวข้อ การจัดทำ Blog(1) เพื่อส่งเสริม(2) การท่องเที่ยว(3)
ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Travel plan”. “Travel plan”
บทที่ 21 ระบบนิเวศ.
องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
กลยุทธ์การ บริหารงานอุตสาหกรรม (Industrial Management Strategy) สัปดาห์ที่ 1 อาจารย์ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์ ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
The Second ASEAN+3 Seminar on Poverty Reduction
Publication News in Social Media
การขับเคลื่อน ด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย
Operations in the Tourism Industry
ความรู้เรื่องอัคคีภัย Fire Prevention And Control
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
ระบบนิเวศ.
Tourism Marketing development by Green
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 4 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management Program.
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการท่องเที่ยว ความรู้พื้นฐาน
การบริหารธุรกิจ MICE Chapter 7 TD 451.
ทรัพยากรการท่องเที่ยว (TIM 1301)
กรอบความคิดทางธุรกิจและการวางแผนกลยุทธ์
พัฒนาการของการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม
แนวทางและประสบการณ์ การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
ประเด็นนำเสนอ(DM/HT,Stroke,CPOD)
ทรัพยากรท่องเที่ยว Sustainable Tourism.
จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
ทรัพยากรการท่องเที่ยว (TIM 1301)
แผนงาน ที่ 3 การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
บทที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มีแรงจูงใจอะไรบ้าง ที่สามารถจูงใจมนุษย์ได้???
ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ทรัพยากร
เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ชุมชนศึกษาและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง
ประเภทของการจัดนำเที่ยว
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 3 ความสำคัญและ ผลกระทบจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management Program.
แนวทางการตอบแบบสำรวจ Evidence-based รอบที่ 1
แผนงาน/โครงการ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
travel margie’s margie’s travel
การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา/ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
การจัดกิจกรรมห้องสมุด
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา
ผลการดำเนินงานวัณโรค ปีงบประมาณ 2561
รูปแบบการท่องเที่ยว.
การประชุมหัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์
THM3430 การจัดการไมซ์ในธุรกิจที่พักแรม
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พระพุทธศาสนา.
การวางแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
คณะที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (ยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ)
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  THM4406 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
travel margie’s margie’s travel
เอกสารประกอบการสอน บทที่ 7 แนวโน้มและ สถานการณ์ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ Tourism Industry and Hospitality Management.
SERVICE MARKETING การตลาดบริการ • ความหมายของการบริการ • ความสำคัญของการบริการ • ความแตกต่างระหว่างสินค้าและการบริการ • ประเภทธุรกิจบริการ.
รศ.ดร. สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์
เรื่องชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร
บทที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริการ
GEO1102 ภูมิศาสตร์มนุษย์ หัวข้อการเรียน (5)
แบบฟอร์มที่ 2 ชื่อวิชา THM การวางแผนจัดนำเที่ยว (Tour Planning)
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
ความหมายประเภทนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว และทรัพยากรการท่องเที่ยว.
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว บทที่ 2 การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว

หัวข้อ ความหมายของการท่องเที่ยว ประเภทของการท่องเที่ยว ความหมายของแหล่งท่องเที่ยว ระบบนิเวศในแหล่งท่องเที่ยว วิธีการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว

ความหมายของการท่องเที่ยว เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้

รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประเภทของการท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงการศึกษาธรรมชาติ (Nature Education Tourism) การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ( Adventure Tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ( Agro Tourism) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา หรือศิลาสัญจร ( Litho Travel) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางธรรมชาติ ( Natural Health Tourism)

รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ( Historical Tourism ) การท่องเที่ยวงานประเพณีและศิลป ( Traditional and Art Tourism ) การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท ( Rural Tourism or Village Tourism ) การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและบันเทิง ( Sport and Entertainment Tourism ) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางวัฒนธรรม ( Cultural Health Tourism)

กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)

กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ Sailing)

กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)

กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)

Natural Based Tourism การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง ... การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศโดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน greenzonethailand.com

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล(Marine Ecotourism) หมายถึง การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศทางทะเลโดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน greenzonethailand.com

การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา(Geotourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่เป็นหินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อดูความงามภูมิทัศน์ที่มีความแปลกของการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โลก ศึกษาธรรมชาติของหิน ดิน แร่ต่างๆ และฟอสซิล ได้ความรู้ มีประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว greenzonethailand.com

