Principles of Accounting Asst.Prof.Dr. Panchat Akarak p.thipnew1@hotmail.com School of Accounting Chaingrai Rajabhat University Accounting I
กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินThe Conceptual Framework for Financial Reporting (ปรับปรุง 2558) สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
The Conceptual Framework for Financial Reporting กรอบแนวคิดฯ กำหนดขึ้นเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนอ งบการเงินแก่ผู้ใช้งบการเงิน ที่เป็นบุคคลภายนอก
วัตถุประสงค์ของกรอบแนวคิดฯ เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการฯ ในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคต และในการทบทวนมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีในปัจจุบัน เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการฯ ในการปรับปรุงข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินและการปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องกันโดยให้หลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการลดจำนวนทางเลือกของวิธีการบันทึกบัญชีที่เคยอนุญาตให้ใช้ เป็นแนวทางให้องค์กรที่จัดทำมาตรฐานการบัญชีแต่ละประเทศสามารถพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินเองได้
วัตถุประสงค์ของกรอบแนวคิดฯ เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติรวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับ เป็นแนวทางสำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือไม่ ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงในงบการเงิน ซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
กรอบแนวคิดฯไม่ถือเป็นมาตรฐานการบัญชี The Conceptual Framework for Financial Reporting กรอบแนวคิดฯไม่ถือเป็นมาตรฐานการบัญชี กรอบแนวคิดฉบับนี้มิได้มีไว้เพื่อกำหนดมาตรฐานในการวัดมูลค่าในการเปิดเผยข้อมูลสำหรับการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถใช้หักล้างมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศไว้เฉพาะเรื่องได้ -------------------------------------------------------- กรอบแนวคิดฯนี้เกี่ยวข้องกับงบการเงินและงบการเงินรวมที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์โดยทั่วไป
ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูล Investor Public Lender Government Public Sector Other Creditors Customer
ขอบเขตของกรอบแนวคิดฯ วัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน คำนิยาม การรับรู้รายการ และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของงบการเงิน แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
วัตถุประสงค์ของงบการเงิน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ แสดงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารในการบริหารทรัพยากรของกิจการ ประเมินความสามารถของกิจการในการก่อให้เกิด เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดจังหวะเวลาและความแน่นอนในการก่อให้เกิดเงินสดนั้น
ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern)
ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน Going Concern งบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต หากกิจการมีเจตนาหรือมีความจำเป็นหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการ หรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผยเกณฑ์นั้นในงบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม(Faithful Representation) ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐานของงบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) คุณค่าในการพยากรณ์ (Predictive Value) คุณค่าในการยืนยัน (Confirmatory Value) ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐานของงบการเงิน สาระสำคัญเฉพาะกิจการ (Materiality)
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ก็ต่อเมื่อช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงิน - ลักษณะรอง ความมีสาระสำคัญ (Materiality) ข้อมูลจะถือว่ามีสาระสำคัญหากการไม่แสดงข้อมูล หรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม(Faithful Representation) ความครบถ้วน(Completeness) ความเป็นกลาง (Neutrality) ปราศจากข้อผิดพลาด (Free from Error) ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐานของงบการเงิน
ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful Representation) - ข้อมูลที่เชื่อถือได้ต้องปราศจาก ความผิดพลาดที่มีสาระสำคัญและ ความลำเอียง และ มีความครบถ้วน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินข้อมูลสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดง หรือ สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่าแสดงได้
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริมของงบการเงิน เปรียบเทียบกันได้ (Comparability) พิสูจน์ยืนยันได้(Verifiability) ทันเวลา (Timeliness) คุณภาพเสริม(Enhancing Characteristics) สามารถเข้าใจได้ (Understandability)
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริมของงบการเงิน ความเข้าใจได้Understandability ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรรวมทั้ง มีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูล ข้อมูลไม่ควรละเว้นที่จะแสดงใน งบการเงินเพียงเหตุผล ว่าข้อมูลนั้นยากเกินกว่าจะเข้าใจได้
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริมของงบการเงิน การเปรียบเทียบกันได้(Comparability) ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินในรอบระยะเวลาต่างกันของกิจการเดียวกัน รวมทั้งงบการเงินในรอบระยะเวลาเดียวกันกับกิจการอื่นได้ การเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูลทำให้ข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถคาดคะเนถึงแนวโน้มในการก่อให้เกิดเงินสดของกิจการหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มในการก่อให้เกิดเงินสดของกิจการอื่นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริมของงบการเงิน ทันเวลา (Timeliness) การนำเสนองบการเงินจะต้องทันเวลาต่อผู้ใช้งบการเงินของกลุ่มต่างๆ เช่น นักลงทุน ผู้ให้กู้ยืม เจ้าหนี้ และหน่วยงานกำกับดูแล
