พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย เริ่มตั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ จัดตั้งเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓
ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๒๕๓๕ ก่อตั้ง พชม. เป็นโครงการของการเคหะแห่งชาติบริหาร กองทุนชุมชนเมือง ๑,๒๕๐ ล้านบาท ๒๕๓๙-๒๕๔๐ สร้างเครือข่ายชุมชนเมือง นอกจากให้สินเชื่อพัฒนาชุมชน มี การทำกองทุนผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม มิยาซาวา ๒๕๔๓ รวมกับกองทุนพัฒนาชนบทเป็น พอช. ตาม พรบ.องค์การมหาชน รวมกองทุนประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕๔๓-๒๕๔๖ มุ่งสร้างระบบและกระบวนการทำงานทั่วประเทศ เรียนรู้เนื้อหาและ กระบวนงานงานชนบท ๒๕๔๖ เริ่มโครงการบ้านมั่นคง ๒๕๔๘-๒๕๔๙ การแก้ปัญหาภัยพิบัติสึนามิโดยขบวนชุมชน ๒๕๔๙-๒๕๕๐ เริ่มโครงการสวัสดิการชุมชน และ สภาองค์กรชุมชน ๒๕๕๓ ได้รับเงินกองทุนหมุนเวียนเพิ่มอีก ๓,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อเป็นสินเชื่อ โครงการบ้านมั่นคง รวมมีกองทุนหมุนเวียนประมาณ ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕๕๓-๒๕๕๔ เริ่มทำโครงการที่ดินชนบท บ้านมั่นคงชนบท โครงการ๓จังหวัดภาคใต้
วันเปิด พอช. เมื่อ ปี ๒๕๔๓ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ คุณไพบูลย์วัฒนศิริธรรม คุณอัมพร คุณประยงค์ คุณพันทิพย์ กำนันสนอง อ.สังคม ครูมุกดา
จากเพื่อนร่วมสร้างอนาคต สู่การเป็นองค์กรเลขา หรือผู้สนับสนุนงานเปลี่ยนแปลงพัฒนาของชุมชน และขบวนชุมชนโดยชุมชนเอง จากงานออมทรัพย์และสินเขื่อชุมชน สู่การเชื่อมโยงเครือข่าย ชุมชนด้านต่างๆ ในพื้นที่ตำบล จังหวัด ภาคและประเทศ การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง จากโครงการพัฒนาที่ดินที่อยู่อาศัย(ที่ไม่มั่นคงและถูกไล่ที่) เป็นโครงการบ้านมั่นคง การสร้างชุมชนเมืองเข้มแข็ง มั่นคง ทั้งเมือง การสร้างกองทุนชุมชนเมือง
ลักษณะพิเศษของพอช. หาความรู้อย่างมีส่วนร่วมทั้งจากไทยและต่างประเทศ และสร้างรูปแบบแนวทางจากชุมชน เป้าหมายที่ชุมชนเป็นหลักและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (ไม่ใช่เฉพาะสังคมสงเคราะห์) วางแผนทั้งเพิ่มคุณภาพและโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ และเชื่อมโยงขยายเชิงปริมาณกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศ ใช้การเงินเพื่อสังคมและกองทุนชุมชนเป็นเครื่องมือการพัฒนาโดยชุมชนเอง สร้างความร่วมมือกับทุกฝ่าย ชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมทำงาน สร้างกลไกพัฒนาร่วมกันทั้งรัฐ ท้องที่ ท้องถิ่น ประชาสังคม สถาบันการศึกษา ชุมชน เครือข่าย ความตั้งใจมุ่งมั่น จริงจังจริงใจ การบริหารโดยกลุ่ม การกระจายการบริหารจัดการออกไปสู่ชุมชน ความยืดหยุ่นในการจัดการ การคิดค้นหาวิธี
เป็นองค์กรที่พยายามบริหารแบบแนวราบ ใช้กรรมการร่วมทุกเรื่อง ชุมชนมีส่วนร่วม รู้เห็น วางแผน ร่วมตัดสินใจ จัดการและถ่วงดุลย์ทุกระดับ การปรับเปลี่ยนอยู่เสมอตามเป้าหมายที่ชุมชนและความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลง
กระจายงบประมาณตรงสู่ชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการ ชุมชน เป็นผู้คิด เป็นผู้ทำ จัดการดำเนินการ มีกลไกชุมชนร่วมกันรับผิดชอบติดตามเรียนรู้ พื้นที่เป็นตัวตั้ง ทำเรื่องต่างๆสัมพันธ์กัน ไม่แยกส่วน ทำงานร่วมมือกับหน่วยงานพื้นที่