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์ เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้ มีปะสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น

การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์( Astrological tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการไปชม ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวาระ เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก จันทรุปราคา และการดูดาวจักราศีที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน เพื่อการเรียนรู้ระบบสุริยจักรวาล มีความรู้ความประทับใจ ความทรงจำและประสบการณ์เพิ่มขึ้น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืน

Cultural based tourism การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(Historical tourism) หมายถึง การเดินทางไปเที่ยวในยังแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดีในท้องถิ่นโดยอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึก ต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อมโดยที่ประชาคมในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี(Cultural and Traditional Tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมงานประเพณีต่างๆที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆจัดขึ้น ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียศิลป์เพื่อศึกษาความเชื่อ การยอมรับนับถือ การเคารพ พิธีกรรมต่างๆและได้รับความรู้ มีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม โดยประชาคมในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท(Rural Tourism/ Village Tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิต และผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีความโดดเด่นเพื่อความเพลิดเพลินได้ความรู้ ดูผลงานสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาพื้นฐานมีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว

Special interest tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Health Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อการผักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายและใจ ได้รับความเพลิดเพลินและสุนทรียภาพ มีความรู้ต่อการรักษาคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้บางแห่งก็จัดเป็น การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม(Health beauty and spa)

การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-Meditation Tourism) หมายถึง การเดินทางเพื่อทัศนศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปรัชญาทางศาสนา หาความรู้ สัจธรรมแห่งชีวิต มีการฝึกทำสมาธิ เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมุ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เช่นการทำอาหารไทย การนวดแผนไทย รำไทย มวยไทย งานช่างศิลปหัตถกรรมไทย การบังคับช้างเป็นควาญช้าง

การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic Tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของชาวบ้าน วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่างๆ เช่น หมู่บ้านชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านผู้ไทย ชาวกะเหรี่ยง ชาวจีนฮ่อ เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

การท่องเที่ยวเชิงกีฬา(Sports Tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเล่นกีฬาตามความถนัด ความสนใจ ในประเภทกีฬา กอล์ฟ ดำน้ำ ตกปลา กระดานโต้คลื่น สกีน้ำให้ไดรับความเพลิดเพลิน สนุกสนานตื่นเต้น มีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

การท่องเที่ยวแบบผจญภัย(Adventure Travel) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคณะเข้าไปเที่ยวแล้วได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น หวาดเสียว ผจญภัย ความทรงจำ ความปลอดภัย ได้ประสบการณ์ใหม่

การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ฟาร์มสเตย์ (Homestay - Farmstay) หมายถึง นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ต้องการใช้ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวท้องถิ่นที่ไปเยือน เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Longstay) หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในปั้นปลายหลังเกษียณอายุจากการทำงานที่ต้องการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปัจจัยที่ห้าของชีวิตคือการท่องเที่ยว โดยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย 3-4 ครั้งต่อปี คราวละนานๆ อย่างน้อย 1 เดือน

การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล( Incentive Travel) หมายถึง การจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการขายสินค้านั้นตามเป้าหรือเกินเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้แทนจำหน่ายเครื่องไฟฟ้า ผู้แทนจำหน่ายเครื่องสำอาง จากภูมิภาคหรือจังหวัดต่างๆ สามารถขายสินค้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการให้รางวัลและจัดนำเที่ยว โดยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก อาหาร ตั้งแต่ 2-7 วัน เป็นการท่องเที่ยวแบบรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม( MICE ) M- Meeting I – Incentive C – conference E – Exhibition เป็นการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของผู้ที่จัดประชุม มีรายการจัดนำเที่ยวก่อนการประชุม(Pre-Tour)และการจัดนำเที่ยวหลังการประชุม(Post-Tour)โดยการจัดรายการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆโดย อาจเป็นวันเดียว หรือพักค้างแรม 2-4 วัน

การท่องเที่ยวเพื่อแบบผสมผสาน หมายถึง เป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้จัดการการท่องเที่ยวนำการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนำมาจัดรายการนำเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับแตกต่างระหว่างสงการเดินทางเช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร(Eco-agro tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและประวัติศาสตร์(Agro – historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย (Eco-adventure travel) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์(Geo-historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม(Agro-cultural tourism)

ความหมายของแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวหรือทรัพยากรท่องเที่ยวหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่อยู่ในลักษณะที่เป็นรูปธรรมสามารถสัมผัสได้ และอยู่ในลักษณะที่เป็นนามธรรมไม่สามารถสัมผัสได้ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม อีกทั้งยังเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานและศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ แหล่งท่องเที่ยวเมืองและชุมชน

องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ความดึงดูดใจ (Attraction) ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) ความสำราญจากแหล่งท่องเที่ยว ( Amenities ) ปัจจัยพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย องค์ประกอบของการบริการ (Ancillary Service)

ระบบนิเวศ(Ecosystem)

ระบบนิเวศทางบก ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า

ป่าชายหาด (Beach Forest) พืช มี ป่าสนทะเล ปอทะเล ลำพู กระทิง จิก สัตว์ มี นกยางทะเล เหยี่ยวแดง นกอีก๋อยใหญ่ นกกินเปรี้ยว ป่าชายเลน (Mangrove Forest) บริเวณปากแม่น้ำ น้ำเค็มน้ำจืดมาปะทะกัน เป็นดินเลน ไม้โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ไม้ตะบูน ปรงทะเล ลำพู เงี่ยงปลาหมอ สัตว์ที่พบ ปลา กุ้ง หอย นกกระสาคอดำ นกแต้วแล้วป่าโกงกาง นกกระเต็นใหญ่ นกออก ลิงแสม ค่างหงอก เสือปลา ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)ส่วนใหญ่อยู่ตามภาคใต้ ไม้ในป่าดิบชื้นได้แก่ ไม้สกุลยางนา ตะเคียนทอง หลุมพอ กระบก เคี่ยม เป็นป่ารกทึบ เรือนยอดขึ้นสูงกว่า40เมตรขึ้นไปบางต้นมีมอส ตะไคร่น้ำเกาะ เช่นเขาใหญ่ สัตว์ป่าที่พบ สมเสร็จ เก้งหม้อ นกเงือก นกแต้วแร้วท้องดำ

กระบก

หลุมพอ

สนทะเล

เคี่ยม

นกยางทะเล

HORNBILL

เสือปลา

นกกระสาคอดำ

นกออก

ค่างหงอก

นกกินเปรี้ยว

กระทิง

โกงกางใบเล็ก

ปอทะเล

เหงือกปลาหมอ

ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ลักษณะเหมือนป่าดิบชื้นต่างกันที่ไม้เด่นในป่าได้แก่ ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ยางแดง มะค่าโมง ไม้พุ่มต่ำได้แก่ หนามแรด หนามคนทา เถาวัลย์ เข็มป่า สัตว์ได้แก่ นกในวงศ์ไก่ฟ้า เลียงผา ค่าง ค้างคาวแม่ไก่ ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) พบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกินกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป พบไม้เมเปิล สนสามพันปี กำลังเสือโคร่ง พื้นป่าเป็นเฟิร์นส่วนใหญ่ ขิง ข่า กล้วยไม้ที่ขึ้นบนดิน รองเท้านารี มอสที่พบที่ดอยภูหลวง จ. เลย ข้าวตอกฤาษี และ กุหลาบภู ดอกสีขาวและสีแดง พบที่ดอยอินทนนท์ ภูหลวง ภูกระดึง ป่าสนเขา (Coniferous Forest) เป็นป่าที่มีไม้กลุ่มสน สนสองใบ สนสามใบ สนสามพันปี สนแผง พญามะขามป้อมดง พบบนภูกระดึง

รองเท้านารี

ไก่ฟ้า

ข้าวตอกฤาษี

มะค่าโมง

สนสองใบ

ยางแดง

ป่าเบญจพรรณ(Mixed Deciduous Forest) หรือป่าผสมพลัดใบ ไม้จะพลัดใบหมดในฤดูแล้ง แยกเป็น ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สัก พบทางภาคเหนือ ระดับความสูงจากน้ำทะเล 400 เมตร ขึ้นไปจนถึง1,000 เมตร ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สัก ไม้เด่นได้แก่ ตะแบก เส้า มะค่าโมง แดง อ้อยช้าง ป่าเบญจพรรณจพบดอกไม้เช่น กล้วยไม้พื้นเมือง เช่นเอื้องผึ้ง ดอกบุกซึ่งคล้ายดอกหน้าวัว ป่าเต็งรัง(Dry Diplerocarp Forest) หรือป่าโคก หรือป่าแดง ไม้เด่นคือไม้เต็ง รัง เหียง พลวง คล้ายป่าเบญจพรรณมากแต่ขึ้นในดินตื้น ความหนาแน่นน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ และมีหินผสม หรือดินลูกรัง มีแย้หากินในป่านี้มาก มีพรรณไม้ดอกที่สวยงามกล้วยไม้ในสกุลหวาย เอื้องหางกระรอก ช้างกระ ช้างแดง พบที่เขานางรำ ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี

ป่าเต็งรัง

ทุ่งหญ้า (Grassland) ทุ่งหญ้าในเขตร้อน มี หญ้าคา กูดต้นกวาง พบในทุ่งหญ้าบนเขาใหญ่ ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งหญ้า

ทุ่งหญ้าคา

ระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล เกาะแก่งและชายฝั่ง มักเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีสันเป็นหินปูน เป็นแกนหลักของเกาะ ส่วนเกาะใหญ่อาจจะมีภูเขาแกรนิต และบริเวณชายฝั่งเป็นระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล สังคมพืชประเภทสันเขาหินปูนจะมีลักษณะเด่น มีป่าชายหาดและชายเลน นกที่พบ ได้แก่ นกยางทะเล นกนางนวล ปะการังน้ำลึก เป็นแนวปะการังที่ก่อตัวอยู่ลึกประมาณ 20-30เมตร พบตามเกาะที่อยู่ใกล้ไหล่ทวีป เกาะเป็นหินแกรนิตที่มีน้ำทะเลดี น้ำใส ไม่มีตะกอน เช่น หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน มีปะการังเขากวาง แปรงล้างขวด กัลปังหา ปะการังน้ำตื้น มีความลึกประมาณ 8-15 เมตร น้ำมีความใสน้อยกว่ากลุ่มแรกมักพบในเกาะใกล้แผ่นดิน เกาะเป็นเขาหินปูนเป็นส่วนใหญ่ แนวปะการังมีปลาสวยงามหลายชนิด บางแห่งพบหญ้าทะเล

ระบบนิเวศแบบพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wet Land) ป่าพรุดั้งเดิม(Virgin Peat Swamp Forest) เป็นป่าสังคมไม้ผลัดใบที่สามารถขึ้นอยู่ในลุ่มน้ำขังอันประกอบด้วยซากพืชและดินอินทรีย์ สภาพคล้ายป่าดงดิบระดับต่ำ มีไม้ยืนต้นขนาดน้อยใหญ่หนาแน่น บริเวณโคนต้นไม้มีรากค้ำยันเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยพบที่ ป่าพรุโต๊ะแดง พรุเสม็ดหรือป่าเสม็ดขาว เป็นสังคมพืชที่ขึ้นทดแทนพรุดั้งเดิม เป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามสันดอนของหนองน้ำ เช่น เสม็ดขาว กระทุ่มน้ำ หว้าน้ำ กก ลำเพ็ง ลิเพายุ่ง กกนา พรุหญ้า เป็นป่าทดแทนพรุดั้งเดิม และพรุเสม็ดที่ถูกทำลาย ส่วนใหญ่เป็น กก หญ้า ลิเภาใหญ่ ฝักกูด สังคมพืชลอยน้ำและใต้น้ำ เป็นบริเวณที่ถัดออกไปจากฝั่ง พบอยู่ในบึงน้ำจืด เช่น บัวสาย บัวเผื่อน จอก โผลง และผักตบชวา บริเวณเป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำ เช่น ทะเลน้อย บึงบรเพ็ด นกที่พบ นกเป็ดแดง นกกาน้ำเล็ก นกกระสาแดง

ป่าพรุ

ป่าพรุ

บึงน้ำจืด

การอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การสงวน (Preservation) การเก็บรักษาไว้โดยยินยอมให้ใช้ประโยชน์ทางอ้อม โดยที่การใช้ประโยชน์นี้ต้องไม่ทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่แหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติ การป้องกัน (Prevention) ป้องกันไม่ให้แหล่งท่องเที่ยวถูกบุกรุกทำลายกำหนดแนวเขต การฟื้นฟู (Rehabilitation) การเสริมสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมหรือแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายให้กลับคืนสภาพเดิม การบริหารจัดการ (Management) การดำเนินการภายใต้การวางแผนตามนโยบายการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