โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2015 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ในสัปดาห์นมแม่โลก
ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุสุมา ชูศิลป์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ อธิบายแนวทางการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อสุขภาพของมารดาและทารก อธิบายวิธีการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักเกณฑ์การตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก
บทบาทของบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพิ่มประสิทธิภาพของครอบครัวในการให้อาหารทารกและเด็กเล็กตามวัยอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของครอบครัวและชุมชน ให้สุขศึกษาและคำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก่บิดามารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้อง ประเมินและช่วยเหลือทั้งมารดาและทารกให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมและการให้อาหารตามวัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ
ข้อเสนอแนะการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก ขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ ควรเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังเกิด ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังเกิด เริ่มให้อาหารเสริมตามวัยอย่างเพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนเมื่อทารกอายุ 6 เดือนและยังคงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมด้วยจนถึงขวบปีที่ 2 หรือนานกว่านั้น
ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 9ข้อ ขององค์การอนามัยโลก ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 9ข้อ ขององค์การอนามัยโลก Immunological Benefits Protection Against Allergies Brain Development Childhood Obesity SIDS= Sudden Infant Death Syndrome Pre-Pregnancy Weight got back Reduces Risk of Cancer and Osteoporosis Cost and Convenience Bonding
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว นาน 6 เดือน การให้ลูกได้เฉพาะนมแม่ โดยไม่ให้ น้ำ น้ำกลูโคส นมผสม เครื่องดื่ม หรืออาหารอื่นใด ยกเว้น ยา น้ำเกลือแร่ เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ช่วยลดการเสียชีวิตของทารกได้ร้อยละ 20 ในทารกอายุ 28 วัน ถึงอายุ 1 ปี หัวน้ำนมช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคและมีสารป้องกันการติดเชื้อโรค
ทำไมต้องนมแม่อย่างเดียว นมแม่เป็นอาหารธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก นมแม่มีส่วนประกอบสารอาหารที่ครบถ้วน ย่อยง่าย และเพียงพอกับความต้องการของทารก นมแม่มีทั้งเม็ดเลือดขาวจับกินเชื้อโรค สารยับยั้งและทำลายเชื้อโรค ภูมิต้านทาน และสารชีวภาพที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคทั่วร่างกายจนตลอดชีวิต สารอาหารและสารชีวภาพในนมแม่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของ ทารกที่ได้นมแม่เจ็บป่วยน้อยลงทั้งโรคติดเชื้อและโรคเรื้อรังในวัยเด็กและผู้ใหญ่
นมแม่อย่างเดียวช่วยลดโรคติดเชื้อ โรคอุจจาระร่วง หรือโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร โรคลำไส้เน่า (Necrotizing entero - colitis) ในทารกเกิดก่อนกำหนด โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อทั่วร่างกาย