ลักษณะเชิงคุณภาพเสริมของงบการเงิน พิสูจน์ยืนยันได้(Verifiability) ข้อมูลในงบการเงินจะต้องมีหลักฐานการเกิดขึ้นจริงที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ และมีความเกี่ยวข้องกับกิจการ
ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจและความเชื่อถือได้ ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจและความเชื่อถือได้ ข้อจำกัด ต้นทุน (Cost)
การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร นำหลักการของลักษณะเชิงคุณภาพ และมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมมาปฏิบัติ
องค์ประกอบของงบการเงิน
องค์ประกอบของงบการเงิน สินทรัพย์ (Assets) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการ วัดฐานะการเงินใน งบแสดงฐานะการเงิน หนี้สิน (Liabilities) ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) องค์ประกอบ เกี่ยวข้องกับการ วัดผลการดำเนินงานใน งบกำไรขาดทุน รายได้ (Revenues) ค่าใช้จ่าย (Expenses)
องค์ประกอบของงบการเงิน สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง - ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ - ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของ เหตุการณ์ในอดีตซึ่ง - กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต คำนิยาม
องค์ประกอบของงบการเงิน คำนิยาม หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง - ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ - ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่ง - การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้สูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
องค์ประกอบของงบการเงิน ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หมายถึง - ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว คำนิยาม
องค์ประกอบของงบการเงิน รายได้ (Revenues) หมายถึง - การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูป กระแสรับ หรือ การเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือ การลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ คำนิยาม
องค์ประกอบของงบการเงิน ค่าใช้จ่าย (Expenses) หมายถึง - การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูป กระแสจ่าย หรือ การลดค่าของสินทรัพย์ หรือ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน - อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง - ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ คำนิยาม
การรับรู้รายการขององค์ประกอบของงบการเงิน การรับรู้รายการ (Recognition) หมายถึง - การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน - หากรายการนั้นเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบ และเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ
เงื่อนไของค์การรับรู้รายการ รายการที่เป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบให้รับรู้เมื่อ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ และ รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การละเลยไม่รับรู้รายการที่เข้าเงื่อนไขข้างต้นเป็น “ข้อผิดพลาดที่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม”
หนี้สิน (Liabilities) Recognition สินทรัพย์ (Assets) หนี้สิน (Liabilities) กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และ มีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการต้องสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และ วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ค่าใช้จ่าย (Expenses) Recognition รายได้ (Revenues) ค่าใช้จ่าย (Expenses) กิจการต้องรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน และ สามารถวัดค่าของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ และ สามารถวัดค่าของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ
Expenses Recognition ค่าใช้จ่ายให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน โดยใช้ - เกณฑ์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่ได้มาจากรายการเดียวกัน เช่นการรับรู้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของต้นทุนขาย - เกณฑ์การปันส่วนอย่างเป็นระบบและสมเหตุผล - กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีที่รายจ่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หรือเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตส่วนนั้นไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินอีกต่อไป
การวัดมูลค่า องค์ประกอบของงบการเงิน
ในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่า การวัดมูลค่า หมายถึง กระบวนการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน ในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน
การวัดมูลค่า เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่า ราคาทุนปัจจุบัน Current Cost มูลค่าที่จะได้รับ (จ่าย) Net Reliable Value เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่า ราคาทุนเดิมHistorical Cost มูลค่าปัจจุบัน Present Value
เกณฑ์ในการวัดมูลค่า ราคาทุนเดิม (Historical Cost) หมายถึง ราคาที่ตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือหนี้สิน ณ วันที่เกิดรายการ ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) หมายถึง ราคาที่ควรจะเป็นในปัจจุบันหากกิจการต้องจัดหาสินทรัพย์ชนิดเดียวกันมาทดแทนในขณะนั้น และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้สินในขณะนั้นโดยไม่ต้องคิดลด
เกณฑ์ในการวัดมูลค่า มูลค่าที่จะได้รับ (จ่าย) (Net Reliable Value) หมายถึง มูลค่าที่กิจการอาจได้รับจากการขายสินทรัพย์ในขณะนั้น หรือมูลค่าของหนี้สินที่คาดว่าจะต้องจ่ายชำระในการดำเนินงานตามปกติโดยไม่ต้องคิดลด มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) หมายถึง มูลค่าของกระแสเงินสดในอนาคตของสินทรัพย์หรือหนี้สินคิดลดด้วยอัตราส่วนลดที่เหมาะสม
แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน ทุนทางการเงิน (Financial Capital) สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์หักหนี้สิน) หรือส่วนของเจ้าของ โดยวัดในรูปของตัวเงินหรือรูปของอำนาจซื้อ ทุนทางการผลิต (Physical Capital) กำลังการผลิต หรือความสามารถที่ใช้ในการผลิต โดยวัดในรูปของผลผลิต
ฝึกทำแบบฝึกหัดท้ายบท