นมแม่อย่างเดียวป้องกันโรคเรื้อรัง โรคอ้วน โรคภูมิแพ้ เช่น ภาวะผื่นแพ้ผิวหนัง โรคหืด โรคแพ้สาร gluten ในข้าวสาลี เช่น Cohn's disease โรคเบาหวานชนิดที่2 ทั้งในมารดาและทารก โรคมะเร็งในลูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งในแม่ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่
ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อสุขภาพของทารกและเด็ก Breastfeeding Advantages for Infants and Children
การป้องกันการติดเชื้อ 1.มารดา ติดเชื้อ 2. เม็ดเลือดขาวสร้างภูมิต้านทานให้แม่ 4.ภูมิต้านทานที่แม่สร้างถูกหลั่งสู่นมแม่ไปป้องกันการติดเชื้อในลูก 3.เม็ดเลือดขาวบางตัวไปสร้างภูมิต้านทานที่เต้านม
สารชีวภาพที่ไม่ใช่สารอาหาร Live cells ; macrophages , lymphocytes , granulocytes Anti-infective agents Anti-inflammatory agents Hormones /Growth factors Other bioactive substances
ประโยชน์เหนือโภชนาการของน้ำนมแม่ Nonnutritive Benefits of Human milk การสร้างจุลินทรีประจำถิ่น (Colonization of Digestive system with nonpathogenic bacteria) จากสาร Bifido bacteriumได้เป็น Lactobacilli ที่ช่วยปกป้องการติดเชื้อโรค ในทางเดินอาหารของทารก
สารต้านการติดเชื้อ Anti-infective Agents SECRETORY IgA (principal breast milk immunoglobulin) LACTOFERRIN (against Staph ,E.coli and C.albicans ) LYSOZYME (against enterobacterial gram positive and E.coli )
การป้องกันโรคด้วยนมแม่อย่างเดียว Source: Lancet Child Survival Series 2003 นมแม่และอาหารอื่น
โรคติดเชื้อที่ลดลงในทารกที่ได้รับนมแม่ โรคอุจจาระร่วง 25% ใน 6 เดือนแรก โรคอุจจาระร่วงrotavirusเพียง0.27ของทารกที่ได้นมผสม โรคหูชั้นกลางอักเสบ ครั้งเดียว 50%ทารกที่ได้นมผสมและเป็น ซ้ำน้อย การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะUrinary tract infection การติดเชื้อทางเดินหายใจ Respiratory syncytial virus and H.influenza การติดเชื้อทั่วร่างกาย Sepsis และติดเชื้อในเลือด bacteremia-meningitis
ความเสี่ยงอุจจาระร่วงจำแนกตามวิธี การให้อาหารทารกฟิลิปปินส์ที่มีอายุ0-2 เดือน ไม่ได้นมแม่ นมแม่และ อาหาร นมแม่ และน้ำ นมแม่ อย่างเดียว Adapted from: Popkin BM, Adair L, Akin JS, Black R, et al. Breastfeeding and diarrheal morbidity. Pediatrics, 1990, 86(6): 874-882.
โอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันช่วงอายุ 0-3เดือน และ ช่วงอายุ 4-11 เดือนจำแนกตามลักษณะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในลาตินอเมริกา นมแม่อย่างเดียว นมแม่บางส่วน ไม่เลี้ยงนมแม่ Adapted from: Betran AP, de Onis M, Lauer JA, Villar J. Ecological study of effect of breast feeding on infant mortality in Latin America. BMJ, 2001, 323: 1-5.
อัตราการมีหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันในทารกที่ได้รับนมแม่ ได้นมแม่ร่วมกับนมผสม และ ทารกที่หย่านมในประเทศสวีเดน นมแม่ นมอื่นๆ หย่านมแม่ Adapted from: Aniansson G, Alm B, Andersson B, Hakansson A et al. A prospective coherent study on breast-feeding and otitis media in Swedish infants. Pediat Infect Dis J, 1994, 13: 183-188.
ด้านโภชนาการและสุขภาพ ปราศจากเชื้อและมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนประกอบของสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมตามความต้องการของทารก มีสัดส่วนของโปรตีนและไขมันที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต มีธาตุเหล็กที่ดูดซึมได้ง่าย มีกรดไขมันสูง เช่น โอเมก้า3 และ 6 มั่นใจว่านมแม่ย่อยได้ง่าย เช่น มีน้ำย่อยไขมัน ช่วยทารกให้ได้รับอาหารอื่นได้ง่ายขึ้น ปกป้องทารกจากการติดเชื้อ ปกป้องทารกจากการมีความผิดปกติของกรามและฟัน
เปรียบเทียบนมแม่กับนมวัว ส่วนประกอบ น้ำนมแม่ น้ำนมวัว (กรัม/ดล) แป้งนมแลกโตส 73 40 Oligosaccharides 0.2 0.1 โปรตีนCasein 2.6 - lactalbumin Lactoferrin เล็กน้อยมาก Secretary Ig A - - lactoglobulin 0.5
เปรียบเทียบคาร์โบไฮเดรต ในหัวน้ำนม และนมสมบูรณ์เต็มที่ ชนิดสารอาหาร ปริมาณ กรัมต่อลิตร หัวน้ำนม นมสมบูรณ์ คาร์โบไฮเดรต 50-70 70-85 Lactose 30-50 67-70 Oligosacharide 22-24 5-15 Glucose 0.2-1.0 0.2-0.3
แลคโตส (Lactose) ถูกย่อยเป็นกลูโคสและกาแลคโตส กาแลคโตสสร้างเนื้อสมองและเส้นประสาทส่วนกลาง ให้พลังงานเป็น 2 เท่าของกลูโคส กลูโคสเสริม osmotic pressure (60-70%) ลดของเหลวที่ใช้สร้างน้ำนม /ได้น้ำพอ ก่อเชื้อมีประโยชน์ เช่น lactobacilli กำจัดเชื้อที่ก่อโรค เพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม เหล็กและแมงกานีส
คุณค่าของไขมันในนมแม่ มีน้ำย่อยช่วยการย่อยและการดูดซึมไขมัน มี long chain unsaturated fatty acids สูงมาก มีกรดไขมัน DHA ,AA ที่นมวัวไม่มี ช่วยการเจริญของสมอง ระบบประสาท และจอประสาทตาเพราะมี DHA ,AA และ taurine ทารกสามารถสังเคราะห์ alpha- linolenic acidในตับ เป็น DHA ได้ค่อนข้างช้า ระดับDHA ในเลือดสัมพันธ์กับความเฉียบคมของสายตาในทารกที่ได้รับนมแม่
กรดไซอะลิก (Sialic acid) น้ำนมแม่มีกรดไซอะลิกสูงที่สุด 0.3-1.5 mg/ml กรดไซอะลิกในนมแม่ส่วนใหญ่จับกับแลกโตสเป็น sialyllactose และสร้างoligosaccharide จับกับ glycoprotein เป็น ganglioside ได้แก่ monosialoganglioside 3 (GM3) และdisialoganglioside 3 (GD3) GM3 เพิ่มขึ้นและ GD3 ลดลง ในระหว่างการให้นมแม่ ganglioside ช่วยปกป้องการจับของ สารพิษ เชื้อแบคทีเรียและไวรัสบนเยื่อบุผิว สมองและเนื้อเยื่อประสาทของคนมีส่วนประกอบกรดไซอะลิกนบริเวณจุดเชื่อมต่อของปลายประสาท มากที่สุด
โคลีน (Choline) เป็นส่วนประกอบสำคัญของ phospholipidsในผนังของเซลล์ ปริมาณในน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปริมาณในหัวน้ำนม ภายหลังคลอด 6-7 วัน ช่วยสังเคราะห์ neurotransmitter (acetylcholine, phosphatidylcholine, sphingomyelin, and choline plasmalogens) ทารกในครรภ์และช่วง 5 ปีแรกหลังเกิดต้องการ โคลีนสูงมาก เพื่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อประสาท โดยเฉพาะ Hippocampus
ส่วนประกอบของโปรตีนที่ ให้กำลังงานในหัวน้ำนม และนมที่แก่เต็มที่ ปริมาณ/ลิตร Colostrum Mature milk Whey proteins 11- 15 5- 6 Lactalbumin 3.6 2- 3 IgM 0.02 0.01 IgG 0.00 0.05 Lactoferrin 3.5 1- 3 Lysozyme 0.1-0.2 0.1 SecretoryIgA 2.0 0.5-1.0 Albumin 0.4 0.3
ส่วนประกอบของโปรตีนที่ ให้กำลังงานในหัวน้ำนม และนมที่แก่เต็มที่ ปริมาณ/ลิตร Colostrum Mature milk Total nitrogen 3.0 1.9 Non protein-N 0.5 0.45 Protein-N 2.5 1.45 Total protein 15-20 8-11 Casein 3.8 3-5 beta-Casein 2.6 3- 4 alpha-Casein 1.2 1- 2
คาร์นิทีน (carnitine) เต้านมแม่สังเคราะห์เพราะทารกแรกเกิดไม่สังเคราะห์ สารไนโตรเจนที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์และใช้ไขมันในเนื้อสมอง ช่วยพากรดไขมันที่มีสายโมเลกุลยาวผ่านผนัง mitochondria สร้าง ketone bodies เมื่อสมองต้องการ
ทอรีน (taurine) พบมากที่สุดในนมแม่ จำเป็นสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด เสริมสมองและการทำงานของจอประสาทตา เพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาท เพิ่มการไหลเวียนแคลเซียม ฟื้นฟูจอประสาทตา ใช้โปรตีนเพื่อเพิ่ม phospholipid ในสมอง นมผสมจำเป็นต้องเสริมทอรีน ลิงที่ขาดทอรีนมีจอประสาทตาเสื่อมเร็ว
นิวคลิโอไทด์ (nucleotides) pyrimidine purine จับกับ pentose phospheric acid เป็นส่วนDNA และ RNA ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ทั่วร่างกาย น้ำนมแม่มีอย่างน้อย 13 ชนิดที่แตกต่างจากนมวัว ช่วยสังเคราะห์โปรตีนและphospholipid ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย
น้ำย่อยในนมแม่ Lipoprotein lipase Lipase ; bile salt stimulated Xanthine oxidase iron molybdenum carrier Sulthydryloxidaseคงสภาพการทำงานของโปรตีน Amylase Glutathione peroxidase (Se carrier and anti-oxidant) Alkaline phosphatase (Zn and Mg carrier) Anti-protease
ประโยชน์ด้านพัฒนาการ Developmental Benefits ลำไส้เจริญ/ทำงานเต็มที่และมีการปกป้องการติดเชื้อ สายตาเฉียบคม(Visual acuity)ดีขึ้น ในทารกเกิดก่อนกำหนดและเกิดครบกำหนด สร้างเสริมเชาว์ปัญญา (Cognitive development) ฟันเก (malocclusion) เพียง 26% เพราะดูดนมแม่นานเกินไป
การเจริญของเคลือบฟันน้ำนม Developmental enamel in Primary teeth A Case–control study of 102 Children–as casesและ103 Children-as control ทารกที่เกิดก่อนกำหนดและไม่ได้รับนมแม่มีความเสี่ยงเคลือบฟันที่ไม่สมบูรณ์สูง2.6เท่า (OR=2.6; 95% CI=1.0-6.4) เด็กที่ไม่ได้นมแม่มีความเสี่ยงเคลือบฟันที่ไม่สมบูรณ์สูง3.2เท่า (OR=3.2; 95% CI=1.2-8.4) โรคลำไส้เน่าชนิดรุนแรง (Necrotizing Enterocolitis) พบในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้นมผสมสูงกว่าทารกที่ได้นมแม่ถึง7 เท่า
ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สัมพันธ์กับ เชาว์ปัญญาที่เพิ่มขึ้นในยุวชนชาวเดนมารก์ คะแนนเชาว์ปัญญา นมแม่7ถึง9 เดือน Adapted from: Mortensen EL, Michaelsen KF, Sanders SA, Reinisch JM. The association between duration of breastfeeding and adult intelligence. JAMA, 2002, 287: 2365-2371.
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วย สร้างสมองว่องไว ทารกที่ได้รับนมแม่มีปริมาณ DHAสูงมากทั้งในเม็ดเลือดแดงและที่จอประสาทตา มีความคมชัดของสายตา (visual acuity) ที่อายุ 2 เดือน (r = 0.32, P= 0.01) และที่อายุ 12 เดือน (r = 0.30 , P = .03) เมื่อได้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือนและได้รับไข่แดงจากอาหารตามวัย
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วย สร้างสมองว่องไว มีระดับเชาว์ปัญญาในช่วงอายุ 6 ถึง 24 เดือน สูงกว่าทารกที่ได้รับนมผสม 3.06 จุด (95 % CI: 2.35 ถึง 3.98 ) ทารกน้ำหนักแรกเกิด น้อยกว่า2500กรัมที่ได้รับนมแม่นาน 6 เดือนมีระดับเชาว์ปัญญาเพิ่ม11 จุด เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมแม่เพียง 3 เดือน ระดับเชาว์ปัญญาของเด็กที่ได้รับนมแม่สูงต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่
เชาว์ปัญญากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ A cohort 1387 French 2-year-old children เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มีความสามารถด้านภาษาสูงกว่าเด็กที่ไม่เคยได้รับนมแม่: การสื่อสาร (CDI) 3.7 ± 1.8 (P = .038) อายุตอบคำถาม (ASQ )6.2 ± 1.9 (P = .001) ระยะเวลานมแม่อย่างเดียวหรือเคยได้รับนมแม่สัมพันธ์เชิงบวกกับ การสื่อสาร (CDI) และ อายุที่มีพัฒนาการ (ASQ ) และความสามารถในการแก้ปัญหา ระยะเวลาที่เด็กเคยได้รับนมแม่สัมพันธ์กับ การใช้มือ Heude B, et al. Breastfeeding Duration and Cognitive Development at 2 and 3 Years of Age in the EDEN Mother-Child Cohort. J Pediatr 2013 ; 17(4):714 --22.
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับ การเจริญของสมอง การศึกษาเด็กอายุ 10เดือนถึง 4 ปี จำนวน 133 คนในอเมริกา เด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยที่สุด 3 เดือนมีเนื้อสมอง white matter เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื้อสมอง white matter ที่เพิ่มมากขึ้นในสมองส่วนหน้าและส่วนต่างๆของสมองช่วยเพิ่มคะแนนเชาว์ปัญญาและพฤติกรมพัฒนาการ Deoni SC,et al. Breastfeeding and early white matter development: A cross-sectional study.Neuroimage. 2013 May 28;82C:77-86.
ผลลัพธ์การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ ทันทีหรือภายในชั่วโมงแรกหลัง้กิด Allan Schore ได้พบว่า ระยะวิกฤติของ สมองส่วน amygdala อยู่ใน 2 เดือนแรกหลังเกิด สมองส่วน amygdala ซึ่งอยู่ลึกใน the limbic system เกี่ยวข้องการเรียนรู้ด้านอารมณ์ การกระตุ้นความจำ และการกระตุ้นการทำงานของประสาทอัตโนมัติ การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อกระตุ้น สมองส่วน amygdala ผ่านทาง prefronto-orbital pathway และเสริมการทำงานของสมองที่ช่วยการมีชีวิตรอด
ผลลัพธ์การโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่อง ในทารกเกิดก่อนกำหนด Kangaroo Care (KC)ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เพิ่มพฤติกรรม attachment ของมารดา ลดความเครียดของมารดา ส่งเสริมพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี Feldman R, Rosenthal Z, Eidelman AI.Maternal-preterm skin-to-skin contact enhances child physiologic organization and cognitive control across the first 10 years of life. Biol Psychiatry2014 Jan 1;75(1):56-64.
Attachment parenting practices เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามสัญญาณหิว เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงขวบปีที่สองหรือนานกว่านั้น คอยอุ้มลูกบ่อยครั้ง หมั่นสัมผัสลูก เช่นการโอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อแบบ Kangaroo care ตอบสนองต่อเสียงร้องของลูก ไวและตอบสนองต่อการแสดงอารมณ์ของลูก
โรคเรื้อรังที่ป้องกันได้ โรคเบาหวานทั้งชนิดพึ่งแสะไม่พึ่งอินซูลิน; เลี่ยงโปรตีนนมวัวและแป้งช่วง4เดือนแรกของชีวิต โรคมะเร็งในเด็ก;สารในนมแม่ต้านเชื้อจุลินทรีย์,สารต้านอักเสบ,และalpha lactalbuminยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็ง Celiac disease;ให้นมแม่อย่างเดียว4ถึง6เดือนและให้นมแม่ร่วมกับอาหารอื่นจนถึง12เดือน Crohn’disease;ลดการสัมผัสสารกระตุ้น
ภาวะภูมิแพ้ในทารกนมแม่ ลดโอกาสกลุ่มเสี่ยง นมแม่อย่างเดียว4เดือน เพิ่มความเสี่ยง นมผสมสัปดาห์แรกของชีวิต หย่านมแม่ก่อนอายุ 4เดือน นมวัว เนื้อวัวก่อนอายุ 6เดือน พ่อแม่สูบบุหรี่ตั้งแต่ลูกยังเล็ก
ภาวะภูมิแพ้ในทารกนมแม่ โรคหอบหืด(asthma);ลดความเสี่ยงเมื่ออายุ6ปีถ้าได้นมแม่อย่างน้อย4เดือน Allergic rhinitis;ลดความเสี่ยงในกลุ่มทารกนมแม่ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว Atopic dermatitis; ลดความเสี่ยงในทารกนมแม่ในช่วงอายุ1ถึง5 ปีที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดความชุกโรคอ้วน ในเด็กเยอรมันช่วงอายุ 5-6 ปี Adapted from: von Kries R, Koletzko B, Sauerwald T et al. Breast feeding and obesity: cross sectional study. BMJ, 1999, 319:147-150.
นมแม่กับโรคอ้วน นมแม่อย่างเดียว6เดือนลดความเสี่ยง22%เมื่อเทียบกับนมผสม ทารกได้นมแม่12เดือนขึ้นมีโอกาสอ้วนเพียง0.8%เพราะนมแม่มีอินซูลินและฮอร์โมนช่วยสะสมไขมันน้อย การสร้าง lean body mass สัมพันธ์กับการให้อาหารเสริมหลังอายุ4เดือน
ผลลัพธ์ด้านสุขภาพระยะยาว ลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดโลหิตขาว Hardell L, Dreifaldt AC. Breast-feeding duration and the risk of malignant diseases in childhood in Sweden, Eur J Clin Nutr 2001 Mar;55(3):179-85. Bener A, Denic S, Galadari S. Longer breast-feeding and protection against childhood leukaemia and lymphomas. Eur J Cancer. 2001 Jan;37(2):155-8
ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของมารดา กระบวนการใช้สารอาหารในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการดัดแปลงกระบวนการใช้สารแคลเซียมในร่างกาย เลื่อนเวลาการมีบุตรคนใหม่ ลดโอกาสอ้วนในระยะหลังคลอด ลดโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
ช่วยลดน้ำหนักของมารดาระยะหลังคลอด แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด จะมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม และ มีการลดลงของสัดส่วนร้อยละของไขมันในร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม
การคุมกำเนิดด้วยการให้นมลูก การใช้ Lactation amenorrhea method ในการคุมกำเนิด ในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอดมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าร้อยละ 2 ถ้าให้นมลูกอย่างอย่างเดียว ถูกต้องและสม่ำเสมอ
ร้อยละของมารดาที่กลับมามีประจำเดือน ตามอายุของทารก
ลดโอกาสเป็นโรคเบาหวาน แม่ที่ไม่เคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 1.5 เท่า ของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 1-3 เดือน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดและการใช้ อินซูลินในมารดาที่เป็นเบาหวาน
ลดอัตราโรคหัวใจขาดเลือด ในสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความผิดปกติ เคยให้นมลูก > 12 เดือน ไม่เคยให้นมลูก โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 9.1 ร้อยละ14.8 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ38.6 ร้อยละ 42.1 ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 12.3
ลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดภาวะกระดูกพรุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สตรีตั้งครรภ์จะมีการสูญเสียมวลกระดูกประมาณร้อยละ 3 -7 ตั้งแต่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตร การสร้างมวลกระดูกจะสมบูรณ์อย่างรวดเร็วหลังจากหยุดให้นมลูกต่อเนื่องไปอีก 5-10 ปี
ลดความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว(epithelial ovarian cancer) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เฉลี่ยนาน 9 เดือนลดโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เฉลี่ยนาน 18 เดือนขึ้นไปลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทุก 1 เดือนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น ลดโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวร้อยละ 2
ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม โอกาสเกิดมะเร็งเต้านมในวัยที่ยังมีประจำเดือนลดลงตามระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม เมื่อเทียบกับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 0-11 เดือน - ร้อยละ 66.3 เมื่อนาน 12 - 23 เดือน - ร้อยละ 87.4 เมื่อนาน 24-35 เดือน - ร้อยละ 94 เมื่อนาน 36-47 เดือน
ลดความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพียง 0.37 เท่าในสตรีชาวญี่ปุ่นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับโอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 2 สัปดาห์มีโอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพียง 0.9 เท่าในสหรัฐอเมริกา หลังหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจะสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ต่อครอบครัว ลดความเจ็บป่วยและอัตราตายของทารก ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และ ลดความหิวโหยของประชากรโลก
การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยปกป้องลูกและสังคม
เฝ้าระวังการละเมิด CODE เราจะช่วยกัน เฝ้าระวังการละเมิด CODE
หลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ การตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก International Code of Marketing of Breast milk Substitutes
คำจำกัดความและวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก เป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่สมัชชาสุขภาพโลก(WHA)ขององค์การอนามัยโลก(WHO) จัดทำในปี ค.ศ. 1981 เพื่อให้ทารกได้รับโภชนาการที่ปลอดภัยและเพียงพอ ปกป้องและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และมั่นใจว่ามีการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็กอย่างถูกต้องตามความจำเป็น บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอซึ่งผ่านสื่อสารการตลาดและการจำหน่ายอย่างเหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลเชิงลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนมแม่ อุปสรรคในการให้นมแม่ การขาดการสนับสนุนจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ นโยบายของรัฐที่เอื้อต่อแม่และทารก การตลาดของอุตสาหกรรมนมผสม
การตลาดที่ขาดจริยธรรมของอุตสาหกรรมนมผสม: การจำหน่ายและการโฆษณา
การโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบแก่สาธารณชน (Public Relations and Promotional Campaigns in Any Forms) 25
ให้ข้อมูลเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กโดยไม่อธิบาย - ประโยชน์และคุณค่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ค่าใช้จ่ายและอันตรายของอาหารที่ใช้ทดแทนนมแม่ (Giving information on food for infants and small children without explaining the usefulness and importance of breastfeeding as well as the cost and risks of breast milk substitutes 28
ประวัติความเป็นมาในประเทศไทย 2524 หลักเกณฑ์ว่าด้วยการโฆษณาและจำหน่ายอาหารทดแทนนมแม่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 2527 ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกลวิธี รพ.สายสัมพันธ์แม่-ลูก 2538 หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551 – หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ผลิตภัณฑ์ในขอบเขตของCODE ก. อาหารทดแทนนมแม่ นมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับทารก
ผลิตภัณฑ์ในขอบเขตของCODE ข. ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง - ภาชนะบรรจุ ขวดนม จุกนมยาง หัวนมหลอก และอุปกรณ์ที่ใช้หรือ มีความมุ่งหมายที่จะใช้กับสิ่งดังกล่าว ค. ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
พระราชบัญญัติการตลาดอาหารสำหรับ ทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการโฆษณานมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และอาหารตามวัยของทารกและเด็กเล็กในที่สาธารณะ ไม่มีการแจกคัวอย่างผลิตภัณฑ์แก่แม่ ไม่ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ ในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ ไม่พยาบาล/พนักงานขายที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์แก่แม่ ไม่มีของขวัญหรือตัวอย่างแจกแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่มีถ้อยคำหรือรูปภาพที่แสดงสัญญาลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม เช่น รูปทารกบนผลิตภัณฑ์
พระราชบัญญัติการตลาดอาหารสำหรับ ทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลข่าวสารที่สื่อกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องเป็นวิทยาศาสตร์และเชื่อถือได้ ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงด้วยนมผสม เช่น ฉลาก ต้องอธิบาย ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ค่าใช้จ่าย และอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงด้วยนมผสม ไม่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ไม่คงรูป เช่นนมข้นหวานในการเลี้ยงดูทารก ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีคุณภาพสูงและต้องคำนึงถึงสภาพถูมิอากาศ และสภาพการเก็บของแต่ละประเทศ
ช่องทางการตลาดที่บริษัทนมใช้ □ television and radio advertising □ newspapers and magazines advertising □ bill board advertising □ promotional websites □ reduced prices □ mailings to pregnant women and mothers □ discount coupons □ phone help lines □ posters, calendars etc. in doctors offices and hospitals □ doctor nurse ให้การรับรองว่าใช้ได้ □ free gifts □ free samples □ special offers □ educational materials
Examples of violations Mead Johnson gifts Nestle Posters-clock posters, calendars in doctors offices and hospitals calendars เอนฟาแลค เมจิ
Promoting brand recognition Nestle free gifts
Shelf talkers คูปองลดราคา เป็นเพียงป้ายบอกราคา? หรือเครื่องมือส่งเสริมการขาย? 77
ประชาสัมพันธ์ ที่ ธนาคาร ซื้อเช็คของขวัญเด็กแรกเกิด แจก dumex gift set 37
การให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ต้องระบุประโยชน์และคุณค่าที่เหนือกว่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรใช้เมื่อบุคลากรทางการแพทย์แนะนำ ควรต้องมีคำเตือนถึงอันตรายของนมผสมถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ต้องไม่มีรูปทารกหรือรูปอื่นๆ ข้อความที่ชักจูงให้ อยากใช้อาหารทดแทนนมแม่
ขอขอบคุณ ที่จะช่วยเด็กไทย ให้กินนมแม่